ญี่ปุ่นเผยอันดับ “10 สินค้ายอดฮิต” ปี 2016


        นิตยสาร “นิเคอิ เทรนดี้” ของญี่ปุ่นเผยผลการจัดอันดับสินค้ายอดนิยมประจำปี 2016 มีสินค้าหลายประเภทเกมบนโทรศัพท์มือถือ , ภาพยนตร์ จนถึง อาหาร ขนม และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
       
       การจัดอันดับสินค้ายอดนิยมในแต่ละปีจะใช้เกณฑ์ทั้งในเรื่องยอดขาย , ความคิดสร้างสรรค์ , กระแสที่ถูกกล่าวถึงในวงกว้าง รวมทั้งผลกระทบต่อมีต่อสังคมและผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น โดยทำการสำรวจสินค้าที่วางจำหน่ายตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2015 จนถึง เดือนกันยายน ปี 2016 แต่สินค้าที่เคยได้รับคัดเลือกเป็นสินค้ายอดนิยม 30 อันดับแรกในปีที่แล้วจะไม่ได้รับการคัดเลือกซ้ำอีก

        สินค้ายอดฮิตในปี 2016 ใน 10อันดับแรกได้แก่
       
       อันดับ 10 น้ำผักและผลไม้ กรีนสมูทตี้ จากร้านสะดวกซื้อลอว์สัน



        อันดับ 9 แป้งรองพื้น คุชชั่นฟาวเด



        อันดับ 8 น้ำยาปรับผ้านุ่มพร้อมขจัดกลิ่น เลโนอา



        อันดับ 7 รถยนต์ นิสสัน เซเรนา



        อันดับ 6 ช็อคโกแลตผสมจุลินทรีย์โยเกิร์ต SWEETS DAYS


       
       ช็อคโกแลตจากค่าย LOTTE ที่ระบุว่า มีจุลินทรีย์โยเกิร์ตมากถึง 100เท่าเมื่อเทียบกับขนมทั่วไป และยังผสมผสานความอร่อยจากรสช็อคโกแลตเนียมนุ่ม


        อันดับ 5 แอพลิเคชั่นประมูลสินค้าออนไลน์ mercari


       
       แอพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือจากสหรัฐฯ ที่เปิดพื้นที่ใช้ผู้นำสิ่งของเหลือใช้มาประมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยเพียงแต่ถ่ายรูปและเขียนบรรยายคุณสมบัติสิ่งของสั้นๆ พร้อมตั้งราคาเริ่มต้นก็สามารถขายของออนไลน์ได้อย่างง่ายๆ
       
       สินค้าที่ถูกนำมาประมูลขายส่วนมากเป็นเสื้อผ้า , กระเป๋า , รองเท้า และเครื่องสำอางค์ จึงดึงดูดผู้ใช้กลุ่มผู้หญิงได้เป็นอย่างดี โดยทาง mercari ยังมีโบนัสพิเศษให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย
       
       อย่างไรก็ตาม ลูกค้าจำนวนไม่น้อยร้องเรียนเรื่องการหลอกลวง ได้สินค้าไม่ตรงกับที่ลงโฆษณาและของปลอม จนผู้คุ้นเคยในแวดวงออนไลน์ของญี่ปุ่นฟันธงว่า แอพลิเคชั่นต่างชาตินี้คง “มาเร็วไปเร็ว” เพราะไม่เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น


        อันดับ 4 Instagram


       
       แอพลิเคชั่นยอดนิยมในหลายประเทศ แต่เพิ่งติดกระแสในประเทศญี่ปุ่นในปีนี้ ที่มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ เมื่อทาง Instagram ได้ใช้กลยุทธ์การตลาดให้ร้านค้าและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เผยแพร่ภาพถ่ายแนะนำสถานที่ และให้ลูกค้าทำกิจกรรมส่งเสริมการขายผ่านทางInstagram จนประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง


        อันดับ 3 บุหรี่ไฟฟ้า IQOS


       
       บุหรี่ไฟฟ้าอาศัยช่องว่างของกฎหมายควบคุมยาสูบของญี่ปุ่นขยายตลาดอย่างรวดเร็ว และยังวางจำหน่ายได้อย่างโจ่งแจ้งในร้านค้าและร้านสะดวกซื้อต่างๆ ทั้งๆที่บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายต่อสุขภาพไม่ต่างจากบุหรี่ทั่วไป และยังปริมาณนิโคตินมากกว่าอีกด้วย
       
       ด้านบริษัทยาสูบพยายามแก้ตัวโดยระบุว่า ข้อดีของบุหรี่ไฟฟ้าคือไม่มีควันที่รบกวนและเป็นอันตรายกับบุคคลรอบข้าง และยังอ้างว่ามีนักสูบหลายคนเปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าและเลิกสูบบุหรี่ได้ในที่สุด


        อันดับ 2 ภาพยนตร์ Your name หลับตาฝัน ถึงชื่อเธอ


       
       ภาพยนตร์การ์ตูนกำกับโดยมะโกะโตะ ชิงไก และมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักหวานปนขมระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมปลาย 2 คนที่ฝันสลับร่างกัน ได้สร้างความคึกคักขึ้นอีกครั้งให้กับวงการการ์ตูนญี่ปุ่นที่ซบเซาไปนาน หลังจากไม่มีผลงานใหม่ๆ ที่เป็นที่กล่าวขานในระดับนานาชาติ
       
       Your name หรือ "หลับตาฝันถึงชื่อเธอ" ทำสถิติเป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่ทำรายได้สูงสุดในไทยและจีน และยังส่งผลให้การท่องเที่ยว “ตามรอยหนังดัง” ในประเทศญี่ปุ่นได้รับความนิยมอีกด้วย


        อันดับ 1 เกม โปเกมอน โก


       
       ถึงแม้ว่าตอนนี้หลายคนอาจเลิกเล่น “โปเกมอน โก” ไปแล้ว แต่ต้องยอมรับว่าในช่วงที่เกมนี้เปิดตัวเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในเรื่องอันตรายที่เกิดกับผู้เล่นที่มัวแต่ต้องมองจอโทรศัพท์มือถือจนอาจเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน รวมทั้งการบุกรุกเข้าไปในสถานที่ส่วนบุคคล สถานที่ต้องห้าม และความเสี่ยงที่จะถูกล่อลวง จนหน่วยงานต่างๆของญี่ปุ่นทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องประกาศเตือนให้ผู้ปกครองระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกหลาน
       
       ขณะที่โรงเรียนและสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งประกาศ “ห้ามเล่นโปเกมอน โก” เพราะเป็นการไม่เคารพสถานที่ และสร้างความรำคาญจากเหตุกระทบกระทั่งกับคนรอบข้าง
       
       แต่บรรดา “เซียนเกม” ก็แก้ต่างว่า โปเกมอน โก ดีกว่าเกมอื่นที่นำพาผู้เล่นออกไปสู่โลกกว้าง เป็นการเดินออกกำลังกาย ดีกว่าเกมที่อุดอู้เล่นอยู่ในห้อง เช่นเดียวกับสถานที่หลายแห่งก็ใช้ประโยชน์จากการ “ปักหมุด” เพื่อดึงดูดลูกค้าและนักท่องเที่ยวให้มาตามล่าหาโปเกมอนในสถานที่ของตน

ข่าวจาก : MGR Online
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000128960
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่