สำนักงานประกันสังคมติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนทุพพลภาพ ลงพื้นที่มอบสุข ผู้ทุพพลภาพจังหวัดลำพูน พร้อมนำเจ้าหน้าที่จากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน กระทรวงแรงงาน ร่วมลงพื้นที่ ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคมที่มุ่งดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน กลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยลดความเหลื่อมล้ำ และมอบสิทธิให้แก่ผู้ทุพพลภาพ เพื่อให้มีกำลังใจและไม่รู้สึกว่าตน เป็นภาระของสังคม สู่การเป็นข้าราชการที่มุ่งทำประโยชน์สูงสุดเพื่อประชาชน ดำเนินงานตามรอยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในด้านความมีเมตตา ดังพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทาน แก่คณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2517 ความตอนหนึ่งว่า
". . . งานช่วยเหลือคนพิการนี้ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการไม่ได้อยากจะเป็น ผู้พิการ และอยากช่วยเหลือตนเองถ้าเราไม่ช่วยเขาให้สามารถที่ปฏิบัติงานอะไรเพื่อชีวิตและเศรษฐกิจ ของครอบครัวจะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัวหนักแก่ส่วนรวม ฉะนั้น นโยบายที่จะทำก็คือ ช่วยเขาให้ช่วยเหลือตนเองได้ เพื่อที่จะทำให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม..."
นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ผู้ทุพพลภาพที่อยู่ภายใต้สิทธิประกันสังคม หมายถึงผู้ที่สูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกายหรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด ดังจะเห็นว่าบุคคลเหล่านี้ ต่างควรได้รับการช่วยเหลือ ดูแล และได้รับสิทธิที่พึงได้เพื่อให้ไม่เป็นภาระของผู้ดูแล ตลอดจนให้ผู้ประกันตนสามารถมีชีวิตอยู่ได้ อย่างมีความผาสุก ดังนั้น การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่สำนักงานประกันสังคมปฏิบัติต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และมุ่งมั่นดำเนินงานด้วยความเต็มที่ เต็มกำลัง โดยยึดมั่นหลักความความมีเมตตา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยการดูแลมอบสิทธิให้แก่กลุ่มผู้ประกันตนทุพพลภาพ ซึ่งเปรียบเสมือนการสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ที่เดือดร้อน ในการลงพื้นที่แต่ละครั้ง มีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานลงพื้นที่ร่วมด้วย ซึ่งสามารถช่วยเหลือ แนะนำการทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ทุพพลภาพ ได้ดังเช่น
- นายอาวุธ หมื่นหน้า ทุพพลภาพเนื่องจากเส้นเลือดสมองแตก ได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้เดือนละ 2,250 บาท ตั้งแต่ 2 ตุลาคม 2549 จนถึงปัจจุบัน เป็นเงิน 322,885 บาท
- นายเฉลิม ประเพ็ญธง ทุพพลภาพเนื่องจากประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้เดือนละ 1,411 บาท ตั้งแต่ 14 สิงหาคม 2544 จนถึงปัจจุบัน เป็นเงิน 320,200 บาท
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวทิ้งท้ายว่า "การมอบสิทธิ มอบสุขแก่ผู้ทุพพลภาพ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ประกันตนและครอบครัว เพราะนอกจากจะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้แล้ว ยังได้รับสิทธิเบิกอุปกรณ์/อวัยวะเทียม ช่วยให้ผู้ทุพพลภาพและครอบครัวทราบสิทธิที่พึงได้ อีกทั้งยังช่วยให้ ผู้พิการได้รู้สึกว่า ยังมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า สามารถช่วยเหลือครอบครัวได้ ไม่เป็นภาระของครอบครัว และสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมเล็งเห็นว่า เป็นการสร้างความเท่าเทียมในสังคม และประชาชนที่อยู่ภายใต้สิทธิของประกันสังคม จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต"
สำนักงานประกันสังคมติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนทุพพลภาพ ลงพื้นที่มอบสุข ผู้ทุพพลภาพจังหวัดลำพูน
สำนักงานประกันสังคมติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนทุพพลภาพ ลงพื้นที่มอบสุข ผู้ทุพพลภาพจังหวัดลำพูน พร้อมนำเจ้าหน้าที่จากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน กระทรวงแรงงาน ร่วมลงพื้นที่ ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคมที่มุ่งดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน กลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยลดความเหลื่อมล้ำ และมอบสิทธิให้แก่ผู้ทุพพลภาพ เพื่อให้มีกำลังใจและไม่รู้สึกว่าตน เป็นภาระของสังคม สู่การเป็นข้าราชการที่มุ่งทำประโยชน์สูงสุดเพื่อประชาชน ดำเนินงานตามรอยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในด้านความมีเมตตา ดังพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทาน แก่คณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2517 ความตอนหนึ่งว่า
". . . งานช่วยเหลือคนพิการนี้ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการไม่ได้อยากจะเป็น ผู้พิการ และอยากช่วยเหลือตนเองถ้าเราไม่ช่วยเขาให้สามารถที่ปฏิบัติงานอะไรเพื่อชีวิตและเศรษฐกิจ ของครอบครัวจะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัวหนักแก่ส่วนรวม ฉะนั้น นโยบายที่จะทำก็คือ ช่วยเขาให้ช่วยเหลือตนเองได้ เพื่อที่จะทำให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม..."
นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ผู้ทุพพลภาพที่อยู่ภายใต้สิทธิประกันสังคม หมายถึงผู้ที่สูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกายหรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด ดังจะเห็นว่าบุคคลเหล่านี้ ต่างควรได้รับการช่วยเหลือ ดูแล และได้รับสิทธิที่พึงได้เพื่อให้ไม่เป็นภาระของผู้ดูแล ตลอดจนให้ผู้ประกันตนสามารถมีชีวิตอยู่ได้ อย่างมีความผาสุก ดังนั้น การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่สำนักงานประกันสังคมปฏิบัติต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และมุ่งมั่นดำเนินงานด้วยความเต็มที่ เต็มกำลัง โดยยึดมั่นหลักความความมีเมตตา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยการดูแลมอบสิทธิให้แก่กลุ่มผู้ประกันตนทุพพลภาพ ซึ่งเปรียบเสมือนการสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ที่เดือดร้อน ในการลงพื้นที่แต่ละครั้ง มีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานลงพื้นที่ร่วมด้วย ซึ่งสามารถช่วยเหลือ แนะนำการทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ทุพพลภาพ ได้ดังเช่น
- นายอาวุธ หมื่นหน้า ทุพพลภาพเนื่องจากเส้นเลือดสมองแตก ได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้เดือนละ 2,250 บาท ตั้งแต่ 2 ตุลาคม 2549 จนถึงปัจจุบัน เป็นเงิน 322,885 บาท
- นายเฉลิม ประเพ็ญธง ทุพพลภาพเนื่องจากประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้เดือนละ 1,411 บาท ตั้งแต่ 14 สิงหาคม 2544 จนถึงปัจจุบัน เป็นเงิน 320,200 บาท
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวทิ้งท้ายว่า "การมอบสิทธิ มอบสุขแก่ผู้ทุพพลภาพ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ประกันตนและครอบครัว เพราะนอกจากจะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้แล้ว ยังได้รับสิทธิเบิกอุปกรณ์/อวัยวะเทียม ช่วยให้ผู้ทุพพลภาพและครอบครัวทราบสิทธิที่พึงได้ อีกทั้งยังช่วยให้ ผู้พิการได้รู้สึกว่า ยังมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า สามารถช่วยเหลือครอบครัวได้ ไม่เป็นภาระของครอบครัว และสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมเล็งเห็นว่า เป็นการสร้างความเท่าเทียมในสังคม และประชาชนที่อยู่ภายใต้สิทธิของประกันสังคม จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต"