คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 21
คิดว่า โดนตำหนิแน่ เช่นตำหนิทำอะไรเกินตัว ทำอะไรพอดีๆ ทำบุญแบบไม่ต้องเสียเงินก็ได้ จริงๆ บางครั้งก็ได้ยินคำพูดแบบนี้ก็ขัดใจเหมือนกัน ทำไมหรือ มันเป็นเพราะเราควรทำบุญหมดทุกอย่าง ทั้งใช้ทรัพย์ ใช้สติปัญญาหรือแรงกาย ที่เรียกว่า บุญกิริยา10 ประการไม่ใช่เน้นทำแบบไม่ต้องใช้ปัจจัย เพราะกฏแห่งกรรมทำอะไรก็ได้อย่างนั้น ทำด้วยทรัพย์ก็ทำให้มีทรัพย์รวยมาก ทำด้วยแรงก็จะมีคนคอยช่วยเหลือตลอดเวลา ทำด้วยสติปัญญาก็จะมีความฉลาดในการหาทรัพย์และแก้ปัญหา ถ้าอยากได้บุญแบบครบถ้วนก็ต้องทำแบบทุกอย่าง แล้วทำบุญแบบไหนก็ได้แบบนั้น ทำแบบขอไปทีตัดรำคาญ ก็ได้บุญน้อย ทำบุญประนีตก็ได้ของประนีต ทำบุญด้วยของที่เลิศ ก็ย่อมได้ของที่เลิศ ทำบุญแบบอสทิสทาน ซึ่งเป็นบุญที่เลิศประนีตและยาก ก็ย่อมได้ผลบุญเป็นแบบเลิศ ประนีต และได้ผลบุญแบบไม่มีใครเหมือน พระพุทธเจ้าสอนทั้งคนที่ต้องการหลุดพ้น(โลกุตระ)ก็ให้บวชหาทางไปนิพพาน สอนคนที่ยังทำมาหากินอยู่(โลกียะ)เช่นเราให้ทำทานรักษาศีล
เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าเช่นมีทรัพย์ สุขภาพแข็งแรง อีกอย่างหนึ่งในสังคมมักจะกล่าวกันว่าทำบุญแล้วรวยมันผิด แล้วคิดดีๆนะว่าความรวยมันก็เป็นความต้องการทั่วไปของชาวโลกไม่ใช่หรือ เห็นแทงหวยกันทั้งเมือง อันไหนมันมีกิเลสมากกว่ากันระหว่างแทงหวยหวังรวยทางลัด(ก็ไม่ได้ว่าผิด) กับการประกอบเหตุทำทานแล้วขอให้มีทรัพย์ต่อไปภายภาคหน้าซึ่งพระพุทธก็สอนตรัสไว้? ทำไมรังเกียจความรวยจัง ระวังห้ามคนอื่นและต่อต้านคนทำทาน ทรัพย์ที่มีจะหดหายได้นะซิบอกไห้
เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าเช่นมีทรัพย์ สุขภาพแข็งแรง อีกอย่างหนึ่งในสังคมมักจะกล่าวกันว่าทำบุญแล้วรวยมันผิด แล้วคิดดีๆนะว่าความรวยมันก็เป็นความต้องการทั่วไปของชาวโลกไม่ใช่หรือ เห็นแทงหวยกันทั้งเมือง อันไหนมันมีกิเลสมากกว่ากันระหว่างแทงหวยหวังรวยทางลัด(ก็ไม่ได้ว่าผิด) กับการประกอบเหตุทำทานแล้วขอให้มีทรัพย์ต่อไปภายภาคหน้าซึ่งพระพุทธก็สอนตรัสไว้? ทำไมรังเกียจความรวยจัง ระวังห้ามคนอื่นและต่อต้านคนทำทาน ทรัพย์ที่มีจะหดหายได้นะซิบอกไห้
สุดยอดความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
อสทิสทาน ถ้ามาทำในสมัยนี้จะได้คำชมหรือโดนด่า?
พร้อมกับได้เชิญชาวเมืองมาชมมหาทานของตน
ชาวเมืองเมื่อได้เห็นทานอันปราณีตของพระราชาแล้วก็มีกุศลจะทำอย่างพระราชาบ้าง
จึงได้ช่วยกันจัดทานอันปราณีตถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุตามเสด็จอย่างปราณีตยิ่งกว่าของพระราชา
พระเจ้าปเสนทิกลับมาที่วังถึงกับนอนไม่หลับ เพราะรู้สึกว่าทำบุญแพ้ชาวเมือง
เรื่องนี้รู้ถึงหูนางมัลลิกา นางจึงได้ขันอาสาจัดการแก้มือให้
นางมัลลิกาได้จัดให้ทำมณฑป สำหรับพระ ๕๐๐ รูป
ภิกษุที่เกินจำนวน 500 ให้ทำเศวตฉัตร 500 คัน ช้าง 500 เชือก สำหรับถือเศวตฉัตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เรียกว่า จัดเต็ม อลังการงานสร้าง
ทั้งหมดใช้งบไป ๑๔ โกฏิ (ประมาณ๑๔๐ล้าน)
ทีนี้มีอำมาตย์อยู่ ๒ คน คนหนึ่งชื่อ กาฬะ มีความเห็นว่า สิ้นเปลือง ไม่คุ้มเลย
แต่อำมาตย์อีกคนชื่อ ชุณห เห็นด้วยและอนุโมทนาในมหาทานครั้งนี้
เมื่อถึงเวลาที่พุทธองค์และพระภิกษุได้ฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อย พระพุทธองค์ทรงทราบวาระจิตของ กาฬะอำมาตย์ จึงสงเคราะห์ด้วยการกล่าวอนุโมนาแด่พระราชาเพียงสั้น ๆ เพราะไม่อยากให้กาฬะอำมาตย์ศรีษะต้องแตกเป็น ๗ เสี่ยง เพราะยิ่งฟังอาจจะยิ่งลมขึ้น
แต่สำหรับพระราชากลับนึกว่าทานครั้งนี้ต้องมีอะไรผิดพลาดไปแน่ ๆ พระพุทธองค์จึงตรัสอนุโมทนาสั้นมาก
อดรนทนไม่ไหวต้องไปทูลถามให้แน่ชัด
พระพุทธองค์จึงได้บอกความจริง และได้กล่าวว่า
จากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาว่า
พวกคนพาลแลย่อมไม่สรรเสริญทาน,
ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทานอยู่
เพราะเหตุนั้นนั่นเอง นักปราชญ์นั้น จึงเป็นผู้มีสุขในโลกหน้า.
ภายหลังเหตุการณ์ กาฬะอำมาตย์ถูกเนรเทศ
ชุณหอำมาตย์ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
เรื่องอสทิสทาน อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓
สมัยนี้ผู้ที่มีจิตศรัทธาถวายทานครั้งละเป็นจำนวนมาก ใกล้เคียงกับ อสทิสทาน ยังมีอยู่ไม่น้อย
จากเรื่องตัวอย่างที่นำมาข้างต้น ทำให้ได้ข้อคิดว่า แม้เราเองอาจจะไม่มีโอกาสได้ทำทานอย่างนี้
เมื่อทราบข่าวก็ควรที่จะตั้งจิตอนุโมทนา จึงจะถือว่าเป็นผู้ฉลาด แม้ไม่ใช่ทรัพย์ของตัวเองก็ได้มีส่วนแห่งบุญนั้น