มากกว่าการทำค่ายคือการได้รู้จักเพื่อนใหม่ มากกว่าการได้เพื่อนใหม่ คือ "ได้มิตรภาพที่ดี.."
มากกว่าการให้คือการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
เมื่อวันที่ 9-12 ธันวาคมที่ผ่านมา ผมกับเพื่อนๆได้มีโอกาสไปทำกิจกรรมออกค่ายอาสากันมา
ที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง บ้านโขะทะ อ.อุ้มผาง จ.ตาก
โดยเรารวมตัวเพื่อที่จะออกเดินทางกันที่ ปตท.สนามเป้า เวลา 18.00 น. กว่าจะมากันครบ
กว่ารถจะได้ออกก็ปาเข้าไป 21.30 น. ฮ่าาาา สมาชิกเดินทางไปด้วยกันทั้งหมด 70 ชีวิตด้วยกัน
เราเลือกเดินทางโดยรถตู้ VIP 10 ที่นั่งจำนวน 8 คัน 7 คันสำหรับสมาชิก และอีก 1 คันสำหรับของบริจาค
การรวมตัวของเราอาสา มาจากต่างสถานที่ ต่างอายุ และต่างอาชีพ แต่จุดประสงค์และอุดมการณ์ของเราคือสิ่งเดียวกัน นั่นก็คือ "การให้"
เราเดินทางมาจนถึง อ.อุ้มผาง ก็เกือบ ๆ 10 โมงเช้า ของวันที่ 10 แต่การเดินทางนั้นหาใช่ถึงจุดหมายไม่
เราต้องเปลี่ยนจากรถตู้เป็นรถ 4WD เพื่อเข้าไปในหมู่บ้าน ซึ่งเส้นทางไม่ต้องพูดถึง ได้สีผมใหม่กันทุกคนครับ
.
"ส่วนรถ 4WD กับการทำเรื่องเข้าไปในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ต้องยื่นเรื่องเข้าไปก่อน ถึงจะสามารถเข้าไปได้"
"และ ที่อำเภอ อุ้มผาง มีสหกรณ์ เดินรถไว้บริการเข้าไป ราคาสามารถตกลงได้ที่ สหกรณ์เดินรถ อำเภอ อุ้มผางโดยตรง"
"
ผมเกริ่นมาก็ยืดยาว เดี๋ยวผมจะพาไปชมภาพบรรยากาศโดยรวมของการไปทำค่ายครั้งนี้ของเราด้วยวีดีโอกันก่อนครับ
และนี่คือสภาพหลังจากเดินลงจากรถครับ เป็นพระเอกเลยทีเดียว ฮ่าาาา TT
ระยะทางจากทางเข้าอุทยานไปถึงหมู่บ้าน เพียง 28 กิโลเมตร แต่ต้องใช้ระยะเวลาเดินทางถึง 3 ชั่วโมง
เส้นทางคดเคี้ยว เป็นหลุมเป็นบ่อ และความชัน ขึ้น-ลงภูเขา ไต่ระดับเขาเรื่อยๆ ที่ต้องใช้ความชำนาญในการขับพอสมควร
เหล่าอาสาคลุกฝุ่นกันเต็มไปหมด รถคันแรกที่นำขบวนก็โชคดีหน่อย ไม่ต้องกินฝุ่นจากคันข้างหน้า แต่คันหลังๆลงมานี่ใส่แมสก็เอาไม่อยู่ เรียกได้ว่ายังไม่ถึงค่ายก็สะบักสะบอมกันพอสมควร
ก่อนจะถึงทางแยกเข้าไปหมู่บ้านก็แวะเข้าชมน้ำตกทีลอซูกันก่อน ให้ร่างกายได้พักผ่อนซักนิดก็ยังดี ก่อนเดินทางต่อไปยังหมู่บ้าน
อีกราวๆ 7 กิโลเมตร ....
ครั้งแรกมาถึงก็คิดว่าจะได้นั่งพักผ่อนเอาแรง แต่ก็ต้องเดินเท้าเข้าไปในน้ำตกอีก ระยะทางกว่า 1,500 เมตร กว่าจะได้ยลโฉมน้ำตก ..”ทีลอซู” ที่แปลว่า น้ำตกดำในภาษากระเหรี่ยง โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้ทีลอซู เป็น 1 ใน 9 ตะวัน ตามโครงการ มหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน โดยมีจุดเด่นคือ “มหัศจรรย์รุ้งกินน้ำที่ทีลอซู”
แม้จะเดินกันเข้ามาจนเหนื่อยล้า แต่พอได้เห็นน้ำตก ความเหนื่อยนั้นก็เหมือนหายไปเป็นปลิดทิ้ง
หลังจากเราได้แวะชมความงามของน้ำตกเรียบร้อยก็เดินทางต่อเข้าไปยังหมู่บ้านโขะทะ
ระหว่างทางหมู่บ้านสองข้างทางจะสามารถมองเห็นลำธารที่ไหล ลงมาจากน้ำตกทีลอซู มองแล้วรู้สึกถึงความอุดมสมบูรณ์
ของธรรมชาติที่ยังคงอยู่ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้ลืมความเหนื่อยล้าได้เปราะหนึ่ง
กว่าเราจะเดินทางเข้ามาถึงหมู่บ้าน ก็ปาเข้าไป 5 โมงกว่าๆ แต่แสงแดดในหน้าหนาวแบบนี้แทบไม่มีแล้ว
ความมืดเริ่มเข้ามาปกคลุมเต็มพื้นที่ ความสว่างหายไปมีเพียงความหนาวเข้ามาแทน
ทุกคนต่างพากันเก็บของเข้าที่พัก เรามีอาคารเรียนสำหรับการค้างคืนที่นี่ 2 คืน ที่นี่มีไฟฟ้าใช้อย่างจำกัด
ส่วนโรงครัวที่พวกเราใช้ประกอบอาหารไม่มีไฟฟ้า เราต้องอาศัยแสงสว่างจากไฟฉายและแสงเทียนในการทำอาหารสำหรับมือค่ำในวันนี้
เราจะได้ทำเพียงกับข้าว ส่วนข้าวสวยนั้นชาวบ้านแต่ละครอบครัวจะหุงคนละหม้อและนำข้าวมาให้พวกเรา
ซึ่งชาวบ้านบอกว่า เป็นข้าวที่ชาวบ้านปลูกเอง และผ่านกระบวนการสีข้าวเอง โดยใช้วิธีการตำข้าวเหมือนสมัยโบราณ
ข้าวจึงมีสารอาหารครบถ้วนมากกว่าข้าวทั่วไป
จะบอกว่าเกลี้ยงทุกมื้อจริงๆ อาหารธรรมดาๆถ้าเทียบกับในเมือง
แต่เมื่ออยู่ที่นี่เป็นกับข้าวมื้อพิเศษสำหรับทุกคน ต้องขอขอบคุณทีมงานแม่ครัว ที่สละเวลาในการตื่นเช้าตั้งแต่ตี 5 ทุกวัน
เพื่อเข้าครัวเตรียมอาหาร เพราะทีมแม่ครัวจะต้องสแตนบายรอในครัวเกือบจะตลอดทั้งวัน ยังไงก็ขอบคุณมากๆครับ
.
ในตอนกลางคืนเราก็มีกิจกรรมรอบกองไฟ แนะนำตัวอาสาสมัครอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง
และชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมในตอนเช้าว่าเราจะทำอะไรบ้าง ในบรรยากาศยามค่ำคืนในฤดูหนาวแบบนี้
มีเพียงกองไฟที่ให้แสงสว่างและความอบอุ่น เสียงดนตรีจากกีต้าร์บรรเลง สลับกับเสียงธรรมชาติ ทำให้เพลินไปอีกแบบ...
และเรายังมีข้าวโพดและมันเผาที่เผาจนลืมว่าเผาไว้ เพราะมัวแต่ร้องเพลง บางอันกลายเป็นถ่าน ฮ่า กินได้บ้างไม่ได้บ้าง
เรียกเสียงหัวเราะได้อย่างดี กับการเขี่ยหามันเผาแต่เจอแค่ถ่าน TT มันเผาหายไป ?
มาดูกิจกรรมที่เราไปทำร่วมกับเด็กๆที่นี่กันดีกว่าครับ ในตอนเช้าบรรดาแม่ครัวก็ลงครัวเช่นเดิม
อาสาสมัครต่างก็พากันตื่นเช้าเพื่อมาดูทะเลหมอกที่ล้อมรอบโรงเรียนหมอกลงหนาจัด และยังลงเป็นเม็ดใหญ่ๆราวกับหิมะตกยังไงอย่างนั้น
บางคนก็ตื่นมานั่งผิงไฟที่ยังไม่ดับตั้งแต่เมื่อคืนนั่งกินกาแฟ โอวัลติน ได้บรรยากาศไปอีกแบบ
หลังจากนั้นอาสาเข้าแถวเคารพธรงชาติในตอน 8 โมง และเตรียมตัวทำกิจกรรมในช่วงเช้า
. กิจกรรมในช่วงเช้าเราจะเป็นการตรวจสุขภาพพื้นฐานให้กับเด็กๆในหมู่บ้าน โดยทีมงานฝ่ายสุขภาพ
ซึ่งเป็นหน่วยแพทย์+พยาบาลที่อาสาเดินทางมากับเรา เด็กๆในหมู่บ้านทยอยกันมาจนครบทั้งหมดก็เริ่มทำกิจกรรม
โดยพี่ๆอาสาให้เด็กแยกเป็นระดับชั้น และตรวจทีละชั้น ชั้นในยังไม่ได้ตรวจก็แยกออกไปทำกิจกรรมสันทนาการ
และเล่นกีฬา ออกกำลังกายในตอนเช้า
ทีมแพทย์อาสาแจ้งผมว่ามีเด็กที่กำลังเป็นอีสุกอีใส อยู่ในระยะแพร่เชื้อราวๆ 6 คน อาจจะให้เด็กๆกลับบ้านไปก่อน
แต่ดูเหมือนจะไม่เป็นผล เด็กๆยังอยากเล่นกับพี่ๆ อยากเล่นกับเพื่อนๆ พี่ๆอาสาไม่มีทีท่าว่าจะกลัวการเป็นอีสุกอีใสแม้แต่น้อย
สมาชิกจำนวน 70 คนรู้ไหมครับใครเจอแจ๊คพอต หลังจากกลับจากค่ายอาสาในครั้งนี้ ผมเองที่ได้รับเชื้อนั้นมาเต็มๆ
ที่มือผมเริ่มมีตุ่มใสๆฐานสีแดงขึ้นมา ผมรีบไปหาหมอทันที และก็เป็นจริงอย่างที่คิด “ผมเป็นอีสุกอีใส” ผมควรจะรู้สึกยังไงดี
[/cente
[CR] ค่ายอาสากับเส้นทางแสนลำบาก "หมู่บ้านโขะทะ" 28 กิโล 3 ชั่วโมง อ.อุ้มผาง จ.ตาก
มากกว่าการให้คือการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
เมื่อวันที่ 9-12 ธันวาคมที่ผ่านมา ผมกับเพื่อนๆได้มีโอกาสไปทำกิจกรรมออกค่ายอาสากันมา
ที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง บ้านโขะทะ อ.อุ้มผาง จ.ตาก
โดยเรารวมตัวเพื่อที่จะออกเดินทางกันที่ ปตท.สนามเป้า เวลา 18.00 น. กว่าจะมากันครบ
กว่ารถจะได้ออกก็ปาเข้าไป 21.30 น. ฮ่าาาา สมาชิกเดินทางไปด้วยกันทั้งหมด 70 ชีวิตด้วยกัน
เราเลือกเดินทางโดยรถตู้ VIP 10 ที่นั่งจำนวน 8 คัน 7 คันสำหรับสมาชิก และอีก 1 คันสำหรับของบริจาค
การรวมตัวของเราอาสา มาจากต่างสถานที่ ต่างอายุ และต่างอาชีพ แต่จุดประสงค์และอุดมการณ์ของเราคือสิ่งเดียวกัน นั่นก็คือ "การให้"
เราเดินทางมาจนถึง อ.อุ้มผาง ก็เกือบ ๆ 10 โมงเช้า ของวันที่ 10 แต่การเดินทางนั้นหาใช่ถึงจุดหมายไม่
เราต้องเปลี่ยนจากรถตู้เป็นรถ 4WD เพื่อเข้าไปในหมู่บ้าน ซึ่งเส้นทางไม่ต้องพูดถึง ได้สีผมใหม่กันทุกคนครับ
.
"ส่วนรถ 4WD กับการทำเรื่องเข้าไปในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ต้องยื่นเรื่องเข้าไปก่อน ถึงจะสามารถเข้าไปได้"
"และ ที่อำเภอ อุ้มผาง มีสหกรณ์ เดินรถไว้บริการเข้าไป ราคาสามารถตกลงได้ที่ สหกรณ์เดินรถ อำเภอ อุ้มผางโดยตรง"
"
ผมเกริ่นมาก็ยืดยาว เดี๋ยวผมจะพาไปชมภาพบรรยากาศโดยรวมของการไปทำค่ายครั้งนี้ของเราด้วยวีดีโอกันก่อนครับ
และนี่คือสภาพหลังจากเดินลงจากรถครับ เป็นพระเอกเลยทีเดียว ฮ่าาาา TT
ระยะทางจากทางเข้าอุทยานไปถึงหมู่บ้าน เพียง 28 กิโลเมตร แต่ต้องใช้ระยะเวลาเดินทางถึง 3 ชั่วโมง
เส้นทางคดเคี้ยว เป็นหลุมเป็นบ่อ และความชัน ขึ้น-ลงภูเขา ไต่ระดับเขาเรื่อยๆ ที่ต้องใช้ความชำนาญในการขับพอสมควร
เหล่าอาสาคลุกฝุ่นกันเต็มไปหมด รถคันแรกที่นำขบวนก็โชคดีหน่อย ไม่ต้องกินฝุ่นจากคันข้างหน้า แต่คันหลังๆลงมานี่ใส่แมสก็เอาไม่อยู่ เรียกได้ว่ายังไม่ถึงค่ายก็สะบักสะบอมกันพอสมควร
ก่อนจะถึงทางแยกเข้าไปหมู่บ้านก็แวะเข้าชมน้ำตกทีลอซูกันก่อน ให้ร่างกายได้พักผ่อนซักนิดก็ยังดี ก่อนเดินทางต่อไปยังหมู่บ้าน
อีกราวๆ 7 กิโลเมตร ....
ครั้งแรกมาถึงก็คิดว่าจะได้นั่งพักผ่อนเอาแรง แต่ก็ต้องเดินเท้าเข้าไปในน้ำตกอีก ระยะทางกว่า 1,500 เมตร กว่าจะได้ยลโฉมน้ำตก ..”ทีลอซู” ที่แปลว่า น้ำตกดำในภาษากระเหรี่ยง โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้ทีลอซู เป็น 1 ใน 9 ตะวัน ตามโครงการ มหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน โดยมีจุดเด่นคือ “มหัศจรรย์รุ้งกินน้ำที่ทีลอซู”
แม้จะเดินกันเข้ามาจนเหนื่อยล้า แต่พอได้เห็นน้ำตก ความเหนื่อยนั้นก็เหมือนหายไปเป็นปลิดทิ้ง
หลังจากเราได้แวะชมความงามของน้ำตกเรียบร้อยก็เดินทางต่อเข้าไปยังหมู่บ้านโขะทะ
ระหว่างทางหมู่บ้านสองข้างทางจะสามารถมองเห็นลำธารที่ไหล ลงมาจากน้ำตกทีลอซู มองแล้วรู้สึกถึงความอุดมสมบูรณ์
ของธรรมชาติที่ยังคงอยู่ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้ลืมความเหนื่อยล้าได้เปราะหนึ่ง
กว่าเราจะเดินทางเข้ามาถึงหมู่บ้าน ก็ปาเข้าไป 5 โมงกว่าๆ แต่แสงแดดในหน้าหนาวแบบนี้แทบไม่มีแล้ว
ความมืดเริ่มเข้ามาปกคลุมเต็มพื้นที่ ความสว่างหายไปมีเพียงความหนาวเข้ามาแทน
ทุกคนต่างพากันเก็บของเข้าที่พัก เรามีอาคารเรียนสำหรับการค้างคืนที่นี่ 2 คืน ที่นี่มีไฟฟ้าใช้อย่างจำกัด
ส่วนโรงครัวที่พวกเราใช้ประกอบอาหารไม่มีไฟฟ้า เราต้องอาศัยแสงสว่างจากไฟฉายและแสงเทียนในการทำอาหารสำหรับมือค่ำในวันนี้
เราจะได้ทำเพียงกับข้าว ส่วนข้าวสวยนั้นชาวบ้านแต่ละครอบครัวจะหุงคนละหม้อและนำข้าวมาให้พวกเรา
ซึ่งชาวบ้านบอกว่า เป็นข้าวที่ชาวบ้านปลูกเอง และผ่านกระบวนการสีข้าวเอง โดยใช้วิธีการตำข้าวเหมือนสมัยโบราณ
ข้าวจึงมีสารอาหารครบถ้วนมากกว่าข้าวทั่วไป
จะบอกว่าเกลี้ยงทุกมื้อจริงๆ อาหารธรรมดาๆถ้าเทียบกับในเมือง
แต่เมื่ออยู่ที่นี่เป็นกับข้าวมื้อพิเศษสำหรับทุกคน ต้องขอขอบคุณทีมงานแม่ครัว ที่สละเวลาในการตื่นเช้าตั้งแต่ตี 5 ทุกวัน
เพื่อเข้าครัวเตรียมอาหาร เพราะทีมแม่ครัวจะต้องสแตนบายรอในครัวเกือบจะตลอดทั้งวัน ยังไงก็ขอบคุณมากๆครับ
.
ในตอนกลางคืนเราก็มีกิจกรรมรอบกองไฟ แนะนำตัวอาสาสมัครอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง
และชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมในตอนเช้าว่าเราจะทำอะไรบ้าง ในบรรยากาศยามค่ำคืนในฤดูหนาวแบบนี้
มีเพียงกองไฟที่ให้แสงสว่างและความอบอุ่น เสียงดนตรีจากกีต้าร์บรรเลง สลับกับเสียงธรรมชาติ ทำให้เพลินไปอีกแบบ...
และเรายังมีข้าวโพดและมันเผาที่เผาจนลืมว่าเผาไว้ เพราะมัวแต่ร้องเพลง บางอันกลายเป็นถ่าน ฮ่า กินได้บ้างไม่ได้บ้าง
เรียกเสียงหัวเราะได้อย่างดี กับการเขี่ยหามันเผาแต่เจอแค่ถ่าน TT มันเผาหายไป ?
มาดูกิจกรรมที่เราไปทำร่วมกับเด็กๆที่นี่กันดีกว่าครับ ในตอนเช้าบรรดาแม่ครัวก็ลงครัวเช่นเดิม
อาสาสมัครต่างก็พากันตื่นเช้าเพื่อมาดูทะเลหมอกที่ล้อมรอบโรงเรียนหมอกลงหนาจัด และยังลงเป็นเม็ดใหญ่ๆราวกับหิมะตกยังไงอย่างนั้น
บางคนก็ตื่นมานั่งผิงไฟที่ยังไม่ดับตั้งแต่เมื่อคืนนั่งกินกาแฟ โอวัลติน ได้บรรยากาศไปอีกแบบ
หลังจากนั้นอาสาเข้าแถวเคารพธรงชาติในตอน 8 โมง และเตรียมตัวทำกิจกรรมในช่วงเช้า
. กิจกรรมในช่วงเช้าเราจะเป็นการตรวจสุขภาพพื้นฐานให้กับเด็กๆในหมู่บ้าน โดยทีมงานฝ่ายสุขภาพ
ซึ่งเป็นหน่วยแพทย์+พยาบาลที่อาสาเดินทางมากับเรา เด็กๆในหมู่บ้านทยอยกันมาจนครบทั้งหมดก็เริ่มทำกิจกรรม
โดยพี่ๆอาสาให้เด็กแยกเป็นระดับชั้น และตรวจทีละชั้น ชั้นในยังไม่ได้ตรวจก็แยกออกไปทำกิจกรรมสันทนาการ
และเล่นกีฬา ออกกำลังกายในตอนเช้า
ทีมแพทย์อาสาแจ้งผมว่ามีเด็กที่กำลังเป็นอีสุกอีใส อยู่ในระยะแพร่เชื้อราวๆ 6 คน อาจจะให้เด็กๆกลับบ้านไปก่อน
แต่ดูเหมือนจะไม่เป็นผล เด็กๆยังอยากเล่นกับพี่ๆ อยากเล่นกับเพื่อนๆ พี่ๆอาสาไม่มีทีท่าว่าจะกลัวการเป็นอีสุกอีใสแม้แต่น้อย
สมาชิกจำนวน 70 คนรู้ไหมครับใครเจอแจ๊คพอต หลังจากกลับจากค่ายอาสาในครั้งนี้ ผมเองที่ได้รับเชื้อนั้นมาเต็มๆ
ที่มือผมเริ่มมีตุ่มใสๆฐานสีแดงขึ้นมา ผมรีบไปหาหมอทันที และก็เป็นจริงอย่างที่คิด “ผมเป็นอีสุกอีใส” ผมควรจะรู้สึกยังไงดี