คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ประมาทศัตรู
- เจ้าอุปราช (ติสสะ) เป็นคนแรกที่ห้ามทำศึกนี้ เหตุผลเพราะ เมื่อประเมินแล้วทำไม่สำเร็จแน่นอน บางกอกเป็นเมืองใหญ่ ถึงบังเอิญตีได้ก็ปกครองไม่ได้ แต่เจ้าอนุวงศ์บอกว่าไม่คิดจะปกครอง ใช้วิธี "ปล้นเมือง" แล้วกวาดไปเวียงจันทน์ แต่เจ้าอนุวงศ์คงลืมไปว่าเฉพาะทหารในกรุงกับเมืองชั้นในก็เกือบแสน กำแพงเมือง ป้อมปราการก็สร้างเสร็จแล้วตอนนั้น
- เจ้าอนุวงศ์ประเมินว่า สยามคงเหลือแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยสร้างกรุงไม่มากนัก และอำนาจของสยามคงเสื่อมถอยเต็มที เพราะตลอดรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้า สยามเสียประเทศราชไปเยอะมาก แม้แต่ตอนนักองค์จันทร์กษัตริย์เขมรก่อกบฏ สยามก็ไม่ทำอะไรจนเสียเขมรให้ญวน ไหนจะหัวเมืองแขกแยกตัวอีก และการศึกกับพม่าก็ทำได้แค่ตั้งรับเท่านั้น
- เจ้าอนุวงศ์ที่เคยไปช่วยสยามขัดตาทัพพม่าได้เห็นฝีมือแม่ทัพนายกองของฝ่ายสยามเห็นว่าด้อยอยู่มาก ประกอบกับตัวเองและแม่ทัพนายกองเคยผ่านศึกมามากทั้งช่วยสยามรับศึกพม่า การศึกแถบเมืองพวน หรือการปราบกบฏที่จำปาสัก จึงมั่นใจว่าฝีมือแม่ทัพของลาวสามารถเอาชนะสยามได้ไม่ยาก...แต่นั่น คือ สมัยรัชกาลที่ ๒ แต่พอเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บรรดาแม่ทัพนายกองในสังกัด รัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เช่น กรมราชวังมหาศักดิพลเสพย์ กรมหมื่นนเรศโยธี กรมหมื่นเสนีบริรักษ์ พระยาราชสุภาวดี พระยาจ่าแสนยากร พระกลาโหมราชเสนา รวมกับแม่ทัพครั้งแผ่นดินเก่าอย่างเจ้าพระยาอภัยภูธร เจ้าพระยามหาโยธา พระองค์เจ้าขุนเณร เหล่านี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าความคิดเจ้าอนุวงศ์นั้นผิด
- เจ้าอนุวงศ์นำทหารเวียงจันทน์ จำปาสัก และพันธมิตรมาจริงๆ ราวสามหมื่นเศษเท่านั้น ขณะที่ทัพสยามสามารถระดมทัพในกรุงที่เป็นกองทหารอาสา (ทหารประจำการไม่ใช่การเกณฑ์) ไม่น้อยกว่าห้าหมื่น รวมกับทหารที่เกณฑ์หัวเมืองต่างและประเทศราช รวมๆแล้วไม่หย่อนแสน ยังไม่รวมหัวเมืองอีสานที่ร่วมกันลุกฮือก่อการในทัพเจ้าอนุวงศ์อีก
ประมาทพันธมิตร
- หัวเมืองอีสาน เจ้าอนุวงศ์ประเมินว่าเจ้าเมืองในภาคอีสาน คงมีความแค้นรัฐบาลสยามจากนโยบายสักเลก และร่วมมือกับตนลุกฮือ แต่ผิดคาด เมืองที่พร้อมจะอยู่ข้างเจ้าอนุวงศ์มีแค่นครพนมเมืองเดียว บางเมืองรับปากเข้าร่วม เช่น จัตุรัส ชัยภูมิ ขุขันธ์ แต่สองเมืองหลังคืนคำเมื่อเริ่มสงคราม ต้องฆ่าเจ้าเมืองทิ้ง เจ้าอนุวงศ์ต้องสังหารเจ้าเมืองอีสานที่ต่อต้านหลายเมืองเช่น กาฬสินธุ์ เขมราฐ ภูเขียว ภูเวียง หล่มสัก
- ทัพล้านนาและหลวงพระบาง จริงๆ เจ้าอนุวงศ์ไม่ได้หวังกับเมืองเหล่าเท่าไหร่ เพราะรู้กันอยู่แล้วว่าเป็นจอมฉกฉวย แต่เป้าหมายคือให้เมืองเหล่านี้อยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว หรือส่งทัพมาช่วยสยาม ซึ่งเมืองล้านนาก็ทำเช่นนั้นๆจริงเสียด้วย คือถ่วงเวลาดูสถานการณ์ แต่...กับหลวงพระบางคู่อริตลอดกาล ไม่ได้ทำแบบล้านนา หลวงพระบางส่งสารไปรายงานกรุงเทพ และส่งทัพมาคอยทัพเจ้าพระยาอภัยภูธรเผื่อรวมเข้าที่เวียงจันทน์ทางหล่มสัก
- ญวน พี่แกไม่มาตามนัด ส่งกำลังมาดอมๆ มองแถวเมืองพวน และก็นิ่งอยู่แบบนั้น กำลังเรือรบที่สัญญากับเจ้าอนุวงศ์เสียดิบดีก็ไร้วี่แวว
- เจ้าอุปราชติสสะ เป็นอนุชาต่างมารดาเจ้าอนุวงศ์ และโอรสเจ้าอนุวงศ์ยังเสกสมรสกับธิดาเจ้าอุปราชอีกชั้น แต่เจ้าอุปราชกลับเป็นผู้คัดค้านศึกนี้ตั้งแต่ต้น เมื่อเจอกองข้าหลวงสักเลกของพระสุริยภักดี นอกจากจะไม่จับตัวไว้แล้ว ยังออกใบผ่านทางให้พระสุริยภักดีและทำหนังสือบอกความลับของกองทัพให้ลงไปเรียนเสนาบดีสยามด้วย เป็นอันว่าเจ้าอุปราชเป็นไส้ศึกเสียเอง (และเป็นคนเดียวที่ไม่โดนลงโทษจากเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์)
ประมาทสถานการณ์
- พ.ศ. ๑๓๖๗ ก่อนก่อการ ๒ ปี เจ้าอนุวงศ์อยู่ช่วยงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๒ ในกรุงเทพนานเป็นปี จึงรู้ข่าวกรองจากรัฐบาลสยามว่าอังกฤษจะใช้มาตรการรุนแรงกับสยามแบบที่ทำกับพม่าแน่นอนจากสัญญาคอเฟอร์ดที่ทำให้สยามกับอังกฤษบาดหมางกัน และข่าวของเจ้าอนุวงศ์ก็เป็นจริงด้วย เพราะอังกฤษส่งเฮนรี่ เบอร์นี่ เข้ามาสยามในปี พ.ศ.๒๓๖๘ และการเจรจาสัญญากับอังกฤษก็กระทบกระทั่งกันจนมีข่าวว่าอังกฤษจะใช้กำลังกับสยาม เจ้าอนุวงศ์จึงมั่นว่าต้องเกิดศึกใหญ่แน่ๆ ซึ่งการคาดการณ์ของเจ้าอนุวงศ์ก็ไม่เสียเปล่าเสียเดียว เพราะเมื่อเจ้าอนุวงศ์ถอยทัพจากนครราชสีมา เจ้าพระยานครศรีธรรมราชมีใบบอกว่ามีเรือรบอังกฤษมาจากปีนังมาทางอ่าวไทย ไม่รู้จะไปทางไหนแน่ จนสยามต้องถอนทัพเจ้าพระยาพระคลังมาตั้งรับที่สมุทรปราการ แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น สยามไม่รบกับอังกฤษ และสามารถลงนามกันได้เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๓๖๙ สถานการณ์นี้ช่วยได้แค่ถอนทัพเจ้าพระยาพระคลังเท่านั้น ไม่มีผลช่วยฝ่ายเวียงจันทน์มากนัก
ประมาทในยุทธวิธี
- แม้ตอนถอยทัพกลับเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์ก็ยังวางใจในยุทธศาสตร์ตั้งรับของตนมาก โดยเฉพาะการตั้งรับที่ด่านข้าวสาร ซึ่งเป็นช่องเขาบริเวณรอยต่อจังหวัดหนองบัวลำภูและอุดรธานี มีช่องทางแคบต้องกรูกันขึ้นช่องเขา เจ้าอนุวงศ์ให้เจ้าสุริยะพระนัดดา วางกำลังไว้ที่นี่มากถึง ๒๐,๐๐๐ คน มากกว่ากำลังที่เอาไว้ป้องกันเวียงจันทน์เสียอีก และให้พระยานรินทร์สงครามเจ้าเมืองจัตุรัส สร้างค่ายดักไว้ที่เมืองหนองบัวลำภูอีกช่อง ป้องกันไม่ให้ทัพสยามอ้อมช่องน้ำจั่นเข้าทางด้านหลัง แต่ทัพสยามกลับไม่ได้โจมตีพร้อมกันแบบที่เจ้าอนุวงศ์คิด แต่ตีค่ายหนองบัวลำภูแต่ก่อน ถึงส่งคนไปตั้งค่ายที่ทุ่งส้มป่อยไม่ได้กรูขึ้นบนเขาจากนั้นเอาปืนใหญ่ตั้งจังกายิงขึ้นไปในค่ายบนเขา อีกส่วนก็อ้อมตลบหลังเข้าช่องน้ำจั่นตีค่ายบนภูพานคำจนแตก ส่วนจุดสกัดอื่นๆ คือ ค่ายเมืองหล่มสักของเจ้าราชวงศ์ ค่ายเมืองยโสธรและศรีษะเกษของเจ้าราชบุตรล้วนแตกทั้งสิ้น เมื่อเจ้าอนุวงศ์รู้ว่าค่ายที่ช่องเข้าสารแตกแบบผิดคาด ก็ตกใจมากรีบหนีไปทันที
ปล.เจ้าราชวงศ์และเจ้าสุริยะ แม่ทัพช่องข้าวสาร นั่งเสลี่ยงคานหามกางร่มบัญชาการรบ ไล่ไพร่พลลงเขาตีค่ายไทยที่ทุ่งส้มป่อย ถ้าผมเป็นแม่ทัพฝ่ายสยามก็คงอดขำไม่ได้ แต่ถ้าผมเป็นไพร่พลลาวคงขำไม่ออก ออกรบแต่ยังติดสบายแบบนี้ คงซื้อน้ำใจทหารได้ยาก
เจ้าอนุวงศ์สร้างศัตรู
- แม่ทัพเจ้าอนุวงศ์ฆ่าเจ้าเมืองอีสาน
เจ้าอนุวงศ์ใช้วิธี "เชือดไก่ให้ลิงดู" ด้วยการประหารเจ้าเมืองและกรมการเมืองอีสานไปหลายเมือง และทุกเมืองถูกนำหัวมาเสียบประจาน โดยเจ้าอนุวงศ์คงลืมไปว่าเจ้าเมืองเหล่านี้ล้วนเกี่ยวดองสืบสกุลกับเจ้าเมืองอื่นๆของอีสานจำนวนมาก
๐ เขมราฐ เป็นวงศ์พระวอพระตา พระเทพวงศาเจ้าเมืองเขมราฐที่ถูกประหาร เป็นหลานพระพรหมราชวงศาเจ้าเมืองอุบลราชธานี เป็นนัดดาเจ้าพระวิไชยขัติยะ กษัตริย์จำปาสักองค์ก่อน และเป็นญาติกับพระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธร นอกจากนี้เมืองเขมราฐยังมีเมืองโขงเจียมเป็นเมืองขึ้นและเกี่ยวดองกันอีก
๐ กาฬสินธุ์ สืบวงศ์มาจากพระไชยองค์เว้ ทวดของเจ้าอนุวงศ์นั่นเอง แต่เจ้าโสมพะมิตเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คนแรกทะเลาะกับพระเจ้าศิริบุญสารบิดาของเจ้าอนุวงศ์ เลยแยกมาตั้งเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร (หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ที่ถูกประหาร เกี่ยวดองกับพระขัติยวงศาเจ้าเมืองร้อยเอ็ดและพระรัตนวงศาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ
๐ ชัยภูมิ ภูเขียว และภูเวียง เจ้าราชวงศ์ประหารพระยาภักดีชุมพล (พระยาแล) เจ้าเมืองชัยภูมิ, พระยาไกรสีหนาทเจ้าเมืองภูเขียว และพระศรีธงชัยเจ้าเมืองภูเวียง หัวเมืองอีสานเหล่านี้มีการปกครองระบบสยาม คือเมืองอีสานจะใช้ระบบอาญาสี่มี่เจ้าเมือง อุปราช ราชวงศ์ และราชบุตร แต่เมืองเหล่านี้ใช้ใช้ระบบเจ้าเมือง ปลัดเมือง และยกกระบัตรเมือง เมืองเหล่านี้เป็นพันธมิตรกันมานานและค่อนข้างเอาใจเมืองนครราชสีมา ได้แก่เมืองชัยภูมิ ภูเขียว ภูเวียง จัตุรัส และชนบท ในห้าเมืองนี้ มีเพียงจัตุรัสที่ยอมสู้แทนเจ้าอนุวงศ์ (เดิมพระยานรินทร์สงครามเจ้าเมืองจัตุรัส ถูกบังคับเช่นเดียวกัน จนต้องยอมถือน้ำกับเจ้าสุทธิสาร และยอมสู้กับทัพสยาม)
๐ หล่มสัก เป็นสายลาวหลวงพระบาง ร่วมกับเมืองหล่ม เมืองด่านซ้าย เมืองปากเหือง เจ้าสุทธิสารให้ประหารพระยาสุริยวงศา
๐ เมืองขุขันธ์ หนึ่งในเมืองเขมรป่าดง ที่เป็นพันธมิตรกับเมืองสุรินทร์ ศรีษะเกษ นางรอง สังฆะ แต่แรกเจ้าเมืองขุขันธ์ให้คำมั่นจะเข้าร่วม แต่ต่อมาเจ้าราชบุตรเกิดระแวงเจ้าเมืองขุขันธ์จึงให้ประหารพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน
ทีนี้ พอทัพสยามเข้ามาที่ใด เจ้าเมืองอีสานก็เข้าร่วมกับสยามทันที กองทัพเจ้าราชบุตรที่ตั้งอยู่ในเมืองอุบล ซึ่งกำลังถูกทัพพระยาราชสุภาวดีล้อมอยู่ ก็ถูกกรมการเมืองอุบลและราษฎรก่อจลาจลในเมือง เปิดประตูรับทัพสยามทันที
- เจ้าราชบุตร ล่วงเกินพวกจำปาสัก
จำปาสักเป็นหนึ่งในสามอาณาจักรล้านช้าง โดยล้านช้างจำปาสักมีวงศ์กษัตริย์เป็นของตัวเอง แม้ก่อนหน้านี้จะมีเจ้าต่างวงศ์มาปกครองคือเจ้าพระวิไชย (เจ้าฝ่ายหน้า) ซึ่งเป็นวงศ์เมืองอุบลราชธานี แต่เจ้าฝ่ายหน้าก็เป็นดองกับพระเจ้าไชยกุมารกษัตริย์จำปาสักองค์ก่อน พระธิดาพระเจ้าไชยกุมารก็เสกสมรสกับเจ้าคำผงเจ้าเมืองอุบลพี่ชายเจ้าฝ่ายหน้า แต่วันดีคืนดี ทางกรุงเทพก็ให้เจ้าราชบุตร (โย่) โอรสเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับพวกจำปาสักมาเป็นเจ้านครจำปากสัก (เกี่ยวกับกรณีนี้ มีผู้ไม่เห็นด้วยที่จะให้เจ้าราชบุตรไปครองจำปาสักหลายท่าน ถึงกับเจ้าฟ้ากรมกลวงพิทักษ์มนตรีถึงกับตรัสว่า "อยากจะรู้นัก ใครเป็นผู้จัดแจงเพ็ดทูลให้เจ้าราชบุตรเวียงจันทน์ ไปเป็นเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ แต่เพียงพ่อมีอำนาจอยู่ข้างฝ่ายเหนือก็พอแล้ว ยังจะเพิ่มเติมให้ลูกไปมีอำนาจโอบลงมาทางฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้าน ๑ ต่อไป จะได้ความร้อนใจด้วยเรื่องนี้" แต่ก็แพ้แรงสนับสนุนของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ที่เชียร์เจ้าอนุวงศ์มาก และเมื่อเจ้าอนุวงศ์ก่อการ ร.๓ จึงทรงพิโรธมาก)
เจ้าราชบุตร เมื่อมาเป็นเจ้านครจำปาสัก ก็กีดกันเชื้อพระวงศ์จำปาสักเดิมไม่ให้มีบทบาทในการปกครอง และยังแต่งตั้งกรมการเมืองขึ้นโดยผิดธรรมเนียมและเอาแต่คนของตัวเองทั้งหมด ทำให้เมื่อทัพพระยาราชสุภาวดีตีเมืองอุบลแตกเจ้าราชบุตรหนีข้ามไปจำปาสัก แต่ถูกเจ้าฮุยนัดดาเจ้าจำปาสักองค์ก่อนปิดประตูเมืองและล้อมจับเจ้าราชบุตรพร้อมบุตรส่งให้พระยาราชสุภาวดี
อันนี้เท่าที่คิดได้ครับ จริงมีหลายปัจจัยมาก ที่ทัพเจ้าอนุวงศ์แพ้อย่างหมดรูป
- เจ้าอุปราช (ติสสะ) เป็นคนแรกที่ห้ามทำศึกนี้ เหตุผลเพราะ เมื่อประเมินแล้วทำไม่สำเร็จแน่นอน บางกอกเป็นเมืองใหญ่ ถึงบังเอิญตีได้ก็ปกครองไม่ได้ แต่เจ้าอนุวงศ์บอกว่าไม่คิดจะปกครอง ใช้วิธี "ปล้นเมือง" แล้วกวาดไปเวียงจันทน์ แต่เจ้าอนุวงศ์คงลืมไปว่าเฉพาะทหารในกรุงกับเมืองชั้นในก็เกือบแสน กำแพงเมือง ป้อมปราการก็สร้างเสร็จแล้วตอนนั้น
- เจ้าอนุวงศ์ประเมินว่า สยามคงเหลือแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยสร้างกรุงไม่มากนัก และอำนาจของสยามคงเสื่อมถอยเต็มที เพราะตลอดรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้า สยามเสียประเทศราชไปเยอะมาก แม้แต่ตอนนักองค์จันทร์กษัตริย์เขมรก่อกบฏ สยามก็ไม่ทำอะไรจนเสียเขมรให้ญวน ไหนจะหัวเมืองแขกแยกตัวอีก และการศึกกับพม่าก็ทำได้แค่ตั้งรับเท่านั้น
- เจ้าอนุวงศ์ที่เคยไปช่วยสยามขัดตาทัพพม่าได้เห็นฝีมือแม่ทัพนายกองของฝ่ายสยามเห็นว่าด้อยอยู่มาก ประกอบกับตัวเองและแม่ทัพนายกองเคยผ่านศึกมามากทั้งช่วยสยามรับศึกพม่า การศึกแถบเมืองพวน หรือการปราบกบฏที่จำปาสัก จึงมั่นใจว่าฝีมือแม่ทัพของลาวสามารถเอาชนะสยามได้ไม่ยาก...แต่นั่น คือ สมัยรัชกาลที่ ๒ แต่พอเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บรรดาแม่ทัพนายกองในสังกัด รัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เช่น กรมราชวังมหาศักดิพลเสพย์ กรมหมื่นนเรศโยธี กรมหมื่นเสนีบริรักษ์ พระยาราชสุภาวดี พระยาจ่าแสนยากร พระกลาโหมราชเสนา รวมกับแม่ทัพครั้งแผ่นดินเก่าอย่างเจ้าพระยาอภัยภูธร เจ้าพระยามหาโยธา พระองค์เจ้าขุนเณร เหล่านี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าความคิดเจ้าอนุวงศ์นั้นผิด
- เจ้าอนุวงศ์นำทหารเวียงจันทน์ จำปาสัก และพันธมิตรมาจริงๆ ราวสามหมื่นเศษเท่านั้น ขณะที่ทัพสยามสามารถระดมทัพในกรุงที่เป็นกองทหารอาสา (ทหารประจำการไม่ใช่การเกณฑ์) ไม่น้อยกว่าห้าหมื่น รวมกับทหารที่เกณฑ์หัวเมืองต่างและประเทศราช รวมๆแล้วไม่หย่อนแสน ยังไม่รวมหัวเมืองอีสานที่ร่วมกันลุกฮือก่อการในทัพเจ้าอนุวงศ์อีก
ประมาทพันธมิตร
- หัวเมืองอีสาน เจ้าอนุวงศ์ประเมินว่าเจ้าเมืองในภาคอีสาน คงมีความแค้นรัฐบาลสยามจากนโยบายสักเลก และร่วมมือกับตนลุกฮือ แต่ผิดคาด เมืองที่พร้อมจะอยู่ข้างเจ้าอนุวงศ์มีแค่นครพนมเมืองเดียว บางเมืองรับปากเข้าร่วม เช่น จัตุรัส ชัยภูมิ ขุขันธ์ แต่สองเมืองหลังคืนคำเมื่อเริ่มสงคราม ต้องฆ่าเจ้าเมืองทิ้ง เจ้าอนุวงศ์ต้องสังหารเจ้าเมืองอีสานที่ต่อต้านหลายเมืองเช่น กาฬสินธุ์ เขมราฐ ภูเขียว ภูเวียง หล่มสัก
- ทัพล้านนาและหลวงพระบาง จริงๆ เจ้าอนุวงศ์ไม่ได้หวังกับเมืองเหล่าเท่าไหร่ เพราะรู้กันอยู่แล้วว่าเป็นจอมฉกฉวย แต่เป้าหมายคือให้เมืองเหล่านี้อยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว หรือส่งทัพมาช่วยสยาม ซึ่งเมืองล้านนาก็ทำเช่นนั้นๆจริงเสียด้วย คือถ่วงเวลาดูสถานการณ์ แต่...กับหลวงพระบางคู่อริตลอดกาล ไม่ได้ทำแบบล้านนา หลวงพระบางส่งสารไปรายงานกรุงเทพ และส่งทัพมาคอยทัพเจ้าพระยาอภัยภูธรเผื่อรวมเข้าที่เวียงจันทน์ทางหล่มสัก
- ญวน พี่แกไม่มาตามนัด ส่งกำลังมาดอมๆ มองแถวเมืองพวน และก็นิ่งอยู่แบบนั้น กำลังเรือรบที่สัญญากับเจ้าอนุวงศ์เสียดิบดีก็ไร้วี่แวว
- เจ้าอุปราชติสสะ เป็นอนุชาต่างมารดาเจ้าอนุวงศ์ และโอรสเจ้าอนุวงศ์ยังเสกสมรสกับธิดาเจ้าอุปราชอีกชั้น แต่เจ้าอุปราชกลับเป็นผู้คัดค้านศึกนี้ตั้งแต่ต้น เมื่อเจอกองข้าหลวงสักเลกของพระสุริยภักดี นอกจากจะไม่จับตัวไว้แล้ว ยังออกใบผ่านทางให้พระสุริยภักดีและทำหนังสือบอกความลับของกองทัพให้ลงไปเรียนเสนาบดีสยามด้วย เป็นอันว่าเจ้าอุปราชเป็นไส้ศึกเสียเอง (และเป็นคนเดียวที่ไม่โดนลงโทษจากเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์)
ประมาทสถานการณ์
- พ.ศ. ๑๓๖๗ ก่อนก่อการ ๒ ปี เจ้าอนุวงศ์อยู่ช่วยงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๒ ในกรุงเทพนานเป็นปี จึงรู้ข่าวกรองจากรัฐบาลสยามว่าอังกฤษจะใช้มาตรการรุนแรงกับสยามแบบที่ทำกับพม่าแน่นอนจากสัญญาคอเฟอร์ดที่ทำให้สยามกับอังกฤษบาดหมางกัน และข่าวของเจ้าอนุวงศ์ก็เป็นจริงด้วย เพราะอังกฤษส่งเฮนรี่ เบอร์นี่ เข้ามาสยามในปี พ.ศ.๒๓๖๘ และการเจรจาสัญญากับอังกฤษก็กระทบกระทั่งกันจนมีข่าวว่าอังกฤษจะใช้กำลังกับสยาม เจ้าอนุวงศ์จึงมั่นว่าต้องเกิดศึกใหญ่แน่ๆ ซึ่งการคาดการณ์ของเจ้าอนุวงศ์ก็ไม่เสียเปล่าเสียเดียว เพราะเมื่อเจ้าอนุวงศ์ถอยทัพจากนครราชสีมา เจ้าพระยานครศรีธรรมราชมีใบบอกว่ามีเรือรบอังกฤษมาจากปีนังมาทางอ่าวไทย ไม่รู้จะไปทางไหนแน่ จนสยามต้องถอนทัพเจ้าพระยาพระคลังมาตั้งรับที่สมุทรปราการ แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น สยามไม่รบกับอังกฤษ และสามารถลงนามกันได้เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๓๖๙ สถานการณ์นี้ช่วยได้แค่ถอนทัพเจ้าพระยาพระคลังเท่านั้น ไม่มีผลช่วยฝ่ายเวียงจันทน์มากนัก
ประมาทในยุทธวิธี
- แม้ตอนถอยทัพกลับเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์ก็ยังวางใจในยุทธศาสตร์ตั้งรับของตนมาก โดยเฉพาะการตั้งรับที่ด่านข้าวสาร ซึ่งเป็นช่องเขาบริเวณรอยต่อจังหวัดหนองบัวลำภูและอุดรธานี มีช่องทางแคบต้องกรูกันขึ้นช่องเขา เจ้าอนุวงศ์ให้เจ้าสุริยะพระนัดดา วางกำลังไว้ที่นี่มากถึง ๒๐,๐๐๐ คน มากกว่ากำลังที่เอาไว้ป้องกันเวียงจันทน์เสียอีก และให้พระยานรินทร์สงครามเจ้าเมืองจัตุรัส สร้างค่ายดักไว้ที่เมืองหนองบัวลำภูอีกช่อง ป้องกันไม่ให้ทัพสยามอ้อมช่องน้ำจั่นเข้าทางด้านหลัง แต่ทัพสยามกลับไม่ได้โจมตีพร้อมกันแบบที่เจ้าอนุวงศ์คิด แต่ตีค่ายหนองบัวลำภูแต่ก่อน ถึงส่งคนไปตั้งค่ายที่ทุ่งส้มป่อยไม่ได้กรูขึ้นบนเขาจากนั้นเอาปืนใหญ่ตั้งจังกายิงขึ้นไปในค่ายบนเขา อีกส่วนก็อ้อมตลบหลังเข้าช่องน้ำจั่นตีค่ายบนภูพานคำจนแตก ส่วนจุดสกัดอื่นๆ คือ ค่ายเมืองหล่มสักของเจ้าราชวงศ์ ค่ายเมืองยโสธรและศรีษะเกษของเจ้าราชบุตรล้วนแตกทั้งสิ้น เมื่อเจ้าอนุวงศ์รู้ว่าค่ายที่ช่องเข้าสารแตกแบบผิดคาด ก็ตกใจมากรีบหนีไปทันที
ปล.เจ้าราชวงศ์และเจ้าสุริยะ แม่ทัพช่องข้าวสาร นั่งเสลี่ยงคานหามกางร่มบัญชาการรบ ไล่ไพร่พลลงเขาตีค่ายไทยที่ทุ่งส้มป่อย ถ้าผมเป็นแม่ทัพฝ่ายสยามก็คงอดขำไม่ได้ แต่ถ้าผมเป็นไพร่พลลาวคงขำไม่ออก ออกรบแต่ยังติดสบายแบบนี้ คงซื้อน้ำใจทหารได้ยาก
เจ้าอนุวงศ์สร้างศัตรู
- แม่ทัพเจ้าอนุวงศ์ฆ่าเจ้าเมืองอีสาน
เจ้าอนุวงศ์ใช้วิธี "เชือดไก่ให้ลิงดู" ด้วยการประหารเจ้าเมืองและกรมการเมืองอีสานไปหลายเมือง และทุกเมืองถูกนำหัวมาเสียบประจาน โดยเจ้าอนุวงศ์คงลืมไปว่าเจ้าเมืองเหล่านี้ล้วนเกี่ยวดองสืบสกุลกับเจ้าเมืองอื่นๆของอีสานจำนวนมาก
๐ เขมราฐ เป็นวงศ์พระวอพระตา พระเทพวงศาเจ้าเมืองเขมราฐที่ถูกประหาร เป็นหลานพระพรหมราชวงศาเจ้าเมืองอุบลราชธานี เป็นนัดดาเจ้าพระวิไชยขัติยะ กษัตริย์จำปาสักองค์ก่อน และเป็นญาติกับพระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธร นอกจากนี้เมืองเขมราฐยังมีเมืองโขงเจียมเป็นเมืองขึ้นและเกี่ยวดองกันอีก
๐ กาฬสินธุ์ สืบวงศ์มาจากพระไชยองค์เว้ ทวดของเจ้าอนุวงศ์นั่นเอง แต่เจ้าโสมพะมิตเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คนแรกทะเลาะกับพระเจ้าศิริบุญสารบิดาของเจ้าอนุวงศ์ เลยแยกมาตั้งเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร (หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ที่ถูกประหาร เกี่ยวดองกับพระขัติยวงศาเจ้าเมืองร้อยเอ็ดและพระรัตนวงศาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ
๐ ชัยภูมิ ภูเขียว และภูเวียง เจ้าราชวงศ์ประหารพระยาภักดีชุมพล (พระยาแล) เจ้าเมืองชัยภูมิ, พระยาไกรสีหนาทเจ้าเมืองภูเขียว และพระศรีธงชัยเจ้าเมืองภูเวียง หัวเมืองอีสานเหล่านี้มีการปกครองระบบสยาม คือเมืองอีสานจะใช้ระบบอาญาสี่มี่เจ้าเมือง อุปราช ราชวงศ์ และราชบุตร แต่เมืองเหล่านี้ใช้ใช้ระบบเจ้าเมือง ปลัดเมือง และยกกระบัตรเมือง เมืองเหล่านี้เป็นพันธมิตรกันมานานและค่อนข้างเอาใจเมืองนครราชสีมา ได้แก่เมืองชัยภูมิ ภูเขียว ภูเวียง จัตุรัส และชนบท ในห้าเมืองนี้ มีเพียงจัตุรัสที่ยอมสู้แทนเจ้าอนุวงศ์ (เดิมพระยานรินทร์สงครามเจ้าเมืองจัตุรัส ถูกบังคับเช่นเดียวกัน จนต้องยอมถือน้ำกับเจ้าสุทธิสาร และยอมสู้กับทัพสยาม)
๐ หล่มสัก เป็นสายลาวหลวงพระบาง ร่วมกับเมืองหล่ม เมืองด่านซ้าย เมืองปากเหือง เจ้าสุทธิสารให้ประหารพระยาสุริยวงศา
๐ เมืองขุขันธ์ หนึ่งในเมืองเขมรป่าดง ที่เป็นพันธมิตรกับเมืองสุรินทร์ ศรีษะเกษ นางรอง สังฆะ แต่แรกเจ้าเมืองขุขันธ์ให้คำมั่นจะเข้าร่วม แต่ต่อมาเจ้าราชบุตรเกิดระแวงเจ้าเมืองขุขันธ์จึงให้ประหารพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน
ทีนี้ พอทัพสยามเข้ามาที่ใด เจ้าเมืองอีสานก็เข้าร่วมกับสยามทันที กองทัพเจ้าราชบุตรที่ตั้งอยู่ในเมืองอุบล ซึ่งกำลังถูกทัพพระยาราชสุภาวดีล้อมอยู่ ก็ถูกกรมการเมืองอุบลและราษฎรก่อจลาจลในเมือง เปิดประตูรับทัพสยามทันที
- เจ้าราชบุตร ล่วงเกินพวกจำปาสัก
จำปาสักเป็นหนึ่งในสามอาณาจักรล้านช้าง โดยล้านช้างจำปาสักมีวงศ์กษัตริย์เป็นของตัวเอง แม้ก่อนหน้านี้จะมีเจ้าต่างวงศ์มาปกครองคือเจ้าพระวิไชย (เจ้าฝ่ายหน้า) ซึ่งเป็นวงศ์เมืองอุบลราชธานี แต่เจ้าฝ่ายหน้าก็เป็นดองกับพระเจ้าไชยกุมารกษัตริย์จำปาสักองค์ก่อน พระธิดาพระเจ้าไชยกุมารก็เสกสมรสกับเจ้าคำผงเจ้าเมืองอุบลพี่ชายเจ้าฝ่ายหน้า แต่วันดีคืนดี ทางกรุงเทพก็ให้เจ้าราชบุตร (โย่) โอรสเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับพวกจำปาสักมาเป็นเจ้านครจำปากสัก (เกี่ยวกับกรณีนี้ มีผู้ไม่เห็นด้วยที่จะให้เจ้าราชบุตรไปครองจำปาสักหลายท่าน ถึงกับเจ้าฟ้ากรมกลวงพิทักษ์มนตรีถึงกับตรัสว่า "อยากจะรู้นัก ใครเป็นผู้จัดแจงเพ็ดทูลให้เจ้าราชบุตรเวียงจันทน์ ไปเป็นเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ แต่เพียงพ่อมีอำนาจอยู่ข้างฝ่ายเหนือก็พอแล้ว ยังจะเพิ่มเติมให้ลูกไปมีอำนาจโอบลงมาทางฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้าน ๑ ต่อไป จะได้ความร้อนใจด้วยเรื่องนี้" แต่ก็แพ้แรงสนับสนุนของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ที่เชียร์เจ้าอนุวงศ์มาก และเมื่อเจ้าอนุวงศ์ก่อการ ร.๓ จึงทรงพิโรธมาก)
เจ้าราชบุตร เมื่อมาเป็นเจ้านครจำปาสัก ก็กีดกันเชื้อพระวงศ์จำปาสักเดิมไม่ให้มีบทบาทในการปกครอง และยังแต่งตั้งกรมการเมืองขึ้นโดยผิดธรรมเนียมและเอาแต่คนของตัวเองทั้งหมด ทำให้เมื่อทัพพระยาราชสุภาวดีตีเมืองอุบลแตกเจ้าราชบุตรหนีข้ามไปจำปาสัก แต่ถูกเจ้าฮุยนัดดาเจ้าจำปาสักองค์ก่อนปิดประตูเมืองและล้อมจับเจ้าราชบุตรพร้อมบุตรส่งให้พระยาราชสุภาวดี
อันนี้เท่าที่คิดได้ครับ จริงมีหลายปัจจัยมาก ที่ทัพเจ้าอนุวงศ์แพ้อย่างหมดรูป
แสดงความคิดเห็น
สรุปความพ่ายแพ้ของเจ้าอนุวงศ์...คือ ไม่พร้อมด้านกองทัพสินะ
ปัญหาสำคัญคือ กองทัพลาวไม่พร้อมอย่างมากมายใช่มั้ย ลาวเองก็ใชว่าจะมีทหารมากมายอะไร มีเพียงไม่กี่หมื่น
จากแผนการณ์ของเจ้าอนุก็ต้อง"พึ่งจมูก"คนอื่นมากมาย ทั้งแกว ทั้งอังกฤษ ทั้งล้านนา ทั้งพม่า แล้วเจ้าอนุวงศ์เองก็ใช่ว่าจะมีศักยภาพบารมีมากพอให้ขั้วอำนาจที่ชักชวนให้รบกับไทยเชื่อถือได้
กลายเป็นว่าพอพวกเมืองที่นัดไม่มา ลาวก็ไปไม่เป็น พอรบด้วยกำลังที่มีก็สู้ไทยไม่ไหว