จะว่าไปแล้ว
เดชคัมภีร์เทวดา (Swordsman) (1990) คือหนังที่มาปลุกชีพให้กับหนังจีนกำลังภายในอีกครั้งท่ามกลางกระแสของหนังแอ๊คชั่นฮ่องกงประเภทดุเดือดเลือดพล่านที่กำลังครองตลาดทั้งในประเทศ (ฮ่องกง) และต่างแดน (เช่นไทย) ในขณะนั้น แม้ผู้กำกับ เดชคัมภีร์เทวดา จะเป็น คิงฮู (หูจวินเฉียน) แต่เป็นที่รู้กันว่าผู้ที่มีบทบาทอย่างมากต่อหนังเรื่องนี้คือ ฉีเคอะ ที่มีชื่อในตำแหน่งผู้อำนวยการสร้างนั่นเอง และนั่นทำให้ทุกครั้งที่พูดถึง เดชคัมภีร์เทวดา จะมีชื่อ ฉีเคอะ มาก่อนเสมอ
หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของ เดชคัมภีร์เทวดา นั่นคือการเลือกเอาบทประพันธ์ของกิมย้งมาดัดแปลงซึ่งเรื่องที่เลือกมานั้นคือเรื่อง
ผู้กล้าหาญคะนอง (ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น
กระบี่เย้ยยุทธจักร) ด้วยรากเดิมของบทประพันธ์ที่เต็มไปด้วยการเสียดสีสังคมและการเมืองของจีนถูกทำให้เหลือแค่เพียงความเร้าใจจากเนื้อหารวมทั้งฉากการต่อสู้ที่สวยงามเสริมแต่งด้วยคิวบู๊ที่ก้าวหน้ากว่าเรื่องใดในยุคนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม เดชคัมภีร์เทวดา จึงได้กลายเป็นหัวหอกของหนังกำลังภายในยุค 90 และสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจาก เดชคัมภีร์เทวดา ชื่อฉีเคอะถูกนำมากลายเป็นจุดขายของหนังกำลังภายในรวมไปถึงหนังแอ๊คชั่นเรื่องดังอีกหลายเรื่องซึ่งมีทั้งผลงานที่เขากำกับเองหรือเพียงแค่อำนวยการสร้างก็ตาม จนมาเรื่องผลงานเรื่องล่าสุดที่เข้าฉายอยู่ในขณะนี้นั่นก็คือ
ดาบปราบเทวดา (Sword Master) (2016) ฉีเคอะหวนกลับมาหาบทประพันธ์จากนิยายกำลังภายในเรื่องดังอีกครั้งเพียงแต่คราวนี้มาจากงานเขียนของโกวเล้งที่มีชื่อเสียงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากิมย้งและเรื่องที่ถูกเลือกนำมาดัดแปลงครั้งนี้คือ
ซาเสี่ยวเ อี้ย
ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกับคำว่า ดัดแปลง เสียก่อน เพราะโดยเนื้อหาของนิยายกำลังภายในแล้วย่อมยากต่อการนำมาทำเป็นภาพยนตร์ทั้งความยาวของหนังสือและการซ่อนแนวคิดเชิงปรัชญาตะวันออกเอาไว้ภายใน การ “ดัดแปลง” จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างที่สุด เดชคัมภีร์เทวดา ที่ประสบความสำเร็จมากมายนั้นก็ถูกดัดแปลงจาก ผู้กล้าหาญคะนอง ไปไม่น้อยอาจจะมากกว่าครึ่งเรื่องด้วยซ้ำ เหลือแค่เพียงชื่อตัวละคร บุคลิกและโครงเรื่องเพียงคร่าว ๆ รวมทั้งฉากสำคัญจากหนังสือเอาไว้เท่านั้น ที่เหลือคือการเขียนเรื่องใหม่ทั้งหมด แต่ก็ทำออกมาได้อย่างกลมกลืนและสนุกสนาน
ในขณะที่บทประพันธ์กิมย้งซึ่งเด่นในเรื่องการวางโครงเรื่องและบุคลิกตัวละครยังถูกดัดแปลงไปมากมายถึงขนาดนี้ บทประพันธ์เรื่อง ซาเสี่ยวเ อี้ย ของโกวเล้งก็ประสบชะตากรรมไม่แพ้กัน ดาบปราบเทวดา จึงมีแค่เพียงชื่อตัวละคร บุคลิกหลักและเหตุการณ์สำคัญเท่านั้นที่ยังคงเหมือนในหนังสือเหมือนกัน แต่ในส่วนของการดำเนินเรื่องแทบจะเปลี่ยนไปเกือบทั้งหมด กระนั้นคนที่ได้อ่าน ซาเสี่ยวเ อี้ย ก็ยังพอจะยอมรับได้ในระดับหนึ่งตราบเท่าที่ภาพรวมของหนังยังคงสนุกไม่ต่างจากหนังสือสักเท่าใด
แต่สิ่งหนึ่งที่ ดาบปราบเทวดา อาจจะแตกต่างจากหนังกำลังภายในภายใต้การอำนวยการสร้างของฉีเคอะเรื่องอื่น ๆ นั่นคือการมี เอ่อตงเซิน มาเป็นผู้กำกับ สองประเด็นหลักที่สำคัญของการมีเอ่อตงเซินมาช่วยทำให้ ดาบปราบเทวดา มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น ข้อแรก เอ่อตงเซิน มีชื่อในการทำหนังที่เน้นดรามาอยู่แล้วซึ่งดูจะเข้าการสร้างจากบทประพันธ์ของโกวเล้งที่มีจุดเด่นในเรื่องความลึกซึ้งของเนื้อหาและการมิติของตัวละคร ดาบปราบเทวดา จึงไม่ได้มีอยู่แค่ฉากบู๊ล้างผลาญ อีกข้อหนึ่งนั่นคือ เอ่อตงเซิน สร้างชื่อเสียงในวงการบันเทิงในบทนำจากเรื่อง
ศึกล้างเจ้ายุทธจักร (Death Duel) (1977) ซึ่งดัดแปลงมาจากหนังสือเรื่อง ซาเสี่ยวเ อี้ย เรื่องเดียวกับ ดาบปราบเทวดา เรื่องนี้ เขาจึงย่อมเป็นอีกผู้หนึ่งที่เข้าใจเรื่องราวของหนังได้ดีเสมอมา
ย้อนกลับมาที่ฉีเคอะเป็นการส่งท้าย ไม่ว่าอย่างไรฉีเคอะยังคงมีบทบาทต่อหนังของเขาอย่างสูงแม้จะอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสร้าง การมีเอ่อตงเซินเป็นผู้กำกับจึงเป็นแค่การถ่วงดุลในหนังมีความลึกซึ้งเฉกเช่นบทประพันธ์ แต่เชื่อได้ว่าในทุกคิวบู๊และความวิจิตรตระการตาจากงานสร้างฉีเคอะย่อมมีส่วนอยู่ไม่น้อย ภาพรวมของหนังทั้งหมดจึงน่าจะขึ้นอยู่กับเขาเป็นสำคัญ และในอนาคตหากจะมีการพูดถึง ดาบปราบเทวดา ว่าจะกลายเป็นหัวหอกสำคัญของหนังกำลังภายในอีกครั้งชื่อของฉีเคอะก็จะถูกพูดถึงก่อนเสมอ
ด้วยความคารวะต่อ ฉีเคอะ, เอ่อตงเซิน และโกวเล้ง
ฉีเคอะ - จากกิมย้งสู่โกวเล้ง - เดชคัมภีร์เทวดามาเป็นดาบปราบเทวดา
จะว่าไปแล้ว เดชคัมภีร์เทวดา (Swordsman) (1990) คือหนังที่มาปลุกชีพให้กับหนังจีนกำลังภายในอีกครั้งท่ามกลางกระแสของหนังแอ๊คชั่นฮ่องกงประเภทดุเดือดเลือดพล่านที่กำลังครองตลาดทั้งในประเทศ (ฮ่องกง) และต่างแดน (เช่นไทย) ในขณะนั้น แม้ผู้กำกับ เดชคัมภีร์เทวดา จะเป็น คิงฮู (หูจวินเฉียน) แต่เป็นที่รู้กันว่าผู้ที่มีบทบาทอย่างมากต่อหนังเรื่องนี้คือ ฉีเคอะ ที่มีชื่อในตำแหน่งผู้อำนวยการสร้างนั่นเอง และนั่นทำให้ทุกครั้งที่พูดถึง เดชคัมภีร์เทวดา จะมีชื่อ ฉีเคอะ มาก่อนเสมอ
หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของ เดชคัมภีร์เทวดา นั่นคือการเลือกเอาบทประพันธ์ของกิมย้งมาดัดแปลงซึ่งเรื่องที่เลือกมานั้นคือเรื่อง ผู้กล้าหาญคะนอง (ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น กระบี่เย้ยยุทธจักร) ด้วยรากเดิมของบทประพันธ์ที่เต็มไปด้วยการเสียดสีสังคมและการเมืองของจีนถูกทำให้เหลือแค่เพียงความเร้าใจจากเนื้อหารวมทั้งฉากการต่อสู้ที่สวยงามเสริมแต่งด้วยคิวบู๊ที่ก้าวหน้ากว่าเรื่องใดในยุคนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม เดชคัมภีร์เทวดา จึงได้กลายเป็นหัวหอกของหนังกำลังภายในยุค 90 และสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจาก เดชคัมภีร์เทวดา ชื่อฉีเคอะถูกนำมากลายเป็นจุดขายของหนังกำลังภายในรวมไปถึงหนังแอ๊คชั่นเรื่องดังอีกหลายเรื่องซึ่งมีทั้งผลงานที่เขากำกับเองหรือเพียงแค่อำนวยการสร้างก็ตาม จนมาเรื่องผลงานเรื่องล่าสุดที่เข้าฉายอยู่ในขณะนี้นั่นก็คือ ดาบปราบเทวดา (Sword Master) (2016) ฉีเคอะหวนกลับมาหาบทประพันธ์จากนิยายกำลังภายในเรื่องดังอีกครั้งเพียงแต่คราวนี้มาจากงานเขียนของโกวเล้งที่มีชื่อเสียงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากิมย้งและเรื่องที่ถูกเลือกนำมาดัดแปลงครั้งนี้คือ ซาเสี่ยวเ อี้ย
ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกับคำว่า ดัดแปลง เสียก่อน เพราะโดยเนื้อหาของนิยายกำลังภายในแล้วย่อมยากต่อการนำมาทำเป็นภาพยนตร์ทั้งความยาวของหนังสือและการซ่อนแนวคิดเชิงปรัชญาตะวันออกเอาไว้ภายใน การ “ดัดแปลง” จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างที่สุด เดชคัมภีร์เทวดา ที่ประสบความสำเร็จมากมายนั้นก็ถูกดัดแปลงจาก ผู้กล้าหาญคะนอง ไปไม่น้อยอาจจะมากกว่าครึ่งเรื่องด้วยซ้ำ เหลือแค่เพียงชื่อตัวละคร บุคลิกและโครงเรื่องเพียงคร่าว ๆ รวมทั้งฉากสำคัญจากหนังสือเอาไว้เท่านั้น ที่เหลือคือการเขียนเรื่องใหม่ทั้งหมด แต่ก็ทำออกมาได้อย่างกลมกลืนและสนุกสนาน
ในขณะที่บทประพันธ์กิมย้งซึ่งเด่นในเรื่องการวางโครงเรื่องและบุคลิกตัวละครยังถูกดัดแปลงไปมากมายถึงขนาดนี้ บทประพันธ์เรื่อง ซาเสี่ยวเ อี้ย ของโกวเล้งก็ประสบชะตากรรมไม่แพ้กัน ดาบปราบเทวดา จึงมีแค่เพียงชื่อตัวละคร บุคลิกหลักและเหตุการณ์สำคัญเท่านั้นที่ยังคงเหมือนในหนังสือเหมือนกัน แต่ในส่วนของการดำเนินเรื่องแทบจะเปลี่ยนไปเกือบทั้งหมด กระนั้นคนที่ได้อ่าน ซาเสี่ยวเ อี้ย ก็ยังพอจะยอมรับได้ในระดับหนึ่งตราบเท่าที่ภาพรวมของหนังยังคงสนุกไม่ต่างจากหนังสือสักเท่าใด
แต่สิ่งหนึ่งที่ ดาบปราบเทวดา อาจจะแตกต่างจากหนังกำลังภายในภายใต้การอำนวยการสร้างของฉีเคอะเรื่องอื่น ๆ นั่นคือการมี เอ่อตงเซิน มาเป็นผู้กำกับ สองประเด็นหลักที่สำคัญของการมีเอ่อตงเซินมาช่วยทำให้ ดาบปราบเทวดา มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น ข้อแรก เอ่อตงเซิน มีชื่อในการทำหนังที่เน้นดรามาอยู่แล้วซึ่งดูจะเข้าการสร้างจากบทประพันธ์ของโกวเล้งที่มีจุดเด่นในเรื่องความลึกซึ้งของเนื้อหาและการมิติของตัวละคร ดาบปราบเทวดา จึงไม่ได้มีอยู่แค่ฉากบู๊ล้างผลาญ อีกข้อหนึ่งนั่นคือ เอ่อตงเซิน สร้างชื่อเสียงในวงการบันเทิงในบทนำจากเรื่อง ศึกล้างเจ้ายุทธจักร (Death Duel) (1977) ซึ่งดัดแปลงมาจากหนังสือเรื่อง ซาเสี่ยวเ อี้ย เรื่องเดียวกับ ดาบปราบเทวดา เรื่องนี้ เขาจึงย่อมเป็นอีกผู้หนึ่งที่เข้าใจเรื่องราวของหนังได้ดีเสมอมา
ย้อนกลับมาที่ฉีเคอะเป็นการส่งท้าย ไม่ว่าอย่างไรฉีเคอะยังคงมีบทบาทต่อหนังของเขาอย่างสูงแม้จะอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสร้าง การมีเอ่อตงเซินเป็นผู้กำกับจึงเป็นแค่การถ่วงดุลในหนังมีความลึกซึ้งเฉกเช่นบทประพันธ์ แต่เชื่อได้ว่าในทุกคิวบู๊และความวิจิตรตระการตาจากงานสร้างฉีเคอะย่อมมีส่วนอยู่ไม่น้อย ภาพรวมของหนังทั้งหมดจึงน่าจะขึ้นอยู่กับเขาเป็นสำคัญ และในอนาคตหากจะมีการพูดถึง ดาบปราบเทวดา ว่าจะกลายเป็นหัวหอกสำคัญของหนังกำลังภายในอีกครั้งชื่อของฉีเคอะก็จะถูกพูดถึงก่อนเสมอ
ด้วยความคารวะต่อ ฉีเคอะ, เอ่อตงเซิน และโกวเล้ง