((มาลาริน)) เศร้าใจ...สื่อสิ่งพิมพ์ขาลง....@^_^@ มาดูงานวิจัยพฤติกรรมการเสพสื่อของผู้บริโภคกันค่ะ

วันนี้มาลารินยังไม่ได้อ่านหนังสือสักเล่ม..
มีใครอ่านบ้างไหมคะ...?

ที่จริงการอ่านเป็นเรื่องดี...จึงต้องให้เวลากับการอ่านบ้าง..
การอ่านมีหลายทาง...เช่น อ่านหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ  
อ่านทางสื่อออนไลน์  

มีงานวิจัยพบว่าผู้บริโภคสื่อ สิ่งพิมพ์ลดลงไป  น่าเป็นห่วง
ผู้ที่ทำงานด้านนี้จึงต้องแก้ไข หรือพัฒนาตัวเอง หรือเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค

อย่าไปโทษคนอื่นเลย..เพราะยุคนี้ไม่ใช่ยุคของเราเหมือนก่อน

ยิ้มนานาโอเคนานาโอเคนานาโอเคนานารดน้ำ

มาดูงานวิจัยกันค่ะ....

กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) บริษัทวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคจัดทำรายงานการวิจัย “มีเดีย โปรไฟล์ 2016”  

ที่ศึกษาแนวโน้มสื่อทุกแพลตฟอร์ม พร้อมพฤติกรรมการบริโภคสื่อและการสื่อสารต่อแบรนด์สินค้า ที่มีผลต่อการจับจ่าย และวางแผนด้านสื่อที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด 

โดยเป็นการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกครอบคลุมทั้ง การจับจ่ายเข้าบ้าน (Take Home) และการซื้อเพื่อการบริโภคนอกบ้าน (Out Of Home ) ผ่านนวัตกรรม“กันตาร์ แอพ -Panel Smart” ที่พัฒนาบนสมาร์ทโฟนเพื่อเก็บข้อมูล พฤติกรรมการจับจ่ายของกลุ่มตัวอย่าง 4,000 ราย ซึ่งใช้เป็นตัวแทนแสดงผลของผู้บริโภค 23 ล้านครัวเรือนในประเทศไทย

ทั้งนี้ ทำวิจัยสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ทุกช่องทาง ประกอบด้วย ทีวี 21 สถานี แยกเป็นฟรีทีวี 11 สถานีและเคเบิลอีก 10 สถานี สื่อออนไลน์ เว็บไซต์ไทย 25 เว็บ เฟซบุ๊คและยูทูบ โดยวิเคราะห์ถึงการรับสื่อจาก มือถือ คอมพิวเตอร์ หนังสือพิมพ์/นิตยสาร/วิทยุ หนังสือพิมพ์ 17 สำนักพิมพ์ นิตยสาร 25 สำนักพิมพ์

อิษณาติ วุฒิธนากุล  ผู้จัดการด้านพัฒนาธุรกิจ บริษัทกันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่าจากการวิจัยพฤติกรรมการเสพสื่อของผู้บริโภค พบว่า“ทีวี” ยังเป็นสื่อหลักเข้าถึงผู้บริโภคสูงสุดที่ 97-98% ตามมาด้วย “วิทยุ” ซึ่งมีสัดส่วนคงที่ ปีก่อน 68% ปีนี้ 67%

โดยสื่ออินเทอร์เน็ตมีอัตราเพิ่มขึ้น จาก 46% ปีก่อน เพิ่มเป็น 59% ปีนี้ ในจำนวนนี้ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน 56%, พีซี /แล็ปท็อป 13% และแทบเล็ต 6%

ขณะที่หนังสือพิมพ์ปีก่อน 60% ปีนี้ลดลงมาที่ 53% เช่นเดียวกับ นิตยสาร จาก 38% ลดลงมาที่ 32%

ทางด้านเวลาการเสพสื่อรายประเภท เปรียบปี 2558 และ ปั 2559 ประกอบด้วย “ทีวี” จาก 3.8 ชั่วโมง/วัน ลดลงเหลือ 3.4 ชั่วโมงต่อวัน ,วิทยุ จาก 2.5 ชั่วโมง/วัน เหลือ 1.7 ชั่วโมง/วัน การใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้าน จาก 2 ชั่วโมง/วัน เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 ชั่วโมง/วัน ส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตนอกบ้าย จาก 1.4 ชั่วโมง/วัน เพิ่มเป็น 1.6 ชั่วโมง/วัน

พบว่ากลุ่มที่ดูทีวีประจำทุกวันมีสัดส่วน 87% กลุ่มชนบทรับชมทีวีสูงสุด ขณะที่พฤติกรรมผู้ชมกรุงเทพฯ ดูทีวีเฉลี่ย 1-4 วันต่อสัปดาห์ ส่วนหัวเมืองอยู่ที่ 3-4 วันต่อสัปดาห์

โดยช่อง7 และช่อง 3 ได้รับความนิยมสูงสุด ส่วน “ทีวีดิจิทัล”ช่องใหม่ เรทติ้งสูง คือ เวิร์คพอยท์ ,โมโน,ช่องวัน ,ช่อง8 และช่อง3 เอสดีเติบโตต่อเนื่องในอัตราตัวเลข 2 หลัก

ปีนี้สถิติการเป็นเจ้าของ“สมาร์ทโฟน” ขยายตัวสูงทั่วประเทศ โดยเปรียบเทียบสัดส่วนปี2556 กับปี 2559 ในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วประเทศจาก 19% เพิ่มเป็น 67%, กรุงเทพฯจาก 39% เพิ่มเป็น 90% ,หัวเมืองจาก 30% เพิ่มเป็น 82% และชนบทจาก 10% เพิ่มเป็น 53%

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/731262

นานาเรียนนานาเรียนนานาเรียนนานาโอเค
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่