สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้มาขอใช้พื้นที่กระทู้ห้องเพลง เขียนเรื่องราว
"ธนบัตรไทย"
ที่มีมุมมองน่าสนใจ ตั้งแต่ธนบัตรรุ่นแรกที่เริ่มใช้ในประเทศไทย จนถึงรุ่นปัจจุบัน
สมัยก่อนประเทศเราไม่มีการใช้ธนบัตรแทนเงิน แต่เราใช้วัตถุดิบที่มีในประเทศมาแทนค่าเงินตรา
เงินชนิดนี้ได้แก่ หอยเบี้ย เงินพดด้วง เหรียญกษาปณ์
ในสมัย ร.4 เศรษฐกิจขยายตัวมาก การผลิตเงินพดด้วง และ เหรียญกษาปณ์ ไม่ทันตามต้องการ
ล้นเกล้า ร. 4 จึงโปรดเกล้าให้มีเงินกระดาษขึ้นมาเป็นครั้งแรก ธนบัตรนั้นเรียกว่า
"หมาย"
แต่เนื่องจาก ประชาชน ยังเคยชินกับเงินแบบเก่า "หมาย" จึงไม่มีผู้นิยมใช้
ต่อมาในสมัย ร.5 ดีบุก และ ทองแดง ขาดแคลน พระองค์ท่านจึงทรงโปรดให้
เอากระดาษมาใช้แทนเงินพดด้วง เรียกว่า
"อัฐกระดาษ"
แต่เงิน อัฐ นี้ ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้อีกเช่นกัน
มาถึงยุคที่ไทย(เวลานั้นคือ ประเทศสยาม) ค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น
มีธนาคาร ฮ่องกง และ เซี่ยงไฮ้ ธนาคาร ชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และธนาคารแห่งอินโดจีน
ที่มาตั้งสาขาในไทย ได้ขออนุญาตเอา บัตรธนาคาร (Banknote) มาใช้ในการชำระหนี้
ตั้งแต่นั้นมา คนไทย จึงติดปากเรียกธนบัตรว่า "แบงค์"
แบงค์ของต่างประเทศนี้ ได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนมาก
ล้นเกล้า ร.5 ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา
"พ.ร.บ ธนบัตรสยามขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ 2445"
และได้พิมพ์ธนบัตรรุ่นแรกออกมาใช้เมื่อวันที่
๗ กันยายน พ.ศ ๒๔๔๕
จนถึงวันนี้
เรามีธนบัตรทั้งสิ้น 16 รุ่น
บรรดาธนบัตรต่างๆทั้ง 16 รุ่นนี้ ต่างมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจมากมาย
ในที่นี้จะกล่าวถึง ธนบัตรในรุ่นที่มีความหมายเฉพาะ บางรุ่นมีเกล็ดประวัติศาสตร์ซ่อนอยู่
ซึ่งเหมาะสำหรับผู้สนใจประวัติศาสตร์ได้เรียนรู้ Time line ผ่าน ธนบัตรเหล่านี้
ธนบัตร รุ่นที่ ๑
ธนบัตรรุ่นนี้ เป็นธนบัตรรุ่นแรก
เป็นธนบัตรที่มีหน้าเดียว
และที่แปลกที่สุดคือ ตัวหนังสือที่พิมพ์อยู่ในธนบัตรรุ่นนี้ มีตัวหนังสือที่พิมพ์ผิดอยู่ 1 ตัว
คืออักษรจีนที่อยู่แถวด้านซ้ายมือตัวสุดท้าย ตัวหนังสือตัวนี้ไม่มีในสารบบอักษรจีนตั้งแต่โบราณ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ธนบัตรรุ่นนี้ แบงค์ชาติได้นำมาเป็น ธนบัตรที่ระลึกที่พวกเราคุ้นตาช่วงนี้
รูปธนบัตรทุกราคาของรุ่นที่ ๑
ธนบัตร รุ่นที่ ๔
ช่วงก่อนหน้านั้น ประเทศเราได้ให้ บริษัท Thomas De La Rue ของประเทศ อังกฤษ
เป็นผู้พิมพ์ธนบัตรให้ แต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยได้เข้าร่วมกับ ญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับ
ฝ่ายสัมพันธมิตร ไทยจึงไม่สามารถให้อังกฤษพิมพ์ธนบัตรได้ กรมแผนที่ทหารบกจึงรับหน้าที่
พิมพ์ธนบัตร โดยใช้รูปธนบัตรเหมือนกับแบบ โทมัส รุ่นที่ 4 เพียงแต่วัสดุที่ใช้ด้อยกว่าของโทมัส
รูป ธนบัตรรุ่นที่ ๔
ธนบัตร รุ่นที่ ๕
เมื่อไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ธนบัตรรุ่นนี้จึง
พิมพ์ที่ญี่ปุ่น
รูป ธนบัตร รุ่นที่ ๕
ธนบัตร รุ่นที่ ๗
ธนบัตรรุ่นนี้ออกมาในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นธนบัตรรุ่นเดียวที่พิมพ์โดยเอกชนไทย
ได้ชื่อว่าเป็น ธนบัตร ที่
คุณภาพการพิมพ์ต่ำที่สุด และด้วยเหตุที่คุณภาพต่ำ
ชาวบ้านจึงเรียกธนบัตรรุ่นนี้ว่า
"แบงค์ขนมโก๋ "
รูป ธนบัตรรุ่นที่ ๗
ธนบัตรรุ่นที่ ๘
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โทมัส เดอ ลา รู ได้รับความเสียหายมาก ไทยจึงนำธนบัตรรุ่นนี้ไปพิมพ์ที่
สหรัฐอเมริกา ซึ่งกว่า สหรัฐ จะส่งมาให้เราได้ ประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย
จากล้นเกล้า ร.8 มาเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช แล้ว
รุ่นนี้จึงนับเป็น ธนบัตร ที่พิเศษกว่าทุกรุ่น
รูป ธนบัตรรุ่นที่ ๘
มาถึง ไฮไล้ท์ ของกระทู้นี้ นั่นคือ
ธนบัตร รุ่นที่ ๙
ธนบัตรรุ่นนี้ได้กลับไปพิมพ์ที่โรงพิมพ์ Thomas De La Rue ที่สำคัญคือ
เป็นธนบัตรรุ่นแรกที่มีพระบรมฉายาสาทิศลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
อยู่บนธนบัตร สำหรับคนอายุ 50 ปี up จะคุ้นตากับรุ่นนี้เป็นพิเศษ
และธนบัตรรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่มีการใช้งานนานที่สุดประมาณถึง 20 ปี
และธนบัตรรุ่นนี้ถือเป็นต้นแบบการพิมพ์ธนบัตรในยุคต่อๆมา
รูป ธนบัตรในรุ่นที่ ๙
ธนบัตรรุ่นที่ ๑๑
ธนบัตรรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่พิมพ์โดยธนาคารแห่งประเทศไทย และเป็นครั้งแรก
ที่มีธนบัตรราคา 500 บาท
รูปธนบัตร รุ่นที่ ๑๑
ธนบัตรรุ่นที่ ๑๖
ธนบัตรรุ่นนี้เป็นธนบัตรที่ถือเป็นแบบล่าสุดในปัจจุบัน
ด้านหลังธนบัตรเป็น พระบรมราชานุสาวรีย์ของมหาราชไทยในอดีต
โดยมีจุดประสงค์เฉลิมพระเกียรติของบูรพกษัตริย์ไทย
ตั้งแต่สมัย สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
ป.ล
ธนบัตร นอกจากจะใช้ในการดำรงชีพของมนุษย์แล้ว
บางครั้งยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจอีกด้วย
ป.ล 2 รูปในกระทู้ ไม่ค่อยสวย เพราะถ่ายจากมือถือ ขออภัยด้วย
ป.ล 3 เนื้อหาในส่วยรายละเอียด นำมาจากประวัติ ธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย
ป.ล 4
ตัวอักษรจีนที่เขียนผิด เป็นการสังเกตุของ จขกท ซึ่งเคยไปถาม
อ.มหาวิทยาลัยที่จีน อาจารย์ก็ยืนยันว่าตัวหนังสือตัวนี้ไม่มีในพจนานุกรม
ป.ล 5 ยังมีเรื่องราวมากกว่านี้ แต่เกรงว่าจะเบื่อกันก่อน จึงตัดบางส่วนมา
ถ้ามีคนชอบก็จะเขียนภาค 2
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** 5/12/2559 คุยเรื่อง "ธนบัตรไทย" ใครเกิดช่วงธนบัตรรุ่นไหน มาดูกัน cnck
สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้มาขอใช้พื้นที่กระทู้ห้องเพลง เขียนเรื่องราว "ธนบัตรไทย"
ที่มีมุมมองน่าสนใจ ตั้งแต่ธนบัตรรุ่นแรกที่เริ่มใช้ในประเทศไทย จนถึงรุ่นปัจจุบัน
สมัยก่อนประเทศเราไม่มีการใช้ธนบัตรแทนเงิน แต่เราใช้วัตถุดิบที่มีในประเทศมาแทนค่าเงินตรา
เงินชนิดนี้ได้แก่ หอยเบี้ย เงินพดด้วง เหรียญกษาปณ์
ในสมัย ร.4 เศรษฐกิจขยายตัวมาก การผลิตเงินพดด้วง และ เหรียญกษาปณ์ ไม่ทันตามต้องการ
ล้นเกล้า ร. 4 จึงโปรดเกล้าให้มีเงินกระดาษขึ้นมาเป็นครั้งแรก ธนบัตรนั้นเรียกว่า "หมาย"
แต่เนื่องจาก ประชาชน ยังเคยชินกับเงินแบบเก่า "หมาย" จึงไม่มีผู้นิยมใช้
ต่อมาในสมัย ร.5 ดีบุก และ ทองแดง ขาดแคลน พระองค์ท่านจึงทรงโปรดให้
เอากระดาษมาใช้แทนเงินพดด้วง เรียกว่า "อัฐกระดาษ"
แต่เงิน อัฐ นี้ ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้อีกเช่นกัน
มาถึงยุคที่ไทย(เวลานั้นคือ ประเทศสยาม) ค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น
มีธนาคาร ฮ่องกง และ เซี่ยงไฮ้ ธนาคาร ชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และธนาคารแห่งอินโดจีน
ที่มาตั้งสาขาในไทย ได้ขออนุญาตเอา บัตรธนาคาร (Banknote) มาใช้ในการชำระหนี้
ตั้งแต่นั้นมา คนไทย จึงติดปากเรียกธนบัตรว่า "แบงค์"
แบงค์ของต่างประเทศนี้ ได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนมาก
ล้นเกล้า ร.5 ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา "พ.ร.บ ธนบัตรสยามขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ 2445"
และได้พิมพ์ธนบัตรรุ่นแรกออกมาใช้เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ ๒๔๔๕
จนถึงวันนี้ เรามีธนบัตรทั้งสิ้น 16 รุ่น
บรรดาธนบัตรต่างๆทั้ง 16 รุ่นนี้ ต่างมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจมากมาย
ในที่นี้จะกล่าวถึง ธนบัตรในรุ่นที่มีความหมายเฉพาะ บางรุ่นมีเกล็ดประวัติศาสตร์ซ่อนอยู่
ซึ่งเหมาะสำหรับผู้สนใจประวัติศาสตร์ได้เรียนรู้ Time line ผ่าน ธนบัตรเหล่านี้
ธนบัตร รุ่นที่ ๑
ธนบัตรรุ่นนี้ เป็นธนบัตรรุ่นแรก เป็นธนบัตรที่มีหน้าเดียว
และที่แปลกที่สุดคือ ตัวหนังสือที่พิมพ์อยู่ในธนบัตรรุ่นนี้ มีตัวหนังสือที่พิมพ์ผิดอยู่ 1 ตัว
คืออักษรจีนที่อยู่แถวด้านซ้ายมือตัวสุดท้าย ตัวหนังสือตัวนี้ไม่มีในสารบบอักษรจีนตั้งแต่โบราณ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รูปธนบัตรทุกราคาของรุ่นที่ ๑
ธนบัตร รุ่นที่ ๔
ช่วงก่อนหน้านั้น ประเทศเราได้ให้ บริษัท Thomas De La Rue ของประเทศ อังกฤษ
เป็นผู้พิมพ์ธนบัตรให้ แต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยได้เข้าร่วมกับ ญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับ
ฝ่ายสัมพันธมิตร ไทยจึงไม่สามารถให้อังกฤษพิมพ์ธนบัตรได้ กรมแผนที่ทหารบกจึงรับหน้าที่
พิมพ์ธนบัตร โดยใช้รูปธนบัตรเหมือนกับแบบ โทมัส รุ่นที่ 4 เพียงแต่วัสดุที่ใช้ด้อยกว่าของโทมัส
รูป ธนบัตรรุ่นที่ ๔
ธนบัตร รุ่นที่ ๕
เมื่อไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ธนบัตรรุ่นนี้จึงพิมพ์ที่ญี่ปุ่น
รูป ธนบัตร รุ่นที่ ๕
ธนบัตร รุ่นที่ ๗
ธนบัตรรุ่นนี้ออกมาในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นธนบัตรรุ่นเดียวที่พิมพ์โดยเอกชนไทย
ได้ชื่อว่าเป็น ธนบัตร ที่คุณภาพการพิมพ์ต่ำที่สุด และด้วยเหตุที่คุณภาพต่ำ
ชาวบ้านจึงเรียกธนบัตรรุ่นนี้ว่า "แบงค์ขนมโก๋ "
รูป ธนบัตรรุ่นที่ ๗
ธนบัตรรุ่นที่ ๘
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โทมัส เดอ ลา รู ได้รับความเสียหายมาก ไทยจึงนำธนบัตรรุ่นนี้ไปพิมพ์ที่
สหรัฐอเมริกา ซึ่งกว่า สหรัฐ จะส่งมาให้เราได้ ประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย
จากล้นเกล้า ร.8 มาเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช แล้ว
รุ่นนี้จึงนับเป็น ธนบัตร ที่พิเศษกว่าทุกรุ่น
รูป ธนบัตรรุ่นที่ ๘
มาถึง ไฮไล้ท์ ของกระทู้นี้ นั่นคือ
ธนบัตร รุ่นที่ ๙
ธนบัตรรุ่นนี้ได้กลับไปพิมพ์ที่โรงพิมพ์ Thomas De La Rue ที่สำคัญคือ
เป็นธนบัตรรุ่นแรกที่มีพระบรมฉายาสาทิศลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
อยู่บนธนบัตร สำหรับคนอายุ 50 ปี up จะคุ้นตากับรุ่นนี้เป็นพิเศษ
และธนบัตรรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่มีการใช้งานนานที่สุดประมาณถึง 20 ปี
และธนบัตรรุ่นนี้ถือเป็นต้นแบบการพิมพ์ธนบัตรในยุคต่อๆมา
รูป ธนบัตรในรุ่นที่ ๙
ธนบัตรรุ่นที่ ๑๑
ธนบัตรรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่พิมพ์โดยธนาคารแห่งประเทศไทย และเป็นครั้งแรก
ที่มีธนบัตรราคา 500 บาท
รูปธนบัตร รุ่นที่ ๑๑
ธนบัตรรุ่นที่ ๑๖
ธนบัตรรุ่นนี้เป็นธนบัตรที่ถือเป็นแบบล่าสุดในปัจจุบัน
ด้านหลังธนบัตรเป็น พระบรมราชานุสาวรีย์ของมหาราชไทยในอดีต
โดยมีจุดประสงค์เฉลิมพระเกียรติของบูรพกษัตริย์ไทย
ตั้งแต่สมัย สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
ป.ล ธนบัตร นอกจากจะใช้ในการดำรงชีพของมนุษย์แล้ว
บางครั้งยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจอีกด้วย
ป.ล 2 รูปในกระทู้ ไม่ค่อยสวย เพราะถ่ายจากมือถือ ขออภัยด้วย
ป.ล 3 เนื้อหาในส่วยรายละเอียด นำมาจากประวัติ ธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย
ป.ล 4 ตัวอักษรจีนที่เขียนผิด เป็นการสังเกตุของ จขกท ซึ่งเคยไปถาม
อ.มหาวิทยาลัยที่จีน อาจารย์ก็ยืนยันว่าตัวหนังสือตัวนี้ไม่มีในพจนานุกรม
ป.ล 5 ยังมีเรื่องราวมากกว่านี้ แต่เกรงว่าจะเบื่อกันก่อน จึงตัดบางส่วนมา
ถ้ามีคนชอบก็จะเขียนภาค 2