ปัญญาชนเริ่มสงสัย จากศาสนากลายเป็นการเมืองได้อย่างไร ?

ปัญญาชนเริ่มสงสัย จากศาสนากลายเป็นการเมืองได้อย่างไร ?

ตรงนี้แหละนำไปสู่คำถามที่ซับซ้อนมากขึ้นว่า ทำไมจึงเพ่งเล็งแต่เพียง “ธรรมกาย”
ถึงขั้น “ฟอกเงิน” ถึงขั้น “รับของโจร” ตรงนี้แหละที่ถูกโยงให้กลายเป็น “การเมือง”


: พลวัตร แห่ง กรณี “ธรรมกาย” จาก “ศาสนา” เป็น”การเมือง”ในประเทศ

แล้ว “กรณีธรรมกาย” อันเป็นเรื่องในทาง “ศาสนา” ก็ถูกขยายและกลายเป็นเรื่องในทาง “การเมือง”

น่าคิด น่าสงสัย

เหมือนกับ “กรณีธรรมกาย” จะเริ่มจากคดีความอันสัมพันธ์กับการทุจริต คอรัปชั่นจาก “สหกรณ์คลองจั่น”

เนื่องจาก “เงินบริจาค”

แต่ถามว่าเส้นทางในการบริจาคมีแต่เพียง “ธรรมกาย” แห่งเดียวหรือไม่

ตอบได้เลยว่า ไม่ใช่

ตรงนี้แหละนำไปสู่คำถามที่ซับซ้อนมากขึ้นว่า ทำไมจึงเพ่งเล็งแต่เพียง “ธรรมกาย”

ถึงขั้น “ฟอกเงิน” ถึงขั้น “รับของโจร”

เมื่อเปรียบเทียบ “เส้นทาง” และ”เป้าหมาย”การเดินไปของเงินบริจาคก็เห็นในความแตกต่างและมุมมอง

ตรงนี้แหละที่ถูกโยงให้กลายเป็น “การเมือง”

เมื่อ “กรณีธรรมกาย” ถูกขยายจากประเด็น “ศาสนา” เข้าไปสู่พรมแดน “การเมือง”

ทุกอย่างก็ “ไปกันใหญ่”

เห็นได้จากการโยงไปยังความสัมพันธ์ระหว่าง “วัด” นั่นก็คือ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กับ วัดธรรมกาย

พลอยทำให้ “อุปัชฌาย์” เดือดร้อนไปด้วย

ทำให้ “รถโบราณ” ตั้งโชว์เพื่อการศึกษาใน “มิวเซียม”กลายเป็น “รถหรู”

ขัดและไม่เหมาะต่อ “สมณสารูป”

จากนั้นก็ปรากฏ “ขบวนการ” มากมาย จากฝ่ายที่ “ชัง” และจากฝ่ายที่ “ชอบ”

ชังนั้นโยงยาวไปยังกลุ่มเชียร์”รัฐประหาร”

ชอบนั้นโยงยาวไปยังกลุ่มต้าน”รัฐประหาร”


เรื่องในทาง “ศาสนา” เมื่อถูกแปรเป็นเรื่องในทาง “การเมือง” เมื่อใด

สงคราม “สี” ก็ปะทุขึ้น

มีความพยายาม “กำกัด” ให้กรอบแห่ง “กรณีธรรมกาย”ดำรงอยู่ภายในปริมณฑลแห่ง “คดีความ”

แต่ดูจาก “ปฏิกิริยา” ทาง “สังคม”

ไม่ว่าจะกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไม่ว่าจะสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตอบได้เลยว่า

“ยาก”และถึงระดับ “ยากส์”

เพราะว่า “วิถีดำเนิน” ในแต่ละก้าวย่างของ “กรณีธรรมกาย” ได้ล่วงพ้นจากประเด็นแห่ง “คดีความ” มาแล้ว

ไม่ว่าจะมองจาก”กรมสอบสวนคดีพิเศษ” ไม่ว่าจะมองจาก”สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”

หรือกระทั่ง”วัดธรรมกาย”ก็ตาม

โดย Poundtawan
ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก : http://www.matichon.co.th/news/376707,  www.google.co. th
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไม่ใช่ปัญหา
ปัญหาคือเมื่อเข้าไปแล้วจะได้รับความยุติธรรมหรือไม่
เพราะเพียงการปฏิบัติในตอนเริ่มต้นเข้ากระบวนการ
ประชาชนก็รู้สึกว่าไม่ยุติธรรมเสียแล้ว
ที่ผ่านมาประชาชนรู้สึกว่า
มีการใช้อำนาจการเมืองชี้นำ
การใช้กฎหมายให้บิดเบี้ยวหลายขั้นตอน เช่น
การมาแจ้งข้อหาที่วัดไม่ได้ แต่ไปแจ้งในคุกได้ เป็นต้น

   ซึ่งส่อไปในทางไม่ได้รับความเป็นธรรมมาตั้งแต่ต้น
เลยกลายเป็นความไม่ไว้วางใจกันขึ้นมา
โดยสังเกตได้จากจากวิธีการแจ้งข้อหา การออกหมายเรียก
การออกหมายจับในขั้นตอนการสอบสวนไม่ถูกต้อง
ไม่น่าไว้ใจ ไม่คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
ทุกขั้นตอนดำเนินไปตามการชี้นำของนักการเมืองบางกลุ่ม
เช่น การให้สัมภาษณ์ว่าสั่งฟ้องโดยไม่ต้องมีผู้ต้องหา เป็นต้น
หลังจากนั้นก็ตามมาอีกหลายอย่าง
เช่น ขยันดำเนินคดีอยู่วัดเดียว



    แต่เพิกเฉยกับการตามเงินอีก 92 % ที่ยังไม่ได้คืน
ยิ่งถ้ามองในภาพรวมประเทศตอนนี้ก็คือ
ประชาชนรู้สึกว่า อำนาจบริหาร
อำนาจตุลาการ อำนาจนิติบัญญัติ
ซึ่งมีไว้เพื่อรักษาความยุติธรรมของประเทศ
ถูกแทรกแซงจนเละเทะ
ไม่เป็นอิสระในการทำงานต่อกัน


      มันจึงยากจะทำให้ประชาชนเชื่อว่า
ในช่วงเวลาที่ประเทศยังไม่เป็นประชาธิปไตย
ทุกๆ อย่างจะดำเนินไปตรงไปตรงมา
ตามหลักการและหลักเกณฑ์ของกฎหมายอย่างอิสระ
โดยไม่มีอำนาจการเมืองควบคุมอยู่เบื้องหลัง

    ดังนั้น ปัญหาจึงน่าจะอยู่ที่ประชาชนรู้สึกว่า
กระบวนการยุติธรรมไม่ปลอดภัย
นักการเมืองและคนนอกสามารถแทรกแซง
กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นซอย
กลางซอย และปลายซอย ได้ทุกขั้นตอนนั่นเอง
ปล. ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำของท่านอัยการ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่