สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 46
สาวก วัดธรรมกาย ควรจะรู้จักคิด พิจารณา
1. เมื่อ รัฐใช้อำนาจหน้าที่ถอนฟ้อง เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย ไม่มีสาวกวัดธรรมกาย ออกมาต่อต้านคัดค้านว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐ ในเรื่องของพระ
2. เมื่อวัดธรรมกาย ส่งเสริมการชุมนุนของพระเพื่อประโยชน์ของตน แต่อ้างพระศาสนา
สาวก วัดธรรมกาย ว่าเป็นเรื่องของพระ คนอื่นอย่ายุ่ง
3. แต่ในบัดนี้ รัฐใช้อำนาจหน้าที่ดำเนินการสิ่งที่ขัดกับความพอใจของวัดและสาวก สาวกวัดธรรมกายกลับออกมาออกคัดค้าน ต่อต้าน อำนาจรัฐ
หากสาวกของวัดไม่คิด พิจารณา ว่าเป็นเรื่องของโลกที่เป็นไป เหมือนคราวที่รัฐใช้อำนาจถอนฟ้องในตรั้งก่อน (ที่ชาวพุทธที่ไม่เห็นด้วย ก็สงบระงับ ดูสิ่งทีาเกิดขึ้นนั้น) สาวกวัดธรรมกายจะยิ่งเดือดร้อน ไปกับโลก ที่ไม่อาจเป็นได้ตามใจตนเวลา
หากสาวกวัดธรรมกาย คิด พืจารณา เห็นความเป็นไปของโลก เหมือนคราวรัฐใช้อำนาจรึฐถอนฟ้อง(ที่ทำให้ตนพอใจ) ก็จะเห็นความไม่แน่นอนของโลก ย่อมไม่อาจเป็นไปตามของต้องการของตัวเอง ก็จักสงบ ระงับ เห็นความจริงของความไม่แน่นอน ไม่คงที่ของโลก
1. เมื่อ รัฐใช้อำนาจหน้าที่ถอนฟ้อง เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย ไม่มีสาวกวัดธรรมกาย ออกมาต่อต้านคัดค้านว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐ ในเรื่องของพระ
2. เมื่อวัดธรรมกาย ส่งเสริมการชุมนุนของพระเพื่อประโยชน์ของตน แต่อ้างพระศาสนา
สาวก วัดธรรมกาย ว่าเป็นเรื่องของพระ คนอื่นอย่ายุ่ง
3. แต่ในบัดนี้ รัฐใช้อำนาจหน้าที่ดำเนินการสิ่งที่ขัดกับความพอใจของวัดและสาวก สาวกวัดธรรมกายกลับออกมาออกคัดค้าน ต่อต้าน อำนาจรัฐ
หากสาวกของวัดไม่คิด พิจารณา ว่าเป็นเรื่องของโลกที่เป็นไป เหมือนคราวที่รัฐใช้อำนาจถอนฟ้องในตรั้งก่อน (ที่ชาวพุทธที่ไม่เห็นด้วย ก็สงบระงับ ดูสิ่งทีาเกิดขึ้นนั้น) สาวกวัดธรรมกายจะยิ่งเดือดร้อน ไปกับโลก ที่ไม่อาจเป็นได้ตามใจตนเวลา
หากสาวกวัดธรรมกาย คิด พืจารณา เห็นความเป็นไปของโลก เหมือนคราวรัฐใช้อำนาจรึฐถอนฟ้อง(ที่ทำให้ตนพอใจ) ก็จะเห็นความไม่แน่นอนของโลก ย่อมไม่อาจเป็นไปตามของต้องการของตัวเอง ก็จักสงบ ระงับ เห็นความจริงของความไม่แน่นอน ไม่คงที่ของโลก
ความคิดเห็นที่ 8
มาตรา ๓๕๗
ผู้ใด ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือ รับไว้โดยประการใด
ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด
ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอก
ทรัพย์
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร
ความผิดฐานรับของโจร
1 เป็นความผิด อันยอมความไม่ได้
2 ผู้เสียหาย คือ รัฐ
3 ดังนั้น รัฐ ยอมมี อำนาจฟ้อง (ไม่ใช่ สหกรณ์ หรือ สมาชิกสหกรณ์ เป็นผู้เสียหาย)
ผู้ใด ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือ รับไว้โดยประการใด
ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด
ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอก
ทรัพย์
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร
ความผิดฐานรับของโจร
1 เป็นความผิด อันยอมความไม่ได้
2 ผู้เสียหาย คือ รัฐ
3 ดังนั้น รัฐ ยอมมี อำนาจฟ้อง (ไม่ใช่ สหกรณ์ หรือ สมาชิกสหกรณ์ เป็นผู้เสียหาย)
แสดงความคิดเห็น
ความจริงอีก ๖ เรื่องเกี่ยวกับการออกหมายจับ
แต่สิ่งที่ประชาชนได้ฟังนั้น
ยังเป็นความจริงที่ไม่ครบทุกด้าน
เพราะความจริงที่ต้องฟังมีอยู่ 6 เรื่อง
1) ความจริงจากผู้ถูกกล่าวหา
2) ความจริงจากผู้ร้องทุกข์
3) ความจริงจากผู้เสียหาย
4) ความจริงจากคณะแพทย์
5) ความจริงเรื่องข้อกฎหมายฟอกเงินและรับของโจร
6) ความจริงเรื่องระเบียบปฏิบัติในการใช้กฎหมายกับพระสงฆ์
ที่จะเป็นบรรทัดฐานต่อสังฆมณฑลและชาวพุทธตลอดไปในภายหน้า
จริงอยู่ที่หลายเดือนมานี้
ทุกคนได้พยายามให้ข้อมูลต่างๆ แก่สังคม
ไปตามความเข้าใจของตัวเองอยู่วันละหลายชั่วโมง
แต่สังคมก็อาจยังได้รับทราบข้อมูลไม่ครบทุกด้าน
จึงยังไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ
ให้เกิดภาพรวมพอที่จะชั่งน้ำหนักได้ว่า
คดีนี้มีมูลฐานความผิดเพียงพอจะตั้งข้อหาได้หรือไม่
และควรจะเชื่อมุมมองทางกฎหมายของใครดี
ระหว่างวัด สหกรณ์ ดีเอสไอ ผู้ร้องทุกข์
1. ในแง่ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
การขอออกหมายจับเป็นสิทธิของดีเอสไอ
การอนุมัติก็เป็นดุลพินิจของศาล
การจะสั่งฟ้องไม่สั่งฟ้องก็เป็นอำนาจของอัยการ
เรื่องนี้ประชาชนทราบดีและรัฐก็ให้อำนาจเต็มที่
2. ในแง่ของคณะแพทย์
การวินิจฉัยระดับความเจ็บป่วยเป็นสิทธิขาดของคณะแพทย์
แต่คำวินิจฉัยของแพทย์มีน้ำหนักในทางกฎหมายหรือไม่
เพราะอะไรถึงมีผล และเพราะอะไรถึงไม่มีผล
ซึ่งเรื่องนี้ประชาชนก็ยังไม่ได้รับความกระจ่าง
3. ในแง่ของสหกรณ์
ต้องแบ่งผู้เสียหายเป็น 2 ส่วน คือ
1) สหกรณ์ 2) สมาชิกสหกรณ์
... กรณีแรก ถ้าสหกรณ์เป็นผู้เสียหาย
คู่กรณีตรงนี้จะต้องเป็นสหกรณ์กับคุณศุภชัย
เพราะคุณศุภชัยเป็นผู้นำเงินออกมาจากสหกรณ์
... กรณีที่สอง ถ้าสมาชิกเป็นผู้เสียหาย
คู่กรณีตรงนี้จะต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์กับสหกรณ์
เพราะสหกรณ์เป็นผู้ดูแลเงินของสมาชิกสหกรณ์
จากกรณีทั้งสองกรณีนี้ ทำให้เกิดความสับสนขึ้นว่า
1. เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
ซึ่งอยู่ในฐานะของผู้รับเงินบริจาคจากคุณศุภชัย
กลายมาเป็นคู่กรณีกับสมาชิกสหกรณ์บางกลุ่มได้อย่างไร
เพราะท่านไม่ใช่ผู้ที่ไปนำเงินของสมาชิกกลุ่มนั้น
ออกมาจากสหกรณ์ ท่านจึงไม่ใช่ผู้ที่ทำให้
สมาชิกสหกรณ์กลุ่มนั้นเสียหาย
2. ตามหลักแล้ว เมื่อสมาชิกสหกรณ์ไม่ได้นำเงิน
มาฝากไว้กับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายโดยตรง
แต่ได้นำเงินไปฝากไว้กับสหกรณ์โดยตรง
แล้วท่านจะกลายเป็นผู้สร้างความเสียหายให้สมาชิกได้อย่างไร
ที่ถูกต้องสมาชิกกลุ่มนั้นควรจะไปร้องทุกข์กับสหกรณ์มิใช่หรือ
แต่ทำไมถึงมากล่าวโทษเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
4. ในแง่การตั้งข้อหาฟอกเงินและรับของโจร
การตั้งข้อหาฟอกเงิน จะทำได้ก็ต่อเมื่อ
ทำผิดครบ 3 ขั้นตอน คือ
1) เงินนั้นได้มาอย่างผิดกฎหมาย
2) นำมาทำธุรกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมาย กลายเป็นเงินสะอาด
3) เงินนั้นกลับคืนสู่มือเจ้าของ กลายเป็นเงินถูกกฎหมาย
แต่ในกรณีของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
กลับไม่เข้าข่ายแม้แต่น้อย เพราะว่า
1) ท่านไม่ได้ครอบครองเงินที่ผิดกฎหมาย
2) ท่านไม่เคยนำเงินส่วนตัวไปฝากกับสหกรณ์
3) ท่านกับสหกรณ์ก็ไม่เคยทำธุรกรรมร่วมกัน
4) สหกรณ์ก็ยืนยันไม่พบหลักฐานว่าท่านทำธุรกรรมกับสหกรณ์
5) เงินที่คุณศุภชัยบริจาคมาก็เป็นเช็คทั้งหมด สามารถตรวจสอบ
เส้นทางการเงินได้ชัดเจน
6) การรับเงินบริจาคของท่าน ก็รับมาอย่างเปิดเผย
และนำไปใช้สร้างศาสนสถานตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค
ซึ่งเป็นการสร้างสาธารณประโยชน์ ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัว
ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนไม่น้อย
เพราะไม่ว่าพิจารณาอย่างไร ก็ไม่เข้าข่ายการฟอกเงินทั้ง 3 ขั้นตอน
แต่ทำไมดีเอสไอถึงตั้งข้อหาว่าฟอกเงินและรับของโจร
กับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เป็นการตั้งข้อหาที่รุนแรงกว่าเหตุหรือไม่
5. ในแง่บรรทัดฐานการใช้กฎหมายกับพระสงฆ์
การออกหมายจับพระสงฆ์ที่ไม่ใช่คู่กรณีกับผู้เสียหายโดยตรงเช่นนี้
1) จะกลายเป็นบรรทัดฐานในการใช้กฎหมาย
โดยไม่มีมูลฐานความผิดกับพระสงฆ์ทั้งสังฆมณฑลได้หรือไม่
2) จะกลายเป็นการเปิดช่องกฎหมายให้ผู้ไม่หวังดี
สามารถกลั่นแกล้งพระสงฆ์ทั้งสังฆมณฑลได้โดยง่ายหรือไม่
3) จะกลายเป็นการเปิดช่องเช่นนี้จะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาหรือไม่
4) จะกระทบกระเทือนต่อการรักษาพระธรรมวินัยของสงฆ์หรือไม่
5) จะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาหรือไม่
5) ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา อันเป็นผลจากการออกหมายจับโดยไม่ตรงกับคู่กรณีเช่นนี้ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอนาคต
คำถามต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ประชาชนจำนวนไม่น้อย
กำลังสับสนและสงสัยว่าอะไรคือบรรทัดฐานที่ถูกต้อง
ในการใช้กฎหมายกับพระสงฆ์ทั้งสังฆมณฑล
และประชาชนชาวพุทธทั้งประเทศต่อไปในอนาคต
---------------------------------------------------------------------------
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙
๓.๐๑ น.