รีวิวในวันนี้ เราจะร่วมเดินทางไปกับขบวนรถด่วนพิเศษ "อุตราวิถี" รถด่วนพิเศษขบวนที่ 10 เชียงใหม่ - กรุงเทพ ถ้าพร้อมกันแล้ว หยิบสัมภาระ แล้วก้าวขึ้นรถตามผมมาได้เลยครับ
การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้เปิดเดินรถด่วนพิเศษ ซึ่งใช้รถโดยสารรุ่นใหม่ที่ รฟท. ทำการสั่งซื้อมาทั้งหมด 115 คัน ทั้งหมด 4 เส้นทาง 8 ขบวน ดังนี้
รถด่วนพิเศษ "อุตราวิถี" ขบวนที่ 9/10 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ
ขาขึ้น ขบวนที่ 9 กรุงเทพ - เชียงใหม่ ออกจากกรุงเทพเวลา 18.10น. ถึงเชียงใหม่เวลา 7.15น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 13 ชั่วโมง 5 นาที
ขาล่อง ขบวนที่ 10 เชียงใหม่ - กรุงเทพ ออกจากเชียงใหม่เวลา 18.00น. ถึงกรุงเทพเวลา 6.50น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 12 ชั่วโมง 50 นาที
วิ่งแทน "ด่วนนครพิงค์" เดิม
รถด่วนพิเศษ "อีสานวัฒนา" ขบวนที่ 23/24 กรุงเทพ - อุบลราชธานี - กรุงเทพ
ขาขึ้น ขบวนที่ 23 กรุงเทพ - อุบลราชธานี ออกจากกรุงเทพเวลา 20.30น. ถึงอุบลราชธานีเวลา 6.35น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 10 ชั่วโมง 5 นาที
ขาล่อง ขบวนที่ 24 อุบลราชธานี - กรุงเทพ ออกจากอุบลราชธานีเวลา 19.00น. ถึงกรุงเทพเวลา 5.15น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 10 ชั่วโมง 15 นาที
รถด่วนพิเศษ "อีสานมรรคา" ขบวนที่ 25/26 กรุงเทพ - หนองคาย - กรุงเทพ
ขาขึ้น ขบวนที่ 25 กรุงเทพ - หนองคาย ออกจากกรุงเทพเวลา 20.00น. ถึงหนองคายเวลา 6.45น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 10 ชั่วโมง 45 นาที
ขาล่อง ขบวนที่ 26 หนองคาย - กรุงเทพ ออกจากหนองคายเวลา 19.10น. ถึงกรุงเทพเวลา 6.00น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 10 ชั่งโมง 50 นาที
รถด่วนพิเศษ "ทักษิณารัถย์" ขบวนที่ 31/32 กรุงเทพ - หาดใหญ่ - กรุงเทพ
ขาขึ้น ขบวนที่ 31 กรุงเทพ - หาดใหญ่ ออกจากกรุงเพทเวลา 14.45น. ถึงหาดใหญ่เวลา 6.35น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 15 ชั่วโมง 50 นาที
ขาล่อง ขบวนที่ 32 หาดใหญ่ - กรุงเทพ ออกจากหาดใหญ่เวลา 18.45น. ถึงกรุงเทพเวลา 10.30น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 15 ชั่วโมง 45 นาที
โดยรถด่วนพิเศษ "อุตราวิถี" และ "อีสานวัฒนา" ทาง รฟท. ได้เปิดเดินรถอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ส่วนรถด่วนพิเศษ "อีสานมรรคา" และ "ทักษิณารัถย์" จะเริ่มให้บริการในเดือนธันวาคม 2559 ที่จะถึงนี้ ซึ่งรถด่วนพิเศษทั้ง 4 เส้นทาง 8 ขบวนนี้ จะใช้รถโดยสารชุดใหม่ที่ รฟท. สั่งซื้อมาทั้งหมด 115 คัน โดยสั่งโดยตรงมาจาก Changchun Railway Vehicle บริเษัทในเครือของ China CNR Corporation หรือที่ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น CRRC Corporation หลังจากที่ CNR ได้ควบรวมกิจการกับ CSR Corporation ซึ่งรถโดยสารทั้ง 115 คันนี้ ประกอบที่โรงงานเดียวกันกับรถไฟฟ้าแบบ BTS CNR Changchun EMU หรือ EMU-B ที่รถไฟฟ้า BTS ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดย CRRC ได้ส่งมอบรถโดยสารทั้ง 115 คันให้กับ รฟท. ในช่วงกลางปี 2559 ที่ผ่านมา
รถโดยสารใหม่นี้ จะให้บริการขบวนละ 13 ตู้โดยสาร (ไม่รวมหัวรถจักร) รองรับผู้โดยสารทั้งหมด 420 คน/ขบวน โดยจะแบ่งเป็นตู้โดยสารต่างๆ ได้ดังนี้
- ตู้โดยสารนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 1 (บนอ.ป) จำนวน 1 คัน มีที่นั่ง/เตียงนอน ทั้งหมด 24 ที่/ตู้โดยสาร
- ตู้โดยสารนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 2 (บนท.ป) จำนวน 9 คัน มีที่นั่ง/เตียงนอน ทั้งหมด 40 ที่/ตู้โดยสาร
- ตู้โดยสารนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 2 แบบรองรับรถเข็นวีลแชร์ (บนท.ป*) จำนวน 1 คัน มีที่นั่ง/เตียงนอน ทั้งหมด 36 ที่/ตู้โดยสาร
-ตู้เสบียงปรับอากาศ (บกข.ป) จำนวน 1 คัน
- ตู้ไฟฟ้ากำลังพร้อมที่ทำการพนักงานประจำขบวนรถ (บฟก.ฟ) จำนวน 1 คัน
โดยในการต่อพ่วงขบวนรถจะเป็นรูปแบบดังต่อไปนี้
ปลายทาง < [บฟก.ฟ]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป*]-[บกข.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนอ.ป] > กรุงเทพ
- ตู้โดยสารชั้น 1 จะอยู่ท้ายขบวนเมื่อออกจากกรุงเทพ และอยู่ติดกับรถจักรเมื่อเข้าสู่กรุงเทพ
- ตู้โดยสารชั้น 2 แบบรองรับรถเข็นวีลแชร์ จะอยู่ติดกับตู้เสบียง
- รถโดยสารทั้ง 13 คันนี้ จะถูกพ่วงด้วยกันไปตลอดด้วยข้อต่อพ่วงแบบกึ่งถาวร (Semi-permanent Coupler) แบบที่ใช้ในรถไฟฟ้า BTS, MRT, และ Airport Rail Link ไม่มีการตัดต่อตู้โดยสารระหว่างทาง
สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกในขบวนรถ จะมีดังต่อไปนี้
- ปลั๊กไฟ 220 โวลต์ พร้อมไฟอ่านหนังสือ ทุกเตียงนอน
- กล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัยทุกตู้โดยสาร
- โต๊ะเอนกประสงค์พร้อมที่วางแก้วน้ำ
- ห้องน้ำมาตรฐาน 2 ห้อง และห้องปัสสาวะชาย 1 ห้อง
- ประตูกั้นแยกส่วนห้องโดยสารและบริเวณบันได
- ประตูกั้นบริเวณสะพานระหว่างตู้
- สะพานระหว่างตู้ (Gangway) แบบปิด
- ประตูอัตโนมัติพร้อมบันไดอัตโนมัติสำหรับชานชาลาต่ำ
ตู้โดยสารชั้น 1
- จอภาพส่วนตัวทุกที่นั่ง สามารถสั่งอาหารและเครื่องดื่มได้จากหน้าจอนี้
- พอร์ต USB สำหรับชาร์จไฟทุกเตียงนอน
- อ่างล้างหน้าภายในห้อง
- ประตูกั้นห้องสามารถเปิดทะลุถึงกันได้
- ห้องอาบน้ำแยกส่วน พร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น
ตู้โดยสารชั้น 2
- ระบบ Infotainment แสดงเส้นทางการเดินรถและตำแหน่งปัจจุบันของขบวนรถ พร้อมสื่อบันเทิงทุกตู้โดยสาร
- ที่เก็บสัมภาระเหนือศีรษะ
- อ่างล้างหน้าจำนวน 2 อ่างบริเวณหน้าห้องน้ำ
[CR] Review : 1st class "อุตราวิถี" Flagship ใหม่ไฉไลกว่าเดิม
การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้เปิดเดินรถด่วนพิเศษ ซึ่งใช้รถโดยสารรุ่นใหม่ที่ รฟท. ทำการสั่งซื้อมาทั้งหมด 115 คัน ทั้งหมด 4 เส้นทาง 8 ขบวน ดังนี้
รถด่วนพิเศษ "อุตราวิถี" ขบวนที่ 9/10 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ
ขาขึ้น ขบวนที่ 9 กรุงเทพ - เชียงใหม่ ออกจากกรุงเทพเวลา 18.10น. ถึงเชียงใหม่เวลา 7.15น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 13 ชั่วโมง 5 นาที
ขาล่อง ขบวนที่ 10 เชียงใหม่ - กรุงเทพ ออกจากเชียงใหม่เวลา 18.00น. ถึงกรุงเทพเวลา 6.50น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 12 ชั่วโมง 50 นาที
วิ่งแทน "ด่วนนครพิงค์" เดิม
รถด่วนพิเศษ "อีสานวัฒนา" ขบวนที่ 23/24 กรุงเทพ - อุบลราชธานี - กรุงเทพ
ขาขึ้น ขบวนที่ 23 กรุงเทพ - อุบลราชธานี ออกจากกรุงเทพเวลา 20.30น. ถึงอุบลราชธานีเวลา 6.35น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 10 ชั่วโมง 5 นาที
ขาล่อง ขบวนที่ 24 อุบลราชธานี - กรุงเทพ ออกจากอุบลราชธานีเวลา 19.00น. ถึงกรุงเทพเวลา 5.15น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 10 ชั่วโมง 15 นาที
รถด่วนพิเศษ "อีสานมรรคา" ขบวนที่ 25/26 กรุงเทพ - หนองคาย - กรุงเทพ
ขาขึ้น ขบวนที่ 25 กรุงเทพ - หนองคาย ออกจากกรุงเทพเวลา 20.00น. ถึงหนองคายเวลา 6.45น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 10 ชั่วโมง 45 นาที
ขาล่อง ขบวนที่ 26 หนองคาย - กรุงเทพ ออกจากหนองคายเวลา 19.10น. ถึงกรุงเทพเวลา 6.00น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 10 ชั่งโมง 50 นาที
รถด่วนพิเศษ "ทักษิณารัถย์" ขบวนที่ 31/32 กรุงเทพ - หาดใหญ่ - กรุงเทพ
ขาขึ้น ขบวนที่ 31 กรุงเทพ - หาดใหญ่ ออกจากกรุงเพทเวลา 14.45น. ถึงหาดใหญ่เวลา 6.35น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 15 ชั่วโมง 50 นาที
ขาล่อง ขบวนที่ 32 หาดใหญ่ - กรุงเทพ ออกจากหาดใหญ่เวลา 18.45น. ถึงกรุงเทพเวลา 10.30น. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 15 ชั่วโมง 45 นาที
โดยรถด่วนพิเศษ "อุตราวิถี" และ "อีสานวัฒนา" ทาง รฟท. ได้เปิดเดินรถอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ส่วนรถด่วนพิเศษ "อีสานมรรคา" และ "ทักษิณารัถย์" จะเริ่มให้บริการในเดือนธันวาคม 2559 ที่จะถึงนี้ ซึ่งรถด่วนพิเศษทั้ง 4 เส้นทาง 8 ขบวนนี้ จะใช้รถโดยสารชุดใหม่ที่ รฟท. สั่งซื้อมาทั้งหมด 115 คัน โดยสั่งโดยตรงมาจาก Changchun Railway Vehicle บริเษัทในเครือของ China CNR Corporation หรือที่ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น CRRC Corporation หลังจากที่ CNR ได้ควบรวมกิจการกับ CSR Corporation ซึ่งรถโดยสารทั้ง 115 คันนี้ ประกอบที่โรงงานเดียวกันกับรถไฟฟ้าแบบ BTS CNR Changchun EMU หรือ EMU-B ที่รถไฟฟ้า BTS ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดย CRRC ได้ส่งมอบรถโดยสารทั้ง 115 คันให้กับ รฟท. ในช่วงกลางปี 2559 ที่ผ่านมา
รถโดยสารใหม่นี้ จะให้บริการขบวนละ 13 ตู้โดยสาร (ไม่รวมหัวรถจักร) รองรับผู้โดยสารทั้งหมด 420 คน/ขบวน โดยจะแบ่งเป็นตู้โดยสารต่างๆ ได้ดังนี้
- ตู้โดยสารนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 1 (บนอ.ป) จำนวน 1 คัน มีที่นั่ง/เตียงนอน ทั้งหมด 24 ที่/ตู้โดยสาร
- ตู้โดยสารนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 2 (บนท.ป) จำนวน 9 คัน มีที่นั่ง/เตียงนอน ทั้งหมด 40 ที่/ตู้โดยสาร
- ตู้โดยสารนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 2 แบบรองรับรถเข็นวีลแชร์ (บนท.ป*) จำนวน 1 คัน มีที่นั่ง/เตียงนอน ทั้งหมด 36 ที่/ตู้โดยสาร
-ตู้เสบียงปรับอากาศ (บกข.ป) จำนวน 1 คัน
- ตู้ไฟฟ้ากำลังพร้อมที่ทำการพนักงานประจำขบวนรถ (บฟก.ฟ) จำนวน 1 คัน
โดยในการต่อพ่วงขบวนรถจะเป็นรูปแบบดังต่อไปนี้
ปลายทาง < [บฟก.ฟ]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป*]-[บกข.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนท.ป]-[บนอ.ป] > กรุงเทพ
- ตู้โดยสารชั้น 1 จะอยู่ท้ายขบวนเมื่อออกจากกรุงเทพ และอยู่ติดกับรถจักรเมื่อเข้าสู่กรุงเทพ
- ตู้โดยสารชั้น 2 แบบรองรับรถเข็นวีลแชร์ จะอยู่ติดกับตู้เสบียง
- รถโดยสารทั้ง 13 คันนี้ จะถูกพ่วงด้วยกันไปตลอดด้วยข้อต่อพ่วงแบบกึ่งถาวร (Semi-permanent Coupler) แบบที่ใช้ในรถไฟฟ้า BTS, MRT, และ Airport Rail Link ไม่มีการตัดต่อตู้โดยสารระหว่างทาง
สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกในขบวนรถ จะมีดังต่อไปนี้
- ปลั๊กไฟ 220 โวลต์ พร้อมไฟอ่านหนังสือ ทุกเตียงนอน
- กล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัยทุกตู้โดยสาร
- โต๊ะเอนกประสงค์พร้อมที่วางแก้วน้ำ
- ห้องน้ำมาตรฐาน 2 ห้อง และห้องปัสสาวะชาย 1 ห้อง
- ประตูกั้นแยกส่วนห้องโดยสารและบริเวณบันได
- ประตูกั้นบริเวณสะพานระหว่างตู้
- สะพานระหว่างตู้ (Gangway) แบบปิด
- ประตูอัตโนมัติพร้อมบันไดอัตโนมัติสำหรับชานชาลาต่ำ
ตู้โดยสารชั้น 1
- จอภาพส่วนตัวทุกที่นั่ง สามารถสั่งอาหารและเครื่องดื่มได้จากหน้าจอนี้
- พอร์ต USB สำหรับชาร์จไฟทุกเตียงนอน
- อ่างล้างหน้าภายในห้อง
- ประตูกั้นห้องสามารถเปิดทะลุถึงกันได้
- ห้องอาบน้ำแยกส่วน พร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น
ตู้โดยสารชั้น 2
- ระบบ Infotainment แสดงเส้นทางการเดินรถและตำแหน่งปัจจุบันของขบวนรถ พร้อมสื่อบันเทิงทุกตู้โดยสาร
- ที่เก็บสัมภาระเหนือศีรษะ
- อ่างล้างหน้าจำนวน 2 อ่างบริเวณหน้าห้องน้ำ