สวัสดีค่ะเพื่อนๆชาวพันทิป ขอเกริ่นก่อนว่านี่เป็นกระทู้แรกของดิฉันที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวและประสบการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง บางท่านคงอาจจะพอคุ้นนามแฝงของดิฉันอยู่บ้างจากกระทู้การทำอาหารในห้องก้นครัว ส่วนในเรื่องท่องเที่ยวนี่ดิฉันยังถือว่าเป็นมือใหม่ ยังไงก็ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าหากมีข้อผิดพลาดใดๆในกระทู้นี้นะคะ สำหรับในกระทู้จะขอแทนตัวเองว่าเรานะคะ และจะขอใช้ภาษาง่ายๆที่ใช้ในชีวิตจริงเพื่ออรรถรสในการอ่านค่ะ
******************************************************
เราเดินทางมาถึงบ้านของน้องสาวที่อยู่ในดูไบในวันที่ 15 พ.ย. 59 เวลาประมาณเกือบสี่ทุ่ม ด้วยสายการบินเอมิเรตแอร์ไลน์ พอถึงบ้านก็ทำอาหารไทยกินกันเล็กๆน้อยๆแล้วก็พักผ่อนเลย เนื่องจากวันที่ 16 เรามีตารางเวลาที่จะต้องไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆมากมาย
16/11/59
เที่ยว dubai museum เพื่อชมวิถีชีวิตของคนดูไบในอดีตก่อนที่จะพบกับน้ำมันและร่ำรวยอย่างมหาศาล สมัยก่อนพวกเขาก็มีวิถีชีวิตที่ยากจนเหมือนกับคนอีกหลายล้านคนบนโลกใบนี้ โดยยึดอาชีพทำประมงและทำฟาร์มไข่มุกเป็นหลัก แต่หลังจากที่พบกับน้ำมันแล้ววิถีชีวิตของพวกเขาก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากรัฐบาลคอยจัดสรรค์ผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนของเขาโดยทั่วถึงกัน ชาวดูไบแท้ๆทุกคนอย่างน้อยจะต้องมีบ้านและได้รับเงินสนับสนุนเป็นค่าเลี้ยงดูชีวิตความเป็นอยู่ทุกๆคน จนทุกวันนี้แทบจะเรียกได้ว่าประชาชนดูไบไม่มีคนจนเลยก็ว่าได้ ที่เห็นยากจนหรือมีรายได้น้อยทำงานใช้แรงงานรับจ้างส่วนใหญ่ก็จะเป็นชาวต่างชาติที่เข้าไปหางานทำกันเสียมากกว่า ซึ่งก็จะมีชาวอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ และเวียดนามเสียโดยมาก การเดินทางจากบ้านของน้องสาวที่อยู่ย่านAl Nahda1 ไปถึงพิพิธภัณฑ์ก็ไม่ไกลกันนัก เราสองคนพี่น้องจึงเลือกใช้บริการจากรถแท็กซี่ค่ะ
ห้องนอนของชาวดูไบในอดีต
โซนรับแขกจะมีทั้งในบ้านและบริเวณห้องโถง
ฝาผนังจะถูกบุด้วยวัสดุที่คล้ายกับเสื่อกกในบ้านเรา และปิดคลุมมิดหมดทุกด้านตั้งแต่ด้านล่างจนถึงหลังคาเพื่อป้องกันทรายเข้า
เปลไกวสมัยโบราณสำหรับบ้านที่มีเด็กทารก
ที่นอนเล่นหน้าบ้านในยามที่อากาศร้อนมาก สังเกตว่าหลังคาของเคหะสถานทั้งหมดจะถูกมุงด้วยใบจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง
ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นใบของอินทผาลัมหรือว่าใบปาล์มกันแน่ ซึ่งทำให้รู้สึกเย็นสบายไม่ว่าแดดจะแรงแค่ไหนก็ตาม
แม้จะดูแร้นแค้น แต่บ้านของชาวดูไบโบราณก็ยังดูดีเป็นระเบียบ โดยมีการแบ่งแยกห้องต่างๆไว้อย่างเป็นสัดส่วน
และนี่ก็จะเป็นส่วนของห้องครัว ที่จะแยกออกมาจากตัวบ้าน ไม่ได้อยู่รวมในบ้าน
ข้าวของเครื่องใช้ภายในครัวก็จะมีหม้อโลหะด้ามไม้ ทัพพีที่ทำจากโลหะ
ครกและสากโลหะที่รูปทรงคล้ายๆของบ้านเรา กะละมังโลหะและถาดโลหะอีกหลายขนาด
หม้อหุงต้มก็จะตีมาจากโลหะทั้งหมดทั้งสิ้น ส่วนเชื้อเพลิงก็ใช้ฟืนสุมเอาในการหุงต้มประกอบอาหาร
ร้านช่างไม้ ซึ่งจะรับทำอุปกรณ์ต่างๆที่ทำจากไม้
ร้านขายอุปกรณ์โลหะต่างๆ
ร้านขายเครื่องเทศและยาสมุนไพร
เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่ก็จะเป็นไห แจกัน คนโท และจาน ชาม
ร้านจำหน่ายเครื่องประดับ
ร้านรับซื้อขายไข่มุก
ร้านขายผ้า
ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า
ร้านขายของชำเบ็ดเตล็ดต่างๆ
ภาพนี้ทำให้รู้ว่านมข้นจืดคาเนชั่นนี่มีใช้กันมาอย่างยาวนานแล้วเหมือนกัน
คนขายผลอินทผาลัม
การตั้งแค้มป์กลางทะเลทรายในอดีต
ชาวประมงจะจับปลาแล้วเอามาขายในตลาด
พิพิธภัณฑ์ดูไบมิวเซี่ยมในปัจจุบันนั้นถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1787 แต่เดิมนั้นเคยเป็นสถานที่ของกษัตริย์ ที่ตั้งอยู่บริเวณขอบเมืองของดูไบ ภายหลังต่อมาได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นป้อมปราการปืนใหญ่ และยังใช้เป็นที่ขุมขังสำหรับนักโทษที่กระทำผิดกฏหมาย ในปี 1971 สถานที่แห่งนี้เคยถูกดัดแปลงให้เป็นโรงแรมที่พักในช่วงที่ดูไบเริ่มมีการติดต่อด้านการค้ากับผู้คนภายนอกมากขึ้น และในปี 1995 ได้ถูกพัฒนาก่อสร้างต่อเติมมาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมของชาวดูไบมาจวบจนถึงปัจจุบัน
เวลาที่เปิดให้เข้าชมคือ วันเสาร์ถึงวันพฤหัสบดีตั้งแต่เวลา 8:30 น. ถึงเวลา 20:30 น. และวันศุกร์ตั้งแต่เวลา 14:30 น. ถึงเวลา 20:30 น. ตามเวลาท้องถิ่น
หลังจากที่ออกมาจากดูไบมิวเซี่ยม เราสองคนพี่น้องก็เกิดความรู้สึกกระหายน้ำเป็นอย่างมากและต้องการที่นั่งพักให้คลายจากความเหนื่อยเมื่อยล้าสักชั่วครู่ เห็นร้านเครื่องดื่มอยู่เบื้องหน้าก็เลยปรี่เข้าไปสั่งแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ เห็นราคาแล้วก็แพงเอาเรื่อง แต่ทำไงได้เข้าไปแล้วก็ต้องสั่ง น้องสาวเลือกสั่ง Karak Chai ซึ่งเป็นชานมร้อนของอินเดีย ในราคาแก้วละ 3 AED หรือราวๆเกือบ 30 บาทไทย เสิร์ฟมาในแก้วเล็กๆ ปริมาณ 100 ml. เห็นจะได้ มีรสชาติความมันของนมสด และมีกลิ่นหอมของขิง ลูกกระวาน กานพลู และอบเชย กลิ่นดูดีนะแต่พอชิมแล้วก็เกือบจะกินไม่ได้อยู่เหมือนกันเพราะมันมีแต่รสเค็มปะแล่มๆ ก็เลยเติมน้ำตาลเข้าไป 2 ช้อนชา จึงค่อยกินได้หน่อย มันก็พอกินได้นะ แต่ถ้าให้เลือกขอเป็นชาเขียวร้อนแบบญี่ปุ่นจะถูกจริตมากกว่า อีกแก้วยิ่งชวนให้เจ็บใจ เป็นชาแอ็ปเปิ้ลผสมน้ำผึ้ง ราคา 16 AED หรือเกือบ 160 บาทไทย คิดว่าจะมาแบบแก้วใหญ่บิ๊กบึ้มหอมหวานชื่นใจ ที่ไหนได้มาแบบแก้วเล็กทรงสูง ประมาณ 200 ml. ได้มั้ง ฝานแอ็ปเปิ้ลบางๆใส่มาให้ 3 ชิ้น รสชาติจืดชืด ดูดสามปรื้ดหมด หลายวันผ่านไปน้องสาวยังบ่นไม่หายเลย 5555 จะบอกว่าร้านนี้เป็นร้านของอินเดีย ใครอยากลองรสชาติเครื่องดื่มแปลกๆก็ไปได้ อยู่ใกล้ๆกับดูไบมิวเซี่ยมนั่นแหละ
จุดเช็คอินต่อไปที่น้องสาวบอกว่ามาดูไบแล้วจะต้องไปก็คือ ซูค มาดิแนท จูเมร่า (Souk Madinat Jumeirah) ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การดินเนอร์อันสุดแสนโรแมนติกเป็นอย่างมากในช่วงเวลายามพระอาทิตย์ตกดิน อ้าว!!! อย่างนี้คนโสดอย่างเราไปก็ตาร้อนผ่าวอ่ะดิ
(วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะคะ ไว้มาต่อพรุ่งนี้)
การเดินทางจากดูไบมิวเซี่ยมไปซูค มาดิแนท จูเมร่า มีระยะทางประมาณ 22.5 กิโลเมตร สามารถเลือกไปได้หลายแบบ แต่เรากับน้องสาวเลือกเดินลัดผ่านย่านชุมชนของคนอินเดีย เพื่อไปเมโตรที่อยู่ห่างออกไปราวๆ 700 เมตร จากนั้นก็ขึ้นรถไฟฟ้าในระยะสั้นไปลงที่ Burjuman ทอดแรกนี้ใช้เวลาประมาณ 5 นาที เมื่อมาถึง Burjuman แล้วก็จะต้องเปลี่ยนสายเพื่อที่จะไปลง Sharaf DG Metro Station ทอดนี้จะใช้เวลานานประมาณ 30 นาทีด้วยกัน ซึ่งถ้าหากเป็นไปได้ก็ควรหาที่นั่ง(ถ้ามีว่างนะ) ขออธิบายถึงรถไฟฟ้าของที่ดูไบเพิ่มเติมอีกนิด ว่ารถไฟฟ้าที่ดูไบนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน2สายคือ สายสีแดงและสายสีเขียวนะจ๊ะ ส่วนสีส้มนั้นจะเป็นTram(รถรางระยะสั้น)
ในการขึ้นรถโดยสารประจำทางของดูไบนั้นมีข้อดีที่เราชอบอยู่ถึง2ข้อก็คือ 1. เค้าจะมีเลดี้โซน ที่จะเป็นโซนสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ซึ่งถ้ามีผู้ชายหลงเข้ามาในเขตนี้เมื่อไหร่ผู้หญิงก็สามารถมีสิทธิ์ที่จะไล่หรือบอกให้ผู้ชายไปอยู่ในโซนปกติที่ไม่จำกัดเพศได้ และถ้าไล่แล้วยังมีคนฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามกฏ ก็สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ โดยผู้ชายที่ฝ่าฝืนก็จะถูกปรับ 2. บัตรชำระค่าโดยสารจะเป็นบัตรที่สามารถเติมเงินได้เองจากจุดเติมเงิน จากตู้เติมเงิน และสามารถเติมผ่านทางออนไลน์ได้เองอีกด้วย โดยบัตรนั้นจะสามารถใช้จ่ายค่าบริการได้ทั้งกับรถเมย์ Tram และรถไฟฟ้า ซึ่งมันสะดวกมาก โดยวิธีการชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าและแทรมก็จะใช้การแตะบัตรทาบลงที่เครื่องทั้งขาเข้าและขาออก พอดังตื๊ดประตูก็จะเปิด ส่วนรถเมย์นั้นเวลาขึ้นก็ให้แตะหนึ่งครั้ง ลงก็แตะหนึ่งครั้ง แต่ทุกครั้งที่แตะบัตรควรจะตรวจสอบสถานะการทำงานและเงินคงเหลือจากหน้าจอของเครื่องด้วยนะคะ เพราะถ้าเราลืมแตะบัตรหรือแตะพลาดแม้แต่ครั้งเดียว เงินในบัตรของคุณก็อาจจะหายไปจนหมดเกลี้ยงเพราะถูกชาร์ตตามระยะทางได้ค่ะ
พอมาถึงสถานี Sharaf DG เราก็จะต่อรถเมย์ทอดสั้นๆอีกทอด เพื่อไปลง Dubai Police Academy จากนั้นก็เดินเท้าต่อไปประมาณ 500 เมตร ก็จะถึง Souk Madinat Jumierah อันเป็นจุดเช็คอินต่อไปของเราสองศรีพี่น้อง งานนี้แนะนำให้ใส่รองเท้าผ้าใบสบายๆนะคะ จะได้คล่องตัว เพราะถ้าอยากสนุกมันก็ต้องมีเดินบ้างอะไรบ้าง ออกกำลังกายเผาผลาญพลังงานสะสมซึ่งนานๆทีจึงจะได้มีโอกาสทำอะไรแบบนี้สักครั้ง
ท่องดูไบชมความศิวิไลของคนเมือง เรียนรู้อารยธรรม และดูท้องฟ้าที่จรดผืนทรายยามอาทิตย์อัสดง
เราเดินทางมาถึงบ้านของน้องสาวที่อยู่ในดูไบในวันที่ 15 พ.ย. 59 เวลาประมาณเกือบสี่ทุ่ม ด้วยสายการบินเอมิเรตแอร์ไลน์ พอถึงบ้านก็ทำอาหารไทยกินกันเล็กๆน้อยๆแล้วก็พักผ่อนเลย เนื่องจากวันที่ 16 เรามีตารางเวลาที่จะต้องไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆมากมาย
เที่ยว dubai museum เพื่อชมวิถีชีวิตของคนดูไบในอดีตก่อนที่จะพบกับน้ำมันและร่ำรวยอย่างมหาศาล สมัยก่อนพวกเขาก็มีวิถีชีวิตที่ยากจนเหมือนกับคนอีกหลายล้านคนบนโลกใบนี้ โดยยึดอาชีพทำประมงและทำฟาร์มไข่มุกเป็นหลัก แต่หลังจากที่พบกับน้ำมันแล้ววิถีชีวิตของพวกเขาก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากรัฐบาลคอยจัดสรรค์ผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนของเขาโดยทั่วถึงกัน ชาวดูไบแท้ๆทุกคนอย่างน้อยจะต้องมีบ้านและได้รับเงินสนับสนุนเป็นค่าเลี้ยงดูชีวิตความเป็นอยู่ทุกๆคน จนทุกวันนี้แทบจะเรียกได้ว่าประชาชนดูไบไม่มีคนจนเลยก็ว่าได้ ที่เห็นยากจนหรือมีรายได้น้อยทำงานใช้แรงงานรับจ้างส่วนใหญ่ก็จะเป็นชาวต่างชาติที่เข้าไปหางานทำกันเสียมากกว่า ซึ่งก็จะมีชาวอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ และเวียดนามเสียโดยมาก การเดินทางจากบ้านของน้องสาวที่อยู่ย่านAl Nahda1 ไปถึงพิพิธภัณฑ์ก็ไม่ไกลกันนัก เราสองคนพี่น้องจึงเลือกใช้บริการจากรถแท็กซี่ค่ะ
โซนรับแขกจะมีทั้งในบ้านและบริเวณห้องโถง
ฝาผนังจะถูกบุด้วยวัสดุที่คล้ายกับเสื่อกกในบ้านเรา และปิดคลุมมิดหมดทุกด้านตั้งแต่ด้านล่างจนถึงหลังคาเพื่อป้องกันทรายเข้า
เปลไกวสมัยโบราณสำหรับบ้านที่มีเด็กทารก
ที่นอนเล่นหน้าบ้านในยามที่อากาศร้อนมาก สังเกตว่าหลังคาของเคหะสถานทั้งหมดจะถูกมุงด้วยใบจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง
ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นใบของอินทผาลัมหรือว่าใบปาล์มกันแน่ ซึ่งทำให้รู้สึกเย็นสบายไม่ว่าแดดจะแรงแค่ไหนก็ตาม
แม้จะดูแร้นแค้น แต่บ้านของชาวดูไบโบราณก็ยังดูดีเป็นระเบียบ โดยมีการแบ่งแยกห้องต่างๆไว้อย่างเป็นสัดส่วน
และนี่ก็จะเป็นส่วนของห้องครัว ที่จะแยกออกมาจากตัวบ้าน ไม่ได้อยู่รวมในบ้าน
ข้าวของเครื่องใช้ภายในครัวก็จะมีหม้อโลหะด้ามไม้ ทัพพีที่ทำจากโลหะ
ครกและสากโลหะที่รูปทรงคล้ายๆของบ้านเรา กะละมังโลหะและถาดโลหะอีกหลายขนาด
หม้อหุงต้มก็จะตีมาจากโลหะทั้งหมดทั้งสิ้น ส่วนเชื้อเพลิงก็ใช้ฟืนสุมเอาในการหุงต้มประกอบอาหาร
ร้านช่างไม้ ซึ่งจะรับทำอุปกรณ์ต่างๆที่ทำจากไม้
ร้านขายอุปกรณ์โลหะต่างๆ
ร้านขายเครื่องเทศและยาสมุนไพร
เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่ก็จะเป็นไห แจกัน คนโท และจาน ชาม
ร้านจำหน่ายเครื่องประดับ
ร้านรับซื้อขายไข่มุก
ร้านขายผ้า
ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า
ร้านขายของชำเบ็ดเตล็ดต่างๆ
ภาพนี้ทำให้รู้ว่านมข้นจืดคาเนชั่นนี่มีใช้กันมาอย่างยาวนานแล้วเหมือนกัน
คนขายผลอินทผาลัม
การตั้งแค้มป์กลางทะเลทรายในอดีต
ชาวประมงจะจับปลาแล้วเอามาขายในตลาด
พิพิธภัณฑ์ดูไบมิวเซี่ยมในปัจจุบันนั้นถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1787 แต่เดิมนั้นเคยเป็นสถานที่ของกษัตริย์ ที่ตั้งอยู่บริเวณขอบเมืองของดูไบ ภายหลังต่อมาได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นป้อมปราการปืนใหญ่ และยังใช้เป็นที่ขุมขังสำหรับนักโทษที่กระทำผิดกฏหมาย ในปี 1971 สถานที่แห่งนี้เคยถูกดัดแปลงให้เป็นโรงแรมที่พักในช่วงที่ดูไบเริ่มมีการติดต่อด้านการค้ากับผู้คนภายนอกมากขึ้น และในปี 1995 ได้ถูกพัฒนาก่อสร้างต่อเติมมาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมของชาวดูไบมาจวบจนถึงปัจจุบัน
เวลาที่เปิดให้เข้าชมคือ วันเสาร์ถึงวันพฤหัสบดีตั้งแต่เวลา 8:30 น. ถึงเวลา 20:30 น. และวันศุกร์ตั้งแต่เวลา 14:30 น. ถึงเวลา 20:30 น. ตามเวลาท้องถิ่น
หลังจากที่ออกมาจากดูไบมิวเซี่ยม เราสองคนพี่น้องก็เกิดความรู้สึกกระหายน้ำเป็นอย่างมากและต้องการที่นั่งพักให้คลายจากความเหนื่อยเมื่อยล้าสักชั่วครู่ เห็นร้านเครื่องดื่มอยู่เบื้องหน้าก็เลยปรี่เข้าไปสั่งแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ เห็นราคาแล้วก็แพงเอาเรื่อง แต่ทำไงได้เข้าไปแล้วก็ต้องสั่ง น้องสาวเลือกสั่ง Karak Chai ซึ่งเป็นชานมร้อนของอินเดีย ในราคาแก้วละ 3 AED หรือราวๆเกือบ 30 บาทไทย เสิร์ฟมาในแก้วเล็กๆ ปริมาณ 100 ml. เห็นจะได้ มีรสชาติความมันของนมสด และมีกลิ่นหอมของขิง ลูกกระวาน กานพลู และอบเชย กลิ่นดูดีนะแต่พอชิมแล้วก็เกือบจะกินไม่ได้อยู่เหมือนกันเพราะมันมีแต่รสเค็มปะแล่มๆ ก็เลยเติมน้ำตาลเข้าไป 2 ช้อนชา จึงค่อยกินได้หน่อย มันก็พอกินได้นะ แต่ถ้าให้เลือกขอเป็นชาเขียวร้อนแบบญี่ปุ่นจะถูกจริตมากกว่า อีกแก้วยิ่งชวนให้เจ็บใจ เป็นชาแอ็ปเปิ้ลผสมน้ำผึ้ง ราคา 16 AED หรือเกือบ 160 บาทไทย คิดว่าจะมาแบบแก้วใหญ่บิ๊กบึ้มหอมหวานชื่นใจ ที่ไหนได้มาแบบแก้วเล็กทรงสูง ประมาณ 200 ml. ได้มั้ง ฝานแอ็ปเปิ้ลบางๆใส่มาให้ 3 ชิ้น รสชาติจืดชืด ดูดสามปรื้ดหมด หลายวันผ่านไปน้องสาวยังบ่นไม่หายเลย 5555 จะบอกว่าร้านนี้เป็นร้านของอินเดีย ใครอยากลองรสชาติเครื่องดื่มแปลกๆก็ไปได้ อยู่ใกล้ๆกับดูไบมิวเซี่ยมนั่นแหละ
จุดเช็คอินต่อไปที่น้องสาวบอกว่ามาดูไบแล้วจะต้องไปก็คือ ซูค มาดิแนท จูเมร่า (Souk Madinat Jumeirah) ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การดินเนอร์อันสุดแสนโรแมนติกเป็นอย่างมากในช่วงเวลายามพระอาทิตย์ตกดิน อ้าว!!! อย่างนี้คนโสดอย่างเราไปก็ตาร้อนผ่าวอ่ะดิ
การเดินทางจากดูไบมิวเซี่ยมไปซูค มาดิแนท จูเมร่า มีระยะทางประมาณ 22.5 กิโลเมตร สามารถเลือกไปได้หลายแบบ แต่เรากับน้องสาวเลือกเดินลัดผ่านย่านชุมชนของคนอินเดีย เพื่อไปเมโตรที่อยู่ห่างออกไปราวๆ 700 เมตร จากนั้นก็ขึ้นรถไฟฟ้าในระยะสั้นไปลงที่ Burjuman ทอดแรกนี้ใช้เวลาประมาณ 5 นาที เมื่อมาถึง Burjuman แล้วก็จะต้องเปลี่ยนสายเพื่อที่จะไปลง Sharaf DG Metro Station ทอดนี้จะใช้เวลานานประมาณ 30 นาทีด้วยกัน ซึ่งถ้าหากเป็นไปได้ก็ควรหาที่นั่ง(ถ้ามีว่างนะ) ขออธิบายถึงรถไฟฟ้าของที่ดูไบเพิ่มเติมอีกนิด ว่ารถไฟฟ้าที่ดูไบนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน2สายคือ สายสีแดงและสายสีเขียวนะจ๊ะ ส่วนสีส้มนั้นจะเป็นTram(รถรางระยะสั้น)
ในการขึ้นรถโดยสารประจำทางของดูไบนั้นมีข้อดีที่เราชอบอยู่ถึง2ข้อก็คือ 1. เค้าจะมีเลดี้โซน ที่จะเป็นโซนสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ซึ่งถ้ามีผู้ชายหลงเข้ามาในเขตนี้เมื่อไหร่ผู้หญิงก็สามารถมีสิทธิ์ที่จะไล่หรือบอกให้ผู้ชายไปอยู่ในโซนปกติที่ไม่จำกัดเพศได้ และถ้าไล่แล้วยังมีคนฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามกฏ ก็สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ โดยผู้ชายที่ฝ่าฝืนก็จะถูกปรับ 2. บัตรชำระค่าโดยสารจะเป็นบัตรที่สามารถเติมเงินได้เองจากจุดเติมเงิน จากตู้เติมเงิน และสามารถเติมผ่านทางออนไลน์ได้เองอีกด้วย โดยบัตรนั้นจะสามารถใช้จ่ายค่าบริการได้ทั้งกับรถเมย์ Tram และรถไฟฟ้า ซึ่งมันสะดวกมาก โดยวิธีการชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าและแทรมก็จะใช้การแตะบัตรทาบลงที่เครื่องทั้งขาเข้าและขาออก พอดังตื๊ดประตูก็จะเปิด ส่วนรถเมย์นั้นเวลาขึ้นก็ให้แตะหนึ่งครั้ง ลงก็แตะหนึ่งครั้ง แต่ทุกครั้งที่แตะบัตรควรจะตรวจสอบสถานะการทำงานและเงินคงเหลือจากหน้าจอของเครื่องด้วยนะคะ เพราะถ้าเราลืมแตะบัตรหรือแตะพลาดแม้แต่ครั้งเดียว เงินในบัตรของคุณก็อาจจะหายไปจนหมดเกลี้ยงเพราะถูกชาร์ตตามระยะทางได้ค่ะ
พอมาถึงสถานี Sharaf DG เราก็จะต่อรถเมย์ทอดสั้นๆอีกทอด เพื่อไปลง Dubai Police Academy จากนั้นก็เดินเท้าต่อไปประมาณ 500 เมตร ก็จะถึง Souk Madinat Jumierah อันเป็นจุดเช็คอินต่อไปของเราสองศรีพี่น้อง งานนี้แนะนำให้ใส่รองเท้าผ้าใบสบายๆนะคะ จะได้คล่องตัว เพราะถ้าอยากสนุกมันก็ต้องมีเดินบ้างอะไรบ้าง ออกกำลังกายเผาผลาญพลังงานสะสมซึ่งนานๆทีจึงจะได้มีโอกาสทำอะไรแบบนี้สักครั้ง