คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย
หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
ตลาดหุ้นไทย... “แมว 9 ชีวิต” ตอนที่ 1
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
www.CsiSociety.com
Add Line: @CsiSociety
ช่วงนี้ตลาดหุ้นบ้านเราดูเหมือนว่าจะ...ผันผวนอย่างหนัก เพื่อให้ได้เห็นภาพในอดีตของตลาดหุ้นไทย และเป็นกำลังใจให้นักลงทุนไทยให้ไม่ท้อถอย วันนี้...ผมจึงขออนุญาตฉายภาพตลาดหุ้นไทยในอดีต ที่เคยผ่านวิกฤตมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน และก็กลับฟื้นตัวขึ้นมาผงาดได้อีกหลายต่อหลายครั้ง โดยเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อครั้งวันก่อตั้งตลาดหุ้นไทยเลยครับ ดังนี้ครับ
30 เมษายน 2518 วันกำเนิดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรกโดยเริ่มต้นดัชนีที่ 100 จุด และมีนายศุกรีย์ แก้วเจริญ เป็นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคนแรก ในช่วงแรกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Securities Exchange of Thailand” ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 ได้ทำการเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น "The Stock Exchange of Thailand" (SET) แต่ยังคงใช้ชื่อภาษาไทยเหมือนเดิมว่า “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”
ปี 2522 กรณี "ราชาเงินทุน"
ในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดเหตุการณ์ปั่นหุ้นและสร้างราคาจนทำให้ตลาดหุ้นปั่นป่วน เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุน ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำจากระดับ... 259.82 จุด เมื่อต้นปี 2522 เหลือเพียง... 149.40 จุดในช่วงปลายปี 2523 ดัชนียังคงตกต่ำต่อเนื่องจนไปปิดที่ ... 106.62 จุดเมื่อปลายปี 2524 คิดเป็นการปรับตัวลดลงเกือบ 60% ปริมาณการซื้อขายหุ้นทั้งปี หดหายไปอย่างรวดเร็วจาก 22,533 ล้านบาท ในปี 2522 เหลือเพียง 2,898 ล้านบาท ในปี 2524
ปี 2526-2528 วิกฤตการณ์สถาบันการเงินล้ม
เริ่มจากข่าวการสั่งถอนใบอนุญาตบริษัทราชาเงินทุน ตามมาด้วยข่าวที่ทำให้สถานการณ์ในตลาดหุ้นเลวร้ายลงอีกมากมาย เช่น ข่าวการสั่งปิดทรัสต์ แชร์ล้ม แบงก์มีฐานะการเงินอ่อนแอ รวมถึงวิกฤตการณ์ของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทำให้บริษัทต่างๆ ถูกถอนใบอนุญาตในช่วงปี 2526-2528 มากถึง 20 บริษัท วันที่ 2 พฤศจิกายน 2527 ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ประกาศลดค่าเงินบาทจากเดิม 23 บาทต่อดอลลาร์ เป็น 27 บาทต่อคอลลาร์ เป็นการลดค่าเงินบาทถึง 17% จากสาเหตุการนำเข้าสินค้าจำนวนมากโดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย และปัญหาที่ตามมาจากการปิดสถาบันการเงิน 20 แห่ง
รัฐบาลพล.อ.เปรม ในสมัยนั้นได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจาก “อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา” มาเป็น “ระบบตะกร้าเงิน” เพื่อที่จะได้ไม่ยึดอัตราแลกเปลี่ยนผูกเอาไว้กับเงินดอลลาร์เพียงอย่างเดียว
นอกจากนั้นยังมีการออกมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมเพื่อประหยัดการใช้จ่ายของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า ช่วงเวลาการเปิด-ปิดปั๊มน้ำมัน และมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าเพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน แต่มาตรการที่สำคัญที่สุดคือ การจำกัดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้เกิดการลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง ลดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
ดัชนีตลาดหุ้นไทยในปี 2526 ปิดที่ระดับ 134.47 จุด มีปริมาณการซื้อขายทั้งปี 9,323 ล้านบาท ในปี 2527 ดัชนีปิดที่ระดับ 142.29 จุด มีปริมาณการซื้อขายทั้งปีเป็น 10,595 ล้านบาท และในปี 2528 ดัชนีปิดที่ 134.95 จุด มีปริมาณการซื้อขายทั้งปีตกอยู่ที่ 15,333 ล้านบาท
ปี 2530 เหตุการณ์"แบล็คมันเดย์ (Black Monday)"
เหตุการณ์ "วันจันทร์ทมิฬ" (Black Monday) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2530 เกิดวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายที่สุดของตลาดหุ้นไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยมีจุดกำเนิดที่ตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกา และส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์คดิ่งลงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ถึง 508.32 จุดภายในวันเดียว หรือคิดเป็น 22.60% และมาปิดตลาดที่ระดับ 1,738.74 จุด
ส่วนตลาดหุ้นไทยในวันนั้น ดัชนีปรับตัวลดลง 36.64 จุด หรือ 8% จากระดับ 459.01 จุด ในวันที่ 19 ตุลาคม 2530 มาปิดต่ำสุดที่ 243.97 จุด ในวันที่ 11 ธันวาคม 2530 ปรับตัวลดลงประมาณ 46%
ปี 2533 เหตุการณ์ “สงครามอ่าวเปอร์เซีย”
ในช่วงปี 2531-2532 ตลาดหุ้นไทยสามารถทำผลงานได้เป็นอย่างดี แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็เป็นไปอย่างไม่จีรัง ในปี 2533 ได้เกิดเหตุการณ์อิรักบุกเข้ายึดครองประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 ซึ่งในเวลาต่อมาได้ก่อให้เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียอย่างเต็มรูปแบบ
ก่อนหน้านั้น ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 1,143.75 จุดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2533 หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และดัชนีมาทำจุดต่ำสุดที่ระดับ 544.30 จุดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 คิดเป็นการปรับตัวลดลงของดัชนีทั้งสิ้น 598 จุด หรือคิดเป็น 52%
ปี 2535 เหตุการณ์"พฤษภาทมิฬ"
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดการเสียเลือดเสียเนื้อของประชาชนจำนวนมาก ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยตอบรับทางลบอย่างรุนแรง และทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกลงทันที 65 จุดเหลือเพียง 667.84 จุด ก่อนจะดีดกลับขึ้นมาในวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 หลังเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวจบลง ตลาดหุ้นก็ตกอยู่ในภาวะซบเซาอย่างหนัก ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 7,337 ล้านบาท ในไตรมาสแรก เหลือเพียง 4,871 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2
ปี 2540 วิกฤตการณ์ “ต้มยำกุ้ง”
วิกฤตการณ์ครั้งนี้เริ่มจากปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน จนทำให้นักลงทุนต่างชาติโจมตีค่าเงินบาทอย่างรุนแรง ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้กำกับดูแลค่าเงินบาท ได้ใช้เงินสำรองระหว่างประเทศปกป้องค่าเงินบาทไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในค่าเงินบาท จนนำมาสู่การตัดสินใจในการปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวแบบ Managed Float ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และตามมาด้วยการประกาศปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งอย่างถาวร ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกต่ำมากที่สุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งหนึ่ง
ดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือนมกราคม 2539 จากระดับ 1,410.33 จุด ดำดิ่งลงมาตลอดสู่ระดับต่ำสุดที่ 457.97 จุด ในเดือนมิถุนายน 2540 คิดเป็นลดลงถึง 953 จุด หรือ 67% ภายในระยะเวลา 17 เดือน ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดของตลาดหุ้นไทย
ดัชนีตลาดหุ้นไทยดำดิ่งลงไปสู่จุดต่ำสุดที่ระดับ 207 จุดในเดือนกัยยายน 2541 เป็นช่วงขาลงที่ยาวนานที่สุดถึง 33 เดือน นับแต่ต้นปี 2539 ดัชนีปรับตัวลดลง 1,203 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลงถึง 85%
เราเดินทางกันมาจนถึงบรรทัดนี้แล้ว คุณผู้อ่านก็คงได้เห็นทั้ง “วิกฤต” และ “โอกาส” ที่ได้เคยเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทยกันไปบ้างแล้ว
ดังนั้น หากคุณผู้อ่านคิดจะลงทุนในตลาดหุ้น คำถามที่เราอาจต้องถามตัวเราเองก็คือ
ในยามที่เกิด “วิกฤต” เราจะรอดพ้นจาก...วิกฤตเหล่านั้น ไปได้อย่างไร?
ในยามที่เกิด “โอกาส” เราจะมีเงินสดเพียงพอ...ที่จะคว้าโอกาสนั้นๆไว้ ได้หรือไม่?
แล้วพบกันอีกครั้งในตอนจบ ในวันพรุ่งนี้นะครับ
http://www.doctorwe.com/posttoday/20161122/6563
ตลาดหุ้นไทย... “แมว 9 ชีวิต” ตอนที่ 1 หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย
หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
ตลาดหุ้นไทย... “แมว 9 ชีวิต” ตอนที่ 1
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
www.CsiSociety.com
Add Line: @CsiSociety
ช่วงนี้ตลาดหุ้นบ้านเราดูเหมือนว่าจะ...ผันผวนอย่างหนัก เพื่อให้ได้เห็นภาพในอดีตของตลาดหุ้นไทย และเป็นกำลังใจให้นักลงทุนไทยให้ไม่ท้อถอย วันนี้...ผมจึงขออนุญาตฉายภาพตลาดหุ้นไทยในอดีต ที่เคยผ่านวิกฤตมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน และก็กลับฟื้นตัวขึ้นมาผงาดได้อีกหลายต่อหลายครั้ง โดยเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อครั้งวันก่อตั้งตลาดหุ้นไทยเลยครับ ดังนี้ครับ
30 เมษายน 2518 วันกำเนิดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรกโดยเริ่มต้นดัชนีที่ 100 จุด และมีนายศุกรีย์ แก้วเจริญ เป็นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคนแรก ในช่วงแรกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Securities Exchange of Thailand” ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 ได้ทำการเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น "The Stock Exchange of Thailand" (SET) แต่ยังคงใช้ชื่อภาษาไทยเหมือนเดิมว่า “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”
ปี 2522 กรณี "ราชาเงินทุน"
ในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดเหตุการณ์ปั่นหุ้นและสร้างราคาจนทำให้ตลาดหุ้นปั่นป่วน เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุน ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำจากระดับ... 259.82 จุด เมื่อต้นปี 2522 เหลือเพียง... 149.40 จุดในช่วงปลายปี 2523 ดัชนียังคงตกต่ำต่อเนื่องจนไปปิดที่ ... 106.62 จุดเมื่อปลายปี 2524 คิดเป็นการปรับตัวลดลงเกือบ 60% ปริมาณการซื้อขายหุ้นทั้งปี หดหายไปอย่างรวดเร็วจาก 22,533 ล้านบาท ในปี 2522 เหลือเพียง 2,898 ล้านบาท ในปี 2524
ปี 2526-2528 วิกฤตการณ์สถาบันการเงินล้ม
เริ่มจากข่าวการสั่งถอนใบอนุญาตบริษัทราชาเงินทุน ตามมาด้วยข่าวที่ทำให้สถานการณ์ในตลาดหุ้นเลวร้ายลงอีกมากมาย เช่น ข่าวการสั่งปิดทรัสต์ แชร์ล้ม แบงก์มีฐานะการเงินอ่อนแอ รวมถึงวิกฤตการณ์ของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทำให้บริษัทต่างๆ ถูกถอนใบอนุญาตในช่วงปี 2526-2528 มากถึง 20 บริษัท วันที่ 2 พฤศจิกายน 2527 ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ประกาศลดค่าเงินบาทจากเดิม 23 บาทต่อดอลลาร์ เป็น 27 บาทต่อคอลลาร์ เป็นการลดค่าเงินบาทถึง 17% จากสาเหตุการนำเข้าสินค้าจำนวนมากโดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย และปัญหาที่ตามมาจากการปิดสถาบันการเงิน 20 แห่ง
รัฐบาลพล.อ.เปรม ในสมัยนั้นได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจาก “อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา” มาเป็น “ระบบตะกร้าเงิน” เพื่อที่จะได้ไม่ยึดอัตราแลกเปลี่ยนผูกเอาไว้กับเงินดอลลาร์เพียงอย่างเดียว
นอกจากนั้นยังมีการออกมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมเพื่อประหยัดการใช้จ่ายของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า ช่วงเวลาการเปิด-ปิดปั๊มน้ำมัน และมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าเพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน แต่มาตรการที่สำคัญที่สุดคือ การจำกัดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้เกิดการลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง ลดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
ดัชนีตลาดหุ้นไทยในปี 2526 ปิดที่ระดับ 134.47 จุด มีปริมาณการซื้อขายทั้งปี 9,323 ล้านบาท ในปี 2527 ดัชนีปิดที่ระดับ 142.29 จุด มีปริมาณการซื้อขายทั้งปีเป็น 10,595 ล้านบาท และในปี 2528 ดัชนีปิดที่ 134.95 จุด มีปริมาณการซื้อขายทั้งปีตกอยู่ที่ 15,333 ล้านบาท
ปี 2530 เหตุการณ์"แบล็คมันเดย์ (Black Monday)"
เหตุการณ์ "วันจันทร์ทมิฬ" (Black Monday) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2530 เกิดวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายที่สุดของตลาดหุ้นไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยมีจุดกำเนิดที่ตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกา และส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์คดิ่งลงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ถึง 508.32 จุดภายในวันเดียว หรือคิดเป็น 22.60% และมาปิดตลาดที่ระดับ 1,738.74 จุด
ส่วนตลาดหุ้นไทยในวันนั้น ดัชนีปรับตัวลดลง 36.64 จุด หรือ 8% จากระดับ 459.01 จุด ในวันที่ 19 ตุลาคม 2530 มาปิดต่ำสุดที่ 243.97 จุด ในวันที่ 11 ธันวาคม 2530 ปรับตัวลดลงประมาณ 46%
ปี 2533 เหตุการณ์ “สงครามอ่าวเปอร์เซีย”
ในช่วงปี 2531-2532 ตลาดหุ้นไทยสามารถทำผลงานได้เป็นอย่างดี แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็เป็นไปอย่างไม่จีรัง ในปี 2533 ได้เกิดเหตุการณ์อิรักบุกเข้ายึดครองประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 ซึ่งในเวลาต่อมาได้ก่อให้เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียอย่างเต็มรูปแบบ
ก่อนหน้านั้น ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 1,143.75 จุดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2533 หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และดัชนีมาทำจุดต่ำสุดที่ระดับ 544.30 จุดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 คิดเป็นการปรับตัวลดลงของดัชนีทั้งสิ้น 598 จุด หรือคิดเป็น 52%
ปี 2535 เหตุการณ์"พฤษภาทมิฬ"
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดการเสียเลือดเสียเนื้อของประชาชนจำนวนมาก ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยตอบรับทางลบอย่างรุนแรง และทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกลงทันที 65 จุดเหลือเพียง 667.84 จุด ก่อนจะดีดกลับขึ้นมาในวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 หลังเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวจบลง ตลาดหุ้นก็ตกอยู่ในภาวะซบเซาอย่างหนัก ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 7,337 ล้านบาท ในไตรมาสแรก เหลือเพียง 4,871 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2
ปี 2540 วิกฤตการณ์ “ต้มยำกุ้ง”
วิกฤตการณ์ครั้งนี้เริ่มจากปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน จนทำให้นักลงทุนต่างชาติโจมตีค่าเงินบาทอย่างรุนแรง ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้กำกับดูแลค่าเงินบาท ได้ใช้เงินสำรองระหว่างประเทศปกป้องค่าเงินบาทไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในค่าเงินบาท จนนำมาสู่การตัดสินใจในการปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวแบบ Managed Float ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และตามมาด้วยการประกาศปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งอย่างถาวร ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกต่ำมากที่สุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งหนึ่ง
ดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือนมกราคม 2539 จากระดับ 1,410.33 จุด ดำดิ่งลงมาตลอดสู่ระดับต่ำสุดที่ 457.97 จุด ในเดือนมิถุนายน 2540 คิดเป็นลดลงถึง 953 จุด หรือ 67% ภายในระยะเวลา 17 เดือน ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดของตลาดหุ้นไทย
ดัชนีตลาดหุ้นไทยดำดิ่งลงไปสู่จุดต่ำสุดที่ระดับ 207 จุดในเดือนกัยยายน 2541 เป็นช่วงขาลงที่ยาวนานที่สุดถึง 33 เดือน นับแต่ต้นปี 2539 ดัชนีปรับตัวลดลง 1,203 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลงถึง 85%
เราเดินทางกันมาจนถึงบรรทัดนี้แล้ว คุณผู้อ่านก็คงได้เห็นทั้ง “วิกฤต” และ “โอกาส” ที่ได้เคยเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทยกันไปบ้างแล้ว
ดังนั้น หากคุณผู้อ่านคิดจะลงทุนในตลาดหุ้น คำถามที่เราอาจต้องถามตัวเราเองก็คือ
ในยามที่เกิด “วิกฤต” เราจะรอดพ้นจาก...วิกฤตเหล่านั้น ไปได้อย่างไร?
ในยามที่เกิด “โอกาส” เราจะมีเงินสดเพียงพอ...ที่จะคว้าโอกาสนั้นๆไว้ ได้หรือไม่?
แล้วพบกันอีกครั้งในตอนจบ ในวันพรุ่งนี้นะครับ
http://www.doctorwe.com/posttoday/20161122/6563