อัยการแถลง มีความเห็นควรสั่งฟ้อง "พระธัมมชโย-ศุภชัย ศรีศุภอักษร" กับพวกรวม 5 คน ร่วมกันฟอกเงิน รับของโจร คดีทุจริตสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น แจ้งดีเอสไอติดตามตัวผู้ต้องหามาส่งฟ้องต่อศาล ก่อนขาดอายุความ 15 ปี...
เมื่อวันที่ 23 พ.ย. หลังจากเลื่อนสั่งคดีมา 5 ครั้ง ในที่สุด พนักงานอัยการได้มีความเห็นสั่งฟ้อง พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ในข้อหาร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร ในคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคองจั่น ที่พนักงานสอบสวนดีเอสไอ สอบพบว่ามีส่วนพัวพันรับเช็คบริจาคหลายฉบับ มูลค่ากว่า 316 ล้านบาท จากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จึงแจ้งข้อกล่าวหา และต่อมาได้ขออนุมัติหมายจับต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 59 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เรือโทสมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า คณะทำงานอัยการได้พิจารณาผลการสอบสวนเพิ่มเติมทั้งหมดจากพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่อัยการสั่งสอบเพิ่มเติม และหนังสือร้องขอความเป็นธรรมจากผู้ต้องหาครบถ้วนแล้ว จึงได้มีคำสั่งคดี เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 59 โดยมีความเห็นสั่งฟ้องนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นจำกัด ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำกลางบางขวาง ผู้ต้องหาที่ 1 นางศรัณยา มานหมัด อดีตรองผู้จัดการสหกรณ์ฯ คลองจั่น ผู้ต้องหาที่ 3 และนางทองพิน กันล้อม อดีตรองประธานสหกรณ์ฯ คลองจั่น ผู้ต้องหาที่ 4 ฐานสมคบกันฟอกเงิน และร่วมกันฟอกเงิน ซึ่งอัยการนัดให้ผู้ต้องหากลุ่มนี้ที่พนักงานสอบสวนได้ส่งตัวมาให้อัยการแล้ว มาฟังคำสั่งคดีในวันที่ 30 พฤศจิกายน เพื่อส่งฟ้องต่อศาลต่อไป

นอกจากนี้ อัยการมีความเห็นควรสั่งฟ้อง พระเทพญาณมหามุนี หรือ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ผู้ต้องหาที่ 2 และนางสาวศศิธร โชคประสิทธิ์ ผู้ต้องหาที่ 5 ฐานสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร ซึ่งผู้ต้องหาทั้งสอง พนักงานสอบสวนคดีพิเศษยังไม่ได้ส่งตัวให้อัยการ จึงแจ้งให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ติดตามตัว พระธัมมชโย และนางสาวศศิธร มาให้อัยการเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนก่อนขาดอายุความ 15 ปี
ด้าน นายชาติพงษ์ จีระพันธุ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ กล่าวว่า ในส่วนพระธัมมชโย กับนางสาวศศิธร หากอัยการได้รับตัวมาอัยการก็จะต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาคำสั่งเห็นควรสั่งฟ้องทั้งสองคน และทำการสอบสวนก่อน ซึ่งหากมีพยานหลักฐานใหม่ อัยการก็อาจมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงการสั่งคดีในส่วนสองคนนี้ได้
"ยอมรับว่าการสั่งคดีนี้มีความล่าช้า เนื่องจากมีทรัพย์สินเกี่ยวข้องจำนวนมาก ต้องตรวจสอบเส้นทางการเงิน ที่พบว่ามีการจ่ายเช็ค 27 ฉบับ จากนายศุภชัย นางสาวศรัณยา และนางทองพิน ไปยังพระธัมมชโย และนางสาวศศิธร รวมประมาณ 1,400 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ถึง เมษายน 2556 จึงต้องดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อผลประโยชน์ของผู้เสียหาย ที่สามารถใช้สิทธิขอรับการเยียวยารับเงินคืนได้ตามขั้นตอนของกฎหมาย และยืนยันอัยการทำงานเต็มที่ หลังได้รับผลสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ" นายชาติพงษ์ กล่าว.
!!!!!! ไทยรัฐออนไลน์ พาดหัว !!!!!! อัยการเห็นควรสั่งฟ้อง ‘ธัมมชโย’ ฟอกเงิน-รับของโจร ให้ DSI ตามตัวมาฟ้อง
อัยการแถลง มีความเห็นควรสั่งฟ้อง "พระธัมมชโย-ศุภชัย ศรีศุภอักษร" กับพวกรวม 5 คน ร่วมกันฟอกเงิน รับของโจร คดีทุจริตสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น แจ้งดีเอสไอติดตามตัวผู้ต้องหามาส่งฟ้องต่อศาล ก่อนขาดอายุความ 15 ปี...
เมื่อวันที่ 23 พ.ย. หลังจากเลื่อนสั่งคดีมา 5 ครั้ง ในที่สุด พนักงานอัยการได้มีความเห็นสั่งฟ้อง พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ในข้อหาร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร ในคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคองจั่น ที่พนักงานสอบสวนดีเอสไอ สอบพบว่ามีส่วนพัวพันรับเช็คบริจาคหลายฉบับ มูลค่ากว่า 316 ล้านบาท จากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จึงแจ้งข้อกล่าวหา และต่อมาได้ขออนุมัติหมายจับต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 59 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เรือโทสมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า คณะทำงานอัยการได้พิจารณาผลการสอบสวนเพิ่มเติมทั้งหมดจากพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่อัยการสั่งสอบเพิ่มเติม และหนังสือร้องขอความเป็นธรรมจากผู้ต้องหาครบถ้วนแล้ว จึงได้มีคำสั่งคดี เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 59 โดยมีความเห็นสั่งฟ้องนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นจำกัด ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำกลางบางขวาง ผู้ต้องหาที่ 1 นางศรัณยา มานหมัด อดีตรองผู้จัดการสหกรณ์ฯ คลองจั่น ผู้ต้องหาที่ 3 และนางทองพิน กันล้อม อดีตรองประธานสหกรณ์ฯ คลองจั่น ผู้ต้องหาที่ 4 ฐานสมคบกันฟอกเงิน และร่วมกันฟอกเงิน ซึ่งอัยการนัดให้ผู้ต้องหากลุ่มนี้ที่พนักงานสอบสวนได้ส่งตัวมาให้อัยการแล้ว มาฟังคำสั่งคดีในวันที่ 30 พฤศจิกายน เพื่อส่งฟ้องต่อศาลต่อไป

นอกจากนี้ อัยการมีความเห็นควรสั่งฟ้อง พระเทพญาณมหามุนี หรือ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ผู้ต้องหาที่ 2 และนางสาวศศิธร โชคประสิทธิ์ ผู้ต้องหาที่ 5 ฐานสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร ซึ่งผู้ต้องหาทั้งสอง พนักงานสอบสวนคดีพิเศษยังไม่ได้ส่งตัวให้อัยการ จึงแจ้งให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ติดตามตัว พระธัมมชโย และนางสาวศศิธร มาให้อัยการเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนก่อนขาดอายุความ 15 ปี
ด้าน นายชาติพงษ์ จีระพันธุ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ กล่าวว่า ในส่วนพระธัมมชโย กับนางสาวศศิธร หากอัยการได้รับตัวมาอัยการก็จะต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาคำสั่งเห็นควรสั่งฟ้องทั้งสองคน และทำการสอบสวนก่อน ซึ่งหากมีพยานหลักฐานใหม่ อัยการก็อาจมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงการสั่งคดีในส่วนสองคนนี้ได้
"ยอมรับว่าการสั่งคดีนี้มีความล่าช้า เนื่องจากมีทรัพย์สินเกี่ยวข้องจำนวนมาก ต้องตรวจสอบเส้นทางการเงิน ที่พบว่ามีการจ่ายเช็ค 27 ฉบับ จากนายศุภชัย นางสาวศรัณยา และนางทองพิน ไปยังพระธัมมชโย และนางสาวศศิธร รวมประมาณ 1,400 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ถึง เมษายน 2556 จึงต้องดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อผลประโยชน์ของผู้เสียหาย ที่สามารถใช้สิทธิขอรับการเยียวยารับเงินคืนได้ตามขั้นตอนของกฎหมาย และยืนยันอัยการทำงานเต็มที่ หลังได้รับผลสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ" นายชาติพงษ์ กล่าว.