ทริปนี้เป็นทริปลุยกัมพูชาครับ ผมจะมารีวิววันแรกในการเที่ยวเมืองเสียมราฐกันครับ
นี่เป็นการรีวิวครั้งแรก ผิดพลาดอย่างไรขออภัยเป็นอย่างสูงครับ
เริ่มกันเลย
อันที่จริงคนที่นี่เขาจะเรียกกันว่า “เสียมเรียบ” กันมากกว่าครับ
คำว่า เสียมเรียบ ในภาษาเขมรมีหมายความว่า “สยามราบ” คือ “สยาม (แพ้) ราบเรียบ”
ส่วน เสียมราฐ ในภาษาไทยนั้น หมายถึง “ดินแดนของสยาม” นั่นก็คือเหตุผลว่าทำไมถึงเรียกกันอย่างสองอย่าง
ปกติชื่อเมืองในกัมพูชา เราจะเรียกในภาษาไทยว่า เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ โพธิสัตว์ เชียงแตง เรียกตามชื่อไทย
บางเมืองรัฐบาลกัมพูชาก็เปลี่ยนชื่อใหม่ บางเมือง ชื่อไทยก็ถอดตามรูปอักษร ซึ่งอักษรตัวเดียวกันออกเสียงต่างกัน
เช่น พระวิหาร กับ เปรี๊ยะ วิเฮียร์ กันดาล กับ ก็อนดอล บันทายมีชัย กับ บันเตียเมียนเจย ไพลิน เปยลิน ประมาณนี้ครับ
คิดง่ายๆ ก็เวลาไปจีน เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง จุงกิง จีนกลาง เขาก็เรียกว่า ชางไห่ เป่ยจิง ฉงชิ่ง
แต่ถ้าไปประเทศเขา ก็เป็นมารยาทควรออกเสียงชื่อให้ถูกต้องตามคำอ่านของคนท้องถิ่น เป็นการให้เกียรติเจ้าของพื้นที่
แต่คุยกันเองก็ตามสบายครับ
วนไปเรื่องเรียกชื่อเมืองเสียนานเลย ย้อนกลับมาลุยเสียมราฐกันต่อครับ
วันนี้เป้าหมายเราคือเก็บแลนด์มาร์คภายในเสียมราฐให้หมด ไหวแค่ไหนเอาแค่นั้น
เปิดหัวมาก็ตื่นตั้งแต่ตีสี่กว่าๆ ครับ เพื่อจะซื้อตั๋วเพื่อเที่ยวชมในเขตนครวัดเสียก่อน
โดยสำหรับผมเลือก One-day pass กัน เพราะว่าเวลาในกัมพูชาเรามีแค่ สี่วันเอง ลุยวันเดียวให้หมดไปเลยดีกว่า
จากจุดที่พักมาถึงที่ซื้อตั๋ว ก็ใช้เวลาประมาณเกือบครึ่งชั่วโมง มาถึงนี่ก็ ประมาณ 05.15 แล้ว
อ่อ ลืมบอก เวลาซื้อตั๋วจะมีให้ถ่ายรูปติดบัตรด้วยนะครับ เวลาถ่ายรูปแนะนำให้ยิ้มไว้เลย เพราะคุณจะไม่มีเวลาทำอะไรทั้งนั้น
เดินเข้าช่องไปปุ๊ปถ่ายเสร็จปั๊บ รวดเร็วกว่าถ่ายบัตรประชาชนที่ไทยซะอีก
มาถึงจุดแรก ดูพระอาทิตย์ขึ้นที่ นครวัดครับ มาถึงประมาณ 05.30 กว่าจะเดินไปจุดถ่ายรูปพระอาทิตย์ขึ้นก็ 05.45 แล้ว
ทำเลทองโดนจับจองโดยผู้ร่วมอุดมการณ์กันเกือบเต็ม ผมก็ได้แต่แซะๆ ตัวเข้าไปถ่ายรูปกับเขาบ้าง
วันนี้ดวงไม่ดีครับ เมฆเยอะ ทำให้ไม่เห็นพระอาทิตย์ขึ้น โผล่มาอีกทีก็สว่างเต็มท้องฟ้าแล้ว
ขอเล่าเกี่ยวกับ “นครวัด” คร่าวนะครับ
ที่แห่งนี้สร้างในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งขณะนั้นพราหมณ์ฮินดูไวษณพนิกาย นับถือพระวิษณุเป็นมหาเทพ
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทนครวัดเป็นเทวาลัยบูชา และให้เป็นที่เก็บพระศพของพระองค์ อนึ่งว่าตายไปจะได้ไปเป็นเทพนั่นเอง
นครวัดจึงแตกต่างกับปราสาทอื่นๆ ตรงที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศของผู้ตาย แทนทิศตะวันออกตามขนบธรรมเนียมครับ
นครวัด ใช้หินเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก มีความยาว 1.5 กิโลเมตร กว้าง 1.3 กิโลเมตร รวมพื้นที่ 1,219 ไร่ หรือราว 200,000 ตารางเมตร
ภายในมีปราสาท 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติฮินดู คือเป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล คูน้ำล้อมรอบตามแบบมหาสมุทรล้อมเขาพระสุเมรุ
นอกจากนั้นบังมีภาพเล่าวรรณคดี รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดคือรูปเทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระสุเมรุ รวมถึงนางอัปสร หรืออัปสรา 1,635 นาง อีกด้วย
ภายในนครวัดมีจุดถ่ายรูปเยอะแยะมากมายครับ ตั้งแต่ระหว่างทางเดินเข้ามาตัวปราสาทชั้นใน
พอเข้ามาถึงด้านในก็จะมีนักท่องเที่ยวเยอะมากครับ ทั้งฝรั่งทั้งเอเชีย ภายในวิจิตรงดงามมาก
หากสังเกตดีๆ นางอัปสรแกะสลักที่นี่จะไม่ซ้ำกันสักรูป ถือว่าเป็นความปราณีตของคนสมัยนั้นมากครับ
มุมถ่ายรูปเยอะครับ ระวังสองข้างทางด้วยนะครับ พื้นไม่เรียบอาจจะสะดุดได้
กองทัพนักท่องเที่ยวเพียบครับ
แวะรองท้องในนครวัด จานนี้เกือบ 150 บาท
หลังจากนั้นเดินทางกันไปต่อที่ใจกลางนครธมครับ ที่นี่เราจะได้เจอกับอีกหนึ่งปราสาทที่ใหญ่ไม่แพ้กันอย่างปราสาทบายน
ไปกันเลย
พวกชาวบ้านหาหอยกันหน้าปราสาทกันเลย
ที่นี่นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย
เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา
อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้าหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ
ซึ่งที่นี่นักท่องเที่ยวมักจะพยายามนับรูปสลักพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ รวมทั้งผมด้วย
ว่ามีทั้งหมดกี่หน้า แต่นักโบราณคดีเคยสรุปกันมาแล้ว ว่ามีทั้งหมด 216 หน้าด้วยกัน
ภายในปราสาทมีความวิจิตรงดงาดเหมือนปราสาทอื่นๆ เช่นกัน เชื่อกันว่า รอยยิ้มแบบบายน
บนใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกเตศวร นั้นคือ ยิ้มแบบมีเมตตา กรุณา
แสดงถึงพระราชอำนาจของพระองค์ ที่มีไปทั่วทุกสารทิศ ด้วยทรงถือว่า พระองค์ทรงอวตารมาจากพระโพธิสัตว์บนโลกมนุษย์นั่นเอง
ใครเร็วกว่าได้เปรียบครับ ถ้าช้าโดนแย่งซีนแน่นอน
จบจากปราสาทบายนก็เกือบๆ เที่ยงแล้ว อากาศก็เริ่มร้อนเข้าไปทุกที
ลืมบอกไปครับ แต่ละจุดท่องเที่ยวก็จะมีร้านอาหาร Foodtruck เล็กๆ ไว้ให้แก้หิวบ้าง
แต่ราคาก็ค่อนข้างแพงพอสมควรครับ ถ้าจะให้ดีพกเข้ามาติดไว้จะดีกว่าครับ
จอดรถไว้แป๊ปเดียว โดนลิงยึดรถครับ
ทางข้าปราสาทแห่งนี้จะเป็น One Way นะครับ เข้าจุดหนึ่งแล้วออกอีกจุดหนึ่ง
ปราสาทแห่งนี้ค่อนข้างทรุดโทรมเป็นอย่างมาก เหมือนจะถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ
สังเกตดูดีๆ ยังมีเครนเก่า ทิ้งซากไว้อยู่นี่เลย ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามีต้นไม้หล่นมาทับปราสาทหรือเปล่าจึงทำให้ปราสาทมีสภาพพุพัง
เห็นคนโล่งๆ ไม่ได้ ต้องจัดสักหน่อย
แต่แลนด์มาร์คสำคัญก็ยังอยู่กับครบ แต่อาจจะต้องเดินระวังๆ กันหน่อยครับ เพราะสถานที่แห่งนี้เริ่มจะเสื่อมโทรมเต็มที่แล้ว
อากาศเริ่มร้อนหลังจากช่วงบ่ายเราก็ต้องยอมแพ้กลับไปอาบน้ำ ล้างเนื้อล้างตัวก่อน เป้าหมายของเราที่สุดท้ายในวันนี้ ก็คือปราสาทแปรูป เพื่อดูพระอาทิตย์ตกดิน (อีกจุดหนึ่งคือพนมบาเคง จุดนั้นเป็นตัวเลือกแรกครับ แต่เนื่องจากคนเยอะ เราเลยเลือกมาจุดนี้ดีกว่า)
ปราสาทแปรรูป สร้างในโดยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 เป็นศิลปะแบบแปรรูป ศาสนาฮินดู นิกายไศวนิกาย
สร้างเพื่ออุทิศถวายให้แก่พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม
สันนิษฐานว่า ปราสาทแปรรูปน่าจะเคยใช้เป็นเผาศพขุนนางผู้มียศศักดิ์
จึงเรียกว่า แปรรูป หมายถึงการแปรสภาพจากศพ กลายเป็นเถ้า
สภาพของปราสาทเริ่มมีการเข้ามาซ่อมแซมบ้างแล้ว จึงมีหลายส่วนที่เข้าไปไม่ได้ครับ
นักท่องเที่ยวจำนวนมากต่างจับจองที่เรียบร้อยกันเต็มพื้นที่ครับ
บ้ายบายเสียมราฐ แล้วพบกันใหม่
หมดเวลาไปอีกวันกับเสียมราฐ เที่ยวไม่หมดจริงๆ ครับ
เสียดายเหมือนกันที่เวลาน้อย ถ้าอยากได้เต็มอิ่มจริงๆ ผมว่าวันครึ่งน่าจะหมด
แต่ถ้ามีเวลาวันเดียว ลองเลือกสัก 3 ถึง 4 ที่ ที่เราชอบ หาข้อมูลให้แน่นๆ ก่อนมา
รับรองว่าสนุกมากๆ ครับ
——————————————–
-แนะนำให้นอนมาให้เต็มอิ่มครับ เพราะเดินเยอะเหมือนกัน จะได้มีแรง
-ศึกษาข้อมูลให้แน่น รับรองเที่ยวสนุกแน่
-อาหารให้พร้อม ถ้าไม่นำมาจากข้างนอก ก็เตรียมเงินมาทานข้างในโซนก็ได้ครับ แต่ความอร่อยสู้บ้านเราไม่ได้จริงๆ
-การแต่งกายครับ ให้นึกว่าเราใส่เข้าวัดพระแก้วยังไง ก็ใส่แบบนั้นครับ ถ้าร้อนขาสั้นก็ได้ครับ แต่ไม่สั้นมาก ให้เกียรติสถานที่ครับ
-ติดต่อรถนำเที่ยวไว้จะดีครับ เพราะจะได้คุยกับเขาได้เลยว่าจะไปไหนบ้าง สะดวกครับ
-จุดไหนไม่ให้เข้าอย่าเขข้าครับ เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง
แล้วครั้งหน้าพบกับตอนต่อไป
ลุยพนมเปญกันครับ
************************************************
แลกเปลี่ยนข้อมูล สอบถามการไปเที่ยว
Facebook:
https://www.facebook.com/iiPuN
Instagram: iiPuN_
Wordpress:
https://chilling2gether.wordpress.com
ขอบคุณครับ
[CR] [REVIEW] บุกตะลุยเสียมราฐแบบโก๋ๆ (แล้วต้องโอ้โหให้ด้วยป่ะ)
ทริปนี้เป็นทริปลุยกัมพูชาครับ ผมจะมารีวิววันแรกในการเที่ยวเมืองเสียมราฐกันครับ
นี่เป็นการรีวิวครั้งแรก ผิดพลาดอย่างไรขออภัยเป็นอย่างสูงครับ
เริ่มกันเลย
อันที่จริงคนที่นี่เขาจะเรียกกันว่า “เสียมเรียบ” กันมากกว่าครับ
คำว่า เสียมเรียบ ในภาษาเขมรมีหมายความว่า “สยามราบ” คือ “สยาม (แพ้) ราบเรียบ”
ส่วน เสียมราฐ ในภาษาไทยนั้น หมายถึง “ดินแดนของสยาม” นั่นก็คือเหตุผลว่าทำไมถึงเรียกกันอย่างสองอย่าง
ปกติชื่อเมืองในกัมพูชา เราจะเรียกในภาษาไทยว่า เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ โพธิสัตว์ เชียงแตง เรียกตามชื่อไทย
บางเมืองรัฐบาลกัมพูชาก็เปลี่ยนชื่อใหม่ บางเมือง ชื่อไทยก็ถอดตามรูปอักษร ซึ่งอักษรตัวเดียวกันออกเสียงต่างกัน
เช่น พระวิหาร กับ เปรี๊ยะ วิเฮียร์ กันดาล กับ ก็อนดอล บันทายมีชัย กับ บันเตียเมียนเจย ไพลิน เปยลิน ประมาณนี้ครับ
คิดง่ายๆ ก็เวลาไปจีน เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง จุงกิง จีนกลาง เขาก็เรียกว่า ชางไห่ เป่ยจิง ฉงชิ่ง
แต่ถ้าไปประเทศเขา ก็เป็นมารยาทควรออกเสียงชื่อให้ถูกต้องตามคำอ่านของคนท้องถิ่น เป็นการให้เกียรติเจ้าของพื้นที่
แต่คุยกันเองก็ตามสบายครับ
วนไปเรื่องเรียกชื่อเมืองเสียนานเลย ย้อนกลับมาลุยเสียมราฐกันต่อครับ
วันนี้เป้าหมายเราคือเก็บแลนด์มาร์คภายในเสียมราฐให้หมด ไหวแค่ไหนเอาแค่นั้น
เปิดหัวมาก็ตื่นตั้งแต่ตีสี่กว่าๆ ครับ เพื่อจะซื้อตั๋วเพื่อเที่ยวชมในเขตนครวัดเสียก่อน
โดยสำหรับผมเลือก One-day pass กัน เพราะว่าเวลาในกัมพูชาเรามีแค่ สี่วันเอง ลุยวันเดียวให้หมดไปเลยดีกว่า
จากจุดที่พักมาถึงที่ซื้อตั๋ว ก็ใช้เวลาประมาณเกือบครึ่งชั่วโมง มาถึงนี่ก็ ประมาณ 05.15 แล้ว
อ่อ ลืมบอก เวลาซื้อตั๋วจะมีให้ถ่ายรูปติดบัตรด้วยนะครับ เวลาถ่ายรูปแนะนำให้ยิ้มไว้เลย เพราะคุณจะไม่มีเวลาทำอะไรทั้งนั้น
เดินเข้าช่องไปปุ๊ปถ่ายเสร็จปั๊บ รวดเร็วกว่าถ่ายบัตรประชาชนที่ไทยซะอีก
มาถึงจุดแรก ดูพระอาทิตย์ขึ้นที่ นครวัดครับ มาถึงประมาณ 05.30 กว่าจะเดินไปจุดถ่ายรูปพระอาทิตย์ขึ้นก็ 05.45 แล้ว
ทำเลทองโดนจับจองโดยผู้ร่วมอุดมการณ์กันเกือบเต็ม ผมก็ได้แต่แซะๆ ตัวเข้าไปถ่ายรูปกับเขาบ้าง
วันนี้ดวงไม่ดีครับ เมฆเยอะ ทำให้ไม่เห็นพระอาทิตย์ขึ้น โผล่มาอีกทีก็สว่างเต็มท้องฟ้าแล้ว
ขอเล่าเกี่ยวกับ “นครวัด” คร่าวนะครับ
ที่แห่งนี้สร้างในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งขณะนั้นพราหมณ์ฮินดูไวษณพนิกาย นับถือพระวิษณุเป็นมหาเทพ
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทนครวัดเป็นเทวาลัยบูชา และให้เป็นที่เก็บพระศพของพระองค์ อนึ่งว่าตายไปจะได้ไปเป็นเทพนั่นเอง
นครวัดจึงแตกต่างกับปราสาทอื่นๆ ตรงที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศของผู้ตาย แทนทิศตะวันออกตามขนบธรรมเนียมครับ
นครวัด ใช้หินเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก มีความยาว 1.5 กิโลเมตร กว้าง 1.3 กิโลเมตร รวมพื้นที่ 1,219 ไร่ หรือราว 200,000 ตารางเมตร
ภายในมีปราสาท 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติฮินดู คือเป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล คูน้ำล้อมรอบตามแบบมหาสมุทรล้อมเขาพระสุเมรุ
นอกจากนั้นบังมีภาพเล่าวรรณคดี รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดคือรูปเทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระสุเมรุ รวมถึงนางอัปสร หรืออัปสรา 1,635 นาง อีกด้วย
ภายในนครวัดมีจุดถ่ายรูปเยอะแยะมากมายครับ ตั้งแต่ระหว่างทางเดินเข้ามาตัวปราสาทชั้นใน
พอเข้ามาถึงด้านในก็จะมีนักท่องเที่ยวเยอะมากครับ ทั้งฝรั่งทั้งเอเชีย ภายในวิจิตรงดงามมาก
หากสังเกตดีๆ นางอัปสรแกะสลักที่นี่จะไม่ซ้ำกันสักรูป ถือว่าเป็นความปราณีตของคนสมัยนั้นมากครับ
มุมถ่ายรูปเยอะครับ ระวังสองข้างทางด้วยนะครับ พื้นไม่เรียบอาจจะสะดุดได้
กองทัพนักท่องเที่ยวเพียบครับ
แวะรองท้องในนครวัด จานนี้เกือบ 150 บาท
หลังจากนั้นเดินทางกันไปต่อที่ใจกลางนครธมครับ ที่นี่เราจะได้เจอกับอีกหนึ่งปราสาทที่ใหญ่ไม่แพ้กันอย่างปราสาทบายน
ไปกันเลย
พวกชาวบ้านหาหอยกันหน้าปราสาทกันเลย
ที่นี่นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย
เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา
อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้าหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ
ซึ่งที่นี่นักท่องเที่ยวมักจะพยายามนับรูปสลักพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ รวมทั้งผมด้วย
ว่ามีทั้งหมดกี่หน้า แต่นักโบราณคดีเคยสรุปกันมาแล้ว ว่ามีทั้งหมด 216 หน้าด้วยกัน
ภายในปราสาทมีความวิจิตรงดงาดเหมือนปราสาทอื่นๆ เช่นกัน เชื่อกันว่า รอยยิ้มแบบบายน
บนใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกเตศวร นั้นคือ ยิ้มแบบมีเมตตา กรุณา
แสดงถึงพระราชอำนาจของพระองค์ ที่มีไปทั่วทุกสารทิศ ด้วยทรงถือว่า พระองค์ทรงอวตารมาจากพระโพธิสัตว์บนโลกมนุษย์นั่นเอง
ใครเร็วกว่าได้เปรียบครับ ถ้าช้าโดนแย่งซีนแน่นอน
จบจากปราสาทบายนก็เกือบๆ เที่ยงแล้ว อากาศก็เริ่มร้อนเข้าไปทุกที
ลืมบอกไปครับ แต่ละจุดท่องเที่ยวก็จะมีร้านอาหาร Foodtruck เล็กๆ ไว้ให้แก้หิวบ้าง
แต่ราคาก็ค่อนข้างแพงพอสมควรครับ ถ้าจะให้ดีพกเข้ามาติดไว้จะดีกว่าครับ
จอดรถไว้แป๊ปเดียว โดนลิงยึดรถครับ
ทางข้าปราสาทแห่งนี้จะเป็น One Way นะครับ เข้าจุดหนึ่งแล้วออกอีกจุดหนึ่ง
ปราสาทแห่งนี้ค่อนข้างทรุดโทรมเป็นอย่างมาก เหมือนจะถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ
สังเกตดูดีๆ ยังมีเครนเก่า ทิ้งซากไว้อยู่นี่เลย ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามีต้นไม้หล่นมาทับปราสาทหรือเปล่าจึงทำให้ปราสาทมีสภาพพุพัง
เห็นคนโล่งๆ ไม่ได้ ต้องจัดสักหน่อย
แต่แลนด์มาร์คสำคัญก็ยังอยู่กับครบ แต่อาจจะต้องเดินระวังๆ กันหน่อยครับ เพราะสถานที่แห่งนี้เริ่มจะเสื่อมโทรมเต็มที่แล้ว
อากาศเริ่มร้อนหลังจากช่วงบ่ายเราก็ต้องยอมแพ้กลับไปอาบน้ำ ล้างเนื้อล้างตัวก่อน เป้าหมายของเราที่สุดท้ายในวันนี้ ก็คือปราสาทแปรูป เพื่อดูพระอาทิตย์ตกดิน (อีกจุดหนึ่งคือพนมบาเคง จุดนั้นเป็นตัวเลือกแรกครับ แต่เนื่องจากคนเยอะ เราเลยเลือกมาจุดนี้ดีกว่า)
ปราสาทแปรรูป สร้างในโดยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 เป็นศิลปะแบบแปรรูป ศาสนาฮินดู นิกายไศวนิกาย
สร้างเพื่ออุทิศถวายให้แก่พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม
สันนิษฐานว่า ปราสาทแปรรูปน่าจะเคยใช้เป็นเผาศพขุนนางผู้มียศศักดิ์
จึงเรียกว่า แปรรูป หมายถึงการแปรสภาพจากศพ กลายเป็นเถ้า
สภาพของปราสาทเริ่มมีการเข้ามาซ่อมแซมบ้างแล้ว จึงมีหลายส่วนที่เข้าไปไม่ได้ครับ
นักท่องเที่ยวจำนวนมากต่างจับจองที่เรียบร้อยกันเต็มพื้นที่ครับ
บ้ายบายเสียมราฐ แล้วพบกันใหม่
หมดเวลาไปอีกวันกับเสียมราฐ เที่ยวไม่หมดจริงๆ ครับ
เสียดายเหมือนกันที่เวลาน้อย ถ้าอยากได้เต็มอิ่มจริงๆ ผมว่าวันครึ่งน่าจะหมด
แต่ถ้ามีเวลาวันเดียว ลองเลือกสัก 3 ถึง 4 ที่ ที่เราชอบ หาข้อมูลให้แน่นๆ ก่อนมา
รับรองว่าสนุกมากๆ ครับ
——————————————–
-แนะนำให้นอนมาให้เต็มอิ่มครับ เพราะเดินเยอะเหมือนกัน จะได้มีแรง
-ศึกษาข้อมูลให้แน่น รับรองเที่ยวสนุกแน่
-อาหารให้พร้อม ถ้าไม่นำมาจากข้างนอก ก็เตรียมเงินมาทานข้างในโซนก็ได้ครับ แต่ความอร่อยสู้บ้านเราไม่ได้จริงๆ
-การแต่งกายครับ ให้นึกว่าเราใส่เข้าวัดพระแก้วยังไง ก็ใส่แบบนั้นครับ ถ้าร้อนขาสั้นก็ได้ครับ แต่ไม่สั้นมาก ให้เกียรติสถานที่ครับ
-ติดต่อรถนำเที่ยวไว้จะดีครับ เพราะจะได้คุยกับเขาได้เลยว่าจะไปไหนบ้าง สะดวกครับ
-จุดไหนไม่ให้เข้าอย่าเขข้าครับ เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง
แล้วครั้งหน้าพบกับตอนต่อไป
ลุยพนมเปญกันครับ
************************************************
แลกเปลี่ยนข้อมูล สอบถามการไปเที่ยว
Facebook: https://www.facebook.com/iiPuN
Instagram: iiPuN_
Wordpress: https://chilling2gether.wordpress.com
ขอบคุณครับ
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น