โดย MGR Online
22 พฤศจิกายน 2559 14:58 น. (แก้ไขล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2559 15:15 น.)
เอเอฟพี - สายการบิน ทรานส์เอเชีย แอร์เวย์ส ของไต้หวันประกาศปิดกิจการลงแล้วในวันนี้ (22 พ.ย.) หลังเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงทางการบิน 2 ครั้งซึ่งทำให้บริษัทประสบภาวะขาดทุนมหาศาล และยังถูกสอบสวนความผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลวงใน (insider trading)
การตัดสินใจปิดกิจการสายการบินแห่งนี้มีขึ้นหลังจากที่มีการเรียกประชุมบอร์ดบริหารด่วน ซึ่งส่งผลให้ทุกเที่ยวบินของทรานส์เอเชียถูกยกเลิกทันที
หลิว ตง-หมิง ผู้บริหารทรานส์เอเชีย ได้โค้งคำนับต่อหน้าสื่อมวลชนเพื่อแสดงความรู้สึกผิด พร้อมระบุว่าเป็นการตัดสินใจที่ “เจ็บปวด”
“ผมต้องขออภัยที่ความพยายามทั้งหมดของเรายังไม่เป็นไปตามที่สังคมคาดหวัง” หลิว กล่าว
“ที่ประชุมผู้บริหารได้เห็นพ้องให้มีการปิดบริษัท และระงับทุกเที่ยวบินตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”
หายนะที่เกิดขึ้นกับเที่ยวบิน GE235 เมื่อเดือน ก.พ. ปี 2015 กลายเป็นข่าวพาดหัวทั่วโลก เมื่อกล้องติดรถยนต์คันหนึ่งสามารถจับภาพขณะที่เครื่องบิน ATR 72-600 ลำนี้พุ่งเฉี่ยวสะพาน และตกลงไปในแม่น้ำทางตอนเหนือของไต้หวัน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 43 ราย
ผลการสอบสวนพบว่า โศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดจากความผิดพลาดของนักบิน ซึ่งเผลอดึงคันโยกปิดเครื่องยนต์เพียงตัวเดียวที่เหลืออยู่ หลังจากที่เครื่องยนต์ตัวแรกขัดข้อง
ก่อนหน้านั้น 7 เดือน เครื่องบินทรานส์เอเชียลำหนึ่งก็ประสบอุบัติเหตุตกใส่ต้นไม้และบ้านเรือนประชาชนใกล้ๆ เมืองหม่ากง (Magong) บนเกาะเผิงหู เป็นเหตุให้ผู้โดยสารเสียชีวิต 48 ราย
สภาความปลอดภัยการบินแห่งไต้หวัน ระบุว่า นักบินได้นำเครื่องลดระดับต่ำเกินไป เนื่องจากมีพายุไต้ฝุ่นทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี ซึ่งความผิดพลาดเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับนักบินทรานส์เอเชียในช่วงเวลานั้น
ทรานส์เอเชียซึ่งเป็นสายการบินเอกชนแห่งแรกของไต้หวันที่ก่อตั้งในปี 1951 ยืนยันว่า บริษัทได้จัดโครงการอบรบนักบินเพิ่มเติมหลังจากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึง 2 ครั้ง แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถฟื้นความเชื่อมั่นของผู้โดยสาร และบริษัทต้องประสบภาวะขาดทุนถึง 1,100 ล้านดอลลาร์ไต้หวันในปีที่แล้ว
ตัวเลขขาดทุนได้เพิ่มขึ้นเป็น 2,200 ล้านดอลลาร์ไต้หวันในช่วง 3 ไตรมาสของปีนี้ จนบริษัทต้องตัดสินใจพับกิจการสายการบินต้นทุนต่ำ “วีแอร์” ไปเมื่อเดือน ต.ค.
ความความสัมพันธ์ที่ไม่สู้ดีระหว่างรัฐบาลจีนกับประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน ของไต้หวัน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือน พ.ค. ยังส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ลดลง และกระทบต่อกิจการเที่ยวบินของทรานส์เอเชีย
วินเซนต์ หลิน และเจ้าหน้าที่บริหารทรานส์เอเชียอีก 2 คน ถูกอัยการเรียกตัวไปสอบสวนเมื่อเช้าวันนี้ (22) หลังจากตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันออกคำเตือนว่า น่าจะมีการซื้อขายหุ้นแบบ insider trading เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ (21)
ทรานส์เอเชียมีเครื่องบินโดยสารรวมทั้งสิ้น 16 ลำ ให้บริการใน 27 เส้นทางทั้งในและระหว่างประเทศ และมีพนักงาน 1,795 คน
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000116807
ไปไม่รอด! สายการบินไต้หวัน “ทรานส์เอเชีย” ปิดกิจการ หลังอุบัติเหตุการบินทำขาดทุนยับ
22 พฤศจิกายน 2559 14:58 น. (แก้ไขล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2559 15:15 น.)
การตัดสินใจปิดกิจการสายการบินแห่งนี้มีขึ้นหลังจากที่มีการเรียกประชุมบอร์ดบริหารด่วน ซึ่งส่งผลให้ทุกเที่ยวบินของทรานส์เอเชียถูกยกเลิกทันที
หลิว ตง-หมิง ผู้บริหารทรานส์เอเชีย ได้โค้งคำนับต่อหน้าสื่อมวลชนเพื่อแสดงความรู้สึกผิด พร้อมระบุว่าเป็นการตัดสินใจที่ “เจ็บปวด”
“ผมต้องขออภัยที่ความพยายามทั้งหมดของเรายังไม่เป็นไปตามที่สังคมคาดหวัง” หลิว กล่าว
“ที่ประชุมผู้บริหารได้เห็นพ้องให้มีการปิดบริษัท และระงับทุกเที่ยวบินตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”
หายนะที่เกิดขึ้นกับเที่ยวบิน GE235 เมื่อเดือน ก.พ. ปี 2015 กลายเป็นข่าวพาดหัวทั่วโลก เมื่อกล้องติดรถยนต์คันหนึ่งสามารถจับภาพขณะที่เครื่องบิน ATR 72-600 ลำนี้พุ่งเฉี่ยวสะพาน และตกลงไปในแม่น้ำทางตอนเหนือของไต้หวัน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 43 ราย
ผลการสอบสวนพบว่า โศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดจากความผิดพลาดของนักบิน ซึ่งเผลอดึงคันโยกปิดเครื่องยนต์เพียงตัวเดียวที่เหลืออยู่ หลังจากที่เครื่องยนต์ตัวแรกขัดข้อง
ก่อนหน้านั้น 7 เดือน เครื่องบินทรานส์เอเชียลำหนึ่งก็ประสบอุบัติเหตุตกใส่ต้นไม้และบ้านเรือนประชาชนใกล้ๆ เมืองหม่ากง (Magong) บนเกาะเผิงหู เป็นเหตุให้ผู้โดยสารเสียชีวิต 48 ราย
สภาความปลอดภัยการบินแห่งไต้หวัน ระบุว่า นักบินได้นำเครื่องลดระดับต่ำเกินไป เนื่องจากมีพายุไต้ฝุ่นทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี ซึ่งความผิดพลาดเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับนักบินทรานส์เอเชียในช่วงเวลานั้น
ทรานส์เอเชียซึ่งเป็นสายการบินเอกชนแห่งแรกของไต้หวันที่ก่อตั้งในปี 1951 ยืนยันว่า บริษัทได้จัดโครงการอบรบนักบินเพิ่มเติมหลังจากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึง 2 ครั้ง แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถฟื้นความเชื่อมั่นของผู้โดยสาร และบริษัทต้องประสบภาวะขาดทุนถึง 1,100 ล้านดอลลาร์ไต้หวันในปีที่แล้ว
ตัวเลขขาดทุนได้เพิ่มขึ้นเป็น 2,200 ล้านดอลลาร์ไต้หวันในช่วง 3 ไตรมาสของปีนี้ จนบริษัทต้องตัดสินใจพับกิจการสายการบินต้นทุนต่ำ “วีแอร์” ไปเมื่อเดือน ต.ค.
ความความสัมพันธ์ที่ไม่สู้ดีระหว่างรัฐบาลจีนกับประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน ของไต้หวัน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือน พ.ค. ยังส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ลดลง และกระทบต่อกิจการเที่ยวบินของทรานส์เอเชีย
วินเซนต์ หลิน และเจ้าหน้าที่บริหารทรานส์เอเชียอีก 2 คน ถูกอัยการเรียกตัวไปสอบสวนเมื่อเช้าวันนี้ (22) หลังจากตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันออกคำเตือนว่า น่าจะมีการซื้อขายหุ้นแบบ insider trading เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ (21)
ทรานส์เอเชียมีเครื่องบินโดยสารรวมทั้งสิ้น 16 ลำ ให้บริการใน 27 เส้นทางทั้งในและระหว่างประเทศ และมีพนักงาน 1,795 คน
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000116807