กระทู้ที่เขียนในตอนนี้จะเป็นเรื่องราวต่อเนื่องของการเดินทางในวันที่ 5 ที่ผมเที่ยวชมโบราณสถานในเมืองพุกามสไตล์เที่ยวดะแวะไปเรื่อย ๆ ตามแบบคนชอบดูของเก่า ในตอนนี้จะเป็นการตะลุยดูโบราณสถานในย่านเมืองเก่าของพุกาม (Old Bagan) ซึ่งเป็นย่านที่มีโบราณสถานที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักที่นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนเมืองพุกามจะต้องแวะไปชมให้ได้ โดยผมจะพาเพื่อน ๆ ร่วมนั่งซ้อนท้ายรถผมไปตระเวนดูโบราณสถานจากย่านนยองอูไปเรื่อย ๆ จนถึงย่านเมืองเก่าพุกามตั้งแต่สายจนจรดเย็นย่ำกันเลยนะครับ ถ้าใครชอบเที่ยวสไตล์ลุย ๆ ไปดูโบราณสถานไม่เลือกว่าจะสำคัญหรือเป็นโบราณสถานเล็ก ๆ ที่มีผู้เข้าไปเยี่ยมชมน้อยก็แสดงว่าคุณมาถูกกระทู้แล้วนะครับ เพราะผมจะเปิดเผยให้เห็นโบราณสถานในเมืองพุกามหลายแห่งที่นักท่องเที่ยวไม่ค่อยไปกันหรือเพื่อน ๆ ชาวพันทิปไม่เคยลงในห้องบลูแพลนเนตให้ชมอย่างจุใจจนตาแฉะกันไปข้างหนึ่งเลยนะครับ ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักกับทริปของผมก่อนนะครับ
สำหรับทริปการเดินทางท่องเที่ยวในเมืองพิลอูลวินและเมืองพุกาม 9 วัน (วันที่ 19 - 27 ต.ค. 59) ของผมมีดังนี้ครับ
วันแรก : เดินทางจากกรุงเทพฯ - มัณฑะเลย์ และเดินทางต่อไปเมืองพิลอูลวิน เที่ยวยามเย็นที่เมืองพิลอูลวิน
วันที่ 2 : เที่ยวพิลอูลวิน
วันที่ 3 : เดินทางจากเมืองพิลอูลวินไปเมืองพุกาม และเที่ยวยามเย็นที่เมืองพุกาม
วันที่ 4 : เที่ยวกลุ่มโบราณสถานในย่านนยองอู และทางตอนใต้ของเมืองพุกาม
วันที่ 5 : เที่ยวกลุ่มโบราณสถานในย่านเมืองเก่าพุกาม (Old Bagan)
วันที่ 6 : เที่ยวกลุ่มโบราณสถานในย่านใกล้เมืองใหม่พุกาม (์New Bagan)
วันที่ 7 : เที่ยวภูเขาไฟโปปา และเที่ยวเก็บตกโบราณสถานที่เหลือในเมืองพุกาม
วันที่ 8 : เดินทางจากเมืองพุกามไปเมืองมัณฑะเลย์ และเที่ยวเก็บตกโบราณสถานในเมืองสกาย
วันที่ 9 : เดินทางกลับกรุงเทพฯ
วันที่ 5 : เที่ยวกลุ่มโบราณสถานในย่านเมืองเก่าพุกาม (Old Bagan)
วันนี้ผมออกจากโรงแรมที่พักสายราว 9 โมงกว่า เช่าขี่รถจักรยานไฟฟ้าขี่ลัดเลาะเที่ยวชมโบราณสถานจากละแวกใกล้เจดีย์ชเวซิกอนไปยังโบราณสถานที่อยู่ในย่านเมืองเก่าของพุกาม เรียกว่าวันนี้ที่ผมขี่รถไปเที่ยวเป็นย่านที่มีโบราณสถานสำคัญและมีขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลายแห่งเรียงรายกันให้ต้องแวะชมกันเป็นเวลานานสองนานเลยครับ วันนี้ผมจึงเที่ยวเก็บโบราณสถานที่ชมได้น้อยกว่าเมื่อวาน เพราะแต่ละที่นี่ต้องใช้เวลาเดินดูเดินชมกันนานสักหน่อย จุดหมายแรกที่พบเดินทางไปชมของวันนี้ก็คือ
วัดถ้ำกยันสิทธา (Kyanzittha Umin) ซึ่งอยู่ห่างจากโรงแรมที่พักไปราว 2 ก.ม. ใช้เวลาขี่รถแป๊บเดียวประมาณ 7 นาทีก็ถึงแล้วครับ
ถ้าใครต้องการเดินทางมาเที่ยวชมวัดถ้ำกยันสิทธาต้องสังเกตป้ายสีเหลืองเหมือนในภาพด้านล่างให้ดีนะครับ เพราะเป็นป้ายบอกทางให้เราเลี้ยวขวาเข้าไปยังโบราณสถาน (ถ้าเรามาจากย่านนยองอูทางเข้าไปชมโบราณสถานจะอยู่ทางขวามือ ฝั่งเดียวกับเจดีย์ชเวซิกอน) โดยอยู่เลยทางเข้าเจดีย์ชเวซิกอนมาเล็กน้อย
ถนนทางเข้าไปชมโบราณสถานแห่งนี้จะเป็นทางดินที่ต้องขี่รถเข้าไปประมาณ 400 เมตรก็จะถึงประตูทางเข้าของโบราณสถานเหมือนในภาพด้านล่าง ให้จอดรถที่แนวกำแพงของวัดใกล้กับประตูทางเข้าได้เลย
ซุ้มประตูทางเข้าวัดทำเป็นซุ้มโค้งที่เตี้ย ถ้าใครตัวสูงมากอาจต้องก้มเดินเข้าไปข้างในวัด เดินลอดซุ้มประตูเข้าไปข้างในจะเจอวิหารวัดถ้ำ
เมื่อเดินลอดซุ้มประตูมาแล้ว ข้าง ๆ ประตูทางเข้าวัดถ้ำก็จะมีป้ายบอกข้อมูลของโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวอ่านก่อนเข้าไปชมได้
วัดถ้ำกยันสิทธา แม้ชื่อจะมีชื่อของพระเจ้ากยันสิทธา กษัตริย์ของอาณาจักรพุกาม แต่นักโบราณคดีเขาก็สันนิษฐานกันว่าโบราณสถานแห่งนี้ไม่น่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากยันสิทธา แต่น่าจะสร้างในยุคต้นของอาณาจักรพุกามในสมัยพระเจ้าอโนรธา
ลักษณะโบราณสถานแห่งนี้สร้างเป็นอาคารเตี้ย ๆ ที่ก่ออิฐอยู่ใต้ดินครึ่งหนึ่งและบนพื้นดินอีกครึ่งหนึ่ง ส่วนระเบียงทางเดินข้างในอาคารก็แคบและมืดมีลักษณะคล้ายถ้ำ เข้าใจว่าอาจสร้างไว้เพื่อให้พระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระได้ใช้ในการปลีกวิเวกนั่งสมาธิกรรมฐาน หากเพื่อน ๆ คนใดต้องการมาชมวัดถ้ำแห่งนี้ควรพกไฟฉายมาด้วยจะดีกว่า เพราะข้างในมืดมากจริง ๆ เสียดายที่ผมลืมพกไฟฉายมาจากเมืองไทยก็เลยต้องใช้แสงไฟจากโทรศัพท์มือถือส่องเอา
ไฮไลต์ของการชมโบราณสถานแห่งนี้ไม่ได้อยู่ที่มาชมอุโมงค์ถ้ำที่มืดมิดข้างในวิหาร แต่จุดน่าสนใจของโบราณสถานแห่งนี้ก็คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ผนังวิหารที่ยังค่อนข้างสมบูรณ์ดีอยู่ แต่น่าเสียดายที่ทางการพม่าเข้าห้ามนักท่องเที่ยวถ่ายรูปภาพเขียนสีเหล่านี้เพราะหวั่นเกรงว่าแสงแฟลตจากกล้องถ่ายรูปจะช่วยทำลายภาพเขียนสีได้ แต่ผมก็แอบถ่ายมาบ้างเพราะเห็นนักท่องเที่ยวฝรั่งที่มาเป็นกรุ๊ป 4 - 5 คนกับไกด์ชาวพม่าก็หยิบกล้องถ่ายรูปขึ้นมาแอบถ่ายเหมือนกัน ดีที่ว่าโบราณสถานแห่งนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ของทางพม่าเดินสอดส่องดูนักท่องเที่ยวเข้าชมเหมือนโบราณสถานแห่งอื่น ๆ ที่เคยไปชมมาเมื่อวาน
ภาพจิตรกรรมภายในวิหารวัดถ้ำแห่งนี้ส่วนใหญ่วาดเป็นภาพพุทธประวัติ อดีตพระพุทธเจ้า รอยพระบาท และเจดีย์จุฬามณี แต่ผมว่าฝีมือการวาดยังไม่สวยงามเท่าเจติยวิหารแห่งอื่น ๆ ที่ผมเคยไปชมมาเมื่อวานในย่านตอนใต้ของเมืองพุกามสักเท่าไหร่
ชมวัดถ้ำแห่งนี้เสร็จแล้ว ผมก็ขี่รถต่อไปชมโบราณสถานแห่งต่อไป ขี่รถตามถนนบากัน - นยองอูได้เพียงแป๊บเดียวก็เห็นป้ายบอกทางเข้าโบราณสถานอยู่ริมทางด้านขวาของถนน เรียกว่าผมเห็นป้ายบอกทางเข้าชมโบราณสถานไม่ได้เป็นต้องขี่รถแวะเข้าไปชมสักหน่อยเดี๋ยวจะไม่ได้สไตล์ตะลุยเดี่ยวขี่เที่ยวดะแวะไปเรื่อย ๆ จริงไหมครับ
โบราณสถานที่เป็นเป้าหมายต่อไปที่ผมขี่รถแวะเข้าไปมี 3 แห่งอยู่ติด ๆ กันเลยก็คือ โบราณสถานที่มีชื่อว่า
ธาจะยอฮิต (Tha Gyar Hit) ธาจะยอโฟน (Tha Gyar Pone) และลอว์กาจันทอร์ (Lawka Chan Thar)
ถนนทางดินที่เขาไปชมโบราณสถานทั้ง 3 ที่กระจายตัวตั้งอยู่ไม่ห่างไกลกันมาก ถ้าถามผมว่าอันไหนชื่ออะไรผมก็ตอบไม่ได้นะครับ เพราะด้านหน้าของโบราณสถานไม่มีป้ายชื่อของโบราณสถานปักบอกไว้อีกที ไปดูภาพกันครับว่าโบราณสถานกลุ่มนี้เป็นอย่างไงบ้าง
โบราณสถานแห่งแรกในกลุ่มนี้ที่ผมจอดรถแวะดูก็เป็นเจติยวิหารขนาดกลางที่ยังคงอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
แต่ลวดลายประดับผนังด้านนอกของเจติยวิหารหลุดร่วงหายไปเกือบหมดแล้ว
บริเวณข้างในเจติยวิหารปิดล็อคไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชม เพราะพระพุทธรูปภายในชำรุดเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวเช่นเดียวกัน
แต่ผมก็สอดกล้องถ่ายรูปเข้าไปในตะแกรงเหล็กที่เข้ากั้นไม่ให้เข้าชมภายในวิหาร เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างเป็นพระองค์ใหญ่ที่บริเวณพระนาภี (ท้อง) ขององค์พระกลับมีพระพุทธรูปองค์เล็กสร้างไว้อยู่ภายในด้วย ดูแล้วประหลาดดีเหมือนกันเพิ่งเคยเจอแบบนี้แห่งแรกที่วัดนี้ เนี่ยถ้าเราไม่สังเกตก็จะไม่เห็นเลยนะครับ
เสร็จจากการชมโบราณสถานแห่งแรกในกลุ่มนี้แล้ว ผมก็ขี่รถต่อไปชมโบราณสถานที่อยู่ใกล้กันต่อโดยโบราณสถานแห่งนี้สร้างเป็นเจติยวิหารยอดทรงศิขรเหมือนเช่นโบราณสถานกลุ่มแรกเพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่า แต่ก็น่าเสียดายที่ยอดทรงศิขรได้หักพังลงจากเหตุแผ่นดินไหวไปแล้ว ถ้ายอดทรงศิขรยังสมบูรณ์ดีอยู่โบราณสถานแห่งนี้ต้องสวยงามดูน่าชมเป็นอย่างมากแน่ ๆ ข้าง ๆ เจติยวิหารยอดทรงศิขรก็มีเจติยวิหารยอดทรงเจดีย์แบบพุกามแท้ขนาดย่อม ๆ อยู่อีก 1 องค์
ลวดลวยซุ้มเคล็กที่ประดับอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเจติยวิหารหลังนี้มีลวดลายที่ละเอียดและยังคงชัดสมบูรณ์มากกว่าโบราณสถานแห่งแรก
ที่ผนังด้านนอกที่ยังปรากฏลวดลายประดับเสาของผนัง ลวดลายประดับเชิงด้านล่างของหลังคาที่เป็นรูปหน้ากาลคายพวงอุบะ รวมทั้งลายกาบบนและลายกาบล่างที่เป็นรูปหน้ากาลประดับในกรอบลวดลายสามเหลี่ยมที่ยังคงชัดอยู่มาก
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบพุกาม
ที่ผนังด้านในของเจติยวิหารปรากฏภาพวาดอดีตพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่ และช่องแสงของหน้าต่างที่เจติยวิหารก็ทำแปลกตาไปจากโบราณสถานแห่งอื่น โดยเจาะช่องแสงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กแทน ไม่ทำเป็นรูปกากบาทที่นิยมทำกัน
ชื่นชมโบราณสถานแห่งที่ 2 ในกลุ่มนี้เสร็จแล้วผมก็ขี่รถต่อไปบนถนนสายบากัน - นยองอูได้เล็กน้อย ก็เลี้ยวซ้ายขี่รถแวะเข้าไปชมโบราณสถานแห่งต่อไปที่มีชื่อเรียกว่า
ชเวเลคทู (Shwe Lawe Too) ซึ่งอยู่ห่างจากโบราณสถานธาจะยอโฟน (Tha Gyar Pone) ไปเพียงแค่ 500 เมตรเท่านั้น
โบราณสถานแห่งนี้สร้างเป็นเจติยวิหารยอดทรงศิขรที่มีขนาดกลาง แต่ก็ใหญ่กว่ากลุ่มโบราณสถานธาจะยอโฟนที่ไปชมมาเมื่อกี้ เนี่ยถ้าผมไม่ได้ขี่แวะเข้ามาชมโบราณสถานแห่งนี้คงน่าเสียดายแย่
ตะลุยเดี่ยวขี่รถเที่ยวดะพิลอูลวินและพุกาม ตอนที่ 4
กระทู้ที่เขียนในตอนนี้จะเป็นเรื่องราวต่อเนื่องของการเดินทางในวันที่ 5 ที่ผมเที่ยวชมโบราณสถานในเมืองพุกามสไตล์เที่ยวดะแวะไปเรื่อย ๆ ตามแบบคนชอบดูของเก่า ในตอนนี้จะเป็นการตะลุยดูโบราณสถานในย่านเมืองเก่าของพุกาม (Old Bagan) ซึ่งเป็นย่านที่มีโบราณสถานที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักที่นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนเมืองพุกามจะต้องแวะไปชมให้ได้ โดยผมจะพาเพื่อน ๆ ร่วมนั่งซ้อนท้ายรถผมไปตระเวนดูโบราณสถานจากย่านนยองอูไปเรื่อย ๆ จนถึงย่านเมืองเก่าพุกามตั้งแต่สายจนจรดเย็นย่ำกันเลยนะครับ ถ้าใครชอบเที่ยวสไตล์ลุย ๆ ไปดูโบราณสถานไม่เลือกว่าจะสำคัญหรือเป็นโบราณสถานเล็ก ๆ ที่มีผู้เข้าไปเยี่ยมชมน้อยก็แสดงว่าคุณมาถูกกระทู้แล้วนะครับ เพราะผมจะเปิดเผยให้เห็นโบราณสถานในเมืองพุกามหลายแห่งที่นักท่องเที่ยวไม่ค่อยไปกันหรือเพื่อน ๆ ชาวพันทิปไม่เคยลงในห้องบลูแพลนเนตให้ชมอย่างจุใจจนตาแฉะกันไปข้างหนึ่งเลยนะครับ ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักกับทริปของผมก่อนนะครับ
สำหรับทริปการเดินทางท่องเที่ยวในเมืองพิลอูลวินและเมืองพุกาม 9 วัน (วันที่ 19 - 27 ต.ค. 59) ของผมมีดังนี้ครับ
วันแรก : เดินทางจากกรุงเทพฯ - มัณฑะเลย์ และเดินทางต่อไปเมืองพิลอูลวิน เที่ยวยามเย็นที่เมืองพิลอูลวิน
วันที่ 2 : เที่ยวพิลอูลวิน
วันที่ 3 : เดินทางจากเมืองพิลอูลวินไปเมืองพุกาม และเที่ยวยามเย็นที่เมืองพุกาม
วันที่ 4 : เที่ยวกลุ่มโบราณสถานในย่านนยองอู และทางตอนใต้ของเมืองพุกาม
วันที่ 5 : เที่ยวกลุ่มโบราณสถานในย่านเมืองเก่าพุกาม (Old Bagan)
วันที่ 6 : เที่ยวกลุ่มโบราณสถานในย่านใกล้เมืองใหม่พุกาม (์New Bagan)
วันที่ 7 : เที่ยวภูเขาไฟโปปา และเที่ยวเก็บตกโบราณสถานที่เหลือในเมืองพุกาม
วันที่ 8 : เดินทางจากเมืองพุกามไปเมืองมัณฑะเลย์ และเที่ยวเก็บตกโบราณสถานในเมืองสกาย
วันที่ 9 : เดินทางกลับกรุงเทพฯ
วันที่ 5 : เที่ยวกลุ่มโบราณสถานในย่านเมืองเก่าพุกาม (Old Bagan)
วันนี้ผมออกจากโรงแรมที่พักสายราว 9 โมงกว่า เช่าขี่รถจักรยานไฟฟ้าขี่ลัดเลาะเที่ยวชมโบราณสถานจากละแวกใกล้เจดีย์ชเวซิกอนไปยังโบราณสถานที่อยู่ในย่านเมืองเก่าของพุกาม เรียกว่าวันนี้ที่ผมขี่รถไปเที่ยวเป็นย่านที่มีโบราณสถานสำคัญและมีขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลายแห่งเรียงรายกันให้ต้องแวะชมกันเป็นเวลานานสองนานเลยครับ วันนี้ผมจึงเที่ยวเก็บโบราณสถานที่ชมได้น้อยกว่าเมื่อวาน เพราะแต่ละที่นี่ต้องใช้เวลาเดินดูเดินชมกันนานสักหน่อย จุดหมายแรกที่พบเดินทางไปชมของวันนี้ก็คือ วัดถ้ำกยันสิทธา (Kyanzittha Umin) ซึ่งอยู่ห่างจากโรงแรมที่พักไปราว 2 ก.ม. ใช้เวลาขี่รถแป๊บเดียวประมาณ 7 นาทีก็ถึงแล้วครับ
ถ้าใครต้องการเดินทางมาเที่ยวชมวัดถ้ำกยันสิทธาต้องสังเกตป้ายสีเหลืองเหมือนในภาพด้านล่างให้ดีนะครับ เพราะเป็นป้ายบอกทางให้เราเลี้ยวขวาเข้าไปยังโบราณสถาน (ถ้าเรามาจากย่านนยองอูทางเข้าไปชมโบราณสถานจะอยู่ทางขวามือ ฝั่งเดียวกับเจดีย์ชเวซิกอน) โดยอยู่เลยทางเข้าเจดีย์ชเวซิกอนมาเล็กน้อย
ถนนทางเข้าไปชมโบราณสถานแห่งนี้จะเป็นทางดินที่ต้องขี่รถเข้าไปประมาณ 400 เมตรก็จะถึงประตูทางเข้าของโบราณสถานเหมือนในภาพด้านล่าง ให้จอดรถที่แนวกำแพงของวัดใกล้กับประตูทางเข้าได้เลย
ซุ้มประตูทางเข้าวัดทำเป็นซุ้มโค้งที่เตี้ย ถ้าใครตัวสูงมากอาจต้องก้มเดินเข้าไปข้างในวัด เดินลอดซุ้มประตูเข้าไปข้างในจะเจอวิหารวัดถ้ำ
เมื่อเดินลอดซุ้มประตูมาแล้ว ข้าง ๆ ประตูทางเข้าวัดถ้ำก็จะมีป้ายบอกข้อมูลของโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวอ่านก่อนเข้าไปชมได้
วัดถ้ำกยันสิทธา แม้ชื่อจะมีชื่อของพระเจ้ากยันสิทธา กษัตริย์ของอาณาจักรพุกาม แต่นักโบราณคดีเขาก็สันนิษฐานกันว่าโบราณสถานแห่งนี้ไม่น่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากยันสิทธา แต่น่าจะสร้างในยุคต้นของอาณาจักรพุกามในสมัยพระเจ้าอโนรธา
ลักษณะโบราณสถานแห่งนี้สร้างเป็นอาคารเตี้ย ๆ ที่ก่ออิฐอยู่ใต้ดินครึ่งหนึ่งและบนพื้นดินอีกครึ่งหนึ่ง ส่วนระเบียงทางเดินข้างในอาคารก็แคบและมืดมีลักษณะคล้ายถ้ำ เข้าใจว่าอาจสร้างไว้เพื่อให้พระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระได้ใช้ในการปลีกวิเวกนั่งสมาธิกรรมฐาน หากเพื่อน ๆ คนใดต้องการมาชมวัดถ้ำแห่งนี้ควรพกไฟฉายมาด้วยจะดีกว่า เพราะข้างในมืดมากจริง ๆ เสียดายที่ผมลืมพกไฟฉายมาจากเมืองไทยก็เลยต้องใช้แสงไฟจากโทรศัพท์มือถือส่องเอา
ไฮไลต์ของการชมโบราณสถานแห่งนี้ไม่ได้อยู่ที่มาชมอุโมงค์ถ้ำที่มืดมิดข้างในวิหาร แต่จุดน่าสนใจของโบราณสถานแห่งนี้ก็คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ผนังวิหารที่ยังค่อนข้างสมบูรณ์ดีอยู่ แต่น่าเสียดายที่ทางการพม่าเข้าห้ามนักท่องเที่ยวถ่ายรูปภาพเขียนสีเหล่านี้เพราะหวั่นเกรงว่าแสงแฟลตจากกล้องถ่ายรูปจะช่วยทำลายภาพเขียนสีได้ แต่ผมก็แอบถ่ายมาบ้างเพราะเห็นนักท่องเที่ยวฝรั่งที่มาเป็นกรุ๊ป 4 - 5 คนกับไกด์ชาวพม่าก็หยิบกล้องถ่ายรูปขึ้นมาแอบถ่ายเหมือนกัน ดีที่ว่าโบราณสถานแห่งนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ของทางพม่าเดินสอดส่องดูนักท่องเที่ยวเข้าชมเหมือนโบราณสถานแห่งอื่น ๆ ที่เคยไปชมมาเมื่อวาน
ภาพจิตรกรรมภายในวิหารวัดถ้ำแห่งนี้ส่วนใหญ่วาดเป็นภาพพุทธประวัติ อดีตพระพุทธเจ้า รอยพระบาท และเจดีย์จุฬามณี แต่ผมว่าฝีมือการวาดยังไม่สวยงามเท่าเจติยวิหารแห่งอื่น ๆ ที่ผมเคยไปชมมาเมื่อวานในย่านตอนใต้ของเมืองพุกามสักเท่าไหร่
ชมวัดถ้ำแห่งนี้เสร็จแล้ว ผมก็ขี่รถต่อไปชมโบราณสถานแห่งต่อไป ขี่รถตามถนนบากัน - นยองอูได้เพียงแป๊บเดียวก็เห็นป้ายบอกทางเข้าโบราณสถานอยู่ริมทางด้านขวาของถนน เรียกว่าผมเห็นป้ายบอกทางเข้าชมโบราณสถานไม่ได้เป็นต้องขี่รถแวะเข้าไปชมสักหน่อยเดี๋ยวจะไม่ได้สไตล์ตะลุยเดี่ยวขี่เที่ยวดะแวะไปเรื่อย ๆ จริงไหมครับ
โบราณสถานที่เป็นเป้าหมายต่อไปที่ผมขี่รถแวะเข้าไปมี 3 แห่งอยู่ติด ๆ กันเลยก็คือ โบราณสถานที่มีชื่อว่า ธาจะยอฮิต (Tha Gyar Hit) ธาจะยอโฟน (Tha Gyar Pone) และลอว์กาจันทอร์ (Lawka Chan Thar)
ถนนทางดินที่เขาไปชมโบราณสถานทั้ง 3 ที่กระจายตัวตั้งอยู่ไม่ห่างไกลกันมาก ถ้าถามผมว่าอันไหนชื่ออะไรผมก็ตอบไม่ได้นะครับ เพราะด้านหน้าของโบราณสถานไม่มีป้ายชื่อของโบราณสถานปักบอกไว้อีกที ไปดูภาพกันครับว่าโบราณสถานกลุ่มนี้เป็นอย่างไงบ้าง
โบราณสถานแห่งแรกในกลุ่มนี้ที่ผมจอดรถแวะดูก็เป็นเจติยวิหารขนาดกลางที่ยังคงอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
แต่ลวดลายประดับผนังด้านนอกของเจติยวิหารหลุดร่วงหายไปเกือบหมดแล้ว
บริเวณข้างในเจติยวิหารปิดล็อคไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชม เพราะพระพุทธรูปภายในชำรุดเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวเช่นเดียวกัน
แต่ผมก็สอดกล้องถ่ายรูปเข้าไปในตะแกรงเหล็กที่เข้ากั้นไม่ให้เข้าชมภายในวิหาร เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างเป็นพระองค์ใหญ่ที่บริเวณพระนาภี (ท้อง) ขององค์พระกลับมีพระพุทธรูปองค์เล็กสร้างไว้อยู่ภายในด้วย ดูแล้วประหลาดดีเหมือนกันเพิ่งเคยเจอแบบนี้แห่งแรกที่วัดนี้ เนี่ยถ้าเราไม่สังเกตก็จะไม่เห็นเลยนะครับ
เสร็จจากการชมโบราณสถานแห่งแรกในกลุ่มนี้แล้ว ผมก็ขี่รถต่อไปชมโบราณสถานที่อยู่ใกล้กันต่อโดยโบราณสถานแห่งนี้สร้างเป็นเจติยวิหารยอดทรงศิขรเหมือนเช่นโบราณสถานกลุ่มแรกเพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่า แต่ก็น่าเสียดายที่ยอดทรงศิขรได้หักพังลงจากเหตุแผ่นดินไหวไปแล้ว ถ้ายอดทรงศิขรยังสมบูรณ์ดีอยู่โบราณสถานแห่งนี้ต้องสวยงามดูน่าชมเป็นอย่างมากแน่ ๆ ข้าง ๆ เจติยวิหารยอดทรงศิขรก็มีเจติยวิหารยอดทรงเจดีย์แบบพุกามแท้ขนาดย่อม ๆ อยู่อีก 1 องค์
ลวดลวยซุ้มเคล็กที่ประดับอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเจติยวิหารหลังนี้มีลวดลายที่ละเอียดและยังคงชัดสมบูรณ์มากกว่าโบราณสถานแห่งแรก
ที่ผนังด้านนอกที่ยังปรากฏลวดลายประดับเสาของผนัง ลวดลายประดับเชิงด้านล่างของหลังคาที่เป็นรูปหน้ากาลคายพวงอุบะ รวมทั้งลายกาบบนและลายกาบล่างที่เป็นรูปหน้ากาลประดับในกรอบลวดลายสามเหลี่ยมที่ยังคงชัดอยู่มาก
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบพุกาม
ที่ผนังด้านในของเจติยวิหารปรากฏภาพวาดอดีตพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่ และช่องแสงของหน้าต่างที่เจติยวิหารก็ทำแปลกตาไปจากโบราณสถานแห่งอื่น โดยเจาะช่องแสงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กแทน ไม่ทำเป็นรูปกากบาทที่นิยมทำกัน
ชื่นชมโบราณสถานแห่งที่ 2 ในกลุ่มนี้เสร็จแล้วผมก็ขี่รถต่อไปบนถนนสายบากัน - นยองอูได้เล็กน้อย ก็เลี้ยวซ้ายขี่รถแวะเข้าไปชมโบราณสถานแห่งต่อไปที่มีชื่อเรียกว่า ชเวเลคทู (Shwe Lawe Too) ซึ่งอยู่ห่างจากโบราณสถานธาจะยอโฟน (Tha Gyar Pone) ไปเพียงแค่ 500 เมตรเท่านั้น
โบราณสถานแห่งนี้สร้างเป็นเจติยวิหารยอดทรงศิขรที่มีขนาดกลาง แต่ก็ใหญ่กว่ากลุ่มโบราณสถานธาจะยอโฟนที่ไปชมมาเมื่อกี้ เนี่ยถ้าผมไม่ได้ขี่แวะเข้ามาชมโบราณสถานแห่งนี้คงน่าเสียดายแย่