"อนธการ" หรือ "The Blue Hour" หนังที่เคยถูกตัดต่อมาเป็นหนังสั้นร่วมโปรเจ็ค "เพื่อนเฮี้ยน..โรงเรียนหลอน" เมื่อปีที่แล้วในชื่อเรื่องว่า "คืนสีน้ำเงิน" ซึ่งตอนนั้นผมรู้สึกว่ามันมีจุดน่าสนใจบางจุดที่ทำให้ผมอยากดูหนังเรื่องนี้ต่อในฉบับเต็ม และผมก็เพิ่งมีโอกาสได้ดูวันนี้แหละ!!
อย่างที่น่าจะทราบกันอยู่แล้วนะครับว่าเรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากคดีการจ้างวานฆ่าครอบครัวตัวเองที่เป็นข่าวดังอยู่ช่วงนึง แต่แค่ "ได้แรงบันดาลใจ" จริงๆนะครับ เพราะตัวหนังมันไม่ได้บอกเราว่ากำลังเล่าเรื่องของคดีนั้น เพียงแต่สร้างสถานการณ์ให้คล้ายๆกับเหตุการณ์นั้นเท่านั้นเอง และเอาจริงๆ ถ้าเทียบสัดส่วนกันแล้ว ส่วนที่หนังพูดเรื่องเกี่ยวกับเหตุฆาตกรรมมีอยู่ไม่ถึง 10% ของเรื่องด้วยมั้งครับ เพราะหนังเล่าเรื่องแรงจูงใจก่อนจะก่อเหตุมากกว่า ซึ่งก็ทำได้ดีเลยนะสำหรับผม มันอึดอัด อึมครึม และหม่นหมองไปตลอดทั้งเรื่อง จนรู้สึกว่าถ้าคนที่มีอารมณ์ขนาดนี้ตลอดเวลา มันก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไรที่เค้าคนนั้นจะตัดสินใจทำอะไรลงไปแบบอารมณ์ชั่ววูบ
สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกได้จากหนังเรื่องนี้คือการนำเสนอมุมมองของคนที่ไม่ได้รับการยอมรับในสังคมผ่านตัวละคร "ตั้ม" เด็กผู้ชายคนนึงที่คิดไปเองว่าตัวเองเป็นคนที่สังคมรังเกียจ ..ที่ผมใช้คำว่า "คิดไปเอง" เพราะหนังเล่าโดยใช้มุมมองของตั้มเป็นหลัก แต่หากลองพิจารณาจริงๆแล้วจะพบว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตั้มถูกกระทำโดยคนรอบข้าง มันเกิดจากการกระทำของตั้มเองทั้งนั้น ทั้งเรื่องโดนเพื่อนที่โรงเรียนซ้อมเพราะไปยืมเงินเค้าแต่ไม่ยอมใช้คืนโดยอ้างกับตัวเองว่าเงินไม่พอใช้ หรือการไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนในครอบครัว ก็เพราะตัวตั้มเองก็ไม่เคยทำอะไรให้คนในครอบครัวไว้ใจเลย แถมยังมีประเด็นเรื่องตั้มเป็นเกย์เพิ่มไปด้วยอีก ตั้มจึงเหมือนเอาความน้อยเนื้อต่ำใจว่าคนรอบข้างไม่ยอมรับเรื่องตัวเองเป็นเกย์มาผลักตัวเองให้ออกห่างจากสังคม ทั้งที่จริงๆแล้ว ตัวตั้มเองต่างหากที่ไม่ยอมรับสังคมนั้น ซึ่งผมว่าคนแบบตั้มมีเยอะมากนะครับในสังคมเรา คนที่จ้องมองแค่ความผิดของคนอื่นแต่ไม่เคยคิดถึงความผิดของตัวเองเลย และมักจะโทษว่าสังคมไม่ยอมรับตัวเอง ทั้งที่ตัวเองนั่นแหละเป็นต้นเหตุให้เค้าปฏิบัติแบบนั้น
..และประเด็นนี้ผมว่าน่าสนใจนะครับ มันเป็นการพูดถึงการยอมรับในตัวตนของตัวเอง มันเหมือนกรณีคนผิวคล้ำที่ถ้าไปประกวดอะไรซักอย่าง เช่นนางงามซักเวทีก็ได้ครับแล้วไม่ได้มงกุฏ คนที่ยอมรับตัวเองก็อาจจะคิดว่าเพราะตัวเค้ายังไม่พร้อม หุ่นยังไม่เฟิร์ม หรือเดินยังไม่สวย ฯลฯ แต่คนที่ไม่ยอมรับตัวเองแบบตั้มก็จะคิดว่า "เพราะฉันดำสินะเลยไม่เลือกฉัน" อะไรแนวๆนั้นอ่ะครับ คือคิดอคติกับตัวเองไปก่อน แล้วใช้ข้ออคติเหล่านั้นถีบตัวเองออกจากสังคม เพราะคิดไปว่าสังคมคงไม่ยอมรับคนแบบตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้เลือกใช้ประเด็นเรื่อง "เกย์" ที่แม้ปัจจุบันจะได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าในบางครอบครัวก็ยังมีอคติกับคนกลุ่มนี้อยู่ เช่นเดียวกับครอบครัวของตั้ม!!
..และด้วยความที่ตั้มมีมุมมองต่อสังคมแบบนี้ ตั้มจึงรู้สึกเหมือนตัวเองอยู่ตัวคนเดียวบนโลก(หนังมีหลายซีนมากที่ให้เห็นตั้มเดี่ยวๆอยู่กลางสถานที่กว้างๆ) จนกระทั่งมาเจอกับ "ภูมิ" เพื่อนชายที่ตั้มนัดเจอทางอินเตอร์เน็ต และเป็นเหมือนเพื่อนคนเดียวในโลกของตั้ม คนที่ตั้มคิดว่าเข้าใจตั้มมากที่สุด และตั้มเปิดรับภูมิมากกว่าเปิดรับคนในครอบครัวซะอีก และเรื่องราวก็ดำเนินไปเรื่อยๆจนไปสู่การจ้างวานฆ่าครอบครัวตัวเองอย่างที่เราทราบกัน
สิ่งที่เด่นสุดของหนังเรื่องนี้คือการคุมโทนภาพและอารมณ์ของหนังครับ หนังพาเราไปสำรวจจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกของตั้มตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดสุดท้ายที่ตั้มตัดสินใจจ้างวานฆ่าครอบครัวตัวเอง อย่างที่บอกตอนต้นครับว่าถ้ามีใครซักคนต้องอยู่กับความรู้สึกอึมครึมแบบในเรื่องนี้ตลอดเวลา มันก็ไม่แปลกที่คน คนนั้นจะเกิดอารมณ์ชั่ววูบในการทำอะไรไม่ดีออกไป ซึ่งตรงนี้ก็ขอบอกก่อนนะครับว่าผมไม่ได้มาบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ผมแค่บอกว่าไม่แปลกใจที่จะทำอะไรแบบนั้น เพราะมันไม่ใช่แค่หดหู่ ไม่ใช่แค่เศร้า แต่มันยังมีอารมณ์ของความน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกอ้างว้าง รู้สึกว่าไม่มีใครในโลกที่เข้าใจเค้าอีกแล้วแม้แต่ครอบครัวตัวเอง!!
อีกสิ่งนึงที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือเรื่องของการตัดต่อครับ เพราะมันทำให้ใครหลายคนบ่นงงกันไปแล้ว เอาจริงๆผมก็ไม่แน่ใจเรื่องการลำดับเรื่องของตัวเองเหมือนกันครับว่าเข้าใจในสิ่งที่หนังต้องการจะสื่อมากแค่ไหน ดังนั้นจึงขอไม่พูดถึงเรื่องราวในเรื่องละกันนะครับว่าเริ่มจากอะไร เหตุการณ์ไหนเกิดก่อนหลัง หรือภูมิมีตัวตนจริงมั้ย อะไรต่างๆเหล่านี้ผมปล่อยให้คนดูคิดตามมุมของตัวเองไปละกันครับ เพราะสำหรับผมต่อการดูหนังเรื่องนี้นะ ผมว่าการรับรู้อารมณ์ของหนังมันสำคัญกว่าการลำดับเรื่องราวอีกครับ แต่ที่แน่ๆนะ ผมว่ามันมีทั้งความจริง ความฝัน การคิดไปเอง และการตัดสลับเหตุการณ์ไปมาแน่ๆล่ะ โดยผมใช้วิธีจำเสื้อของตัวละครเอา แล้วก็เอาเรื่องมาเรียงต่อกันคร่าวๆในหัว ซึ่งก็ไม่แน่ใจนักหรอกว่ามันถูกต้องหรือเปล่า
..สรุปนะครับ..
หนังเรื่องนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนังที่นำพาเราไปสำรวจจิตใจของฆาตรกร โดยใช้ช่วงเวลา The Blue Hour เป็นภาพเชิงสัญลักษณ์ถึงคนที่กำลังก้าวข้ามผ่านจากความสว่างไปสู่ความมืดมิด และ "ผีบังตา" ก็เป็นเหมือน "อคติ" ที่แต่ละคนมีต่อกันจนมองไม่เห็นอีกมุมนึงของอีกฝ่าย หรือตราหน้าว่าอีกฝ่ายต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ หรือทำสิ่งนั้นสิ่งนี้แน่ๆ ซึ่งเรื่องราวในหนังเรื่องนี้ผมว่ามันก็เกิดจาก "ผีบังตา" นี่แหละครับ ตั้มถูกผีอคติบังตาจนคิดไปเองว่าทุกคนจ้องจะทำร้าย หรือเอาเปรียบตัวเอง ทั้งที่จริงๆแล้วเป็นเพราะตั้มเองนั่นแหละที่ทำให้ทุกคนทำกับตั้มแบบนั้น หรืออย่างครอบครัวของตั้ม ที่ก็โดนผีอคติบังตาด้วยเหมือนกัน เพราะความผิดทุกอย่างในบ้านก็โยนไปให้ตั้มหมดโดยไม่มีการสอบถามก่อน แต่ตัดสินไปแล้วว่าตั้มเป็นคนก่อเรื่อง ..จริงๆทุกอย่างมันจะไม่เกิดขึ้นเลยครับถ้าทุกคนไม่ปล่อยให้ "ผีอคติ" มันบังตาจนมองอะไรไม่เห็น ..ถ้าพ่อตั้มไม่ต่อต้านเรื่องตั้มเป็นเกย์ ถ้าทุกคนในบ้านไม่ปฏิบัติต่อตั้มเหมือนตั้มเป็นคนผิดทุกอย่าง ถ้าตั้มไม่ใช้เงินเกินตัวแล้วไปยืมคนอื่น หรือถ้าตั้มรู้จักทำตัวให้ครอบครัวไว้ใจมากกว่านี้ แต่ก็เพราะผีมันบังตาไงครับ ทุกคนเลยมองไม่เห็นความผิดของตัวเอง จนมันเลยเถิดให้เกิดเรื่องราวใหญ่โตขนาดนั้น!!
..และที่สำคัญ หนังเรื่องนี้อาจจะถูกโปรโมตให้ดูเหมือนว่าเป็นหนังเกย์ แต่ผมว่ามันไม่ได้เฉพาะกลุ่มขนาดนั้นหรอกครับ เพราะประเด็นหลักของหนังมันคือการนำเราไปสำรวจจิตใจฆาตกร เพียงแต่ฆาตกรคนนั้นเป็นเกย์เท่านั้นเอง!!
อนธการ :: ..เคยได้ยินเรื่องผีบังตามั้ย? [SPOIL]
อย่างที่น่าจะทราบกันอยู่แล้วนะครับว่าเรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากคดีการจ้างวานฆ่าครอบครัวตัวเองที่เป็นข่าวดังอยู่ช่วงนึง แต่แค่ "ได้แรงบันดาลใจ" จริงๆนะครับ เพราะตัวหนังมันไม่ได้บอกเราว่ากำลังเล่าเรื่องของคดีนั้น เพียงแต่สร้างสถานการณ์ให้คล้ายๆกับเหตุการณ์นั้นเท่านั้นเอง และเอาจริงๆ ถ้าเทียบสัดส่วนกันแล้ว ส่วนที่หนังพูดเรื่องเกี่ยวกับเหตุฆาตกรรมมีอยู่ไม่ถึง 10% ของเรื่องด้วยมั้งครับ เพราะหนังเล่าเรื่องแรงจูงใจก่อนจะก่อเหตุมากกว่า ซึ่งก็ทำได้ดีเลยนะสำหรับผม มันอึดอัด อึมครึม และหม่นหมองไปตลอดทั้งเรื่อง จนรู้สึกว่าถ้าคนที่มีอารมณ์ขนาดนี้ตลอดเวลา มันก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไรที่เค้าคนนั้นจะตัดสินใจทำอะไรลงไปแบบอารมณ์ชั่ววูบ
สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกได้จากหนังเรื่องนี้คือการนำเสนอมุมมองของคนที่ไม่ได้รับการยอมรับในสังคมผ่านตัวละคร "ตั้ม" เด็กผู้ชายคนนึงที่คิดไปเองว่าตัวเองเป็นคนที่สังคมรังเกียจ ..ที่ผมใช้คำว่า "คิดไปเอง" เพราะหนังเล่าโดยใช้มุมมองของตั้มเป็นหลัก แต่หากลองพิจารณาจริงๆแล้วจะพบว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตั้มถูกกระทำโดยคนรอบข้าง มันเกิดจากการกระทำของตั้มเองทั้งนั้น ทั้งเรื่องโดนเพื่อนที่โรงเรียนซ้อมเพราะไปยืมเงินเค้าแต่ไม่ยอมใช้คืนโดยอ้างกับตัวเองว่าเงินไม่พอใช้ หรือการไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนในครอบครัว ก็เพราะตัวตั้มเองก็ไม่เคยทำอะไรให้คนในครอบครัวไว้ใจเลย แถมยังมีประเด็นเรื่องตั้มเป็นเกย์เพิ่มไปด้วยอีก ตั้มจึงเหมือนเอาความน้อยเนื้อต่ำใจว่าคนรอบข้างไม่ยอมรับเรื่องตัวเองเป็นเกย์มาผลักตัวเองให้ออกห่างจากสังคม ทั้งที่จริงๆแล้ว ตัวตั้มเองต่างหากที่ไม่ยอมรับสังคมนั้น ซึ่งผมว่าคนแบบตั้มมีเยอะมากนะครับในสังคมเรา คนที่จ้องมองแค่ความผิดของคนอื่นแต่ไม่เคยคิดถึงความผิดของตัวเองเลย และมักจะโทษว่าสังคมไม่ยอมรับตัวเอง ทั้งที่ตัวเองนั่นแหละเป็นต้นเหตุให้เค้าปฏิบัติแบบนั้น
..และประเด็นนี้ผมว่าน่าสนใจนะครับ มันเป็นการพูดถึงการยอมรับในตัวตนของตัวเอง มันเหมือนกรณีคนผิวคล้ำที่ถ้าไปประกวดอะไรซักอย่าง เช่นนางงามซักเวทีก็ได้ครับแล้วไม่ได้มงกุฏ คนที่ยอมรับตัวเองก็อาจจะคิดว่าเพราะตัวเค้ายังไม่พร้อม หุ่นยังไม่เฟิร์ม หรือเดินยังไม่สวย ฯลฯ แต่คนที่ไม่ยอมรับตัวเองแบบตั้มก็จะคิดว่า "เพราะฉันดำสินะเลยไม่เลือกฉัน" อะไรแนวๆนั้นอ่ะครับ คือคิดอคติกับตัวเองไปก่อน แล้วใช้ข้ออคติเหล่านั้นถีบตัวเองออกจากสังคม เพราะคิดไปว่าสังคมคงไม่ยอมรับคนแบบตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้เลือกใช้ประเด็นเรื่อง "เกย์" ที่แม้ปัจจุบันจะได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าในบางครอบครัวก็ยังมีอคติกับคนกลุ่มนี้อยู่ เช่นเดียวกับครอบครัวของตั้ม!!
..และด้วยความที่ตั้มมีมุมมองต่อสังคมแบบนี้ ตั้มจึงรู้สึกเหมือนตัวเองอยู่ตัวคนเดียวบนโลก(หนังมีหลายซีนมากที่ให้เห็นตั้มเดี่ยวๆอยู่กลางสถานที่กว้างๆ) จนกระทั่งมาเจอกับ "ภูมิ" เพื่อนชายที่ตั้มนัดเจอทางอินเตอร์เน็ต และเป็นเหมือนเพื่อนคนเดียวในโลกของตั้ม คนที่ตั้มคิดว่าเข้าใจตั้มมากที่สุด และตั้มเปิดรับภูมิมากกว่าเปิดรับคนในครอบครัวซะอีก และเรื่องราวก็ดำเนินไปเรื่อยๆจนไปสู่การจ้างวานฆ่าครอบครัวตัวเองอย่างที่เราทราบกัน
สิ่งที่เด่นสุดของหนังเรื่องนี้คือการคุมโทนภาพและอารมณ์ของหนังครับ หนังพาเราไปสำรวจจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกของตั้มตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดสุดท้ายที่ตั้มตัดสินใจจ้างวานฆ่าครอบครัวตัวเอง อย่างที่บอกตอนต้นครับว่าถ้ามีใครซักคนต้องอยู่กับความรู้สึกอึมครึมแบบในเรื่องนี้ตลอดเวลา มันก็ไม่แปลกที่คน คนนั้นจะเกิดอารมณ์ชั่ววูบในการทำอะไรไม่ดีออกไป ซึ่งตรงนี้ก็ขอบอกก่อนนะครับว่าผมไม่ได้มาบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ผมแค่บอกว่าไม่แปลกใจที่จะทำอะไรแบบนั้น เพราะมันไม่ใช่แค่หดหู่ ไม่ใช่แค่เศร้า แต่มันยังมีอารมณ์ของความน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกอ้างว้าง รู้สึกว่าไม่มีใครในโลกที่เข้าใจเค้าอีกแล้วแม้แต่ครอบครัวตัวเอง!!
อีกสิ่งนึงที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือเรื่องของการตัดต่อครับ เพราะมันทำให้ใครหลายคนบ่นงงกันไปแล้ว เอาจริงๆผมก็ไม่แน่ใจเรื่องการลำดับเรื่องของตัวเองเหมือนกันครับว่าเข้าใจในสิ่งที่หนังต้องการจะสื่อมากแค่ไหน ดังนั้นจึงขอไม่พูดถึงเรื่องราวในเรื่องละกันนะครับว่าเริ่มจากอะไร เหตุการณ์ไหนเกิดก่อนหลัง หรือภูมิมีตัวตนจริงมั้ย อะไรต่างๆเหล่านี้ผมปล่อยให้คนดูคิดตามมุมของตัวเองไปละกันครับ เพราะสำหรับผมต่อการดูหนังเรื่องนี้นะ ผมว่าการรับรู้อารมณ์ของหนังมันสำคัญกว่าการลำดับเรื่องราวอีกครับ แต่ที่แน่ๆนะ ผมว่ามันมีทั้งความจริง ความฝัน การคิดไปเอง และการตัดสลับเหตุการณ์ไปมาแน่ๆล่ะ โดยผมใช้วิธีจำเสื้อของตัวละครเอา แล้วก็เอาเรื่องมาเรียงต่อกันคร่าวๆในหัว ซึ่งก็ไม่แน่ใจนักหรอกว่ามันถูกต้องหรือเปล่า
หนังเรื่องนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนังที่นำพาเราไปสำรวจจิตใจของฆาตรกร โดยใช้ช่วงเวลา The Blue Hour เป็นภาพเชิงสัญลักษณ์ถึงคนที่กำลังก้าวข้ามผ่านจากความสว่างไปสู่ความมืดมิด และ "ผีบังตา" ก็เป็นเหมือน "อคติ" ที่แต่ละคนมีต่อกันจนมองไม่เห็นอีกมุมนึงของอีกฝ่าย หรือตราหน้าว่าอีกฝ่ายต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ หรือทำสิ่งนั้นสิ่งนี้แน่ๆ ซึ่งเรื่องราวในหนังเรื่องนี้ผมว่ามันก็เกิดจาก "ผีบังตา" นี่แหละครับ ตั้มถูกผีอคติบังตาจนคิดไปเองว่าทุกคนจ้องจะทำร้าย หรือเอาเปรียบตัวเอง ทั้งที่จริงๆแล้วเป็นเพราะตั้มเองนั่นแหละที่ทำให้ทุกคนทำกับตั้มแบบนั้น หรืออย่างครอบครัวของตั้ม ที่ก็โดนผีอคติบังตาด้วยเหมือนกัน เพราะความผิดทุกอย่างในบ้านก็โยนไปให้ตั้มหมดโดยไม่มีการสอบถามก่อน แต่ตัดสินไปแล้วว่าตั้มเป็นคนก่อเรื่อง ..จริงๆทุกอย่างมันจะไม่เกิดขึ้นเลยครับถ้าทุกคนไม่ปล่อยให้ "ผีอคติ" มันบังตาจนมองอะไรไม่เห็น ..ถ้าพ่อตั้มไม่ต่อต้านเรื่องตั้มเป็นเกย์ ถ้าทุกคนในบ้านไม่ปฏิบัติต่อตั้มเหมือนตั้มเป็นคนผิดทุกอย่าง ถ้าตั้มไม่ใช้เงินเกินตัวแล้วไปยืมคนอื่น หรือถ้าตั้มรู้จักทำตัวให้ครอบครัวไว้ใจมากกว่านี้ แต่ก็เพราะผีมันบังตาไงครับ ทุกคนเลยมองไม่เห็นความผิดของตัวเอง จนมันเลยเถิดให้เกิดเรื่องราวใหญ่โตขนาดนั้น!!
..และที่สำคัญ หนังเรื่องนี้อาจจะถูกโปรโมตให้ดูเหมือนว่าเป็นหนังเกย์ แต่ผมว่ามันไม่ได้เฉพาะกลุ่มขนาดนั้นหรอกครับ เพราะประเด็นหลักของหนังมันคือการนำเราไปสำรวจจิตใจฆาตกร เพียงแต่ฆาตกรคนนั้นเป็นเกย์เท่านั้นเอง!!