[SR] ppantip.com ร่วมกับ ททท. ตามรอยพ่อ ด้วยความคิดถึง เชียงใหม่ #1 : เส้นทางม่อนแจ่ม


เชื่อว่าตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา คงไม่มีคนไทยคนไหนจะลืมช่วงเวลาแห่งการสูญเสียครั้งนั้นไปได้ ภาพผู้คนสวมชุดสีดำ ติดโบว์ไว้อาลัยในชีวิตประจำวันถึงจะดูเศร้าหมอง แต่เชื่อว่าหลายๆ คน กำลังพยายามที่จะก้าวข้ามผ่านความเสียใจครั้งนี้ไปให้ได้

และแม้ว่าในวันนี้ พ่อจะไม่ได้อยู่กับพวกเราแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงหลงเหลือนั่นคือ คำสอนมากมาย ที่พ่อได้ให้ไว้กับประชาชนชาวไทย คำสอนที่สามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้ดีขึ้น และสำหรับ Pantip Check-in ในครั้งนี้ จะขอเดินตามรอยพ่อเยี่ยมชมโครงการหลวงกันที่จังหวัดเชียงใหม่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

โดยโครงการหลวงที่ทีมงานเลือกตามรอยในครั้งแรกนี้คือ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ตรงไปถึงอำเภอแม่ริมบริเวณ กม. 17 ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 1096 สายแม่ริม-สะเมิง ถึง กม. 15 ให้เลี้ยวขวาที่บ้านโป่งแยกไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร

จุดเริ่มต้นของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย เกิดจากชาวเขาได้ทำลายป่าเพื่อเปิดที่ทำกินใหม่ ซึ่งเดิมทีบริเวณนี้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ดอยปุย โดยชาวบ้านใช้พื้นที่นี้ในการปลูกฝิ่น ซึ่งเป็นพืชที่ไร้ประโยชน์ จึงได้แนะนำพืชเศรษฐกิจใหม่ๆ ทดแทนการปลูกฝิ่น เพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ครั้งนี้เราได้รับเกียรติจากคุณ สิริพร ชั้นสุวรรณ เจ้าหน้าที่ประสานงานและสนับสนุนงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวง มามอบความรู้ให้กับเรา

จากคำบอกเล่าของวิทยาจึงทำให้ทราบถึงความแตกต่างของโครงการหลวงกับโครงการพระราชดำริ โครงการหลวงจะเป็นลักษณะโครงการในส่วนพระองค์ ทั้งในเรื่องของการบริหารงาน การส่งเสริม จะขึ้นตรงในส่วนของพระองค์เลย

ส่วนโครงการพระราชดำริ จะเป็นในลักษณะของหน่วยงานร่วมกันทำตามแนวพระราชดำริที่ทรงตรัสไว้ ถ้าโครงการหลวงจะทีทั้งหมด 5 จังหวัดภาคเหนือ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา ลำปาง และแม่ฮ่องสอน

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงมีทั้งหมด 38 โครงการ และอีก 4 สถานี คือ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ สถานีเกษตรหลวงปางดะ และสถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด ลักษณะของสถานีจะเน้นในส่วนของงานวิจัยและส่งเสริม แต่ถ้าเป็นโครงการสถานีที่แม่หลอดจะเน้นเกี่ยวกับกาแฟ

ส่วนศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ลักษณะของงานคือส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรให้กับชุมชนในพื้นที่ โดยชุมชนที่นี่เป็นชนเผ่าม้ง 95% นอกนั้นก็จะมีลีซอ ไทยใหญ่ และเกษตรกรก็จะนำผลผลิตที่ได้ส่งให้กับโครงการหลวง

ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมคอยดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกพืช ทั้งผักและก็ไม้ผลให้กับเกษตรกร ถ้าจะมาเป็นเกษตรกรโครงการหลวงได้ จะต้องเป็นสมาชิกของโครงการหลวง ภายใต้ระบบ GAP (Good Agricultural Practices) ตามข้อกำหนด ถึงจะมาส่งผลผลิตเข้าที่นี่ได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

จากนั้นเราได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมในอาคารศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ซึ่งคนทั่วไปสามารถเข้ามาเที่ยวชมได้ตามปกติ แต่ถ้าคณะดูงานต้องทำหนังสือแจ้งเข้ามาก่อน เพื่อทางโครงการจะได้จัดวิทยากร และเตรียมเจ้าหน้าที่ในแต่ละฝ่ายเพื่อให้ความรู้กับคณะที่เข้าเยี่ยมชม

สำหรับผลผลิตที่ผ่านการทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจะถูกบรรจุลงในผลิตภัณฑ์ ส่วนผลผลิตที่ถูกคัดแยกออก จะไม่นำไปทิ้งแต่จะนำไปทำเป็นอาหารสัตว์แทน

ส่วนเมล็ดพันธุ์ของโครงการหลวงนั่น คนทั่วไปไม่สามารถเอาไปปลูกได้ แต่จะต้องเป็นเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของโครงการหลวงเท่านั้นถึงจะนำไปปลูกได้ และ สิ่งที่น่าสนใจคือระบบเช็คเกษตรกรที่เรียกว่า RFID

RFID (Radio frequency identification) เป็นระบบรีเช็คเพื่อตรวจสอบและติดตาม ซึ่งหากเกิดข้อผิดพลาดอะไรขึ้นในขบวนการผลิต จะมีรหัสเฉพาะรายการผลิตที่จะสามารถทราบถึงแหล่งที่มาได้ เพราะถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นทางเจ้าหน้าจะสามารถแก้ไขได้ทันที

สำหรับการได้มาเยี่ยมชมในครั้งนี้ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นมากเพราะไม่เคยทำอะไรแบบนี้มาก่อนเลยจริงๆ แถมยังได้ประสบการณ์ความรู้ใหม่ๆเพิ่มอีกด้วย สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่สนใจก็อย่าลืมแวะมาเที่ยวกันนะ

หลังจากได้เรียนรู้ถึงกระบวนการนำผลผลิตของเกษตรกรออกสู่ตลาดที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอยกันแบบเต็มอิ่มแล้ว ทีมงานเลยจะขอมุ่งหน้าไปดื่มด่ำบรรยากาศกันต่อที่ “ม่อนแจ่ม” ซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล จากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย เพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น  

โดยระหว่างทางไปม่อนแจ่มเราก็สามารถพบเห็นสวนของชาวบ้าน อย่างสวนองุ่นสวนนี้ ก็เป็นเมล็ดพันธ์มาจากโครงการหลวงเป็นผู้มอบให้อีกด้วย

ชื่อสินค้า:   ม่อนแจ่ม
คะแนน:     
**SR - Sponsored Review : ผู้เขียนรีวิวนี้ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง แต่มีผู้สนับสนุนสินค้าหรือบริการนี้ให้แก่ผู้เขียนรีวิว โดยที่ผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอื่นใดในการเขียนรีวิว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่