คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เรียก "เจ้าพนักงานภูษามาลา" ครับ
เป็นข้าราชการในราชสำนัก มีหน้าที่ถวายทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ถวายพระกลด (กางร่ม) ถวายสุกำ ทำสุกำ เปลื้องเครื่องสุกำพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกำศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น ในสมัยก่อนจะมีกรมภูษามาลา เจ้ากรมชื่อพระยาอุไทยธรรม ตำแหน่งภูษามาลา มักเป็นตำแหน่งที่สืบตระกูลกันมา
สำหรับพิธีสำหรับการถวายทรงเครื่องใหญ่ หรือตัดผมนั้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ เคยอธิบายไว้ในหนังสือสมบัติไทย ความว่า
"...เรื่องการทรงเครื่องใหญ่ ทำไมจึงเรียกเช่นนั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะนอกจากพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเทพเจ้าตามคติของคนโบราณแล้ว เส้นผมของเทพเจ้านั้นคนโบราณเชื่อว่าเป็นของร้อนอย่างยิ่งเกินที่มนุษย์จะทนทานได้ ถ้าหากว่าเส้นผมของเทพเจ้านั้นตกลงต้องแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่แล้ว ถ้าแผ่นดินไม่ลุกเป็นไฟ ความแห้งแล้งทั้งหลายจะเกิดขึ้นเป็นภัยแก่ราษฎรในการทรงเครื่องใหญ่จึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง สถานที่ที่จะประทับทรงเครื่องใหญ่นั้นต้องเอาใบตองมาปูเสียก่อน แล้วปูหนังราชสีห์ทับลงไปอีก เหนือหนังราชสีห์ขึ้นมาก็ปูผ้าขาวแล้วจึงตั้งพระเก้าอี้หรือพระแท่นเป็นที่ประทับสำหรับทรงเครื่องใหญ่
ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของกรมภูษามาลาที่จะดำเนินการ ถ้าโบราณจริงแล้ว ต้องมีพราหมณ์ขับบัณเฑาะว์และอ่านวรรณคดีถวาย เรียกว่า ขับบัณเฑาะว์ เพื่อให้เพลิดเพลินพระราชหฤทัยในรัชกาลนี้ได้สั่งเลิกการขับบัณเฑาะว์ไปแล้ว แต่อย่างอื่นยังต้องรักษาไว้ตามพระราชประเพณี แม้แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่มีอำนาจทรงสั่งเลิก ในเวลาลงมือเปลื้องเส้นพระเจ้า (ตัดผม) และก่อนที่จะใช้เครื่องมืออย่างไร เจ้าพนักงานจะต้องกราบถวายบังคม ๓ ครั้งอย่างคนโบราณ และกราบบังคมทูลให้ทรงทราบก่อนว่าจะใช้เครื่องมืออะไร เป็นต้นว่าใช้กรรไกรก็ต้องกราบบังคมทูลว่าข้าพระพุทธเจ้าขอพระบรมราชานุญาตใช้พระแสงกรรบิด เวลาเปลื้องเส้นพระเจ้าต้องเอามือรับ ใส่ผอบรวบรวมไว้มาก ๆ แล้วนำไปลอยในพระมหาสมุทร ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมในพระราชสำนักและหาดูได้ยาก...”
ในสมัยก่อน ตำแหน่งภูษามาลาที่ทำหน้าที่ถวายทรงเครื่องใหญ่ มีความสำคัญมาก ถ้าทำพลาดไปอาจต้องถึงชีวิตทีเดียว ดังตัวอย่างในสมัยพระเจ้าตากสิน มีเรื่องภูษามาลาตัดเส้นพระเจ้าของพระเจ้าตากสินออกไม่หมด เหลือแค่เส้นเดียวเท่านั้น แต่ก็ถึงกับเกิดเรื่องราวใหญ่โตเลยทีเดียว กล่าวคือ
"...ครั้นณวันเสาร์เดือนเจ็ดขึ้นสิบห้าค่ำ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องใหญ่ ครั้นเสร็จแล้วทรงส่องพระฉายทอดพระเนตรเห็นพระเกศาเหนือพระกรรณ (หู) เบื้องซ้ายยังเหลืออยู่เส้นหนึ่ง ก็ทรงพระพิโรธเจ้าพนักงานชาวพระมาลาภูษาซึ่งทรงเครื่องนั้นว่า แกล้งทำประจานพระองค์เล่น จึงดำรัสถามพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ว่าโทษคนเหล่านี้จะเป็นประการใด กรมขุนอินทรพิทักษ์กราบทูลว่าเห็นจะไม่ทันพิจารณา พระเกศาจึงหลงเหลืออยู่เส้นหนึ่ง ซึ่งจะแกล้งทำประจานพระองค์เล่นนั้นเห็นจะไม่เป็นแท้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธพระเจ้าลูกเธอเป็นกำลัง ดำรัส ว่าเข้ากันกับผู้ผิดกล่าวแก้กั้น แกล้งให้เขาทำประจานพ่อดูเล่นได้ไม่เจ็บแค้นด้วย จึงให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ร้อยที แล้วจำไว้ ให้เอาตัวชาวพระมาลาภูษาซึ่งทรงเครื่องทั้งสองคน กับทั้งพระยาอุทัยธรรมจางวางว่าไม่ดูแลตรวจตรากำกับ เอาไปประหารชีวิตเสียทั้งสามคน..."
คัดจากพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล
เป็นข้าราชการในราชสำนัก มีหน้าที่ถวายทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ถวายพระกลด (กางร่ม) ถวายสุกำ ทำสุกำ เปลื้องเครื่องสุกำพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกำศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น ในสมัยก่อนจะมีกรมภูษามาลา เจ้ากรมชื่อพระยาอุไทยธรรม ตำแหน่งภูษามาลา มักเป็นตำแหน่งที่สืบตระกูลกันมา
สำหรับพิธีสำหรับการถวายทรงเครื่องใหญ่ หรือตัดผมนั้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ เคยอธิบายไว้ในหนังสือสมบัติไทย ความว่า
"...เรื่องการทรงเครื่องใหญ่ ทำไมจึงเรียกเช่นนั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะนอกจากพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเทพเจ้าตามคติของคนโบราณแล้ว เส้นผมของเทพเจ้านั้นคนโบราณเชื่อว่าเป็นของร้อนอย่างยิ่งเกินที่มนุษย์จะทนทานได้ ถ้าหากว่าเส้นผมของเทพเจ้านั้นตกลงต้องแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่แล้ว ถ้าแผ่นดินไม่ลุกเป็นไฟ ความแห้งแล้งทั้งหลายจะเกิดขึ้นเป็นภัยแก่ราษฎรในการทรงเครื่องใหญ่จึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง สถานที่ที่จะประทับทรงเครื่องใหญ่นั้นต้องเอาใบตองมาปูเสียก่อน แล้วปูหนังราชสีห์ทับลงไปอีก เหนือหนังราชสีห์ขึ้นมาก็ปูผ้าขาวแล้วจึงตั้งพระเก้าอี้หรือพระแท่นเป็นที่ประทับสำหรับทรงเครื่องใหญ่
ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของกรมภูษามาลาที่จะดำเนินการ ถ้าโบราณจริงแล้ว ต้องมีพราหมณ์ขับบัณเฑาะว์และอ่านวรรณคดีถวาย เรียกว่า ขับบัณเฑาะว์ เพื่อให้เพลิดเพลินพระราชหฤทัยในรัชกาลนี้ได้สั่งเลิกการขับบัณเฑาะว์ไปแล้ว แต่อย่างอื่นยังต้องรักษาไว้ตามพระราชประเพณี แม้แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่มีอำนาจทรงสั่งเลิก ในเวลาลงมือเปลื้องเส้นพระเจ้า (ตัดผม) และก่อนที่จะใช้เครื่องมืออย่างไร เจ้าพนักงานจะต้องกราบถวายบังคม ๓ ครั้งอย่างคนโบราณ และกราบบังคมทูลให้ทรงทราบก่อนว่าจะใช้เครื่องมืออะไร เป็นต้นว่าใช้กรรไกรก็ต้องกราบบังคมทูลว่าข้าพระพุทธเจ้าขอพระบรมราชานุญาตใช้พระแสงกรรบิด เวลาเปลื้องเส้นพระเจ้าต้องเอามือรับ ใส่ผอบรวบรวมไว้มาก ๆ แล้วนำไปลอยในพระมหาสมุทร ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมในพระราชสำนักและหาดูได้ยาก...”
ในสมัยก่อน ตำแหน่งภูษามาลาที่ทำหน้าที่ถวายทรงเครื่องใหญ่ มีความสำคัญมาก ถ้าทำพลาดไปอาจต้องถึงชีวิตทีเดียว ดังตัวอย่างในสมัยพระเจ้าตากสิน มีเรื่องภูษามาลาตัดเส้นพระเจ้าของพระเจ้าตากสินออกไม่หมด เหลือแค่เส้นเดียวเท่านั้น แต่ก็ถึงกับเกิดเรื่องราวใหญ่โตเลยทีเดียว กล่าวคือ
"...ครั้นณวันเสาร์เดือนเจ็ดขึ้นสิบห้าค่ำ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องใหญ่ ครั้นเสร็จแล้วทรงส่องพระฉายทอดพระเนตรเห็นพระเกศาเหนือพระกรรณ (หู) เบื้องซ้ายยังเหลืออยู่เส้นหนึ่ง ก็ทรงพระพิโรธเจ้าพนักงานชาวพระมาลาภูษาซึ่งทรงเครื่องนั้นว่า แกล้งทำประจานพระองค์เล่น จึงดำรัสถามพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ว่าโทษคนเหล่านี้จะเป็นประการใด กรมขุนอินทรพิทักษ์กราบทูลว่าเห็นจะไม่ทันพิจารณา พระเกศาจึงหลงเหลืออยู่เส้นหนึ่ง ซึ่งจะแกล้งทำประจานพระองค์เล่นนั้นเห็นจะไม่เป็นแท้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธพระเจ้าลูกเธอเป็นกำลัง ดำรัส ว่าเข้ากันกับผู้ผิดกล่าวแก้กั้น แกล้งให้เขาทำประจานพ่อดูเล่นได้ไม่เจ็บแค้นด้วย จึงให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ร้อยที แล้วจำไว้ ให้เอาตัวชาวพระมาลาภูษาซึ่งทรงเครื่องทั้งสองคน กับทั้งพระยาอุทัยธรรมจางวางว่าไม่ดูแลตรวจตรากำกับ เอาไปประหารชีวิตเสียทั้งสามคน..."
คัดจากพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล
แสดงความคิดเห็น
ใครเป็นคนตัดผมให้กับพระมหากษัตริย์ของไทยหรอครับ?
- ใครเป็นช่างตัดผมประจำตัวพระองค์ท่าน
- ตอนตัดผมต้องมีพิธีอะไรบ้าง
ขอบคุณครับ