อุปมาด้วยพระนครมีกำแพงล้อมรอบ

กระทู้สนทนา
บัดนี้  ท่านพระสารีบุตรเถระ    เมื่อจะแสดงข้อ
อุปมา   เพื่อจะทำการถือเอานัยนั้นให้ปรากฏชัด   จึงกราบทูลว่า    เสยฺย-
ถาปิ  ภนฺเต  ดังนี้เป็นต้น.    
         ในคำว่า   เสยฺยถาปิ  ภนฺเต  นั้น  มีวินิจฉัยว่า  เชิงเทินและกำ-
แพงอันแข็งแรงเป็นต้น  ของพระนครในมัชฌิมประเทศ จะเป็นของมั่นคง
ก็ตาม ไม่มั่นคงก็ตาม ก็หรือว่าไม่มีโดยประการทั้งปวง  ความระแวงภัยจาก
พวกโจรก็ไม่มี   ฉะนั้น        พระเถระไม่ถือเอามัชฌิมประเทศนั้นจึงทูลว่า
ปจฺจนฺติมํ   นครํ  ดังนี้.  บทว่า  ทฬฺหุทฺทาปํ  ได้แก่  มีเชิงกำแพงมั่งคง.
บทว่า   ทฬฺหปาการโตรณํ  คือ มีกำแพงมั่นคง    และมีเสาค่ายต้นหลังมั่น
คง.   ถามว่า   เพราะเหตุไร  พระเถระจึงกล่าวว่า  เอกทฺวารํ  ดังนี้.  ตอบ
ว่า    เพราะในพระนครที่มีมากประตู     ต้องมีคนรักษาประตูที่ฉลาดมาก  
ในพระนครที่มีประตูเดียว   ก็สมควรมีคนรักษาประตูเพียงคนเดียว    อนึ่ง
ไม่มีใครอื่นจะเท่าเทียมปัญญาของพระสารีบุตรเถระได้   ฉะนั้น    เพื่อจะแสดงคน
รักษาประตูคนเดียวเท่านั้น         เพื่อเปรียบเทียบความเป็นบัณฑิตของตน
พระเถระจึงกล่าวว่า   เอกทฺวารํ  ดังนี้.  บทว่า  ปณฺฑิโต  ได้แก่  ประ-
กอบด้วยความเป็นบัณฑิต.   บทว่า  พฺยตฺโต  คือ  ประกอบด้วยความเฉียบ-
แหลม   หรือเป็นผู้มีญาณแก่กล้า.  บทว่า  เมธาวี   คือประกอบด้วยเมธา
คือ  ปัญญาที่เกิดขึ้นตามฐานะ.   บทว่า   อนุปริยายปถํ  ได้แก่  ทางกำแพงด้านทิศตะวันออก  
อันได้นามว่าอนุปริยาย. (เวียนรอบทิศไปมาได้). บทว่า ปาการสนฺธึ  ได้แก่  ที่
อันไม่มีอิฐสองก้อนเชื่อมอยู่.   บทว่า  ปาการวิวรํ คือ  รอบทะลุของกำแพงเพลิง.
         บทว่า  เจตโส  อุปกฺกิเลเส (อุปกิเลส)ความว่า  นิวรณ์ทั้งห้า    ย่อมยังจิตให้
เศร้าหมอง คือ ย่อมทำจิตให้หม่นหมองให้เร่าร้อน ได้แก่ ย่อมเบียดเบียน
จิต    ฉะนั้น    นิวรณ์ห้านั้นท่านจึงเรียกว่า   ความเศร้าหมองแล้วแห่งใจ.
บทว่า   ปญฺาย  ทุพฺพลีกรเณ   ความว่า    นิวรณ์ทั้งหลาย    เมื่อบังเกิด    
ขึ้น    ย่อมไม่ให้เพื่อจะให้ปัญญาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นได้   ทั้งไม่ยอมให้
ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้วเจริญได้  ฉะนั้น  นิวรณ์เหล่านี้   ท่านจึงเรียกว่าเป็น
เครื่องทำปัญญาให้ทรามกำลัง.    บทว่า   สุปฏฺิตจตฺตา   ความว่า    เป็น
ผู้มีจิตตั้งมั่นไว้ดี  ในสติปัฏฐาน  ๔. บทว่า   สตฺต  โพชฺฌงฺเค  ยถาภูตํ
ความว่า   เจริญโพชฌงค์ทั้ง  7 ตามสภาพ.  ด้วย บทว่า อนุตฺตรํ  สมฺมา-
สมฺโพธึ    พระเถระย่อมแสดงว่า    พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแทงตลอด  
พระอรหัตต์หรือพระสัพพัญญุตญาณ.  อีกอย่างหนึ่ง  คำว่า  สติปัฏฐาน
ในที่นี้ ได้แก่  วิปัสสนา  โพชฌงค์  ได้แก่  มรรค  อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ได้แก่   พระอรหัตต์. อีกอย่างหนึ่ง    คำว่า  สติปัฏฐาน  ได้แก่วิปัสสนา
สัมมาสัมโพธิญาณอันเจือด้วยโพชฌงค์ ได้แก่  พระอรหัตต์นั่นเอง.  ก็พระ-
มหาสิวเถระผู้กล่าวทีฆนิกายกล่าวไว้ว่า    เมื่อท่านถือเอาสติปัฏฐานว่าเป็น
วิปัสสนา  แล้วถือเอาโพชฌงค์ว่า  เป็นมรรค  และเป็นพระสัพพัญญุตญาณ
แล้วพึงมีปัญหาที่ดี    แต่ข้อนี้ท่านมิได้ถือเอาอย่างนี้ดังนี้.  พระเถระได้แสดง
ความแตกต่างกันในท่ามกลางในการละนิวรณ์    ในการเจริญสติปัฏฐาน
และในสัมโพธิญาณของพระสัพพัญญุพุทธเจ้าทั้งหลาย  เหมือนแสดงทอง
และเงินแตกต่างกันฉะนั้น  ด้วยประการฉะนี้.    บัณฑิตดำรงอยู่ในที่นี่
พึงเทียงเคียงอุปมา.
         ความจริง   ท่านพระสารีบุตรเถระ    แสดงปัจจันตนคร  ๑  แสดง
กำแพง  ๑  ทางเดินรอบกำแพง  ๑  แสดงประตู  ๑  แสดงคนเฝ้าประตู  ซึ่งเป็น
คนฉลาด  ๑  แสดงสัตว์ใหญ่  ซึ่งเข้าออกในพระนคร  ๑  แสดงความปรากฏ
แห่งสัตว์เหล่านั้นแก่นายประตูนั้น ๑  ในข้ออุปมานี้หากมีคำถามว่า   อะไร
เหมือนกับอะไร  ดังนี้.   พึงตอบว่า  ก็พระนิพพานเหมือนพระนคร  ศีลเหมือนกำแพง  
หิริเหมือนทางเดินรอบกำแพง อริยมรรคเหมือนประตู  พระ  
ธรรมเสนาบดีเหมือนคนเฝ้าประตูที่ฉลาด พระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งอุบัติขึ้น
ในอดีตอนาคตและปัจจุบัน  เหมือนสัตว์ ใหญ่ที่เข้าออกในพระนคร  ความ
ปรากฏด้วยศีลสละสมถะเป็นต้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ทั้งในอดีตอนา-
คตและปัจจุบันแก่พระสารีบุตร  เหมือนกับความปรากฏแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เหล่านั้น แก่นายประตูนั้น.

"the way8, the truth4, and the life6:"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่