นายภักดี โพธิศิริ
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ป.ป.ช. ตามประกาศ คมช.ที่ 19/2549 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549
ซึ่งตามกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 11 บัญญัติไว้ว่า ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. นั้น
ต้องลาออกจากบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหากำไร ภายใน 15 วันหลังจากได้รับแต่งตั้ง
หากผู้ได้รับการแต่งตั้งไม่ได้ลาออกภายใน 15 วันตามที่กฎหมายกำหนด
ให้ถือว่า ผู้นั้น ไม่ได้เป็นกรรมการ ป.ป.ช. มาตั้งแต่ต้น
ขณะที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช.
นายภักดี โพธิศิริ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทองค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ ชีววัตถุ จำกัด
ซึ่งตามกฎหมาย ป.ป.ช. นายภักดี ต้องลาออกจากบริษัทภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2549 (15 วัน)
แต่นายภักดี ไม่ได้ลาออกตามกำหนดที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้
นายภักดี โพธิศิริ ได้ลาออกจากบริษัทเมื่อต้นเดือน
ธันวาคม 2549
อันเกินกำหนดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
ชัดเจน แจ่มแจ้ง
ว่าผิดกฎหมาย ป.ป.ช. เต็ม ๆ
เรื่องนี้ เมื่อปี 2555 พรรคเพื่อไทยได้ยื่นถอดถอนนายภักดี โพธิศิริ ค่อวุฒิสภา
ด้วยเหตุผลขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการ ป.ป.ช.
แต่ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติไม่ถอดถอน
พรรคเพื่อไทยจึงยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลอาญา ข้อหานายภักดี โพธิศิริ แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานโดยมิชอบ
ผลก็คือ ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเมื่อปี 2558 ว่า
ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีหน่วยงานหรือองค์กรใดที่มีอำนาจตามกฎหมาย
ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่า นายภักดี โพธิศิริ ขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการ ป.ป.ช.
และให้เพิกถอนพ้นจากการเป็นกรรมการ ป.ป.ช. แต่อย่างใด
นายภักดี โพธิศิริ จึงยังคงมีสถานะเป็นกรรมการ ป.ป.ช.
ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19
นายภักดี โพธิศิริ จึงเป็นกรรมการ ป.ป.ช. จนครบวาระ 9 ปี
และเพิ่งพ้นตำแหน่งไปต้นปี 59 นี่เอง
(ก่อนพ้นตำแหน่ง ก็ลงมติยกฟ้องคดี 99 ศพ แล้วก็หยุดปีใหม่ พอเปิดปีใหม่มา ก็พ้นวาระ สะบัดตูดไปพอดี)
ก็งงสิครับ
ผิดกฎหมายเห็น ๆ ผิดกฎหมาย ป.ป.ช. องค์กรที่นายภักดีเป็นกรรมการเองนั่นแหละ
แต่สามารถดำรงตำแหน่งอยู่ได้จนครบวาระ 9 ปี
รับเงินเดือนไปรวมแล้วเกือบสิบล้านบาท
ผิดกฎหมาย แล้วดำรงตำแหน่งอยู่ได้อย่างไร ?
ยื่นถอดถอน คนมีอำนาจถอดถอนก็ไม่ถอด
ฟ้องศาล ศาลก็บอกว่าไม่มีใครบอกว่านายภักดีขาดคุณสมบัติ
(งงครับ ศาลวินิจฉัยไม่ได้เหรอว่า นายภักดีมีคุณสมบัติถูกต้องหรือไม่ ทำไมต้องให้คนอื่นวินิจฉัยก่อน
เพราะหากคนอื่นวินิจฉัยก่อนศาล จะต้องฟ้องศาลทำไมให้เมื่อย เพราะหากมีใครว่าขาดคุณสมบัติ นายภักดีก็ต้องไปอยู่แล้ว)
แล้วกรณีอย่างนี้ กรณีที่ผิดกฎหมายเห็น ๆ อย่างนี้ ผิดกฎหมายเต็ม ๆ อย่างนี้
แต่ไม่มีใครทำอะไรได้อย่างนี้
องค์กร ป.ป.ช. เอง ก็อ้างว่า ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบตัวเองอย่างนี้
จะใช้กลไกอะไรในการทำให้เรื่องนี้เป็นไปอย่างถูกต้อง ?
มาตรา 11 ป.ป.ช. มีไว้ทำไม ?
การทำหน้าที่ตรวจสอบคนอื่น ควรตรวจสอบตัวเองก่อนใช่ไหม
แต่ไม่ยอมตรวจสอบตัวเอง กระเตงกันอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระทั้งที่เห็นว่าผิดกฎหมาย
แล้วจะมีความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบ ปราบปรามการทุจริตได้อย่างไร ?
ปวดตับครับ
งงครับ งงกับกรณีคุณสมบัติการเป็นกรรมการ ป.ป.ช. ของนายภักดี โพธิศิริ งงจริง ๆ ครับ แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายไว้ทำไม
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ป.ป.ช. ตามประกาศ คมช.ที่ 19/2549 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549
ซึ่งตามกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 11 บัญญัติไว้ว่า ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. นั้น
ต้องลาออกจากบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหากำไร ภายใน 15 วันหลังจากได้รับแต่งตั้ง
หากผู้ได้รับการแต่งตั้งไม่ได้ลาออกภายใน 15 วันตามที่กฎหมายกำหนด
ให้ถือว่า ผู้นั้น ไม่ได้เป็นกรรมการ ป.ป.ช. มาตั้งแต่ต้น
ขณะที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช.
นายภักดี โพธิศิริ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทองค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ ชีววัตถุ จำกัด
ซึ่งตามกฎหมาย ป.ป.ช. นายภักดี ต้องลาออกจากบริษัทภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2549 (15 วัน)
แต่นายภักดี ไม่ได้ลาออกตามกำหนดที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้
นายภักดี โพธิศิริ ได้ลาออกจากบริษัทเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2549
อันเกินกำหนดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
ชัดเจน แจ่มแจ้ง
ว่าผิดกฎหมาย ป.ป.ช. เต็ม ๆ
เรื่องนี้ เมื่อปี 2555 พรรคเพื่อไทยได้ยื่นถอดถอนนายภักดี โพธิศิริ ค่อวุฒิสภา
ด้วยเหตุผลขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการ ป.ป.ช.
แต่ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติไม่ถอดถอน
พรรคเพื่อไทยจึงยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลอาญา ข้อหานายภักดี โพธิศิริ แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานโดยมิชอบ
ผลก็คือ ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเมื่อปี 2558 ว่า
ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีหน่วยงานหรือองค์กรใดที่มีอำนาจตามกฎหมาย
ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่า นายภักดี โพธิศิริ ขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการ ป.ป.ช.
และให้เพิกถอนพ้นจากการเป็นกรรมการ ป.ป.ช. แต่อย่างใด
นายภักดี โพธิศิริ จึงยังคงมีสถานะเป็นกรรมการ ป.ป.ช.
ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19
นายภักดี โพธิศิริ จึงเป็นกรรมการ ป.ป.ช. จนครบวาระ 9 ปี
และเพิ่งพ้นตำแหน่งไปต้นปี 59 นี่เอง
(ก่อนพ้นตำแหน่ง ก็ลงมติยกฟ้องคดี 99 ศพ แล้วก็หยุดปีใหม่ พอเปิดปีใหม่มา ก็พ้นวาระ สะบัดตูดไปพอดี)
ก็งงสิครับ
ผิดกฎหมายเห็น ๆ ผิดกฎหมาย ป.ป.ช. องค์กรที่นายภักดีเป็นกรรมการเองนั่นแหละ
แต่สามารถดำรงตำแหน่งอยู่ได้จนครบวาระ 9 ปี
รับเงินเดือนไปรวมแล้วเกือบสิบล้านบาท
ผิดกฎหมาย แล้วดำรงตำแหน่งอยู่ได้อย่างไร ?
ยื่นถอดถอน คนมีอำนาจถอดถอนก็ไม่ถอด
ฟ้องศาล ศาลก็บอกว่าไม่มีใครบอกว่านายภักดีขาดคุณสมบัติ
(งงครับ ศาลวินิจฉัยไม่ได้เหรอว่า นายภักดีมีคุณสมบัติถูกต้องหรือไม่ ทำไมต้องให้คนอื่นวินิจฉัยก่อน
เพราะหากคนอื่นวินิจฉัยก่อนศาล จะต้องฟ้องศาลทำไมให้เมื่อย เพราะหากมีใครว่าขาดคุณสมบัติ นายภักดีก็ต้องไปอยู่แล้ว)
แล้วกรณีอย่างนี้ กรณีที่ผิดกฎหมายเห็น ๆ อย่างนี้ ผิดกฎหมายเต็ม ๆ อย่างนี้
แต่ไม่มีใครทำอะไรได้อย่างนี้
องค์กร ป.ป.ช. เอง ก็อ้างว่า ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบตัวเองอย่างนี้
จะใช้กลไกอะไรในการทำให้เรื่องนี้เป็นไปอย่างถูกต้อง ?
มาตรา 11 ป.ป.ช. มีไว้ทำไม ?
การทำหน้าที่ตรวจสอบคนอื่น ควรตรวจสอบตัวเองก่อนใช่ไหม
แต่ไม่ยอมตรวจสอบตัวเอง กระเตงกันอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระทั้งที่เห็นว่าผิดกฎหมาย
แล้วจะมีความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบ ปราบปรามการทุจริตได้อย่างไร ?
ปวดตับครับ