✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿
ขอร่วมอาลัยพระผู้เสด็จสู่สู่สวรรคาลัย ในหลวงซึ่งเป็นที่รักยิ่งของคนไทย
สถิตในใจคนไทยทุกดวงตลอดไปตราบนานเท่านาน
ปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า ห้องเพลงคนรากหญ้า
✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿
วันนี้ ผมได้รับอาสาตั้งกระทู้ ห้องเพลงคนรากหญ้า ***รวมใจคนไทยอาลัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย*** กษัตริย์ผู้ทรงธรรม (07/11/2016) เพื่อร่วมระลึกและรวมใจคนไทยอาลัยในหลวงของพวกเรา
วันนี้ ขอเขียนกระทู้เกี่ยวกับเรื่อง 3 เรื่องครับ ที่เกี่ยวพันกับองค์ในหลวงในพระบรมโกษที่พวกเรารักท่าน คือ 1. เรื่องของเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่แม้จะใช้กับพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์นับแต่ราชกาลที่ 6 เป็นต้นมา แต่สำหรับคนไทยเวลานี้ เพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นเพลงที่มีความหมายและเป็นเพลงที่คนไทยร้องเพื่อถวายให้แก่ในหลวงในพระบรมโกษที่พวกเรารักท่าน 2. เรื่องของเพลงอื่นๆ ที่ได้มีการจัดทำกันมากมายเช่นกัน เพื่อร้องถวายแด่ในหลวงของเรา และเรื่องที่ 3 คือ ภาพบรรยากาศในวัดบวรนิเวศวิหาร ที่ในหลวงในพระบรมโกษเคยจำพรรษา และภาพบรรยากาศในวัดรพแก้วเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาครับ
เรื่องที่ 1. เรื่องของเพลงสรรเสริญพระบารมี
ขอนำคลิป : การบันทึกเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีครั้งแรกในโลก (ไฟล์เสียงจริงปี พ.ศ. ๒๔๔๓) ที่นำเสนอในยูทูป โดย
"พิพิธภัณฑ์ ธงชาติไทย"
มาให้พวกเราได้รับฟังกันครับ
สำหรับประวัติความเป็นมาของเพลงสรรเสริญพระบารมี คงเคยอ่านกันมาบ้างแล้ว แต่เพื่อความสมบูรณ์ ขอลงซ้ำอีกที จากวิกิพเดียวนะครับ
เพลงสรรเสริญพระบารมี (วิธีใช้·ข้อมูล) เป็นบทเพลงซึ่งบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ไทย เคยใช้เป็นเพลงชาติของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2431 - 2475 นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ 3 ทำนองทางไทยโดยพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) เมื่อ พ.ศ. 2416[1] ทำนองดนตรีตะวันตกโดย ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย[ต้องการอ้างอิง] (บ้างก็ว่าเป็นครูเพลงชาวฮอลันดาชื่อ เฮวุดเซน[ต้องการอ้างอิง]) ประพันธ์เมื่อ พ.ศ. 2431 คำร้องเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
ภาพของ Pyotr Schurovsky
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น มีชื่อเรียกว่า "สรรเสริญนารายณ์"[ต้องการอ้างอิง] แต่ในบ้างแหล่งระบุชื่อเพลงว่า "เสด็จออกขุนนาง"[3]
แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการใช้เพลง ก็อดเซฟเดอะคิง ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของสหราชอาณาจักร บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า "จอมราชจงเจริญ" [4]
จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง" บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวดัตช์ (ฮอลันดา) ที่ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง"[5]
ตอนนั้น คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414[6] (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของกองเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6[7]
ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)]] (หรือครูมีแขก) ครูดนตรีคนสำคัญ ที่ได้ประดิษฐ์ทำนองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อราว พ.ศ. 2416 ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชภิเษกครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน ซึ่งได้เค้าทำนองมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่า[1] และได้เรียบเรียบเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตกโดยปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกัน[8] ต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ[9]
เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว
ห้องเพลงคนรากหญ้า ***รวมใจคนไทยอาลัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย*** กษัตริย์ผู้ทรงธรรม (07/11/2016)
✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿
ขอร่วมอาลัยพระผู้เสด็จสู่สู่สวรรคาลัย ในหลวงซึ่งเป็นที่รักยิ่งของคนไทย
สถิตในใจคนไทยทุกดวงตลอดไปตราบนานเท่านาน
ปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า ห้องเพลงคนรากหญ้า
✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿ ✿✿✿✿
วันนี้ ผมได้รับอาสาตั้งกระทู้ ห้องเพลงคนรากหญ้า ***รวมใจคนไทยอาลัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย*** กษัตริย์ผู้ทรงธรรม (07/11/2016) เพื่อร่วมระลึกและรวมใจคนไทยอาลัยในหลวงของพวกเรา
วันนี้ ขอเขียนกระทู้เกี่ยวกับเรื่อง 3 เรื่องครับ ที่เกี่ยวพันกับองค์ในหลวงในพระบรมโกษที่พวกเรารักท่าน คือ 1. เรื่องของเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่แม้จะใช้กับพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์นับแต่ราชกาลที่ 6 เป็นต้นมา แต่สำหรับคนไทยเวลานี้ เพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นเพลงที่มีความหมายและเป็นเพลงที่คนไทยร้องเพื่อถวายให้แก่ในหลวงในพระบรมโกษที่พวกเรารักท่าน 2. เรื่องของเพลงอื่นๆ ที่ได้มีการจัดทำกันมากมายเช่นกัน เพื่อร้องถวายแด่ในหลวงของเรา และเรื่องที่ 3 คือ ภาพบรรยากาศในวัดบวรนิเวศวิหาร ที่ในหลวงในพระบรมโกษเคยจำพรรษา และภาพบรรยากาศในวัดรพแก้วเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาครับ
เรื่องที่ 1. เรื่องของเพลงสรรเสริญพระบารมี
ขอนำคลิป : การบันทึกเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีครั้งแรกในโลก (ไฟล์เสียงจริงปี พ.ศ. ๒๔๔๓) ที่นำเสนอในยูทูป โดย "พิพิธภัณฑ์ ธงชาติไทย"
มาให้พวกเราได้รับฟังกันครับ
สำหรับประวัติความเป็นมาของเพลงสรรเสริญพระบารมี คงเคยอ่านกันมาบ้างแล้ว แต่เพื่อความสมบูรณ์ ขอลงซ้ำอีกที จากวิกิพเดียวนะครับ
เพลงสรรเสริญพระบารมี (วิธีใช้·ข้อมูล) เป็นบทเพลงซึ่งบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ไทย เคยใช้เป็นเพลงชาติของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2431 - 2475 นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ 3 ทำนองทางไทยโดยพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) เมื่อ พ.ศ. 2416[1] ทำนองดนตรีตะวันตกโดย ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย[ต้องการอ้างอิง] (บ้างก็ว่าเป็นครูเพลงชาวฮอลันดาชื่อ เฮวุดเซน[ต้องการอ้างอิง]) ประพันธ์เมื่อ พ.ศ. 2431 คำร้องเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
ภาพของ Pyotr Schurovsky
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น มีชื่อเรียกว่า "สรรเสริญนารายณ์"[ต้องการอ้างอิง] แต่ในบ้างแหล่งระบุชื่อเพลงว่า "เสด็จออกขุนนาง"[3]
แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการใช้เพลง ก็อดเซฟเดอะคิง ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของสหราชอาณาจักร บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า "จอมราชจงเจริญ" [4]
จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง" บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวดัตช์ (ฮอลันดา) ที่ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง"[5]
ตอนนั้น คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414[6] (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของกองเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6[7]
ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)]] (หรือครูมีแขก) ครูดนตรีคนสำคัญ ที่ได้ประดิษฐ์ทำนองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อราว พ.ศ. 2416 ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชภิเษกครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน ซึ่งได้เค้าทำนองมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่า[1] และได้เรียบเรียบเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตกโดยปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกัน[8] ต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ[9]
เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว