ที่ประเทศไทยมีปรากฏการณ์ของแสงอาทิตย์ยามเช้าส่องลอดประตูทั้ง 15 บานของปราสาทหินพนมรุ้งในช่วงต้นเดือนเมษายนและกันยายน (และแสงยามดวงอาทิตย์ตกส่องลอดประตูทั้ง 15 บาน ต้นเดือนมีนาคมและตุลาคม) ที่อียิปต์มีปรากฏการณ์ของแสงยามเช้าสาดส่องไปในวิหารเช่นกันที่อาบูซิมเบล (Abu Simbel)
มหาวิหารอาบูซิมเบลสร้างโดยฟาโรห์รามเสสที่ 2 (Ramses II) เมื่อ 1270 ปีก่อนคริสตกาล เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะของอียิปต์ที่มีต่อนูเบีย (Nubia) และแสดงพลังอำนาจของอียิปต์ให้เพื่อนบ้านเห็น จะได้ไม่กล้าเข้ามารุกรานอียิปต์อีก อาบูซิมเบลถูกสร้างขึ้นด้วยการเจาะภูเขาหินทั้งลูก วิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก วิหารหลังใหญ่สร้างขึ้นสำหรับฟาโรห์รามเสสที่ 2 เอง หลังเล็กอุทิศแก่เนเฟอร์ตารี (Nefertari) มเหสีของพระองค์ อาบูซิมเบลได้ชื่อมาจากเด็กชายชาวพื้นเมืองคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้นำทางและช่วยให้นักสำรวจชาวตะวันตกค้นพบกับวิหารที่ถูกฝังกลบอยู่ในทรายเกือบทั้งหมดมานานนับพันปี
ในปี 1964 มหาวิหารอาบูซิมเบลถูกเคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิม เนื่องจากมีการสร้างเขื่อนอัสวาน (Aswan) ทำให้ระดับน้ำในทะเลสาบนัสเซอร์ (Nasser) สูงขึ้นจนวิหารจะต้องจมอยู่ใต้น้ำแน่ องค์การยูเนสโก (UNESCO) จึงจัดการให้ตัดวิหารออกเป็นส่วน ๆ กว่าพันชิ้น แต่ละส่วนหนักราว 20 ตัน แล้วมาประกอบเป็นวิหารดังเดิม ในตำแหน่งที่สูงกว่าเดิม 65 เมตร และห่างจากตำแหน่งเดิมราว 200 เมตร โดยสร้างเป็นภูเขาเทียมรูปโดม แล้วนำชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบกันเหมือนเดิมแบบไร้รอยต่อ โครงการนี้ใช้งบประมาณไปกว่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่สิ่งที่ได้มานับว่าคุ้มค่าและปรากฏการณ์ของแสงที่เกิดขึ้นที่อาบูซิมเบลปีละ 2 ครั้งนั้นยังคงอยู่ ภาพประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญและรายละเอียดในการเคลื่อนย้ายวิหารจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในอัสวาน เมืองต้นทางของการไปเที่ยวชมอาบูซิมเบล
ผมออกเดินทางจากโรงแรมราวเที่ยงคืนสำหรับการไปชมแสงแรกที่อาบูซิมเบลในเช้าของวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันหนึ่งที่จะเกิดปรากฏการณ์ของแสงที่มหัศจรรย์ ตามปกติแล้วการเดินทางไปเที่ยวอาบูซิมเบลจะเริ่มออกเดินทางกันตี 3 ใช้เวลาเดินทางราว 3 ชั่วโมงกับระยะทาง 280 กิโลเมตร ไปถึงอาบูซิมเบลช่วงเช้ามืด แต่เนื่องจากเป็นวันพิเศษ มีนักท่องเที่ยวมากกว่าปกติ เราจึงต้องยอมอดนอน ออกเดินทางเร็วกว่าปกติ รถตระเวนรับนักท่องเที่ยวตามโรงแรม แล้วไปจอดเรียงกันเป็นขบวน ก่อนที่รถตำรวจจะเปิดไซเรนนำขบวนไปอาบูซิมเบล
แสงของวันใหม่ยังไม่พ้นขอบฟ้า เมื่อผมซื้อตั๋วแล้วเดินเข้าไปด้านใน ภาพแรกของอาบูซิมเบลที่ได้เห็นหลังเดินเลี้ยวไปทางวิหาร เป็นใบหน้าด้านข้างของรูปสลักฟาโรห์รามเสสที่ 2 องค์สูงใหญ่ นั่งบนบัลลังก์ด้านหน้าทางเข้าวิหาร รูปสลักนี้มี 4 รูป เรียงอยู่ด้านซ้ายและขวาฝั่งละ 2 แต่ส่วนบนแตกหักเสียหายไปรูปหนึ่ง รูปสลักหันหน้าไปทางแม่น้ำ บอกเป็นนัยว่าองค์ฟาโรห์คอยปกป้องดูแลแผ่นดิน ผืนน้ำ และประชาชนของพระองค์อยู่ ด้านล่างมีรูปสลักขนาดเล็กกว่า เป็นรูปพระมารดา ราชินี และโอรสธิดาของรามเสสที่ 2
ภายในวิหารมีเสาหินทรงสี่เหลี่ยม 8 ต้นประดับด้วยรูปสลักของรามเสสที่ 2 ในชุดเครื่องทรงแบบเทพ ภาพบนผนังเป็นเรื่องราวชัยชนะของฟาโรห์ในการทำสงคราม ภาพที่สำคัญที่สุดคือภาพของรามเสสที่ 2 บนรถม้ากำลังยิงธนูเข้าใส่ศัตรู
ห้องบูชาด้านในสุดของวิหารใหญ่มีรูปสลักเทพ 4 องค์ประทับนั่งจากขวาไปซ้ายคือ
1) เทพรา-ฮอรัคกี (Ra-Harakhty) สุริยเทพประจำเมืองเฮลิโอโปลิส (Heliopolis) ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงเก่า
2) ฟาโรห์รามเสสที่ 2 ในฐานะองค์เทพสมมติเทพ
3) อามุน (Amun) เทพประจำเมืองหลวงทีบส์ (Thebes) หรือลักซอร์ (Luxor)ในปัจจุบัน และ
4) เทพพทาห์ (Ptah) เทพประจำเมืองเมมฟิส (Memphis) อดีตเมืองหลวงเก่า
แสงแรกของวันที่ 22 กุมภาพันธ์และ 22 ตุลาคมของทุกปี จะส่องผ่านประตูของวิหารตรงมายังเทวรูปเหล่านี้ โดยเริ่มจากขวาไปซ้าย แต่จะหยุดอยู่แค่องค์ที่ 3 เท่านั้น ไม่ส่องไปยังเทพพทาห์ เนื่องจากท่านเป็นเทพแห่งความมืด
วันนี้จึงมีนักท่องเที่ยวมากกว่าปกติ ผู้คนมากมายขนาดที่ต้องเบียดเสียดกันอยู่หน้าประตูทางเข้า แต่มีทหารยืนกันแนวทางเข้าวิหารไว้เพื่อไม่ให้ผู้คนบดบังแสงแรกที่จะสาดส่องเข้าไปภายในวิหาร มีการตั้งกล้องถ่ายทอดออกมาให้ดูผ่านหน้าจอด้านนอก และยังมีหนุ่มสาวชาวอียิปต์ในชุดหลากสีหลายกลุ่มมาเต้นรำอยู่ด้านหน้าวิหาร เพื่อเฉลิมฉลองในวันพิเศษนี้ด้วย
กล่าวกันว่าวันที่ 22 กุมภาพันธ์นั้นตรงกับวันประสูติ และ 22 ตุลาคมเป็นวันขึ้นครองราชย์ของฟาโรห์รามเสสที่ 2 บ้างก็ว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวของอียิปต์ยุคโบราณในแต่ละปี
ผมถอดใจจากปรากฏการณ์ของแสงแรกจากผู้คนที่แน่นขนัด หันไปชื่นชมความงามของทะเลสาบและเข้าชมวิหารหลังเล็กแทน ด้านหน้าของวิหารเล็กเป็นรูปประทับยืนของรามเสสที่ 2 และราชินีเนเฟอร์ตารีสูงราว 10 เมตร ยืนเคียงคู่ในระดับเดียวกัน โดยเป็นรูปองค์ฟาโรห์ 4 รูปและราชินี 2 รูป สลับกัน ซึ่งเป็นการให้เกียรติราชินีเนเฟอร์ตารีมาก เนื่องจากจะพบที่วิหารนี้เพียงแห่งเดียวที่รูปสลักของราชินีถูกสร้างให้อยู่สูงเทียบเท่าฟาโรห์ แสดงว่าฟาโรห์รามเสสที่ 2 ทรงรักราชินีพระองค์นี้มาก ภายในยังมีรูปสลักราชินีเคียงคู่รามเสสที่ 2 ในขณะที่เข้าเฝ้าองค์เทพเจ้า เสาภายในวิหารนี้หัวเสาสลักเป็นรูปพระพักตร์ของเทพีฮาธอร์ (Hathor) เนื่องจากวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ราชินีเนเฟอร์ตารีใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพีฮาธอร์ เทพแห่งความรัก อาจกล่าวได้ว่าวิหารหลังนี้เป็นอนุสรณ์แห่งความรักของฟาโรห์รามเสสที่ 2 และราชินีเนเฟอร์ตารีที่มีต่อกันและถูกเล่าขานต่อมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อผู้คนที่หน้าวิหารใหญ่บางตา ผมจึงมีโอกาสเดินเข้าไปชมในห้องบูชาที่มีรูปสลักเทพ 4 องค์ประทับนั่งเรียงกันอยู่ ความรู้สึกที่ผมสัมผัสด้วยสายตาในขณะนั้นยังคงเห็นเทพ 3 องค์อยู่ในความสว่างและเทพพทาห์อยู่ในความมืด เป็นความมหัศจรรย์ของแสงแห่งอาบูซิมเบลที่มีมานับพันปีตั้งแต่แรกสร้างวิหารแห่งนี้
มหัศจรรย์ของแสงแห่งอาบูซิมเบล
มหาวิหารอาบูซิมเบลสร้างโดยฟาโรห์รามเสสที่ 2 (Ramses II) เมื่อ 1270 ปีก่อนคริสตกาล เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะของอียิปต์ที่มีต่อนูเบีย (Nubia) และแสดงพลังอำนาจของอียิปต์ให้เพื่อนบ้านเห็น จะได้ไม่กล้าเข้ามารุกรานอียิปต์อีก อาบูซิมเบลถูกสร้างขึ้นด้วยการเจาะภูเขาหินทั้งลูก วิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก วิหารหลังใหญ่สร้างขึ้นสำหรับฟาโรห์รามเสสที่ 2 เอง หลังเล็กอุทิศแก่เนเฟอร์ตารี (Nefertari) มเหสีของพระองค์ อาบูซิมเบลได้ชื่อมาจากเด็กชายชาวพื้นเมืองคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้นำทางและช่วยให้นักสำรวจชาวตะวันตกค้นพบกับวิหารที่ถูกฝังกลบอยู่ในทรายเกือบทั้งหมดมานานนับพันปี
ในปี 1964 มหาวิหารอาบูซิมเบลถูกเคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิม เนื่องจากมีการสร้างเขื่อนอัสวาน (Aswan) ทำให้ระดับน้ำในทะเลสาบนัสเซอร์ (Nasser) สูงขึ้นจนวิหารจะต้องจมอยู่ใต้น้ำแน่ องค์การยูเนสโก (UNESCO) จึงจัดการให้ตัดวิหารออกเป็นส่วน ๆ กว่าพันชิ้น แต่ละส่วนหนักราว 20 ตัน แล้วมาประกอบเป็นวิหารดังเดิม ในตำแหน่งที่สูงกว่าเดิม 65 เมตร และห่างจากตำแหน่งเดิมราว 200 เมตร โดยสร้างเป็นภูเขาเทียมรูปโดม แล้วนำชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบกันเหมือนเดิมแบบไร้รอยต่อ โครงการนี้ใช้งบประมาณไปกว่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่สิ่งที่ได้มานับว่าคุ้มค่าและปรากฏการณ์ของแสงที่เกิดขึ้นที่อาบูซิมเบลปีละ 2 ครั้งนั้นยังคงอยู่ ภาพประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญและรายละเอียดในการเคลื่อนย้ายวิหารจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในอัสวาน เมืองต้นทางของการไปเที่ยวชมอาบูซิมเบล
ผมออกเดินทางจากโรงแรมราวเที่ยงคืนสำหรับการไปชมแสงแรกที่อาบูซิมเบลในเช้าของวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันหนึ่งที่จะเกิดปรากฏการณ์ของแสงที่มหัศจรรย์ ตามปกติแล้วการเดินทางไปเที่ยวอาบูซิมเบลจะเริ่มออกเดินทางกันตี 3 ใช้เวลาเดินทางราว 3 ชั่วโมงกับระยะทาง 280 กิโลเมตร ไปถึงอาบูซิมเบลช่วงเช้ามืด แต่เนื่องจากเป็นวันพิเศษ มีนักท่องเที่ยวมากกว่าปกติ เราจึงต้องยอมอดนอน ออกเดินทางเร็วกว่าปกติ รถตระเวนรับนักท่องเที่ยวตามโรงแรม แล้วไปจอดเรียงกันเป็นขบวน ก่อนที่รถตำรวจจะเปิดไซเรนนำขบวนไปอาบูซิมเบล
แสงของวันใหม่ยังไม่พ้นขอบฟ้า เมื่อผมซื้อตั๋วแล้วเดินเข้าไปด้านใน ภาพแรกของอาบูซิมเบลที่ได้เห็นหลังเดินเลี้ยวไปทางวิหาร เป็นใบหน้าด้านข้างของรูปสลักฟาโรห์รามเสสที่ 2 องค์สูงใหญ่ นั่งบนบัลลังก์ด้านหน้าทางเข้าวิหาร รูปสลักนี้มี 4 รูป เรียงอยู่ด้านซ้ายและขวาฝั่งละ 2 แต่ส่วนบนแตกหักเสียหายไปรูปหนึ่ง รูปสลักหันหน้าไปทางแม่น้ำ บอกเป็นนัยว่าองค์ฟาโรห์คอยปกป้องดูแลแผ่นดิน ผืนน้ำ และประชาชนของพระองค์อยู่ ด้านล่างมีรูปสลักขนาดเล็กกว่า เป็นรูปพระมารดา ราชินี และโอรสธิดาของรามเสสที่ 2
ภายในวิหารมีเสาหินทรงสี่เหลี่ยม 8 ต้นประดับด้วยรูปสลักของรามเสสที่ 2 ในชุดเครื่องทรงแบบเทพ ภาพบนผนังเป็นเรื่องราวชัยชนะของฟาโรห์ในการทำสงคราม ภาพที่สำคัญที่สุดคือภาพของรามเสสที่ 2 บนรถม้ากำลังยิงธนูเข้าใส่ศัตรู
ห้องบูชาด้านในสุดของวิหารใหญ่มีรูปสลักเทพ 4 องค์ประทับนั่งจากขวาไปซ้ายคือ
1) เทพรา-ฮอรัคกี (Ra-Harakhty) สุริยเทพประจำเมืองเฮลิโอโปลิส (Heliopolis) ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงเก่า
2) ฟาโรห์รามเสสที่ 2 ในฐานะองค์เทพสมมติเทพ
3) อามุน (Amun) เทพประจำเมืองหลวงทีบส์ (Thebes) หรือลักซอร์ (Luxor)ในปัจจุบัน และ
4) เทพพทาห์ (Ptah) เทพประจำเมืองเมมฟิส (Memphis) อดีตเมืองหลวงเก่า
แสงแรกของวันที่ 22 กุมภาพันธ์และ 22 ตุลาคมของทุกปี จะส่องผ่านประตูของวิหารตรงมายังเทวรูปเหล่านี้ โดยเริ่มจากขวาไปซ้าย แต่จะหยุดอยู่แค่องค์ที่ 3 เท่านั้น ไม่ส่องไปยังเทพพทาห์ เนื่องจากท่านเป็นเทพแห่งความมืด
วันนี้จึงมีนักท่องเที่ยวมากกว่าปกติ ผู้คนมากมายขนาดที่ต้องเบียดเสียดกันอยู่หน้าประตูทางเข้า แต่มีทหารยืนกันแนวทางเข้าวิหารไว้เพื่อไม่ให้ผู้คนบดบังแสงแรกที่จะสาดส่องเข้าไปภายในวิหาร มีการตั้งกล้องถ่ายทอดออกมาให้ดูผ่านหน้าจอด้านนอก และยังมีหนุ่มสาวชาวอียิปต์ในชุดหลากสีหลายกลุ่มมาเต้นรำอยู่ด้านหน้าวิหาร เพื่อเฉลิมฉลองในวันพิเศษนี้ด้วย
กล่าวกันว่าวันที่ 22 กุมภาพันธ์นั้นตรงกับวันประสูติ และ 22 ตุลาคมเป็นวันขึ้นครองราชย์ของฟาโรห์รามเสสที่ 2 บ้างก็ว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวของอียิปต์ยุคโบราณในแต่ละปี
ผมถอดใจจากปรากฏการณ์ของแสงแรกจากผู้คนที่แน่นขนัด หันไปชื่นชมความงามของทะเลสาบและเข้าชมวิหารหลังเล็กแทน ด้านหน้าของวิหารเล็กเป็นรูปประทับยืนของรามเสสที่ 2 และราชินีเนเฟอร์ตารีสูงราว 10 เมตร ยืนเคียงคู่ในระดับเดียวกัน โดยเป็นรูปองค์ฟาโรห์ 4 รูปและราชินี 2 รูป สลับกัน ซึ่งเป็นการให้เกียรติราชินีเนเฟอร์ตารีมาก เนื่องจากจะพบที่วิหารนี้เพียงแห่งเดียวที่รูปสลักของราชินีถูกสร้างให้อยู่สูงเทียบเท่าฟาโรห์ แสดงว่าฟาโรห์รามเสสที่ 2 ทรงรักราชินีพระองค์นี้มาก ภายในยังมีรูปสลักราชินีเคียงคู่รามเสสที่ 2 ในขณะที่เข้าเฝ้าองค์เทพเจ้า เสาภายในวิหารนี้หัวเสาสลักเป็นรูปพระพักตร์ของเทพีฮาธอร์ (Hathor) เนื่องจากวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ราชินีเนเฟอร์ตารีใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพีฮาธอร์ เทพแห่งความรัก อาจกล่าวได้ว่าวิหารหลังนี้เป็นอนุสรณ์แห่งความรักของฟาโรห์รามเสสที่ 2 และราชินีเนเฟอร์ตารีที่มีต่อกันและถูกเล่าขานต่อมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อผู้คนที่หน้าวิหารใหญ่บางตา ผมจึงมีโอกาสเดินเข้าไปชมในห้องบูชาที่มีรูปสลักเทพ 4 องค์ประทับนั่งเรียงกันอยู่ ความรู้สึกที่ผมสัมผัสด้วยสายตาในขณะนั้นยังคงเห็นเทพ 3 องค์อยู่ในความสว่างและเทพพทาห์อยู่ในความมืด เป็นความมหัศจรรย์ของแสงแห่งอาบูซิมเบลที่มีมานับพันปีตั้งแต่แรกสร้างวิหารแห่งนี้