updated: 31 ต.ค. 2559 เวลา 20:30:34 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
จากปัญหาราคาข้าวตกต่ำลงอย่างรุนแรงในสถานการณ์นี้...มักจะเกิดคำถามที่หลายคนถามแล้วคุยเล่าตามมาว่าทำไมชาวนาไทยถึงยากจนทั้งที่ข้าวเป็นสินค้าส่งออกระดับโลกของประเทศมาเนิ่นนานรวมทั้งคนไทยเองก็บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักในประเทศ
แต่ปัญหาที่ทำให้ชาวนาไทยยังยากจนมีหนี้สินยังคงมีมาหลายทศวรรษ
คำตอบไม่ใช่เพียงสถานการณ์ "ราคาข้าว" ในตลาดโลกเท่านั้น แต่เมื่อมองย้อนในประเทศไทยเองเราจะเห็นโครงสร้างปัญหานี้จนยากจะสางปมหาจุดแก้
สถิติประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก - ข้อมูล ก.ย.2559
ปัญหาตั้งแต่การผลิตการลงทุนทำนา รายได้ การขายผลผลิต การบริโภค หนี้สิน ปัญหาไม่มีที่ดิน การลงทุนทางเครื่องจักร ค่าจ้างแรงงาน ค่าซื้อเมล็ดพันธุ์ (จากที่เคยเก็บเมล็ดพันธุ์ได้เอง) ค่าจ้างรถไถนา แรงงานหว่านข้าว ต้นทุน ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น ซึ่งทุกอย่างนำมาสู่ "หนี้สิน"
** "ความเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระแสความเปลี่ยนแปลงของระบบผลิต และระบบการค้าอาหารโลก ที่แผ่ขยายไปทั่วทุกภูมิภาคไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย การขยายตัวของทุนขนาดใหญ่ที่สร้างผลกำไร จากการควบคุมกลไกระบบการผลิต การแปรรูป การกระจายผลผลิต และการตลาด มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อนโยบายภาคการเกษตร ที่ผลักดันประเทศไทยให้กลายเป็นครัวโลก"
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา คือชาวนาไทย อยู่ในฟันเฟืองตำแหน่งใดของระบบการผลิตและการค้าอาหารโลกที่เป็นอยู่ หากทุนขนาดใหญ่ ทั้งทุนระดับชาติ และทุนข้ามชาติ คือผู้ที่สร้างผลกำไร เพราะเป็นผู้ควบคุมกลไกระบบการผลิต ทั้งปริมาณ และราคาปัจจัยการผลิต ควบคุมอุตสาหกรรมการแปรรูปข้าว และการส่งออกข้าวสู่ตลาดโฃก
ในขณะที่ชาวนาที่เป็นผู้ผลิตข้าว แบกรับความเสี่ยงจากการลงทุนการผลิต จากภัยธรรมชาติ โรคและแมลงระบาด ระบบนิเวศ และผืนดินที่เสื่อมความอุดมสมบูรณ์ลง แต่ไม่สามารถสร้างผลกำไรจากการผลิตได้ เพราะทำการผลิตภายใต้ระบบการค้าการลงทุน แต่ไม่สามารถควบคุมปริมาณและราคาของปัจจัยการผลิต ดังที่ต้องซื้อทั้งเมล็ดพันธุ์ เช่าที่น่า จ่ายค่าปุ๋ยเคมี่ ค่าสารเคมีการเกษตร ค่าจ้าง เครื่องจักรกล ค่าจ้างแรงงาน และสุดท้ายต้องตกเป็นเบี้ยล่างยอมจำนนให้โรงสีเป็นผู้กำหนดราคาผลผลิตข้าวที่มาจากการลงทุนและความเสี่ยงของตนเอง
ภายใต้ระบบการค้าข้าวที่เป็นอยู่ชาวนาจึงเป็นเพียงฟันเฟืองผู้ใช้แรงงานในภาคการผลิตที่เป็นผู้แบกรับความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อป้อนวัตถุดิบข้าวให้กับอุตสาหกรรมโรงสีและอุตสาหกรรมการค้าข้าวระดับโลกเท่านั้นดังที่มีคำกล่าวที่ว่า ชาวนาจะยังไม่ตาย และจะไม่หายไปจากสังคมไทย เพราะชาวนายังจำเป็นสำหรับการผลิตอาหารและการค้าข้าวระดับโลก ในฐานะผู้ใช้แรงงาน และผู้แบกรับความเสี่ยงจากการลงทุน (**ที่มา หนังสือชาวนาชีวิตปริ่มน้ำ โดย กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน)
เมื่อมาดูต้นทุนการทำนา ในจำนวนค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนด้านนี้ "ค่าเช่าที่ดิน" เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุด และข้าวนับวันมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในแต่ละปี
จากการประมวลพบว่า ต้นทุนทำนาต่อไร่ เฉลี่ยมีตั้งแต่อยู่ที่ 6,000-8,000 บาท ต่อไร่
(หากไม่มีต้นทุนค่าเช่าที่นาก็จะลดลงไปได้อีก)
เรามาดูต้นทุนการทำนาต่อรอบการผลิตว่า จะทำนาแต่ละทีมีปัจจัยการผลิตอะไรบ้างอย่างน้อยๆก็ 13 ปัจจัยนี้
1.ค่าเช่าที่ดิน
2.ค่าไถดะ (ครั้งที่1)
3.ค่าไถพรวน (ครั้งที่2)
4.ค่าเมล็ดพันธุ์
5.ค่าหว่านเมล็ด/ค่าจ้างปลูก
6.ค่าปุ๋ย
7.ค่าสารกำจัดศัตรูพืช
8.ค่าจ้างใส่ปุ๋ย
9.ค่าจ้างฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช
10.ค่าจ้างตัดข้าวดีด(ข้าวที่จัดอยู่ในหมวดวัชพืช)
11.ค่าเก็บเกี่ยว(รวมค่าขนส่งข้าวไปขาย)
12.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
13.ค่าขนผลผลิตไปขาย
รายงานและเรียบเรียงโดยประชาชาติฯออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1477902058
กว่าจะมาเป็น "ข้าว" เรามาดูต้นทุนการ"ทำนา" และ "ชาวนา"ผู้แบกรับความเสี่ยงจากการลงทุน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
จากปัญหาราคาข้าวตกต่ำลงอย่างรุนแรงในสถานการณ์นี้...มักจะเกิดคำถามที่หลายคนถามแล้วคุยเล่าตามมาว่าทำไมชาวนาไทยถึงยากจนทั้งที่ข้าวเป็นสินค้าส่งออกระดับโลกของประเทศมาเนิ่นนานรวมทั้งคนไทยเองก็บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักในประเทศ
แต่ปัญหาที่ทำให้ชาวนาไทยยังยากจนมีหนี้สินยังคงมีมาหลายทศวรรษ
คำตอบไม่ใช่เพียงสถานการณ์ "ราคาข้าว" ในตลาดโลกเท่านั้น แต่เมื่อมองย้อนในประเทศไทยเองเราจะเห็นโครงสร้างปัญหานี้จนยากจะสางปมหาจุดแก้
สถิติประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก - ข้อมูล ก.ย.2559
ปัญหาตั้งแต่การผลิตการลงทุนทำนา รายได้ การขายผลผลิต การบริโภค หนี้สิน ปัญหาไม่มีที่ดิน การลงทุนทางเครื่องจักร ค่าจ้างแรงงาน ค่าซื้อเมล็ดพันธุ์ (จากที่เคยเก็บเมล็ดพันธุ์ได้เอง) ค่าจ้างรถไถนา แรงงานหว่านข้าว ต้นทุน ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น ซึ่งทุกอย่างนำมาสู่ "หนี้สิน"
** "ความเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระแสความเปลี่ยนแปลงของระบบผลิต และระบบการค้าอาหารโลก ที่แผ่ขยายไปทั่วทุกภูมิภาคไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย การขยายตัวของทุนขนาดใหญ่ที่สร้างผลกำไร จากการควบคุมกลไกระบบการผลิต การแปรรูป การกระจายผลผลิต และการตลาด มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อนโยบายภาคการเกษตร ที่ผลักดันประเทศไทยให้กลายเป็นครัวโลก"
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา คือชาวนาไทย อยู่ในฟันเฟืองตำแหน่งใดของระบบการผลิตและการค้าอาหารโลกที่เป็นอยู่ หากทุนขนาดใหญ่ ทั้งทุนระดับชาติ และทุนข้ามชาติ คือผู้ที่สร้างผลกำไร เพราะเป็นผู้ควบคุมกลไกระบบการผลิต ทั้งปริมาณ และราคาปัจจัยการผลิต ควบคุมอุตสาหกรรมการแปรรูปข้าว และการส่งออกข้าวสู่ตลาดโฃก
ในขณะที่ชาวนาที่เป็นผู้ผลิตข้าว แบกรับความเสี่ยงจากการลงทุนการผลิต จากภัยธรรมชาติ โรคและแมลงระบาด ระบบนิเวศ และผืนดินที่เสื่อมความอุดมสมบูรณ์ลง แต่ไม่สามารถสร้างผลกำไรจากการผลิตได้ เพราะทำการผลิตภายใต้ระบบการค้าการลงทุน แต่ไม่สามารถควบคุมปริมาณและราคาของปัจจัยการผลิต ดังที่ต้องซื้อทั้งเมล็ดพันธุ์ เช่าที่น่า จ่ายค่าปุ๋ยเคมี่ ค่าสารเคมีการเกษตร ค่าจ้าง เครื่องจักรกล ค่าจ้างแรงงาน และสุดท้ายต้องตกเป็นเบี้ยล่างยอมจำนนให้โรงสีเป็นผู้กำหนดราคาผลผลิตข้าวที่มาจากการลงทุนและความเสี่ยงของตนเอง
ภายใต้ระบบการค้าข้าวที่เป็นอยู่ชาวนาจึงเป็นเพียงฟันเฟืองผู้ใช้แรงงานในภาคการผลิตที่เป็นผู้แบกรับความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อป้อนวัตถุดิบข้าวให้กับอุตสาหกรรมโรงสีและอุตสาหกรรมการค้าข้าวระดับโลกเท่านั้นดังที่มีคำกล่าวที่ว่า ชาวนาจะยังไม่ตาย และจะไม่หายไปจากสังคมไทย เพราะชาวนายังจำเป็นสำหรับการผลิตอาหารและการค้าข้าวระดับโลก ในฐานะผู้ใช้แรงงาน และผู้แบกรับความเสี่ยงจากการลงทุน (**ที่มา หนังสือชาวนาชีวิตปริ่มน้ำ โดย กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน)
เมื่อมาดูต้นทุนการทำนา ในจำนวนค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนด้านนี้ "ค่าเช่าที่ดิน" เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุด และข้าวนับวันมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในแต่ละปี
จากการประมวลพบว่า ต้นทุนทำนาต่อไร่ เฉลี่ยมีตั้งแต่อยู่ที่ 6,000-8,000 บาท ต่อไร่
(หากไม่มีต้นทุนค่าเช่าที่นาก็จะลดลงไปได้อีก)
เรามาดูต้นทุนการทำนาต่อรอบการผลิตว่า จะทำนาแต่ละทีมีปัจจัยการผลิตอะไรบ้างอย่างน้อยๆก็ 13 ปัจจัยนี้
1.ค่าเช่าที่ดิน
2.ค่าไถดะ (ครั้งที่1)
3.ค่าไถพรวน (ครั้งที่2)
4.ค่าเมล็ดพันธุ์
5.ค่าหว่านเมล็ด/ค่าจ้างปลูก
6.ค่าปุ๋ย
7.ค่าสารกำจัดศัตรูพืช
8.ค่าจ้างใส่ปุ๋ย
9.ค่าจ้างฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช
10.ค่าจ้างตัดข้าวดีด(ข้าวที่จัดอยู่ในหมวดวัชพืช)
11.ค่าเก็บเกี่ยว(รวมค่าขนส่งข้าวไปขาย)
12.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
13.ค่าขนผลผลิตไปขาย
รายงานและเรียบเรียงโดยประชาชาติฯออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1477902058