[พี่พีทเล่าเรื่อง]: ข้อมูลหลักสูตร Railway Engineering จากทั่วโลก สาขาแห่งยุทธศาสตร์ประเทศไทย

สวัสดีครับ กลับมาพบกลับกระทู้ [พี่พีทเล่าเรื่อง] กันอีกครั้งนะครับ วันนี้จะขอมาเล่าเรื่องที่มีสาระหน่อย 555 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ เราก็คงจะได้ยินเรื่องของโครงการพัฒนาการขนส่งระบบรางกันมาบ้าง เรื่องที่จะเล่าวันนี้ก็จะเกี่ยวกับหลักสูตร Railway Engineering หรือ วิศวกรรมรถไฟนะครับ เพราะผมเห็นว่าในช่วง 2-3 ปีมานี้ รัฐบาลได้จัดสรรทุนกระทรวงวิทย์ที่อยู่ในส่วนของเครือข่ายระบบรางมากขึ้นทุกปีๆ ปีล่าสุดนี่ก็เป็นทุนที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาระบบรางถึงราวๆ 50 ทุน  จากทั้งหมด 160 กว่าทุน หรือราวๆ 1 ใน 3 เลยทีเดียว สงสัยเอาจริงนะ 555 ซึ่งผมคิดว่าเป็นปรากฎการที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ตัวผมเองก็มีประสบการณ์มาพอสมควร เพราะอยู่ในวงการมาทั้งในด้านการทำงานและการเรียน จึงอยากจะเอาข้อมูลพวกเนื้อมาแชร์ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน คิดว่าเนื้อหาวันนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อใครที่สนใจจะเรียนต่อด้านนี้ หรือ คนที่ได้ทุนไป หรือคนที่จะสมัครทุนในปีต่อๆไป (ไม่รู้จะมีทุนให้เยอะอีกมั้ยในปีหน้า)  อย่างที่ทราบกันไปแล้วนะครับว่า ประเทศเรากำลังเร่งพัฒนาเรื่องการขนส่งระบบราง ถึงขนาดที่เรียกกันว่าเป็น ยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการคมนาคมเลยก็ว่าได้ แม้คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการก็ยังสามารถรับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลง ที่เด่นชัดที่สุดที่เป็นรูปธรรมก็เห็นจะเป็น พวกการก่อสร้างรถไฟฟ้าและส่วนต่อขยายต่างๆ (เพราะรถติดกันระงม) รวมไปถึง บริเวณไซต์งานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้จากทางด่วน รู้สึกจะเป็นการก่อสร้างรถไฟสายที่แดงบริเวณบางซื่อ

แผนการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล


แผนพัฒนาทั่วประเทศ



วิศวกรรมรถไฟเป็นสาขาที่ค่อนข้างลับแลนะครับ 555 บุคลากรค่อนข้างขาดแคลน ซึ่งไม่ได้ขาดแคลนแต่ในเมืองไทยนะครับ ขาดแคลนทั้งโลก!!! ในเมืองไทยตอนนี้น่าจะมีบริษัทที่ทำด้านนี้โดยตรง(ออกแบบ,ก่อสร้าง, และให้บริการเดินรถ) น่าจะประมาณ10 กว่าบริษัทหน่อยๆ

เมื่อเร็วๆนี้ผมได้คุยกับเพื่อนที่เมืองไทยที่ทำงานอยู่บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนึง ยืนยันว่าโปรเจคขึ้นเยอะมากจริงๆช่วงนี้


การจะก่อสร้างโครงการรถไฟโครงการหนึ่งนี่ต้องใช้วิศวกรรมหลายสาขามากๆนะครับ แต่ผมขอพูดเพราะในส่วนที่เกี่ยวกับรถไฟตรงๆ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม


ส่วนของตัวรถไฟ จะอยู่ในส่วนของ วิศวกรรมเครื่องกล
ส่วนของการสร้างราง จะอยู่ในส่วนของ วิศวกรรมโยธา (เป็นส่วนที่มีเม็ดเงินลงไปเยอะที่สุด)
ส่วนของระบบควบคุมการจราจร จะอยู่ในส่วนของ วิศวกรรมไฟฟ้า (แต่ในปัจจุบันตัวรถไฟมีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งระบบควบคุมการจราจรส่วนใหญ่ก็อยู่ในตัวรถไฟด้วย ซึ่งเราเรียกว่า onboard)


ที่ผมเห็นในทุนกระทรวงวิทย์ จะมีสาขาอื่นอีกที่ไม่ใช่ด้านวิศวกรรมเพียวๆ เช่น การบริหารจัดการระบบราง มีด้านวัสดุศาสตร์ด้วยมั้งถ้าจำไม่ผิด ก็เดียวผมจะเล่าหลักสูตรของที่ต่างๆที่ผมรู้ข้อมูลมาให้ฟังแล้วเพื่อนๆก็ดูต่อจากตรงนี้ว่า ของคุณตรงกับอันไหนหรือต้นสังกัดคุณต้องการอันไหนหรือคุณเองอยากเรียนอันไหน(ถ้าไปเรียนเอง)


ขอเริ่มที่ประเทศไทยก่อนก็แล้วกันนะครับ


พระเจ้าเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - หลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง
เป็นหลักสูตร ป.ตรี 4 ปี http://www.reg.kmitl.ac.th/curriculum/file/bachelor/01/rail_c2556.pdf



มหาลัยเกษตร์ศาสตร์
เปิดเป็นรายวิชาภายใต้ภาควิชาเครื่องกล
http://www.ku.ac.th/web2012/index.php?c=adms&m=seltab_eng&time=20120721163723&page=News%20and%20Event&page1=Education%20News&ip=10&load=tab&lang=thai&id=40


มหาลัยหอการค้าไทย - หลักสูตรวิศวกรรมการจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง
เป็นหลักสูตร ป.ตรี 4 ปี
http://engineer.utcc.ac.th/?p=department&of=rail

มหาลัยรังสิต - (เตรียมเปิด)วิศวกรรมรถไฟฟ้าระบบราง
เป็นหลักสูตร  ป.ตรี 4 ปี (ไม่รู้เปิดยัง)
http://www.jr-rsu.net/article/1355


เท่าที่ผมทราบก็มีเท่านี้ ใครมีข้อมูลเพิ่มตัว รบกวนนะครับ เสริมให้ด้วย จะได้เป็นข้อมูลให้น้องๆเพื่อนๆ
เรื่องรายละเอียดหลักสูตรนี้ไม่สามารถลงรายละเอียดได้จริงๆ เพราะไม่ได้เรียนนะครับ 555


ที่นี่มาดูของต่างประเทศบ้างนะครับ


ประเทศอเมริกา


หลักสูตรแรกคือ Railroad Engineering ที่ University of Illinois at Urbana-Champaign (UIUC)


ก็ที่นี่อาจจะพูดได้เยอะหน่อยเพราะผมจบจากที่นี่


Railroad Engineering อยู่ภายใต้กลุ่มของ Transportation Engineering ซึ่งอยู่ใต้ภาควิชาโยธาอีกทีนึง หลักสูตรนี้ถูกดูแลโดย Rail Transportation and Engineering Center (RailTEC) http://railtec.illinois.edu/index.php


เนื่องด้วยอยู่ภายใต้ภาควิชาโยธา Railroad Engineering ของที่นี่จึงเน้นไปทางด้านการออกแบบตัวรางซะเป็นส่วนใหญ่ (Track Design) รายที่เกี่ยวกับรถไฟวิชาที่เปิดสอนก็จะมี


1. Railway Transportation Engineering
2. Railroad Track Engineering
3. Railway Signal & Control
4. Railroad Project Design & Construction
5. High-Speed Rail Engineering
6. High-Speed Rail Construction Management
7. High-Speed Rail Planning
8. Transportation Safety and Risk
9. Advanced Track Engineering
10. Railway Terminal Design and Operation
11. Shared Rail Corridor Engineering (ตัวนี้คงเลิกสอนแล้วมั้ง ไม่เห็นเปิดเลย)


มีคอร์สที่เป็นความร่วมมือกับ KTH ซึ่งเป็นมหาลัยในสวีเดนที่ดังเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านตัวรถไฟด้วย


12. Rail Vehicle Technology
13. Rail Vehicle Dynamic
14. Electric Traction


ยังมีคอร์สที่อื่นๆที่เกี่ยวกับ Transportation รวมๆ เช่น Public Transportation System และ Transportation Soil


ที่นี่เรามาดูในกลุ่มงานวิจัยกันบางนะครับ เพราะถ้าใครเรียน ป. เอก ต้องมีงานวิจัยที่เราเข้าไปสังกัดใช่มั้ย


กลุ่มที่ 1 : Infrastructure


งานวิจัยในกลุ่มนี้เน้นเรื่องโครงสร้างรางครับ ไม่ใช่พวกสถานีอะไรนะ เน้นโครงสร้างรางตั้งแต่ข้างล่างเลย Ballast, Sub-ballast, Track, Concrete Crossties (ไม้หมอน)
กลุ่มนี้ดูแลโดย Riley Edwards (อีเมลไปสอบถามได้)


กลุ่มที่ 2 : System


กลุ่มนี้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ Capacity ในระบบการเดินรถ เช่น ทำยังไงให้ไม่มีการดีเลย์ ใส่ได้มาสุดกี่ขบวนในระบบ การวิเคราะห์การเพิ่มลูป (ภาษาเรียกอะไรไม่แน่ใจ รางลับหลีกมั้ง) รวมไปถึงเรื่องของ Energy Efficiency ด้วย
ดูแลโดย Tyler Dick


กลุ่มที่ 3 : Safety


กลุ่มนี้เน้นการวิเคราะห์ความปลอดภัยทุกๆด้าน เช่น การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของความเสียหายที่เกิดจากการชนกันหรือการตกรางของรถไฟบรรทุกน้ำมัน รวมๆก็คือ Risk Management  กลุ่มนี้คนที่ดูแล น่าจะออกไปแล้วตอนนี้ไม่รู้ใครดูแล


ส่วน Director ของโปรแกรมคือ Christopher P.L. Barkan ซึ่งแกจะไม่ค่อยตอบเมล เพราะฉะนั้นสนใจกลุ่มไหนก็อีเมลตรงหาคนดูแลได้เลย



หลักสูตรที่ 2 คือ Rail Transportation Engineering ที่ Michigan Technological University


ที่นี่มีโปรแกรมรถไฟใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก UIUC และเป็นคู่แข่งเบอร์ 1 (555)
ก็เข้าไปดูตามลิงค์นี้นะครับ ผมก็ไม่รู้อะไรมาก 555  http://www.rail.mtu.edu


หลักสูตรที่ 3 Railroad and Transit Engineering ที่ University of Delaware
ที่นี่เค้าไม่รับผม 555 http://www.ce.udel.edu/current/graduate_program/railroad.html



ประเทศอังกฤษ


University of Birmingham

ที่นี่มีหลักสูตรด้านวิศวกรรมรถไฟอยู่หลายหลักสูตรทีเดียว ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาลัยที่ค่อนข้างมีหลักสูตร Railway Engineering ที่ครอบคลุมที่สุดที่นึงในโลกเลยก็ว่าได้ ผมเองไม่ได้มีโอกาสเรียนที่นี่ และตอนที่จะสมัครเรียนต่อก็ศึกษาข้อมูลของที่นี่อยู่พอสมควร ก็จะขอสรุปให้ล่ะกันนะครับ (ถ้ามีใครที่เรียนอยู่ อย่างให้ช่วยเข้ามาแชร์ข้อมูลหน่อยนะครับ ว่าจริงๆแล้วเป็นยังไง)


มีทั้งหมด 3 หลักสูตรอยู่ภายใต้ภาควิชาโยธาอีกเช่นกัน แต่ผมคิดว่าเค้ามีงานวิจัยที่หลากหลายซึ่งครอบคลุมหลายด้านทั้งส่วนของ Operation and control system ด้วย ซึ่งจะไม่เหมือนทางฝั่งของอเมริกา


1. Railway System Integration MRes http://www.birmingham.ac.uk/postgraduate/courses/combined/civil-engineering/railway-systems-mres.aspx

ตัวนี้เท่าที่อ่านดูรู้สึกจะเน้นด้านการวิจัยที่มีความร่วมมือกับบริษัทในอุตสาหกรรมรถไฟมากหน่อย ผมเคยเห็นว่ามีการให้ทุนด้วยนะ 6,000 ปอนด์ ไม่รู้ตอนนี้ยังมีอยู่มั้ย


2. Railway Risk and Safety Management http://www.birmingham.ac.uk/postgraduate/courses/taught/civil-engineering/railway-risk-safety.aspx


3. Railway System Engineering and Integration http://www.birmingham.ac.uk/postgraduate/courses/taught/civil-engineering/railway-systems-engineering.aspx


ตัวที่ 2 กับ 3 นี้จะเป็นอารมณ์เน้น Coursework อาจจะมี Research project แต่ไม่เน้นการวิจัยเท่าตัวแรก ฉะนั้นคนที่จะต่อเอก อาจจะต้องมองดูที่หลักสูตรแรก

  
ที่ University of Birmingham เค้าก็มี Birmingham Centre for Railway Research and Education ด้วย ก็คงคล้าย RailTEC ของ UIUC ที่ดูแลเรื่องงานวิจัยต่าง
http://www.birmingham.ac.uk/research/activity/railway/index.aspx

นอกจากที่ Birmingham ก็จะมีที่ Newcastle
Newcastle University - MSc. in Rail and Logistic
http://www.ncl.ac.uk/newrail/education/msc.htm


ประเทศออสเตรเลีย


ผมไม่เจอที่เป็นหลักสูตร ป.โท ตรงๆ เจอแต่สถาบันวิจัย


Centre for Railway Engineering - CQUniversity
https://www.cqu.edu.au/research/organisations/centre-for-railway-engineering


Institute of Railway Technology - Monash University
https://platforms.monash.edu/irt/


ประเทศเยอรมัน


ผมไม่มีข้อมูลมากนัก เพียงแต่รู้ว่าระบบรถไฟที่นี่ทันสมัยมากเป็นอันดับต้นๆของโลก มากกว่าทั้ง อังกฤษและอเมริกาซะด้วยซ้ำ เพียงแต่อาจจะมีความยากลำบากในการใช้ภาษาอยู่บ้าง แต่หลักสูตรภาษาอังกฤษก็มีอยู่เยอะ ลองศึกษาต่อจากลิงค์นี้นะครับ http://www.ueeiv.eu/index.php?option=com_docman&view=download&category_slug=congress-vienna&alias=17-16-00-german-railway-engineering-education&Itemid=339&lang=de


อีกที่ในเยอรมัน
http://uacg.bg/?p=210&id=1029&m=24&l=2


หลักสูตรเกี่ยวกับรถไฟอื่นๆจากทั่วโลก
http://www.apta.com/mc/bmbg/previous/2012/materials/Documents/APTA-BMBG-Annual-Meeting-2012-Educational-Programs.pdf


สถาบันวิจัยด้านรถไฟทั่วโลก
http://www.rtri.or.jp/eng/links/03_railre_E.html


ครับนี่ก็เป็นข้อมูลทั้งหมดที่ผมมี ซึ่งได้มาจากการที่ผมค้นหาหลักสูตรต่างๆในช่วง 3 ปี ตอนที่เตรียมตัวไปเรียนต่อ


จริงๆแล้ว ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นก็เป็นอีกประเทศที่มีเทคโนโลยีด้านรถไฟที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะญี่ปุ่น อย่างที่เรารู้ๆกัน แต่ผมไม่มีข้อมูลของ 2 ประเทศนี้เลยจริงๆ ต้องขออภัยครับ
ใครที่มีข้อมูลเพิ่มเติมก็ช่วยคอมเม้นไว้นะครับ ให้ผู้ที่สนใจที่เข้ามาอ่านจะได้รู้ ถือว่าช่วยๆกัน


หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจนะครับ


พี่พีท

************************************************************************************
บทความเก่า

[บันทึกชีวิต]: เรื่องราวของเด็กโง่ภาษาอังกฤษที่วันนี้มาเป็นวิศวกรไทยในอเมริกา ตอนที่ 1 - ชีวิตวัยเด็ก http://ppantip.com/topic/35669585
[พี่พีทเล่าเรื่อง]: OPT สะพานทองของนักเรียนต่างชาติสู่การได้งานในอเมริกา http://ppantip.com/topic/35733401

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่