วิศวกรรม Robotic OR Mechatronics ตัวเลือกศึกษาปริญญาตรีและ ข้อมูลหลักสูตร

วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (FIBO) บางมด OR คณะวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ลาดกระบัง
ผมได้รวบรวมข้อมูลหลักสูตรวัตถุประสงค์ของ2คณะสาขานี้ ประกอบในการตัดสินใจเลือก

วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ -  วิชาการเรียนไม่กว้างขวางเท่าวิศวแมคคาทรอนิกส์ คณะนี้จะเจาะลึกด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จบออกไปสามารถเป็นนักวิจัยต่อยอด(พร้อมเรียนปริญญาโทควบคู่) หรือ วิศวกรควบคุมโรงงานที่ใช้ระบบอัตโนมัติ (ประเภทแขนกล อุตสาหกรรม)

คณะวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ - จบออกไปสามารถเป็นวิศวกรรมควบคุมโรงงานได้หลากหลายรูปแบบ เพราะเนื้อหาที่เรียน มีทั้ง อิเล็ก ไฟฟ้า เครื่องกล คอมพิวเตอร์ ควบคุม

ทั้งนี้การความรู้ที่ได้รับจากการเรียนเป็นแค่จุดเล็กๆและเป็นพื้นฐาน ในการทำงานต้องเรียนรู้ใหม่อีกมากมาย

2คณะนี้ คณะไหนน่าสนใจมากกว่ากัน และถ้าเป็นคุณ คุณอยากเลือกเรียนคณะไหน





สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2556  
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย  :  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ภาษาอังกฤษ  :  Bachelor of Engineering Program in Robotics and Automation Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย)  :  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ)          
ชื่อย่อ (ไทย)  :  วศ.บ. (วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ)

ปรัชญา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เป็นหลักสูตรที่มีความเป็นสหวิทยาการ ซึ่งผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล และคอมพิวเตอร์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่ดี มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติงานได้จริง มีความรู้ ความเข้าใจในพื้นฐานวิชาชีพ สามารถคิด วิเคราะห์ จัดการกับปัญหาได้ สามารถทำงานเป็นทีมที่ใช้ความรู้ข้ามสาขาวิชาได้ สามารถสร้างนวัตกรรมทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมทั้งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ด้านการศึกษา ความปลอดภัย การแพทย์ ความบันเทิง ซึ่งเป็นส่วนเสริมสร้างความสามารถทางด้านการแข่งขันและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาในเชิงกระบวนการผลิตและการสร้างนวัตกรรม
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมในการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อทำวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติระดับสูงต่อไป และสามารถเป็นผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติได้
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ที่ได้วิจัยและพัฒนาขึ้นได้ และสามารถทำงานเป็นทีม เพื่อนำความรู้ทางด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย

รายวิชา ปี1
GEN 101 Physical Edu.
LNG 101 General English
MTH 101 Math I
PHY 101 General Physics Eng. I
PHY 191 General Physics Lab I
FRA 141 Computer Programming I
FRA 161 Robotics Exploration
GEN 111 Man and Ethics of Living
Gen 121 Learning and Prob. Solving Skills
MTH 102 Math II
FRA 142 Computer Programming II
FRA 163 Robotics Machine Shop
FRA 121 Electronics Circuits
FRA 162 Robotics and Automation Lab I

ปี2
LNG 101 English Skills and Strategies
MTH 201 Math III
FRA 241 Software Dev.
FRA 231 Statics and Dynamics
FRA 221 Digital Electronics
FRA 222 Ind. Sensors and Actuators
FRA 261 Robotics and Automation Lab II
GEN 231 Miracle of Thinking
GEN 241 Beauty of Life
STA 302 Statistics for Engineers
FRA 232 Robot Structure Design I
FRA 223 Exploration in Signals and System
FRA 262 Inventor Studio

ปี3
GEN xxx Elective I
LNG 103 Academic English
FRA 331 Basic Control Theory
FRA 332 Robot Structure Design II
FRA 321 Image Processing and Analysis
FRA 341 Embedded System Design
FRA 361 Robotics and Automation Lab III
GEN xxx Elective II
GEN 351 Modern Management & Leader.
FRA 311 Artificial Intelligence
FRA 333 Intro to Robotics
FRA 351 Computer-Aided Technologies
FRA 362 Robotics Studio

ปี4
FRA xxx Elective I
FRA 451 Manufacturing and Automation
FRA 452 Manufacturing Process
FRA 461 Robotics and Automation Proj.I
Free Elective I
FRA xxx Elective II
FRA xxx Elective III
FRA 462 Robotics and Automation Proj.II
Free Elective II

Elective: FRA 401 Technopreneurship Foundation FRA 500-503 Special Topics
FRA 402 New Technology Venture Creation FRA 504-505 Project in Industries
FRA 403 Profession Development

วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ลาดกระบัง
ชื่อหลักสุตร    
ชื่อภาษาไทย         วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์เชิงกล
ชื่อภาษาอังกฤษ         Bachelor of Engineering Program in Mechatronics Engineering

๐ ชื่อปริญญา    
ชื่อเต็ม (ไทย)         วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์)
ชื่อย่อ (ไทย)         วศ.บ. (วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์)

ปรัชญาหลักสูตร    
         มุ่งเน้นให้บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาเป็นวิศวกรที่มีความรู้ด้านทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติ วิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า โดยเฉพาะในสาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ เพื่อการประกอบวิชาชีพ ในหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศ

โครงสร้างหลักสูตร    
        โปรแกรมการศึกษา
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                 30         หน่วยกิต        
         1.1 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์                 6         หน่วยกิต                 
         1.2 กลุ่วิชาสังคมศาสตร์                 6         หน่วยกิต        
         1.3 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                 6         หน่วยกิต                 
         1.4 กลุ่มวิชาภาษา                 12         หน่วยกิต        
2. หมวดวิชาเฉพาะ                 105         หน่วยกิต                          
         2.1 กลุ่มวิชาวิศวกรรมพื้นฐาน                 30         หน่วยกิต        
         2.2 กลุ่มวิชาบังคับ                 63         หน่วยกิต                 
         2.3 กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะสาขา                 6         หน่วยกิต                 
         2.4 กลุ่มวิชาการศึกษาทางเลือก                 6         หน่วยกิต        
3. หมวดวิชาเลือกเสรี                 6         หน่วยกิต                          
         3.1 กลุ่มวิชาเลือกเสรี(เลือกเรียนรายวิชาใดๆในหลักสูตรปริญญาตรีตามที่สถาบันฯเปิดสอน)                 6         หน่วยกิต                          0         หน่วยกิต        
๐ ตลอดหลักสูตร                 141         หน่วยกิต
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่