สงครามโลกครั้งที่ 1: สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งมวล

สงครามโลกครั้งที่ 1: สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งมวล

ในประวัติศาสตร์โลกมีการทำสงครามเกิดขึ้นมากมายหลายครั้ง บ้างเป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ บ้างเป็นสงครามระหว่างกลุ่มประเทศ แต่ทั้งหลายก็ยังไม่เคยนับว่าเป็นสงครามโลก เพราะองค์ประกอบไม่เพียงพอในแง่การลุกลาม และความรุนแรง

ความสูญเสียของสงครามโลกครั้งที่ 1 ทหารทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลาง เสียชิวิตรวมกันกว่า 9,911,000
นาย ฝ่ายพันธมิตรเสียชิวิตกว่า 5,525,000 นาย ส่วนฝ่ายมหาอำนาจกลางเสียชิวิตกว่า 4,386,000 นาย บาดเจ็บรวมกันกว่า
21,219,500 นาย สูญหายอีกกว่า 7,750,000 นาย

แน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้สงครามโลกเกิดขึ้น ดังนั้นการศึกษา เรียนรู้ย่อมเป็นหนทางอันดีที่เราจะได้รู้ถึงรากเหง้าของปัญหา เพื่อที่เราๆ จะได้สกัดกั้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็เพื่อจะได้รับรู้ถึงความหายนะ ว่ามันส่งผลเลวร้ายเช่นไร ผมขอนำทุกท่านที่สนใจเรื่องราวของประวัติศาสตร์ที่ถือว่าสำคัญที่สุดของโลกอีกประวัติศาสตร์หนึ่งไปสู่ สงครามโลกครั้งที่ 1: สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งมวล

ผมพยายามตรวจสอบแก้ไข หากว่า มีบางอย่างคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หรือผิดพลาดอย่างไร เชิญทุกท่านชี้แนะ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนกันในกระทู้แรกของผมด้วยครับ

ตอนที่ 1 โลกยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้น ระหว่างปี 1914 – 1918 แบ่งคู่ขัดแย้งออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย จักรวรรดิรัสเซีย ฝรั่งเศส
จักรวรรดิบริเทน ราชอาณาจักรอิตาลี สหรัฐอเมริกา และพัธมิตร อีกฝ่านหนึ่ง คือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออตโตมัน ราชอาณาจักรบัลแกเรีย

สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นที่รู้จักกันในนาม “สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งมวล” มีทหารเข้าร่วมสงครามกว่า 70 ล้านคน

ช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 ก่อนสงครามโลกปะทุ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในยุโรป ซึ่งเป็นผลมาจากการปฎิวัติอุตสาหกรรม ในศตวรรษ 18 และ 19
ส่งผลให้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ยุโรปยุคนั้นถือเป็นผู้ครองอำนาจยิ่งใหญ่ของโลก
ผลของการปฎิวัติอุตสาหกรรม ยังทำให้เกิดการแก่งแย่งวัตถุดิบเพื่อมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อในประเทศมีไม่เพียงพอ ก็ลุกลามเป็นการเข้าไป
ยึดครองประเทศต่างๆ ทั้วโลก เพื่อขนวัตถุดิบกลับประเทศ เรียกยุคนี้ว่า “ยุคล่าอาณานิคม” หรือ “จักรวรรดินิยม” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมูลเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

ฉะนั้น ก่อนจะเข้าสู่สงครามโลก ควรย้อนกลับไปดูสภาพเศรษฐกิจ การเมืองของยุโรปในยุคนั้นกันก่อน

ช่วงเวลาที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดขึ้นตั้งแต่ 1750 – 1850 ซึ่งได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วมาก ประสิทธิภาพการผลิตและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้แรงงานเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น โรงงานก็ผุดขึ้นราวดอกเห็ด ประชาชนหลั่งไหลมาทำงานในเมืองที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ จนอังกฤษกลายเป็นอุตสาหกรรมที่เริ่มแออัด ความเจริญก้าวหน้าเริ่มจากยุโรป ไปอเมริกาเหนือ และไปทั่วโลก
นี่เป็นสภาพเศรษฐกิจคร่าวๆ ของยุโรปยุคนั้น

ลัทธิชาตินิยม เป็นความรู้สึกร่วมกันของประชาชนว่าประเทศตนยิ่งใหญ่ ประเทศอื่นด้อยกว่า สัญลักษณ์แห่งความเข้มเข็งของประเทศ คือ การทหาร การรุกรานประเทศอื่นจะแสดงถึงความยิ่งใหญ่ และเป็นสิ่งที่ประชาชนในประเทศต่างสนับสนุน ส่งผลให้รัฐบาลแต่ละประเทศทุ่มงบประมาณด้านการทหารเป็นจำนวนมาก ประเทศทุกประเทศยกเว้นอังกฤษต่างใช้กฎเกณฑ์ทหารตามเยอรมนีหมด นี่เป็นลักษณะการเมืองของยุโรปยุคนั้น  

การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำมาซึ่งความเจริญ แต่ในอีกด้านก็ส่งผลให้มีความต้องการวัตถุดิบที่จะมาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมมากขึ้น
การปฎิวัติอุสาหกรรมบวกกับลัทธิชาตินิยมสมัยนั้น นำไปสู่ยุคจักรวรรดินิยมใหม่ หรือ ยุคล่าอาณานิคมครั้งใหม่

ยุคล่าอาณานิคมจริงๆ แล้วเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยสเปนและโปรตุเกสเป็นชาติผู้บุกเบิก สเปนเข้าไปยึดครองอเมริกาใต้ แล้วบรรทุกแร่เงินและทองคำกลับมาประเทศ สร้างรายได้มหาศาล ส่วนโปรตุเกสเข้าไปผูกขาดการค้าขายกับอินเดียและหมู่เกาะเครื่องเทศต่างๆ จนมั่งคั่งร่ำรวย แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะยุคล่านิคมครั้งใหม่ ซึ่งประกอบด้วยมหาอำนาจ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี

ในระยะแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรม อังกฤษเป็นชาติอุตสาหกรรมชาติเดียวในขณะนั้น ซึ่งยุโรปส่วนใหญ่รวมถึงอเมริกายังทำเกษตรกรรมอยู่ จึงจำต้องพึ่งอุตสาหกรรมจากอังกฤษ ต่อมาเมื่ออุตสาหกรรมแพร่หลายไปทั่วยุโรปรวมถึงอเมริกา ประเทศอุตสาหกรรมก็ต่างต้องการตลาดใหม่ๆ เพื่อระบายสินค้า และนำเข้าวัตถุดิบมาขับเคลื่อนอุตสาหกรรม นำไปสู่การล่าอาณานิคมครั้งใหม่ของมหาอำนาจ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี
ซึ่งเริ่มนับกันตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และแข่งขันกันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มีพื้นที่หลายแห่งที่ประเทศมหาอำนาจแบ่งกันไม่ลงตัว
พอตกลงกันไม่ได้ก็นำไปสู่ความขัดแย้ง และบ่มเพาะยาวนาน จนยากจะเยียวยา สุดท้ายลุกลามเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1

มหาอำนาจยุโรป ที่เป็นคู่ขัดแย้งหลักๆ ในสงครามโลกครั้งที 1 ประกอบด้วย


จักรวรรดิอังกฤษ
ในศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 จักรวรรดิอังกฤษถือเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก เป็นทั้งมหาอำนาจทางทะเล และมีอาณานิคมโพ้นทะเล
เยอะที่สุด จนได้ชื่อว่า “ดินแดนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน” โดยสามารถครอบครองดินแดนต่างๆ ได้ถึง 1 ใน 4 ของโลก และมีประชากรกว่า 1 ใน 3
ของโลก การประกาศเข้าร่วมสงครามโลกกับฝ่ายพันธมิตร ถือเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้ฝ่ายพันธมิตรเป็นอย่างมาก ซึ่งเยอรมนีตอนนั้นก็พยายาม
ขอให้อังกฤษเป็นกลาง โดยสัญญาว่าเยอรมนีจะไม่รุกรานเบลเยียมถ้าอังกฤษไม่เข้าร่วมสงคราม แต่ก็ไม่เป็นผล อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนี
ไม่นานหลังจากฝรั่งเศสประกาศไปแล้วก่อนหน้า
ทั้งนี้ เป็นเพราะอังกฤษกับเยอรมนียุคนั้นต่างแข่งขันกันแผ่อิทธิพล เสริมกำลังทหาร จนเยอรมนีสามารถพัฒนาขีดความสามารถทางทะเลได้แทบจะเท่าอังกฤษ เยอรมนีจึงได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจใหม่ ส่วนอังกฤษ คือ มหาอำนาจเดิม

จักรวรรดิรุสเซีย
จักรวรรดิรุสเซียถูกสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ จักรวรรดิรุสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก เอเชีย ไปจนถึงอเมริกา
เป็นจักรวรรดิๆ หนึ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซีย

เมื่อเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 20  รุสเซียถูกปกครองโดยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 การเมืองยุคนั้น เริ่มมีกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยกระจายไปทั่วโลก
ในขณะนั้นเองจักรวรรดิรุสเซียก็เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากพิษสงคราม ผู้คนอดอยากไปทั่ว  กระแสต่อต้านพระองค์หนักขึ้นเรื่อยๆ โดยมีชนกลุ่มน้อยใน
Saint Pertersberg เริ่มคิดก่อการปฏิวัติ เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นในปี 1905 ประชาชนได้นัดรวมตัวกันชุมนุม ณ จัตุรัสแดง เพื่อยื่นข้อเรียกร้อง
เมื่อพระเจ้าซาร์เสด็จออกมา ปืนและปืนใหญ่ของทหารม้ารุสเซียระดมยิงใส่ฝูงชน ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ต่อมาเมื่อรุสเซียแพ้สงครามกับญี่ปุ่นและก่อนจะขอสงบศึกกับเยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จะสิ้นสุด ก็เกิดการปฏิวัติขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ 1917 ซึ่งนำโดยวลาดิเมียร์ เลนิน ส่งผลให้พระเจ้าซาร์
จำต้องทรงสละราชบัลลังก์ ถือเป็นการปิดฉากจักรวรรดิรุสเซีย

จักรวรรดิฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสกับปรัสเซียมักมีปัญหาพิพาทกันเกี่ยวกับการผนวกเยอรมนี ซึ่งยุคนั้นยังป็นรัฐกระจัดกระจาย ไม่มีการรวมกันเป็นเอกภาพ เมื่อการแบ่งผลประโยชน์ในเยอรมนีไม่ลงตัวของทั้งสอง ก็ได้นำไปสู่สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ในปี 1870 ผลของสงคราม คือ ปรัสเซียชนะ ฝรั่งเศสต้องชดใช้เงินหนึ่งพันดอลลาร์และต้องยกเมืองอัลซาซ-ลอร์เรนน์ให้ปรัสเซีย

หลังสงครามสิ้นสุด ชาวฝรั่งเศสได้ร่วมกันขับไล่พระเจ้านโปเลี่ยนที่ 3 ออกจากราชสมบัติ และร่วมกันก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสขึ้น
ส่วนปรัสเซียก็ได้ประกาศจัดตั้งจักรวรรดิเยอรมนีขึ้น


จักรวรรดิเยอรมนี
เยอรมนีรวมตัวกันเป็นจักรวรรดิ หลังการชนะสงครามของปรัสเซีย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ปรัสเซีย ซึ่งนำโดยบิสมาร์กเป็นผู้สร้างประเทศเยอรมนีขึ้นมา
ในปี 1871 ในสมัยบิสมาร์กบริหารประเทศนั้น เยอรมนีรุ่งเรืองมาก ถือว่าเป็นมหาอำนาจใหม่ของยุโรป เขาพัฒนาประเทศจนสามารถขึ้นมา
เป็นผู้ท้าทายมหาอำนาจเดิม คือ อังกฤษ ได้ ซึ่งต่อมา การขยายอำนาจทางทะเล การขยายอิทธิพลในยุโรป ประกอบกับการลงทุนมหาศาลทางการทหารของบิสมาร์ก ก็ทำให้อังกฤษระแวงเยอรมนีอย่างมาก การแย่งชิงผลประโยชน์และการขยายอิทธิพลที่ไม่ลงรอยกันนี้ นำไปสู่การเป็นศัตรูและสงครามโลก

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ทั้งสองประเทศถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับบูร์ก ถูกรวมประเทศโดยการเจรจาต่อรอง เมื่อปี 1867 ถือเป็นจักรวรรดิที่เจริญรุ่งเรืองในปี 1867-1918
มีพื้นที่เป็นรองเพียงอาณาจักรุสเซียในสมัยนั้น มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับสามของโลก ออสเตรีย-ฮังการี ต่างมีนายกเป็นของตนเอง
เพียงแต่อยู่ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุด ราชวงศ์ฮับบูร์กสูญเสียอำนาจให้ฝ่ายต่อต้านการปกครองแบบราชาธิปไตย จนนำไปสู่การแยกตัวของสองประเทศ
ในปี 1918 นับเป็นจุดจบของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

เด่วพรุ่งนี้มาต่อด้วยเหตุการณ์สำคัญๆ ก่อนการปะทุสงครามโลกครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่