สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
บางส่วนจาก เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์ พระนิพนธ์ของพี่เขียนถึงน้อง
โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
สังวาลย์เป็นกำพร้า...แต่งงานแล้วก็มาใช้นามสกุลหม่อมฉัน
หม่อมฉันไม่ได้เลือกเมียด้วยสกุลรุนชาติ ต้องเกิดเป็นอย่างนั้น ต้องเกิดเป็นอย่างนี้
คนเราเลือกเกิดไม่ได้ หม่อมฉันเลือกคนดี ทุกข์สุขเป็นเรื่องของหม่อมฉันเอง
เมื่อยังทรงเป็น เจ้านายเล็กๆ
ข้าราชบริพารที่วังสระปทุมสมัยที่ ทุกพระองค์ยังคงประทับอยู่
ก่อนเสด็จไปประทับที่ประเทศสวิส ฯ จะเรียก
พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา(พระพี่นาง) ว่า พระองค์หญิง
พระองค์เจ้าอานันท(ร.8) ว่า พระองค์ชาย
พระองค์เจ้าภูมิพล(ร.9) ว่า พระองค์เล็ก
ลอนดอน-โลซานน์-กลับเมืองไทย 2471
เมื่อถึงยุโรปแล้ว เราได้พักอยู่ที่โรงแรมหนึ่งในลอนดอนชื่อเคนซิงตัน พาเลซ แมนชั่น อยู่ใกล้สวนเคนซิงตัน
เด็กๆได้ไปในสวนสาธารณะบ่อยๆ บางครั้งทูลหม่อมฯ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ก็เสด็จไปด้วย
แม่เล่าว่า ในสมัยนั้นพระองค์อานันทฯ ซนมาก จึงต้องให้ใส่ที่รัดตัวมีสายสองข้างคล้ายๆกับสายบังเหียน
โดยมากเมื่ออยู่ในบ้านจะเอาสายไปผูกไว้กับขาโต๊ะ พระองค์ชายก็ยอมให้ผูกอย่างดี
วันหนึ่งแหนน พี่เลี้ยงของข้าพเจ้า คงลืมผูก ท่านก็ถามขึ้นมาเองว่า วันนี้ ทำไมไม่ผูก
เมื่อไปถึงสวิตเซอร์แลนด์ใหม่ๆ เราจะพูดภาษาไทยด้วยกัน เมื่อพูดภาษาฝรั่งเศสได้คล่องแล้ว
พี่น้องทั้งสามคนจะพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยกัน แต่จะพูดภาษาไทยกับแม่เสมอไป
เมื่อข้าพเจ้าไปกราบทูลสัมภาษณ์พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2530 ทรงเล่าขึ้นมาเองว่า
คงเป็นเมื่อไปถึงโลซานน์ใหม่ๆ พระองค์ชายชอบล้อว่า จมูกเล็กหัก จมักเล็กหก จมกเล็กหุก ฮูๆๆ
ทรงเล่าว่า รำคาญและโกรธ จึงไปเล่าให้แม่ฟัง แม่ก็แนะนำให้หาอะไรไปล้อบ้างซิ เช่น
ที่นิ้วก้อยพระองค์ชาย ทรงมีร่องที่ปลายนิ้วข้างหนึ่งซึ่งทำให้ดูเหมือนมีติ่งอยู่
ไม่มีใครจำได้ว่าเป็นมาแต่กำเนิดหรือมาเป็นเอาภายหลัง พระองค์เล็กพยายามเอาเรื่องนี้ไปล้อ
แต่พระองค์ชายไม่รู้สึกกระทบกระเทือนแต่อย่างไรเลย
เมื่อมาถึงโลซานน์ใหม่ๆ แม่ได้เขียนถึงสมเด็จย่า หรือสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าฯ ว่า
....ลูกของหม่อมฉัน หม่อมฉันรักอย่างดวงใจ และหม่อมฉันมีความตั้งใจอยู่เสมอ ที่จะนำให้ลูกไปในทางที่ถูกที่ดี
สำหรับจะได้เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง ญาติ บ้านเมือง ตัวของหม่อมฉันเอง ทำประโยชน์อะไรให้บ้านเมืองไม่ได้มาก
แต่ถ้าได้ช่วยลูกๆให้ได้รับความอบรม เล่าเรียนในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองได้แล้ว หม่อมฉันก็จะรู้สึกอิ่มใจเหมือนกัน
วันที่ 30 ตุลาคม 2477 แม่ยังเขียนถึงสมเด็จพระพันวัสสาฯ ว่า
...หม่อมฉันรู้สึกว่าตัวเคราะห์ดีมากที่มีลูกฉลาด แต่เด็กฉลาดเลี้ยงยากมากกว่าเด็กโง่
เพราะต้องพูดกันมาก และต้องอธิบายกันให้เห็นจริงทุกอย่างถึงจะเชื่อ
แม่ไม่เคยชมเราว่าฉลาดหรืองาม จะชมก็เมื่อประพฤติตนดีทำอะไรที่น่าสรรเสริญ เราจึงไม่เหลิง
อาจขาดความมั่นใจในตัวเองบ้าง แต่ก็ทราบอยู่เสมอว่าเราเป็นใคร
ทำให้เราเป็นผู้ที่นับถือความจริง มีสัจจะ ไม่หลอกใครและไม่หลอกตัวเอง
สิ่งที่ช่วยมากในการนี้ คือ เราไม่ได้มีคนที่มาห้อมล้อมอยู่มากมายตลอดเวลา มายอ มาเอาใจ
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่รู้จักเจ้าเสียจริงๆ ไม่มีใครเรียกเราว่า เจ้าชายหรือเจ้าหญิง
เรียกนาย และนางสาว ภาษาฝรั่งเศสไม่มีเด็กชาย เด็กหญิง จึงทำให้เราเหมือนกับคนธรรมดา
พี่น้องก็ช่วยกันหาความรู้โดยการเล่นต่างๆ เช่น เวลารับประทานอาหารจะเล่นทายอะไรกันต่างๆ
บางพักจะเป็นเกมภูมิศาสตร์ บางพักก็จะเป็นเกมประวัติศาสตร์
แต่พระเจ้าอยู่หัวและพระอนุชา จะเล่นอะไรหลายอย่างซึ่งจะนำประโยชน์มาได้ภายหลัง
การเล่นแบบซนๆ มีบ้างเหมือนกัน เช่น วันหนึ่งแม่ได้ยินเสียงร้องเพลงเอะอะออกมาจากห้องเย็บผ้า
เมื่อเปิดประตูเข้าไป ก็เห็นสองพระองค์เอากระโปรงที่พาดไว้ที่พนักเก้าอี้ เพื่อจะแก้เมื่อมีเวลา
มาสวมเต้นระบำแบบฮาวายจนตะเข็บขาดหมด
แม่ก็ถามว่า ทำไมจึงเอากระโปรงของแม่มาเล่นเช่นนี้
ได้รับคำตอบว่า กระโปรงตกอยู่ที่พื้น นึกว่าไม่ใช้แล้ว
แม่เลยปรับเสียคนละ 2 แฟรงค์
ความฉุนเฉียวก็มีบ้างเวลาเล็กๆ อยู่ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเล่าว่า เมื่อยังอยู่ที่แฟลตถนนทิสโซ่ต์
พระเชษฐากริ้วอะไรไม่ทราบ ทรงทำท่าจะบิดรางให้หักเสีย จึงรีบขออย่าให้ทรงทำเลย ประทานน้องเสียดีกว่า
แต่พระองค์เองบางครั้งพระอารมณ์เสียเหมือนกัน ในจดหมายลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2479
แม่เล่าถวายสมเด็จพระพันวัสสาฯ ว่า ชอบเล่นรถยนต์เล็กๆ แข่งกัน ผู้ใหญ่ก็เข้ามาเล่นด้วย
...เล็กเวลาไม่ชนะออกจะโกรธเสมอ ต้องพยายามอธิบายกันใหญ่โตถึงการเล่นว่า ต้องมีแพ้และชนะบ้าง
แม่บอกว่า สมเด็จพระพันวัสสาฯ พอพระทัย รับสั่งว่า เหมือนย่า
แม่เขียนต่อไปว่า นันทดีมาก ถ้าไม่ชนะก็ไม่ว่าอะไร นันทปีนี้รู้สึกดีขึ้นมาก ทำท่าเป็นเด็กโต
ในหนังสือพระองค์ยังเล่าถึงพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ว่า
พระองค์ชาย มักจะเป็นผู้ชอบแหย่คน เช่น ผลักเขา หรือตีเขา
ครั้งหนึ่งเมื่อไปอยู่ถึงเมืองโลซานน์แล้ว จะต้องมีการลงโทษเพราะพระองค์ชายชอบไปแกล้งลูกของผู้เฝ้าบ้าน
ซึ่งตัวเล็กที่สุดในจำนวนเด็กที่วิ่งๆ อยู่ตามแถวนั้น อายุประมาณ 4-5 ขวบ พี่น้องสองคนตั้งชื่อเขาว่า "เด็กคนเล็ก"
วันหนึ่งพระองค์ชายก็ไปผลักเด็กคนนี้ในที่ที่อันตราย คือ ที่บันได แม่จึงพูดว่า
เตือนมาหลายทีแล้ว คราวนี้เห็นจะต้องตี คิดว่าควรตีสักกี่ที
พระองค์ชายตอบว่า หนึ่งที
แม่ก็ตอบว่า เห็นจะไม่พอเพราะทำมาหลายที ควรเป็นสามที
จึงตกลงกันเช่นนั้น ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่ได้ผลักเขาอีก
ส่วนพระองค์เล็กนั้น บางครั้งก็ต้องถูกทำโทษเหมือนกัน แต่น้อยกว่ามาก ไม่ใช่เพราะไม่ซน
แต่แม่บอกว่า เพราะโดยมากพี่จะเป็นผู้นำ เมื่อเห็นตัวอย่างจากการถูกทำโทษของพี่ก็จะระวังตัว
สมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงฉายพระรูปที่วังปารุสกวัน กับพระราชโอรสธิดาคือ
สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
และ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ในคราวพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
ตอนเวลาที่ยังเด็กๆ อยู่ พระองค์ชายไม่สู้จะแข็งแรงนัก และเมื่อไปโดนอะไรเข้านิดหนึ่งก็จะเขียวขึ้นมา
แพทย์บอกว่าเลือดจาง ให้ยามารับประทาน ในไม่ช้าก็ดีขึ้น แต่ระหว่างนั้นสมเด็จย่าก็ทรงสังเกตว่า
พระองค์ชายมีจ้ำเขียวๆ ที่องค์
รับสั่งกับป้าจุ่นว่า
มีคนเลี้ยงไม่พอ จึงระวังหลานของท่านไม่ดีปล่อยให้หกล้มหกลุก ชนนั่นชนนี่จนเขียวไปหมด
แม่ต้องไปเฝ้าและกราบทูลสาเหตุ แล้วก็ไม่รับสั่งอะไรอีก
สมเด็จพระพันวัสสาฯ ในหลวงรัชกาลที่ 8 และในหลวงรัชกาลที่ 9
เมื่ออยู่เมืองไทยสักปีหนึ่ง คือ เมื่อพระองค์ชายประมาณ 5 ขวบ และพระองค์เล็กประมาณ 3 ขวบ เป็นบิดกันทั้งสององค์
พระองค์ชายนั้นเป็นก่อน โดยมากถ้าเจ็บกัน ด้วยการติดเชื้ออะไรมา พระองค์ชายจะเป็นผู้เจ็บก่อนทุกครั้ง
การรักษานั้น ต้องฉีดยา เอ็มมิติน(Emetine) เข็มหนึ่งและสวนด้วยยา ยาเทรน(Yatren) 2-3 ครั้งจึงหาย
ก่อนจะถูกฉีดยา แม่ได้อธิบายว่าจะเจ็บหน่อย พระองค์เล็กถามว่า ร้องไห้ได้ไหม
แม่คิดว่าการเป็นบิดนี้ คงเป็นเพราะเมื่อสมเด็จย่า ทรงสั่งให้ทำไอติมหลอดน้ำอ้อยสด ที่ข้างล่างของตำหนัก
การทำคงไม่สะอาดพอ เพราะมีแมลงวันมาก
เมื่อถึงปี 2474 ข้าพเจ้าขึ้นประถมปีที่ 2 ที่โรงเรียนราชินี
พระองค์ชายก็ขึ้นอนุบาล 2 ที่โรงเรียนมาแตร์ฯ
ส่วนพระองค์เล็ก ก็เข้าโรงเรียนอนุบาล ที่ครูพิเศษภาษาอังกฤษของข้าพเจ้าชื่อ มิสซิสเดวีส (Mrs.Davies)
เปิดที่บ้าน สามีเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลูกของเขา เดวิดิสก็อยู่ในชั้นอนุบาลนี้
นักเรียนชั้นนี้ไม่ได้เรียนหนังสือ แต่จะวาดรูป ระบายสี ตัดกระดาษ หัดใช้กาว ฯลฯ
พระองค์เล็ก เวลานั้นมีพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ เมื่อตัดกระดาษจะอ้าปากปิดปากไปตามจังหวะที่ตัดไป
ครั้งหนึ่งเมื่อโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปี โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อ พ.ศ.2528
กรรมการโรงเรียนได้ขอให้พระองค์เขียนข้อความไปลงหนังสือที่ระลึกเกี่ยวกับพระองค์ชาย
ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่โรงเรียนเทพศิรินทร์ พระองค์ทรงนำบทความบางส่วนมานำเสนอ
ในหนังสือ เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์ ความว่า
พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเสด็จโรงเรียนเพียงครึ่งวัน เนื่องจากไม่ทรงแข็งแรงนัก
ตอนบ่ายจะทรงพักผ่อนและจะทรงหลับด้วย สัปดาห์ละสองสามครั้ง
จะมีครูชื่อ Mr.Matthews มาสอนภาษาอังกฤษที่วัง บางครั้ง Mr.Matthews
ต้องไปอุ้มมาจากพระที่ เพราะทรงหลับสนิทจริงๆ
ข้าพเจ้าเองจำอะไรไม่ได้ เกี่ยวกับการทรงศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์
เว้นแต่ว่าทุกเช้าพี่น้องสามคน จะต้องออกไปโรงเรียนด้วยกัน
รถยนต์จะแวะส่งพระองค์เจ้าภูมิพลฯ ที่โรงเรียนมาแตร์เดอีก่อน
แล้วจะแล่นไปที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เพื่อส่งพระองค์เจ้าอานันทฯ
และในที่สุดก็จะพาข้าพเจ้า ไปที่โรงเรียนราชินี
ในหนังสือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางฯยังทรงเล่าถึงพระอนุชาทั้ง 2 พระองค์ว่า
เมื่อพระองค์ชายอยู่โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมเด็จพระพันวัสสาฯรับสั่งให้พาไปนมัสการเจ้าอาวาสของวัดเทพศิรินทร์ คือ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เพื่อให้สมเด็จฯอบรมธรรม ท่านได้สอนข้อธรรมะง่ายๆ ที่ปฏิบัติได้ เช่นว่า
เมื่อมียุงมาเกาะ อย่าไปตบ ให้เอามือลูบไปเสีย
วันหนึ่งแม่ลงมาดูลูกชายสองคน ซึ่งกำลังเล่นละลายเทียนไขในกระทะเล็กที่วางบนอั้งโล่
แม่เห็นคางคกอยู่ในกระทะตัวหนึ่ง แม่ก็เอะอะใหญ่ และถามพระองค์ชายว่า
สมเด็จฯเคยสอนเรื่องยุง ทำไมจึงมาทำอย่างนี้
พระองค์ชายตอบว่า
สมเด็จฯไม่ได้สอนเรื่องคางคก
เมื่อข้าพเจ้าไปสัมภาษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อเดือนธันวาคม 2529 ได้ทูลถามว่า
ทรงจำเรื่องคางคกนั้นได้ไหม รับสั่งว่าทรงจำได้ และคางคกนั้นไม่ได้ไปจับมา มันกระโดดลงไปในกระทะเองโดยบังเอิญ
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
สังวาลย์เป็นกำพร้า...แต่งงานแล้วก็มาใช้นามสกุลหม่อมฉัน
หม่อมฉันไม่ได้เลือกเมียด้วยสกุลรุนชาติ ต้องเกิดเป็นอย่างนั้น ต้องเกิดเป็นอย่างนี้
คนเราเลือกเกิดไม่ได้ หม่อมฉันเลือกคนดี ทุกข์สุขเป็นเรื่องของหม่อมฉันเอง
เมื่อยังทรงเป็น เจ้านายเล็กๆ
ข้าราชบริพารที่วังสระปทุมสมัยที่ ทุกพระองค์ยังคงประทับอยู่
ก่อนเสด็จไปประทับที่ประเทศสวิส ฯ จะเรียก
พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา(พระพี่นาง) ว่า พระองค์หญิง
พระองค์เจ้าอานันท(ร.8) ว่า พระองค์ชาย
พระองค์เจ้าภูมิพล(ร.9) ว่า พระองค์เล็ก
พระองค์หญิง พระองค์ชาย พระองค์เล็ก
ลอนดอน-โลซานน์-กลับเมืองไทย 2471
เมื่อถึงยุโรปแล้ว เราได้พักอยู่ที่โรงแรมหนึ่งในลอนดอนชื่อเคนซิงตัน พาเลซ แมนชั่น อยู่ใกล้สวนเคนซิงตัน
เด็กๆได้ไปในสวนสาธารณะบ่อยๆ บางครั้งทูลหม่อมฯ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ก็เสด็จไปด้วย
แม่เล่าว่า ในสมัยนั้นพระองค์อานันทฯ ซนมาก จึงต้องให้ใส่ที่รัดตัวมีสายสองข้างคล้ายๆกับสายบังเหียน
โดยมากเมื่ออยู่ในบ้านจะเอาสายไปผูกไว้กับขาโต๊ะ พระองค์ชายก็ยอมให้ผูกอย่างดี
วันหนึ่งแหนน พี่เลี้ยงของข้าพเจ้า คงลืมผูก ท่านก็ถามขึ้นมาเองว่า วันนี้ ทำไมไม่ผูก
เมื่อไปถึงสวิตเซอร์แลนด์ใหม่ๆ เราจะพูดภาษาไทยด้วยกัน เมื่อพูดภาษาฝรั่งเศสได้คล่องแล้ว
พี่น้องทั้งสามคนจะพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยกัน แต่จะพูดภาษาไทยกับแม่เสมอไป
เมื่อข้าพเจ้าไปกราบทูลสัมภาษณ์พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2530 ทรงเล่าขึ้นมาเองว่า
คงเป็นเมื่อไปถึงโลซานน์ใหม่ๆ พระองค์ชายชอบล้อว่า จมูกเล็กหัก จมักเล็กหก จมกเล็กหุก ฮูๆๆ
ทรงเล่าว่า รำคาญและโกรธ จึงไปเล่าให้แม่ฟัง แม่ก็แนะนำให้หาอะไรไปล้อบ้างซิ เช่น
ที่นิ้วก้อยพระองค์ชาย ทรงมีร่องที่ปลายนิ้วข้างหนึ่งซึ่งทำให้ดูเหมือนมีติ่งอยู่
ไม่มีใครจำได้ว่าเป็นมาแต่กำเนิดหรือมาเป็นเอาภายหลัง พระองค์เล็กพยายามเอาเรื่องนี้ไปล้อ
แต่พระองค์ชายไม่รู้สึกกระทบกระเทือนแต่อย่างไรเลย
เมื่อมาถึงโลซานน์ใหม่ๆ แม่ได้เขียนถึงสมเด็จย่า หรือสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าฯ ว่า
....ลูกของหม่อมฉัน หม่อมฉันรักอย่างดวงใจ และหม่อมฉันมีความตั้งใจอยู่เสมอ ที่จะนำให้ลูกไปในทางที่ถูกที่ดี
สำหรับจะได้เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง ญาติ บ้านเมือง ตัวของหม่อมฉันเอง ทำประโยชน์อะไรให้บ้านเมืองไม่ได้มาก
แต่ถ้าได้ช่วยลูกๆให้ได้รับความอบรม เล่าเรียนในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองได้แล้ว หม่อมฉันก็จะรู้สึกอิ่มใจเหมือนกัน
วันที่ 30 ตุลาคม 2477 แม่ยังเขียนถึงสมเด็จพระพันวัสสาฯ ว่า
...หม่อมฉันรู้สึกว่าตัวเคราะห์ดีมากที่มีลูกฉลาด แต่เด็กฉลาดเลี้ยงยากมากกว่าเด็กโง่
เพราะต้องพูดกันมาก และต้องอธิบายกันให้เห็นจริงทุกอย่างถึงจะเชื่อ
แม่ไม่เคยชมเราว่าฉลาดหรืองาม จะชมก็เมื่อประพฤติตนดีทำอะไรที่น่าสรรเสริญ เราจึงไม่เหลิง
อาจขาดความมั่นใจในตัวเองบ้าง แต่ก็ทราบอยู่เสมอว่าเราเป็นใคร
ทำให้เราเป็นผู้ที่นับถือความจริง มีสัจจะ ไม่หลอกใครและไม่หลอกตัวเอง
สิ่งที่ช่วยมากในการนี้ คือ เราไม่ได้มีคนที่มาห้อมล้อมอยู่มากมายตลอดเวลา มายอ มาเอาใจ
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่รู้จักเจ้าเสียจริงๆ ไม่มีใครเรียกเราว่า เจ้าชายหรือเจ้าหญิง
เรียกนาย และนางสาว ภาษาฝรั่งเศสไม่มีเด็กชาย เด็กหญิง จึงทำให้เราเหมือนกับคนธรรมดา
พี่น้องก็ช่วยกันหาความรู้โดยการเล่นต่างๆ เช่น เวลารับประทานอาหารจะเล่นทายอะไรกันต่างๆ
บางพักจะเป็นเกมภูมิศาสตร์ บางพักก็จะเป็นเกมประวัติศาสตร์
แต่พระเจ้าอยู่หัวและพระอนุชา จะเล่นอะไรหลายอย่างซึ่งจะนำประโยชน์มาได้ภายหลัง
การเล่นแบบซนๆ มีบ้างเหมือนกัน เช่น วันหนึ่งแม่ได้ยินเสียงร้องเพลงเอะอะออกมาจากห้องเย็บผ้า
เมื่อเปิดประตูเข้าไป ก็เห็นสองพระองค์เอากระโปรงที่พาดไว้ที่พนักเก้าอี้ เพื่อจะแก้เมื่อมีเวลา
มาสวมเต้นระบำแบบฮาวายจนตะเข็บขาดหมด
แม่ก็ถามว่า ทำไมจึงเอากระโปรงของแม่มาเล่นเช่นนี้
ได้รับคำตอบว่า กระโปรงตกอยู่ที่พื้น นึกว่าไม่ใช้แล้ว
แม่เลยปรับเสียคนละ 2 แฟรงค์
ความฉุนเฉียวก็มีบ้างเวลาเล็กๆ อยู่ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเล่าว่า เมื่อยังอยู่ที่แฟลตถนนทิสโซ่ต์
พระเชษฐากริ้วอะไรไม่ทราบ ทรงทำท่าจะบิดรางให้หักเสีย จึงรีบขออย่าให้ทรงทำเลย ประทานน้องเสียดีกว่า
แต่พระองค์เองบางครั้งพระอารมณ์เสียเหมือนกัน ในจดหมายลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2479
แม่เล่าถวายสมเด็จพระพันวัสสาฯ ว่า ชอบเล่นรถยนต์เล็กๆ แข่งกัน ผู้ใหญ่ก็เข้ามาเล่นด้วย
...เล็กเวลาไม่ชนะออกจะโกรธเสมอ ต้องพยายามอธิบายกันใหญ่โตถึงการเล่นว่า ต้องมีแพ้และชนะบ้าง
แม่บอกว่า สมเด็จพระพันวัสสาฯ พอพระทัย รับสั่งว่า เหมือนย่า
แม่เขียนต่อไปว่า นันทดีมาก ถ้าไม่ชนะก็ไม่ว่าอะไร นันทปีนี้รู้สึกดีขึ้นมาก ทำท่าเป็นเด็กโต
ในหนังสือพระองค์ยังเล่าถึงพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ว่า
พระองค์ชาย มักจะเป็นผู้ชอบแหย่คน เช่น ผลักเขา หรือตีเขา
ครั้งหนึ่งเมื่อไปอยู่ถึงเมืองโลซานน์แล้ว จะต้องมีการลงโทษเพราะพระองค์ชายชอบไปแกล้งลูกของผู้เฝ้าบ้าน
ซึ่งตัวเล็กที่สุดในจำนวนเด็กที่วิ่งๆ อยู่ตามแถวนั้น อายุประมาณ 4-5 ขวบ พี่น้องสองคนตั้งชื่อเขาว่า "เด็กคนเล็ก"
วันหนึ่งพระองค์ชายก็ไปผลักเด็กคนนี้ในที่ที่อันตราย คือ ที่บันได แม่จึงพูดว่า
เตือนมาหลายทีแล้ว คราวนี้เห็นจะต้องตี คิดว่าควรตีสักกี่ที
พระองค์ชายตอบว่า หนึ่งที
แม่ก็ตอบว่า เห็นจะไม่พอเพราะทำมาหลายที ควรเป็นสามที
จึงตกลงกันเช่นนั้น ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่ได้ผลักเขาอีก
ส่วนพระองค์เล็กนั้น บางครั้งก็ต้องถูกทำโทษเหมือนกัน แต่น้อยกว่ามาก ไม่ใช่เพราะไม่ซน
แต่แม่บอกว่า เพราะโดยมากพี่จะเป็นผู้นำ เมื่อเห็นตัวอย่างจากการถูกทำโทษของพี่ก็จะระวังตัว
สมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงฉายพระรูปที่วังปารุสกวัน กับพระราชโอรสธิดาคือ
สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
และ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ในคราวพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
ตอนเวลาที่ยังเด็กๆ อยู่ พระองค์ชายไม่สู้จะแข็งแรงนัก และเมื่อไปโดนอะไรเข้านิดหนึ่งก็จะเขียวขึ้นมา
แพทย์บอกว่าเลือดจาง ให้ยามารับประทาน ในไม่ช้าก็ดีขึ้น แต่ระหว่างนั้นสมเด็จย่าก็ทรงสังเกตว่า
พระองค์ชายมีจ้ำเขียวๆ ที่องค์
รับสั่งกับป้าจุ่นว่า
มีคนเลี้ยงไม่พอ จึงระวังหลานของท่านไม่ดีปล่อยให้หกล้มหกลุก ชนนั่นชนนี่จนเขียวไปหมด
แม่ต้องไปเฝ้าและกราบทูลสาเหตุ แล้วก็ไม่รับสั่งอะไรอีก
สมเด็จพระพันวัสสาฯ ในหลวงรัชกาลที่ 8 และในหลวงรัชกาลที่ 9
เมื่ออยู่เมืองไทยสักปีหนึ่ง คือ เมื่อพระองค์ชายประมาณ 5 ขวบ และพระองค์เล็กประมาณ 3 ขวบ เป็นบิดกันทั้งสององค์
พระองค์ชายนั้นเป็นก่อน โดยมากถ้าเจ็บกัน ด้วยการติดเชื้ออะไรมา พระองค์ชายจะเป็นผู้เจ็บก่อนทุกครั้ง
การรักษานั้น ต้องฉีดยา เอ็มมิติน(Emetine) เข็มหนึ่งและสวนด้วยยา ยาเทรน(Yatren) 2-3 ครั้งจึงหาย
ก่อนจะถูกฉีดยา แม่ได้อธิบายว่าจะเจ็บหน่อย พระองค์เล็กถามว่า ร้องไห้ได้ไหม
แม่คิดว่าการเป็นบิดนี้ คงเป็นเพราะเมื่อสมเด็จย่า ทรงสั่งให้ทำไอติมหลอดน้ำอ้อยสด ที่ข้างล่างของตำหนัก
การทำคงไม่สะอาดพอ เพราะมีแมลงวันมาก
เมื่อถึงปี 2474 ข้าพเจ้าขึ้นประถมปีที่ 2 ที่โรงเรียนราชินี
พระองค์ชายก็ขึ้นอนุบาล 2 ที่โรงเรียนมาแตร์ฯ
ส่วนพระองค์เล็ก ก็เข้าโรงเรียนอนุบาล ที่ครูพิเศษภาษาอังกฤษของข้าพเจ้าชื่อ มิสซิสเดวีส (Mrs.Davies)
เปิดที่บ้าน สามีเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลูกของเขา เดวิดิสก็อยู่ในชั้นอนุบาลนี้
นักเรียนชั้นนี้ไม่ได้เรียนหนังสือ แต่จะวาดรูป ระบายสี ตัดกระดาษ หัดใช้กาว ฯลฯ
พระองค์เล็ก เวลานั้นมีพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ เมื่อตัดกระดาษจะอ้าปากปิดปากไปตามจังหวะที่ตัดไป
ครั้งหนึ่งเมื่อโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปี โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อ พ.ศ.2528
กรรมการโรงเรียนได้ขอให้พระองค์เขียนข้อความไปลงหนังสือที่ระลึกเกี่ยวกับพระองค์ชาย
ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่โรงเรียนเทพศิรินทร์ พระองค์ทรงนำบทความบางส่วนมานำเสนอ
ในหนังสือ เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์ ความว่า
พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเสด็จโรงเรียนเพียงครึ่งวัน เนื่องจากไม่ทรงแข็งแรงนัก
ตอนบ่ายจะทรงพักผ่อนและจะทรงหลับด้วย สัปดาห์ละสองสามครั้ง
จะมีครูชื่อ Mr.Matthews มาสอนภาษาอังกฤษที่วัง บางครั้ง Mr.Matthews
ต้องไปอุ้มมาจากพระที่ เพราะทรงหลับสนิทจริงๆ
ข้าพเจ้าเองจำอะไรไม่ได้ เกี่ยวกับการทรงศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์
เว้นแต่ว่าทุกเช้าพี่น้องสามคน จะต้องออกไปโรงเรียนด้วยกัน
รถยนต์จะแวะส่งพระองค์เจ้าภูมิพลฯ ที่โรงเรียนมาแตร์เดอีก่อน
แล้วจะแล่นไปที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เพื่อส่งพระองค์เจ้าอานันทฯ
และในที่สุดก็จะพาข้าพเจ้า ไปที่โรงเรียนราชินี
ในหนังสือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางฯยังทรงเล่าถึงพระอนุชาทั้ง 2 พระองค์ว่า
เมื่อพระองค์ชายอยู่โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมเด็จพระพันวัสสาฯรับสั่งให้พาไปนมัสการเจ้าอาวาสของวัดเทพศิรินทร์ คือ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เพื่อให้สมเด็จฯอบรมธรรม ท่านได้สอนข้อธรรมะง่ายๆ ที่ปฏิบัติได้ เช่นว่า
เมื่อมียุงมาเกาะ อย่าไปตบ ให้เอามือลูบไปเสีย
วันหนึ่งแม่ลงมาดูลูกชายสองคน ซึ่งกำลังเล่นละลายเทียนไขในกระทะเล็กที่วางบนอั้งโล่
แม่เห็นคางคกอยู่ในกระทะตัวหนึ่ง แม่ก็เอะอะใหญ่ และถามพระองค์ชายว่า
สมเด็จฯเคยสอนเรื่องยุง ทำไมจึงมาทำอย่างนี้
พระองค์ชายตอบว่า
สมเด็จฯไม่ได้สอนเรื่องคางคก
เมื่อข้าพเจ้าไปสัมภาษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อเดือนธันวาคม 2529 ได้ทูลถามว่า
ทรงจำเรื่องคางคกนั้นได้ไหม รับสั่งว่าทรงจำได้ และคางคกนั้นไม่ได้ไปจับมา มันกระโดดลงไปในกระทะเองโดยบังเอิญ
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อยากทราบเรื่องราวของรัชกาลที่8ค่ะ
#ใช้คำราชาศัพท์ไม่เป็นนะคะ #ยืมล็อกอินเพื่อนมาค่ะ