สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
๑. ในขณะนั้น กระทรวงวัง ได้จัดทำบัญชีรายพระนามที่สิทธิราชสมบัติ ตามวิธีการจัดในกฎมณเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ลงนามพระนามกำกับว่าถูกต้อง เพื่อเสนอต่อ "สภาผู้แทนราษฎร"
๒. บัญชีรายพระนามที่สิทธิราชสมบัติ ตามวิธีการจัดในกฎมณเทียรบาล มีพระนามพระราชโอรส และพระราชนัดดา ในพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเรียงตามศักดิของพระมารดา และพระชนมายุ ดังนี้
๑. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สิ้นพระชนม์)
๒. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล
๓. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
๔. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
๕. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฎพงศ์บริพัตร
๖. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
๗. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
๘. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
๙. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ
๑๐. พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (สิ้นพระชนม์)
๑๑. หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร
๑๒. หม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร
๑๓. หม่อมเจ้าขจรจบกิติคุณ กิติยากร
๓. ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้การสืบสันตตวงศ์ให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.๒๔๖๗ ดังนั้น พระวรวงศ์พระองค์เจ้าอานันทมหิดล จึงทรงมีสิทธิถูกต้องทุกประการตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ข้อกล่าวที่ว่า นายปรีดี เป็นผู้เลือกนั้น ไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้เลือกและเชิญคือ "สภาผู้แทนราษฎร" ครับ
๒. บัญชีรายพระนามที่สิทธิราชสมบัติ ตามวิธีการจัดในกฎมณเทียรบาล มีพระนามพระราชโอรส และพระราชนัดดา ในพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเรียงตามศักดิของพระมารดา และพระชนมายุ ดังนี้
๑. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สิ้นพระชนม์)
๒. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล
๓. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
๔. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
๕. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฎพงศ์บริพัตร
๖. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
๗. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
๘. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
๙. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ
๑๐. พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (สิ้นพระชนม์)
๑๑. หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร
๑๒. หม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร
๑๓. หม่อมเจ้าขจรจบกิติคุณ กิติยากร
๓. ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้การสืบสันตตวงศ์ให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.๒๔๖๗ ดังนั้น พระวรวงศ์พระองค์เจ้าอานันทมหิดล จึงทรงมีสิทธิถูกต้องทุกประการตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ข้อกล่าวที่ว่า นายปรีดี เป็นผู้เลือกนั้น ไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้เลือกและเชิญคือ "สภาผู้แทนราษฎร" ครับ
ความคิดเห็นที่ 7
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม/ไทย ในหมวดพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ปี ๒๔๗๖ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรนั้น กำหนดให้การสืบราชสันตติวงศ์ ให้อนุโลมตาม "กฎมณเทียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗" โดยในกฎมณเทียรบาล กำหนดเกณฑ์การจัดลำดับการสืบสันตติวงศ์ดังนี้
(๑) พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระอัครมเหสี (สมเด็จหน่อพุทธเจ้า)
- สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ไม่ทรงมีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๒) หากสมเด็จหน่อพุทธเจ้าสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ให้อัญเชิญพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของสมเด็จหน่อพุทธเจ้าและพระอัครชายาของสมเด็จหน่อพุทธเจ้านั้นขึ้นทรงราชย์ หรือถ้าพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระราชโอรสพระองค์รอง ถัดไปตามลำดับพระชนมายุ
- เมื่อไม่ทรงมีพระราชโอรส จึงไม่มีพระราชนัดดา
(๓) หากสมเด็จหน่อพุทธเจ้าสิ้นพระชนม์ไปแล้ว และไม่มีพระราชโอรส ให้อัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ ๒ ในสมเด็จพระอัครมเหสี
- สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ไม่ทรงมีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๔) หากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ ๒ สิ้นพระชนม์ไปแล้ว แต่ถ้ามีพระโอรสอยู่ ก็ให้อัญเชิญพระโอรสของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นโดยอนุโลมตามเกณฑ์ในข้อ (๒) (เรียงตามลำดับอาวุโสของพระโอรส)
- สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ไม่ทรงมีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๕) หากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ ๒ ในสมเด็จพระอัครมเหสีสิ้นพระชนม์ไปแล้ว และไร้พระราชโอรส ให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์อื่นๆ ถัดไป ในสมเด็จพระอัครมเหสี หรือพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นๆ สลับกันไปตามลำดับอาวุโส โดยอนุโลมตามเกณฑ์ในข้อ (๒), (๓) และ (๔)
- สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ไม่ทรงมีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๖) หากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระอัครมเหสีสิ้นพระชนม์หมดแล้ว และพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้นๆ ก็สิ้นพระชนม์ด้วยแล้ว ให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระมเหสีรองถัดลงไปตามลำดับชั้นพระอิศริยยศแห่งพระมารดา หรือถ้าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหาพระองค์ไม่แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้น ๆ สลับกันตามลำดับ โดยอนุโลมตามเกณฑ์ในข้อ (๒), (๓) และ (๔)
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงมีพระมเหสีรอง และไม่มีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๗) หากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระมเหสีรองสิ้นพระชนม์หมดแล้ว และพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้น ๆ ก็สิ้นพระชนม์หมดด้วยแล้ว ให้อัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุมากที่สุด หรือถ้าพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระโอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น แต่ถ้าแม้ว่าพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุมากที่สุดนั้นสิ้นพระชนม์แล้ว และพระโอรสของท่านก็ทิวงคตแล้ว ก็ให้อัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุถัดลงมา หรือพระโอรสของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ โดยอนุโลมตามเกณฑ์ในข้อ (๒), (๓) และ (๔) แห่งมาตรานี้
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงมีพระสนม และไม่มีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๘) หากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไร้พระราชโอรสและพระราชนัดดา ให้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาที่ร่วมพระราชชนนีพระองค์ที่มีพระชนมายุถัดลงมาจากพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นทรงราชย์สืบสันตติวงศ์
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ จึงไม่ทรงมีพระอนุชาร่วมพระราชนนี
(๙) หากสมเด็จพระอนุชาพระองค์ที่ควรได้ทรงเป็นทายาทนั้นสิ้นพระชนม์เสียแล้ว ให้อัญเชิญพระโอรสของสมเด็จพระอนุชาพระองค์นั้นตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ (๒) แห่งมาตรานี้
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ จึงไม่ทรงมีพระอนุชาร่วมพระราชนนี
(๑๐) หากสมเด็จพระอนุชาพระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์แล้ว และพระโอรสของท่านก็สิ้นพระชนม์อีกด้วย ให้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาที่ร่วมพระชนนีพระองค์ที่ถัดลงมาตามลำดับพระชนมายุ หรือพระโอรสของสมเด็จพระอนุชาพระองค์นั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ อนุโลมตามข้อความในข้อ (๒), (๓) และ (๔) แห่งมาตรานี้
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ จึงไม่ทรงมีพระอนุชาร่วมพระราชนนี
(๑๑) หากสมเด็จพระอนุชาร่วมพระชนนีสิ้นพระชนม์หมดแล้ว และพระโอรสของสมเด็จพระอนุชานั้น ๆ ก็สิ้นพระชนม์แล้ว ให้อัญเชิญสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนี หรือพระโอรสของสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชานั้นๆ สลับกันไปตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ (๒), (๓), (๔) และ (๖) แห่งมาตรานี้
ซึ่งในกรณีนี้ เมื่อสิ้นสายสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ การสืบสันตติวงศ์จึงไปเริ่มต้นที่ สายสมเด็จพระศรีสวรินทริราบรมราชเทวีฯ ซึ่งเมื่อ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช สิ้นพระชนม์แล้ว การสืบสันตติวงศ์จึงเป็นสิทธิของพระโอรส ที่ประสูติแต่พระอัครชายา ซึ่งในกรณีนี้คือ "หม่อมสังวาลย์ มหิดล" ซึ่งเป็นสะใภ้หลวง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีเสกสมรสพระราชทาน และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) อันเป็นเครื่องหมายของสะใภ้หลวง จึงอนุโลมได้ว่า พระโอรสที่ประสูติแต่หม่อมสังวาลย์ เป็นพระโอรสที่ประสูติแต่พระอัครชายา
ถามว่า "สามัญชน" เป็น "พระอัครชายา" ในสมเด็จเจ้าฟ้า ได้หรือไม่ ในกรณีนี้ "หม่อมราชวงศ์สว่าง ศิริวงศ์ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์" และ "หม่อมแม้น บุนนาค ในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข" ทั้งสองท่าน ก็เป็นสะใภ้หลวง ซึ่งพระโอรสธิดา ที่ประสูติแต่ท่านทั้งสอง ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม กรณี "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช" พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ที่ประสูติแต่หม่อมระวี ไกยานนท์ ได้ถูกข้ามตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว รวมทั้ง หม่อมระวี เป็นเพียง "หม่อมในสมเด็จเจ้าฟ้า" ไม่ใช่ "สะใภ้หลวง" ซึ่งในกรณีนี้คือ "หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชุมพล" จึงทำให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ไม่มีคุณสมบัติครบตามที่กฎมณเทียรบาลกำหนด
เช่นเดียวกัน หากกรณีที่ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ สิ้นพระชนม์และไม่มีพระโอรส และสมมติ "สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต" สิ้นพระชนม์ สิทธิในการสืบสันตติวงศ์ จะตกแก่ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฎพงษ์บริพัตร" เพียงพระองค์เดียว เพราะทรงเป็นพระโอรสที่ประสูติแต่พระอัครชายา/สะใภ้หลวง
สิทธิจะไม่ตกแก่ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์สุขุมาภินันท์" ซึ่งเป็นพระโอรสที่ประสูติ "หม่อม" การสืบสันตติวงศ์ก็ไปที่ "สมเด็จพระพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศรวร"
(๑) พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระอัครมเหสี (สมเด็จหน่อพุทธเจ้า)
- สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ไม่ทรงมีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๒) หากสมเด็จหน่อพุทธเจ้าสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ให้อัญเชิญพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของสมเด็จหน่อพุทธเจ้าและพระอัครชายาของสมเด็จหน่อพุทธเจ้านั้นขึ้นทรงราชย์ หรือถ้าพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระราชโอรสพระองค์รอง ถัดไปตามลำดับพระชนมายุ
- เมื่อไม่ทรงมีพระราชโอรส จึงไม่มีพระราชนัดดา
(๓) หากสมเด็จหน่อพุทธเจ้าสิ้นพระชนม์ไปแล้ว และไม่มีพระราชโอรส ให้อัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ ๒ ในสมเด็จพระอัครมเหสี
- สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ไม่ทรงมีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๔) หากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ ๒ สิ้นพระชนม์ไปแล้ว แต่ถ้ามีพระโอรสอยู่ ก็ให้อัญเชิญพระโอรสของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นโดยอนุโลมตามเกณฑ์ในข้อ (๒) (เรียงตามลำดับอาวุโสของพระโอรส)
- สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ไม่ทรงมีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๕) หากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ ๒ ในสมเด็จพระอัครมเหสีสิ้นพระชนม์ไปแล้ว และไร้พระราชโอรส ให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์อื่นๆ ถัดไป ในสมเด็จพระอัครมเหสี หรือพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นๆ สลับกันไปตามลำดับอาวุโส โดยอนุโลมตามเกณฑ์ในข้อ (๒), (๓) และ (๔)
- สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ไม่ทรงมีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๖) หากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระอัครมเหสีสิ้นพระชนม์หมดแล้ว และพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้นๆ ก็สิ้นพระชนม์ด้วยแล้ว ให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระมเหสีรองถัดลงไปตามลำดับชั้นพระอิศริยยศแห่งพระมารดา หรือถ้าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหาพระองค์ไม่แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้น ๆ สลับกันตามลำดับ โดยอนุโลมตามเกณฑ์ในข้อ (๒), (๓) และ (๔)
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงมีพระมเหสีรอง และไม่มีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๗) หากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระมเหสีรองสิ้นพระชนม์หมดแล้ว และพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้น ๆ ก็สิ้นพระชนม์หมดด้วยแล้ว ให้อัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุมากที่สุด หรือถ้าพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระโอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น แต่ถ้าแม้ว่าพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุมากที่สุดนั้นสิ้นพระชนม์แล้ว และพระโอรสของท่านก็ทิวงคตแล้ว ก็ให้อัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุถัดลงมา หรือพระโอรสของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ โดยอนุโลมตามเกณฑ์ในข้อ (๒), (๓) และ (๔) แห่งมาตรานี้
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงมีพระสนม และไม่มีพระราชโอรส จึงไม่มีเจ้านายในชั้นนี้
(๘) หากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไร้พระราชโอรสและพระราชนัดดา ให้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาที่ร่วมพระราชชนนีพระองค์ที่มีพระชนมายุถัดลงมาจากพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นทรงราชย์สืบสันตติวงศ์
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ จึงไม่ทรงมีพระอนุชาร่วมพระราชนนี
(๙) หากสมเด็จพระอนุชาพระองค์ที่ควรได้ทรงเป็นทายาทนั้นสิ้นพระชนม์เสียแล้ว ให้อัญเชิญพระโอรสของสมเด็จพระอนุชาพระองค์นั้นตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ (๒) แห่งมาตรานี้
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ จึงไม่ทรงมีพระอนุชาร่วมพระราชนนี
(๑๐) หากสมเด็จพระอนุชาพระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์แล้ว และพระโอรสของท่านก็สิ้นพระชนม์อีกด้วย ให้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาที่ร่วมพระชนนีพระองค์ที่ถัดลงมาตามลำดับพระชนมายุ หรือพระโอรสของสมเด็จพระอนุชาพระองค์นั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ อนุโลมตามข้อความในข้อ (๒), (๓) และ (๔) แห่งมาตรานี้
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ จึงไม่ทรงมีพระอนุชาร่วมพระราชนนี
(๑๑) หากสมเด็จพระอนุชาร่วมพระชนนีสิ้นพระชนม์หมดแล้ว และพระโอรสของสมเด็จพระอนุชานั้น ๆ ก็สิ้นพระชนม์แล้ว ให้อัญเชิญสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนี หรือพระโอรสของสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชานั้นๆ สลับกันไปตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ (๒), (๓), (๔) และ (๖) แห่งมาตรานี้
ซึ่งในกรณีนี้ เมื่อสิ้นสายสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ การสืบสันตติวงศ์จึงไปเริ่มต้นที่ สายสมเด็จพระศรีสวรินทริราบรมราชเทวีฯ ซึ่งเมื่อ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช สิ้นพระชนม์แล้ว การสืบสันตติวงศ์จึงเป็นสิทธิของพระโอรส ที่ประสูติแต่พระอัครชายา ซึ่งในกรณีนี้คือ "หม่อมสังวาลย์ มหิดล" ซึ่งเป็นสะใภ้หลวง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีเสกสมรสพระราชทาน และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) อันเป็นเครื่องหมายของสะใภ้หลวง จึงอนุโลมได้ว่า พระโอรสที่ประสูติแต่หม่อมสังวาลย์ เป็นพระโอรสที่ประสูติแต่พระอัครชายา
ถามว่า "สามัญชน" เป็น "พระอัครชายา" ในสมเด็จเจ้าฟ้า ได้หรือไม่ ในกรณีนี้ "หม่อมราชวงศ์สว่าง ศิริวงศ์ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์" และ "หม่อมแม้น บุนนาค ในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข" ทั้งสองท่าน ก็เป็นสะใภ้หลวง ซึ่งพระโอรสธิดา ที่ประสูติแต่ท่านทั้งสอง ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม กรณี "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช" พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ที่ประสูติแต่หม่อมระวี ไกยานนท์ ได้ถูกข้ามตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว รวมทั้ง หม่อมระวี เป็นเพียง "หม่อมในสมเด็จเจ้าฟ้า" ไม่ใช่ "สะใภ้หลวง" ซึ่งในกรณีนี้คือ "หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชุมพล" จึงทำให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ไม่มีคุณสมบัติครบตามที่กฎมณเทียรบาลกำหนด
เช่นเดียวกัน หากกรณีที่ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ สิ้นพระชนม์และไม่มีพระโอรส และสมมติ "สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต" สิ้นพระชนม์ สิทธิในการสืบสันตติวงศ์ จะตกแก่ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฎพงษ์บริพัตร" เพียงพระองค์เดียว เพราะทรงเป็นพระโอรสที่ประสูติแต่พระอัครชายา/สะใภ้หลวง
สิทธิจะไม่ตกแก่ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์สุขุมาภินันท์" ซึ่งเป็นพระโอรสที่ประสูติ "หม่อม" การสืบสันตติวงศ์ก็ไปที่ "สมเด็จพระพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศรวร"
กระทู้นี้ถูกปิด ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้
เรียนเพื่อนสมาชิก
เนื่องจากบรรยากาศการสนทนาในกระทู้นี้อาจทำให้ผู้ไม่หวังดีสบช่องเบี่ยงเบนประเด็นสนทนา
โดยการแสดงความคิดเห็นพาดพิง หรือสร้างความเข้าใจที่ผิด ต่อสถาบันอันเป็นที่รักของเรา
ทีมงานจึงขอปิดการสนทนาในกระทู้นี้เพื่อรักษาบรรยากาศการสนทนาโดยรวมต่อไปค่ะ
หากมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อทีมงาน
ทีมงานเว็บไซต์พันทิป
www.ppantip.com
สอบถามเรื่องการเลือก ร.8 ครับ
พอดีผมอ่านผ่านในเนตเกี่ยวกับเรื่องของปรีดี แต่ผมหาไม่เจอแล้วว่าอ่านที่ไหน เลยอยากสอบถามในนี้เลยละกัน
1. ตอนนั้นปรีดีให้ใครช่วยเสนอชื่อคนที่จะขึ้นมาเป็นร.8ครับ
2. อันดับแรกคือใครครับ (ผมเข้าใจว่ามีมากกว่า 5 คน ในหลวงอานันทมหิดลน่าจะอยู่อันดับ 2 หรือ 3)
3. ทำไมปรีดีถึงตัดสินใจเลือกในหลวงอานันทมหิดลขึ้นมาเป็นร.8
ขอบคุณครับ