จำได้ว่าตอนเด็กเคยอ่านเจอในนิยายเรื่องหนึ่งค่ะ ได้กล่าวไว้ว่า "ถ้าไปงานศพญาติผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจมากกว่าให้แต่งขาว แต่ถ้าเป็นงานศพของคนที่อายุน้อยกว่าหรือมีศักดิ์ฐานะต่ำกว่าให้แต่งดำ"
ส่วนตัวก็เกิดความสงสัยว่าจะเป็นจริงหรือไม่เลยไปค้นมาค่ะ และเห็นว่าเป็นความรู้เลยได้คัดลอกมาให้ได้อ่านกัน ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยค่ะ
เครดิต
https://www.silpa-mag.com/featured/article_3358 และขออนุญาติยกเนื้อหาข้างในมานะคะ
สมัยโบราณ การแต่งกายไปงานศพแบ่งเป็นหลายแบบ ตามอายุและความเกี่ยวข้องกับผู้ตาย โดยกำหนดจากการใช้สีเสื้อผ้าต่างกัน 3 สี คือ สีดำ สีขาว และสีม่วงแก่หรือสีน้ำเงินแก่ดังนี้
สีขาว สำหรับผู้เยาว์หรือผู้ที่มีอายุอ่อนกว่าผู้ตาย เช่น ลูกหลานญาติสนิทหรือผู้อยู่ในอุปการะและสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพ
สีดำ สำหรับผู้ใหญ่หรือผู้ที่อายุแก่กว่าผู้ตาย
นุ่งสีม่วงแก่หรือน้ำเงินแก่สวมเสื้อขาว สำหรับผู้ที่มิได้เกี่ยวข้องเป็นญาติกับผู้ตาย
นุ่งดำสวมเสื้อขาว สำหรับมิตรสหายที่สนิทกับผู้ตาย
การแต่งกายสีต่างกันในงานศพสมัยโบราณทำให้ผู้พบเห็นสามารถรู้ทันทีว่าผู้นั้นเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับผู้ตายอย่างไร เพียงไร และทำให้ผู้ที่จะไปงานนั้นๆ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และเทือกเถาเหล่ากอหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในสกุลของตน เพื่อที่จะได้แต่งสีให้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม เรื่องสีของการแต่งกายนี้ มีเรื่องที่ถือเป็นกรณีพิเศษอยู่บ้าง เช่น การฉลองพระองค์ขาวของพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อสด็จในงานพระศพของพระราชธิดาบางพระองค์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงฉลองพระองค์พระภูษาลายพื้นขาว ในการพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนศรีสุนทรเทพ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์พระภูษาขาว ในงานพระเมรุพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์พระภูษาขาว ในงานพระเมรุพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี
และนี่อีกอันค่ะ
http://board.palungjit.org/f61/ธรรมเนียมการแต่งกายในงานศพ-342013.html
ธรรมเนียมการแต่งกายในงานศพ
พระอาจารย์ กล่าวถึงการแต่งกายในงานศพว่า "ธรรมเนียมการไว้ทุกข์หรือเข้าทุกข์ของคนไทยโบราณ นิยมแต่งกายด้วยชุดขาวล้วน เป็นการไว้ทุกข์แก่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ รวมถึงการไว้ทุกข์ถวายเจ้านายด้วย
การไว้ทุกข์ด้วยชุดขาวปลอดนี้ บางทีเรียกว่า "เข้าทุกข์ใหญ่" เป็นการไว้ทุกข์เต็มยศแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใส่แขนทุกข์หรือปลอกผ้าสีดำอีก ต่างจากการแต่งเครื่องแบบที่เป็นการแต่งกายตามปกติ แต่ยังไม่ได้ไว้ทุกข์ จึงต้องใส่แขนทุกข์ด้วย
อาตมาพูดมาเป็น ๑๐ ปีแล้ว เห็นเด็กแต่งชุดดำไปงานศพผู้ใหญ่แล้วรู้สึกอย่างไรบอกไม่ถูก สมัยโบราณคนที่อายุน้อยกว่าไปงานศพผู้ใหญ่กว่าต้องใส่ชุดขาวไป ถ้าหากว่าไปงานศพคนที่เด็กกว่า อายุน้อยกว่า หรือว่ายศต่ำกว่า ถึงใส่ชุดดำได้ อาตมาเห็นมาจนเบื่อแล้ว ตั้งแต่งานพระราชทานเพลิง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ งานถวายพระเพลิงสมเด็จพระศรีนครินทรา พระบรมราชชนนี งานพระราชทานเพลิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เห็นแล้วเบื่อสุดๆ ว่าแต่ละคนที่ไปนี่ใหญ่กว่าท่านทั้งนั้นเลย
ต่อให้งานศพทั่วๆ ไปก็เหมือนกัน คนอยู่บนเมรุนั่นอายุ ๖๐ - ๗๐ - ๘๐ ปี เด็กเมื่อวานซืนก็ใส่ชุดดำไป คราวนี้คนรู้ธรรมเนียมอย่างอาตมา พอเห็นแล้วก็สยอง แต่พอว่าไปแล้วเขาก็ไม่ค่อยใส่ใจกัน งานศพที่ วัดท่าขนุน อาตมาเตือนอยู่ ๒ เรื่องทุกครั้ง เรื่องหนึ่งก็คือการไว้ทุกข์ ถ้าคนตายอาวุโสกว่าให้ใส่สีขาวไป อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เราเป็นคนส่งศพ ให้เดินตามโลงศพ ไม่ใช่ไปแย่งพระจูงศพ..!
ส่วนใหญ่สมัยนี้เขาไปแย่งกันจับสายสิญจน์จูงศพ เรื่องของการจูงศพเป็นหน้าที่ของพระของเณร ถ้าจะเดินนำศพจริงๆ อนุญาตให้คนถือรูปผู้ตายกับกระถางธูปเท่านั้น นอกนั้นทุกอย่างไปเดินตามอยู่ข้างหลัง เตือนทุกครั้ง เตือนจนตอนนี้เริ่มเข้าหูแล้ว ถึงเวลาจึงวิ่งไปอยู่ท้ายโลง เพราะถ้าขืนมาหน้าโลงอาจจะโดนด้ามตาลปัตรจากพระอาจารย์..! เคาะกบาลเข้าถึงจะนึกได้
เขาก็บอกชัดๆ แล้วว่า ไปส่งศพ ไม่ได้ไปจูงศพ แล้วบางคนไม่รู้ไม่พอ ดุพระเณรด้วยนะ “ปล่อยสายสิญจน์ยาวๆ หน่อยสิ ไม่พอจูง” ปล่อยให้หมดม้วนก็ไม่พอหรอก เพราะบางงานคนมาเป็นพันเลย อย่างงานศพ ร้อยตำรวจตรีประเสริฐ บุญยงค์ โยมพ่อของท่านนายกเทศมนตรีประเทศ บุญยงค์ แขกเกิน ๒,๐๐๐ คนแน่นอน ถ้าขืนไปจูงศพแล้วจะเอาสายสิญจน์ที่ไหนมาให้จูง ๕๐๐ เมตรก็คงไม่พอ"
"บุคคลที่จะแต่งชุดสีดำ ต้องอาวุโสด้วยวัยวุฒิคืออายุมากกว่า หรืออาวุโสด้วยคุณวุฒิก็คือยศตำแหน่งสูงกว่า อย่างสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี วัยวุฒิและตำแหน่งของพระองค์ท่านสูงมาก บุคคลที่จะแต่งดำได้จริงๆ ปัจจุบันนี้จะมีอยู่แค่ ๔ พระองค์เท่านั้น ก็คือ ในหลวง สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แล้วก็สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เพราะว่าพระอิสริยยศสูงกว่า
แต่คราวนี้ในหลวงทรงพระราชทานอิสริยศประดับฉัตร ๗ ชั้น พอได้สัปตปฎลเศวตฉัตรไป ก็เหลือแค่ ๒ พระองค์เท่านั้นที่จะแต่งดำได้ ก็คือในหลวงกับพระบรมราชินีนาถ ความจริงฉัตร ๗ ชั้น พระยศเท่ากับสมเด็จพระราชินีนาถเลยนะ แต่เนื่องจากว่าสมเด็จพระราชินีนาถดำรงตำแหน่งที่สูงกว่า จึงสามารถที่จะแต่งดำได้
เพราะฉะนั้น..ต่อไปชาววัดท่าขนุน ถึงเวลาไปงานศพผู้ใหญ่ให้แต่งสีขาวไป สุภาพเรียบร้อยกว่าเยอะเลย แต่ว่าระยะหลังนี่มีค่านิยมอย่างหนึ่งที่เห็นแล้วหงุดหงิด อยากจะเรียกมาโบกเสียที..! ก็คือพวกที่ไปงานศพแล้วแต่งตัวเป็นแฟชั่น เคยเห็นไหม ? เขาตั้งใจแต่งตัวไปอวดกันจริงๆ นั่นเขาเรียกว่าไม่ดูกาลเทศะ
แต่งตัวอย่างกับจะไปเดินแฟชั่นโชว์ ไม่ดูว่าเป็นงานศพ ต่อให้เป็นชุดขาวชุดดำอะไรก็เถอะ เขาถือว่าไม่ให้เกียรติผู้ตาย จะไปไว้อาลัย ไปเพราะเห็นความดีของท่าน ไปเสริมเกียรติยศของท่าน แต่ดันไปทำตัวเพื่อลดเกียรติยศของท่านเสียนี่
สรุปว่า อาตมาแก่เกินไป ตกยุค เดี๋ยวนี้เขานิยมอย่างนั้น แต่เป็นการนิยมที่ผิดกาลเทศะ"
สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๕
การแต่งกายในงานศพสมัยโบราณ
ส่วนตัวก็เกิดความสงสัยว่าจะเป็นจริงหรือไม่เลยไปค้นมาค่ะ และเห็นว่าเป็นความรู้เลยได้คัดลอกมาให้ได้อ่านกัน ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยค่ะ
เครดิต https://www.silpa-mag.com/featured/article_3358 และขออนุญาติยกเนื้อหาข้างในมานะคะ
สมัยโบราณ การแต่งกายไปงานศพแบ่งเป็นหลายแบบ ตามอายุและความเกี่ยวข้องกับผู้ตาย โดยกำหนดจากการใช้สีเสื้อผ้าต่างกัน 3 สี คือ สีดำ สีขาว และสีม่วงแก่หรือสีน้ำเงินแก่ดังนี้
สีขาว สำหรับผู้เยาว์หรือผู้ที่มีอายุอ่อนกว่าผู้ตาย เช่น ลูกหลานญาติสนิทหรือผู้อยู่ในอุปการะและสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพ
สีดำ สำหรับผู้ใหญ่หรือผู้ที่อายุแก่กว่าผู้ตาย
นุ่งสีม่วงแก่หรือน้ำเงินแก่สวมเสื้อขาว สำหรับผู้ที่มิได้เกี่ยวข้องเป็นญาติกับผู้ตาย
นุ่งดำสวมเสื้อขาว สำหรับมิตรสหายที่สนิทกับผู้ตาย
การแต่งกายสีต่างกันในงานศพสมัยโบราณทำให้ผู้พบเห็นสามารถรู้ทันทีว่าผู้นั้นเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับผู้ตายอย่างไร เพียงไร และทำให้ผู้ที่จะไปงานนั้นๆ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และเทือกเถาเหล่ากอหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในสกุลของตน เพื่อที่จะได้แต่งสีให้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม เรื่องสีของการแต่งกายนี้ มีเรื่องที่ถือเป็นกรณีพิเศษอยู่บ้าง เช่น การฉลองพระองค์ขาวของพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อสด็จในงานพระศพของพระราชธิดาบางพระองค์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงฉลองพระองค์พระภูษาลายพื้นขาว ในการพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนศรีสุนทรเทพ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์พระภูษาขาว ในงานพระเมรุพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์พระภูษาขาว ในงานพระเมรุพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี
และนี่อีกอันค่ะ http://board.palungjit.org/f61/ธรรมเนียมการแต่งกายในงานศพ-342013.html
ธรรมเนียมการแต่งกายในงานศพ
พระอาจารย์ กล่าวถึงการแต่งกายในงานศพว่า "ธรรมเนียมการไว้ทุกข์หรือเข้าทุกข์ของคนไทยโบราณ นิยมแต่งกายด้วยชุดขาวล้วน เป็นการไว้ทุกข์แก่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ รวมถึงการไว้ทุกข์ถวายเจ้านายด้วย
การไว้ทุกข์ด้วยชุดขาวปลอดนี้ บางทีเรียกว่า "เข้าทุกข์ใหญ่" เป็นการไว้ทุกข์เต็มยศแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใส่แขนทุกข์หรือปลอกผ้าสีดำอีก ต่างจากการแต่งเครื่องแบบที่เป็นการแต่งกายตามปกติ แต่ยังไม่ได้ไว้ทุกข์ จึงต้องใส่แขนทุกข์ด้วย
อาตมาพูดมาเป็น ๑๐ ปีแล้ว เห็นเด็กแต่งชุดดำไปงานศพผู้ใหญ่แล้วรู้สึกอย่างไรบอกไม่ถูก สมัยโบราณคนที่อายุน้อยกว่าไปงานศพผู้ใหญ่กว่าต้องใส่ชุดขาวไป ถ้าหากว่าไปงานศพคนที่เด็กกว่า อายุน้อยกว่า หรือว่ายศต่ำกว่า ถึงใส่ชุดดำได้ อาตมาเห็นมาจนเบื่อแล้ว ตั้งแต่งานพระราชทานเพลิง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ งานถวายพระเพลิงสมเด็จพระศรีนครินทรา พระบรมราชชนนี งานพระราชทานเพลิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เห็นแล้วเบื่อสุดๆ ว่าแต่ละคนที่ไปนี่ใหญ่กว่าท่านทั้งนั้นเลย
ต่อให้งานศพทั่วๆ ไปก็เหมือนกัน คนอยู่บนเมรุนั่นอายุ ๖๐ - ๗๐ - ๘๐ ปี เด็กเมื่อวานซืนก็ใส่ชุดดำไป คราวนี้คนรู้ธรรมเนียมอย่างอาตมา พอเห็นแล้วก็สยอง แต่พอว่าไปแล้วเขาก็ไม่ค่อยใส่ใจกัน งานศพที่ วัดท่าขนุน อาตมาเตือนอยู่ ๒ เรื่องทุกครั้ง เรื่องหนึ่งก็คือการไว้ทุกข์ ถ้าคนตายอาวุโสกว่าให้ใส่สีขาวไป อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เราเป็นคนส่งศพ ให้เดินตามโลงศพ ไม่ใช่ไปแย่งพระจูงศพ..!
ส่วนใหญ่สมัยนี้เขาไปแย่งกันจับสายสิญจน์จูงศพ เรื่องของการจูงศพเป็นหน้าที่ของพระของเณร ถ้าจะเดินนำศพจริงๆ อนุญาตให้คนถือรูปผู้ตายกับกระถางธูปเท่านั้น นอกนั้นทุกอย่างไปเดินตามอยู่ข้างหลัง เตือนทุกครั้ง เตือนจนตอนนี้เริ่มเข้าหูแล้ว ถึงเวลาจึงวิ่งไปอยู่ท้ายโลง เพราะถ้าขืนมาหน้าโลงอาจจะโดนด้ามตาลปัตรจากพระอาจารย์..! เคาะกบาลเข้าถึงจะนึกได้
เขาก็บอกชัดๆ แล้วว่า ไปส่งศพ ไม่ได้ไปจูงศพ แล้วบางคนไม่รู้ไม่พอ ดุพระเณรด้วยนะ “ปล่อยสายสิญจน์ยาวๆ หน่อยสิ ไม่พอจูง” ปล่อยให้หมดม้วนก็ไม่พอหรอก เพราะบางงานคนมาเป็นพันเลย อย่างงานศพ ร้อยตำรวจตรีประเสริฐ บุญยงค์ โยมพ่อของท่านนายกเทศมนตรีประเทศ บุญยงค์ แขกเกิน ๒,๐๐๐ คนแน่นอน ถ้าขืนไปจูงศพแล้วจะเอาสายสิญจน์ที่ไหนมาให้จูง ๕๐๐ เมตรก็คงไม่พอ"
"บุคคลที่จะแต่งชุดสีดำ ต้องอาวุโสด้วยวัยวุฒิคืออายุมากกว่า หรืออาวุโสด้วยคุณวุฒิก็คือยศตำแหน่งสูงกว่า อย่างสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี วัยวุฒิและตำแหน่งของพระองค์ท่านสูงมาก บุคคลที่จะแต่งดำได้จริงๆ ปัจจุบันนี้จะมีอยู่แค่ ๔ พระองค์เท่านั้น ก็คือ ในหลวง สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แล้วก็สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เพราะว่าพระอิสริยยศสูงกว่า
แต่คราวนี้ในหลวงทรงพระราชทานอิสริยศประดับฉัตร ๗ ชั้น พอได้สัปตปฎลเศวตฉัตรไป ก็เหลือแค่ ๒ พระองค์เท่านั้นที่จะแต่งดำได้ ก็คือในหลวงกับพระบรมราชินีนาถ ความจริงฉัตร ๗ ชั้น พระยศเท่ากับสมเด็จพระราชินีนาถเลยนะ แต่เนื่องจากว่าสมเด็จพระราชินีนาถดำรงตำแหน่งที่สูงกว่า จึงสามารถที่จะแต่งดำได้
เพราะฉะนั้น..ต่อไปชาววัดท่าขนุน ถึงเวลาไปงานศพผู้ใหญ่ให้แต่งสีขาวไป สุภาพเรียบร้อยกว่าเยอะเลย แต่ว่าระยะหลังนี่มีค่านิยมอย่างหนึ่งที่เห็นแล้วหงุดหงิด อยากจะเรียกมาโบกเสียที..! ก็คือพวกที่ไปงานศพแล้วแต่งตัวเป็นแฟชั่น เคยเห็นไหม ? เขาตั้งใจแต่งตัวไปอวดกันจริงๆ นั่นเขาเรียกว่าไม่ดูกาลเทศะ
แต่งตัวอย่างกับจะไปเดินแฟชั่นโชว์ ไม่ดูว่าเป็นงานศพ ต่อให้เป็นชุดขาวชุดดำอะไรก็เถอะ เขาถือว่าไม่ให้เกียรติผู้ตาย จะไปไว้อาลัย ไปเพราะเห็นความดีของท่าน ไปเสริมเกียรติยศของท่าน แต่ดันไปทำตัวเพื่อลดเกียรติยศของท่านเสียนี่
สรุปว่า อาตมาแก่เกินไป ตกยุค เดี๋ยวนี้เขานิยมอย่างนั้น แต่เป็นการนิยมที่ผิดกาลเทศะ"
สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๕