ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ "ธรรมเนียมพระบรมศพและพระศพเจ้านาย"
เขียนโดย นนทพร อยู่มั่งมี และ ธัชชัย ยอดพิชัย
โดยศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ สำนักพิมพ์มติชน ฉบับพิมพ์ กันยายน พ.ศ.2551
------------
เมื่อมีการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก สิ่งที่ตามมานอกเหนือจากการเตรียมพิธีต่างๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยผู้วายชนม์ คือการเตรียมตัวของผู้ที่อยู่เบื้องหลังเพื่อแสดงออกถึงการไว้อาลัย หรือที่เรียกว่า การไว้ทุกข์ ซึ่งสามารถกระทำได้ตั้งแต่วันแรกของงานพิธี ด้วยวิธีต่างๆ ตามแต่สมัยนิยม โดยในหนังสือ "ธรรมเนียมพระบรมศพและพระศพเจ้านาย" เขียนโดย "นนทพร อยู่มั่งมี" และ "ธัชชัย ยอดพิชัย" จากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ได้เล่าถึง ๒ วิธีการไว้ทุกข์งานพระบรมศพหรือพระศพของเจ้านาย ดังนี้
ในอดีตเมื่อมีงานพระบรมศพหรือพระศพของเจ้านายจะมีการไว้ทุกข์โดยหลักอยู่ ๒ วิธีคือ สีของเครื่องแต่งกาย และการโกนผม เรื่องของการใช้สีมีธรรมเนียมระบุถึงสีที่แสดงสถานภาพระหว่างผู้ตายและผู้ที่ยังอยู่ คือ ๑.สีดำ ๒.สีขาว และ ๓.สีม่วงแก่หรือสีน้ำเงินแก่
สีดำ ใช้สำหรับผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีอายุแก่กว่าผู้ตาย สีขาว สำหรับผู้เยาว์หรืออ่อนกว่าผู้ตาย และสีม่วงแก่หรือสีน้ำเงิน สำหรับผู้ที่มิได้เป็นญาติเกี่ยวดองกับผู้ตายแต่ประการใด
สถานภาพทางสังคมและลำดับเครือญาติจะปรากฏจากสีของเครื่องแต่งกายในงานศพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้านายจะต้องเรียนรู้เพื่อที่จะไม่ต้องถูกตำหนิว่า "เป็นผู้ไม่มีความรู้เรื่องเลือดเนื้อของตัวเอง" ตามที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัยดิศกุล ทรงเล่าถึงใช้สีต่างๆ ในการแต่งกายไปงานศพว่า
ชาวบ้านแต่งขาวไว้ทุกข์ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชาวบ้านแต่งขาวไว้ทุกข์ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
"พวกเราเด็กๆ มักถูกเอ็ดเสมอเพราะแต่งไม่ถูกบ่อยๆและชักจะสนุกในการได้เปลี่ยนสีเครื่องแต่งตัวเสียด้วย บางครั้งพอได้ข่าวว่าเสด็จป้า เสด็จอา พระองค์ใดสิ้นพระชนม์ ก็รีบแต่งดำขึ้นไปเฝ้า พอถึงก็ถูกสมเด็จหญิงทรงถามว่า ไว้ทุกข์ใคร? เราทูลว่าพระองค์นั้นๆ เลยถูกไล่ให้ไปเปลี่ยนเร็ว เพราะท่านกำลังประชวรหนักไม่สิ้นสักที จะเป็นแต่งไปแช่งท่าน ส่วนในงานเวลาเมรุนั้นเราเด็กๆ ไม่ค่อยจะได้แต่งสีดำเลย เพราะไม่มีผู้ตายอายุอ่อนกว่า จึงต้องแต่งขาวอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดมีพวกเด็กเล็กตาย เราได้แต่งดำรู้สึกภาคภูมิเสียจริงๆ ส่วนสีน้ำเงินแก่นั้น เคยแต่งครั้งเดียว คือเมื่องานพระราชทานเพลิงศพ "พระยาอิศรพันธ์โสภณ (หนูอิศรางกูร)" เพราะในเวลานั้นยังไม่มีนามสกุล เรารู้จักกันแต่ว่าเป็นขุนนางคนหนึ่ง สมเด็จหญิงและพระเจ้าลูกเธอที่ทรงมีชันษาคราวเดียวกันทรงเป็นลูกศิษย์ของเจ้าคุณอิศรพันธ์โสภณ ทรงเรียกว่า คุณหนู ถึงวันเผาท่านก็ทรงขาวกันทุกพระองค์ และตรัสสั่งให้ข้าพเจ้านุ่งสีน้ำเงินแก่ตามเสด็จเพราะไม่ได้เป็นลูกศิษย์ พวกเรารู้สึกว่าโก้แทบตายเพราะไม่เคยนุ่งเลยสักครั้งเดียว"
การใช้สีให้ถูกต้องกับสถานภาพระหว่างผู้ล่วงลับกับผู้ที่ยังอยู่มีความเคร่งครัด โดยเฉพาะในบรรดาเจ้านายชั้นสูงที่มีเรื่องของฐานันดรศักดิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ธรรมเนียมปฏิบัติยิ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีกมาก เช่น การแต่งขาวยังสามารถแบ่งประเภทจากสีของผ้านุ่งว่าเป็นผ้าขาวล้วน หรือผ้าลายพื้นขาวได้อีก และยังต้องเหมาะสมแก่กาลเทศะ การปฏิบัติผิดธรรมเนียมอาจทำให้ถูกตำหนิได้ เช่น ในราชกิจจานุเบกษาสมัยรัชกาลที่ ๕ กล่าวถึงงานพระศพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นถาวรยศ และพระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ ที่เมรุวัดสระเกศ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๙ ปรากฏว่ามีเจ้านายบางพระองค์ปฏิบัติไม่ต้องด้วยธรรมเนียม ดังนี้
"ในวันนั้นพระบรมวงษานุวงษทรงผ้าลายพื้นขาวทั้งสิ้น แต่พระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมขุนภูวไนยนฤเบนทราธิบาล กับพระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมหมื่นเจริญผลภูลสวัสดิทรงผ้าขาวล้วน เหมือนกับพระเจ้าบรมวงษเธอ กรมหลวงวรศักดิพิศาล แลสมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลากรมพระบำราบปรปักษ การก็เกินไปสักน้อยด้วยมิใช่บรมวงษเหมือนท่าน ถ้าโดยจะนับถือเคารพต่อท่านผู้ซึ่งสิ้นพระชนมไปนั้นก็ควรจะทรงผ้าขาวล้วน แต่เวลาพระราชทานเพลิงวันเดียว ฤๅวันชักพระศพอีกวันหนึ่งเปนสองวันเท่านั้น แต่วันนอกนั้นไปไม่ควรจะทรงผ้าขาวล้วนเลย ซึ่งทรงทำดังนี้แรงไปนัก ถึงการพระศพ พระเจ้าบรมวงษเธอซึ่งมีมาแต่ก่อนๆ ในราชวรวงษก์ไม่เคยนุ่งขาวล้วนทั้งสามวันเลย"
ข้าราชบริพารฝ่ายในแต่งขาวเฝ้าถวายสักการะพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะะกระบวนแห่สู่พระเมรุมาศ
แม้ว่าธรรมเนียมการใช้สีเครื่องแต่งกายจะมีความเคร่งครัด แต่ในบางครั้งก็สามารถลดหย่อนได้เป็นกรณีพิเศษเมื่อเจ้านายพระองค์ที่ล่วงลับเป็นที่สนิทเสน่หายิ่ง อย่างเมื่อคราวที่เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์ ทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเอ็นดูอย่างยิ่ง ทรงมีพระราชดำรัสกับหมื่นนรินทรพิทักษ์ว่า"สิ้นลูกคนนี้แล้วพระเนตรมืดสี่ด้าน พระกรรณตึงสี่ด้าน" ในการพระศพนั้นพระองค์ทรงพระภูษาลายพื้นขาวทุกวัน ซึ่งมีพระราชดำรัสว่า "ลูกคนนี้รักมากต้องนุ่งขาวให้" หลังจากนี้ยังมีกรณีเช่นเดียวกันในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระภูษาขาวในงานพระเมรุพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ในปี พ.ศ. ๒๓๘๘ ซึ่งเป็นพระราชธิดาและได้ดูแลฝ่ายในทั้งหมด ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระภูษาขาวในงานพระเมรุพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี ใน พ.ศ. ๒๔๔๗ ผู้ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ประสูติก่อนสมเด็จพระราชบิดาเสด็จขึ้นเสวยราชย์
ทั้ง ๓ กรณีเป็นการใช้สีขาวกับเจ้านายที่สิ้นพระชนม์และมีพระชนมายุน้อยกว่า ซึ่งตามหลักเกณฑ์ต้องใช้สีดำ แต่กระนั้นก็ยังมีอีกกรณีหนึ่งที่เจ้านายมีพระชนมายุมากกว่าทรงพระภูษาขาวไปงานพระเมรุเจ้านายที่มีพระชนมายุน้อย ซึ่งอาจเป็นด้วยเหตุผลบางประการ คืองานพระเมรุของพระเจ้าน้องนางเธอพระองค์เจ้าหญิงเจริญกมลสุขสวัสดิ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ดังนี้
"พระบรมวงษานุวงทั้งนั้น ทรงผ้าพื้นดำทรงฉลองพระองค์ดำ แต่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลย ทรงผ้าสีน้ำเงินแก่ ฉลองพระองค์ขาว ทรงสภักษขาว เพราะพระชนพรรษาของท่านนั้นแก่กว่าพระองค์เจ้าที่สิ้นพระชน"
ชาวบ้านแต่งขาวขึ้นขวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวบนพระเมรุมาศ
กรณีนี้พระองค์เจ้าที่สิ้นพระชนม์เป็นพระธิดาองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสูติในรัชกาลต่อมา เมื่อปีพ.ศ.๒๔๑๑และมีฐานะเป็นพระขนิษฐา ส่วนพระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนสุพรรณภาควดี) ทรงประสูติตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนขึ้นครองราชย์ กับทั้งยังประสูติในปีเดียวกัน แต่พระชนมายุเดือนมากกว่า ด้วยเหตุนี้หากนับเดือนเกิดเป็นเกณฑ์จะต้องทรงภูษาดำ แต่การที่ทรงฉลองพระองค์ขาวอาจเป็นเพราะเรื่องการนับญาติที่เป็นพระขนิษฐา (น้อง) ของพระมหากษัตริย์ แม้สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนมายุเพียง ๗ ปีเท่านั้น หากเป็นเช่นนี้ก็ย่อมจะต้องถวายพระเกียรติให้สูงกว่าพระองค์ด้วยการใช้สีขาว แต่ก็ไม่ใช่สีขาวล้วนตามฐานันดรพระบรมวงศ์เธอควรใช้ ทรงใช้ผ้านุ่ง (ทรงผ้า) สีน้ำเงินแก่ที่ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นญาติกับผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นสีที่เป็นกลางที่สุดเมื่อประกอบด้วยกับฉลองพระองค์ขาว การใช้สีเครื่องทรงของพระองค์ในลักษณะ "ก้ำกึ่ง" จึงเป็นวิธีแก้ปัญหาเรื่องสถานภาพของการใช้สีไว้ทุกข์ ขณะที่เจ้านายพระองค์อื่นล้วนทรงพระภูษาดำ เพราะมีพระชนมายุมากกว่าทั้งสิ้น
การไว้ทุกข์ตามโบราณราชประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ การโกนผม เพื่อแสดงความเคารพอาลัย ในอดีตผู้ที่จะโกนผมจะต้องอยู่ในสังกัดมูลนายที่เสียชีวิต ยกเว้นแต่เพียงการสวรรคตของพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ทุกคนต้องโกนผม นอกจากนี้แล้วต่อเมื่อมีพระบรมราชโองการเป็นพิเศษจึงมีการโกนผมทั้งแผ่นดิน เช่นสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบรมราชโองการใช้ราษฎรทุกคนโกนผมไว้ทุกข์ในงานพระบรมศพกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท แต่มีข้อยกเว้นสำหรับคนที่ไว้ผมมวย ผมจุก และองค์พระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระภูษาขาวล้วนเสด็จฯในการเก็บพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมารัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯให่ใช้ธรรมเนียมเดิมในงานพระบรมศพกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยให้โกนผมเฉพาะพระเจ้าลูกเธอ หลานเธอ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ไปจนถึงข้ารับใช้ทั้งชายหญิงในสังกัดกรมพระราชวังบวร ส่วนราษฎรทั่วไปให้งดเว้น จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงโปรดเกล้าฯออกประกาศ ๒ ฉบับ ให้ราษฎรทั่วไปไม่ต้องโกนผมในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทำให้ทราบอีกว่าการโกนผมไว้ทุกข์ยังเป็นธรรมเนียมของราษฎรทั่วไปที่บิดา มารดา และสามีเสียชีวิตด้วย
"มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ในการสวรรคตในพระบวรราชวังครั้งนี้ข้าราชการและราษฎรไพร่หลวงสังกัดพรรค์ทาสเชลยบรรดาที่มิใช่สังกัดขึ้นข้าวังหน้าทั้งชายหญิงเว้นแต่ข้าเจ้าที่สิ้นพระชนม์ แลบ่าวนายตาย แลที่บิดามารดาตาย แลหญิงผัวตาย อันผู้ใดมิทันรู้พลอยโกนผมเกินไปแล้ว ให้ผู้นั้นมาลุแก่โทษต่อจมื่นราชามาตย์โดยเร็ว ถ้าไม่มาลุแก่โทษ นิ่งนอนใจเสีย มีผู้ส่อนำตัวจับมาได้จะให้ปรับไหมมีโทษแก่ผู้นั้นเป็นการล่วงพระราชอาญา ถ้ามาลุแก่โทษแล้วรับตั๋วประทับตราไปเป็นสำคัญ"
ภาพข้าราชบริพารกำลังเตรียมงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในภาพจะเห็นการไว้ทุกข์ตามโบราณราชประเพณีที่โกนผมนุ่งขาวห่มขาวทั้งพระนคร จิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งทรงผนวชณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ
การโกนผมไว้ทุกข์ได้ถูกยกเลิกในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระราชดำริของพระชนกนาถไม่ทรงมีพระราชประสงค์สร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎร จากธรรมเนียมนี้ในเวลาที่ราษฎรต้องโศกเศร้าเมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคตจากความบางตอนตามประกาศเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ร.ศ.๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓)
"ความเศร้าโศกสาหัสอันบังเกิดขึ้นในพระบรมมหาราชวังครั้งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงแน่ในพระหฤทัยว่า จะเป็นความเศร้าโศกแก่ประชาชนทั้งหลายทั่วไปในราชอาณาจักร เพราะเหตุที่สมเด็จพระชนกาธิราชได้ทรงพระกรุณาทำนุบำรุงมาทั่วกัน
อนึ่ง ตามโบราณราชประเพณีในเวลาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการราษฎรทั้งหลายต้องโกนผมแทนการไว้ทุกข์ทั่วทั้งพระราชอาณาจักร แต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถได้ทรงมีพระราชดำรัสสั่งไว้ว่าการไว้ทุกข์เช่นที่กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมเป็นเครื่องเดือดร้อนอยู่เป็นอันมาก ให้ยกเลิกเสียทีเดียว"
ธรรมเนียมไว้ทุกข์ในงานพระบรมศพ พระศพ เจ้านายทั้งสองสิ่งดังกล่าวล้วนปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในอดีตเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเช่นนี้ แต่ธรรมเนียมบางอย่างได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปในเวลาต่อมา
http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1476446167
รู้จักวิธีการไว้ทุกข์ "สีเครื่องแต่งกาย" ตามธรรมเนียมพระบรมศพและพระศพเจ้านาย
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ "ธรรมเนียมพระบรมศพและพระศพเจ้านาย"
เขียนโดย นนทพร อยู่มั่งมี และ ธัชชัย ยอดพิชัย
โดยศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ สำนักพิมพ์มติชน ฉบับพิมพ์ กันยายน พ.ศ.2551
------------
เมื่อมีการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก สิ่งที่ตามมานอกเหนือจากการเตรียมพิธีต่างๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยผู้วายชนม์ คือการเตรียมตัวของผู้ที่อยู่เบื้องหลังเพื่อแสดงออกถึงการไว้อาลัย หรือที่เรียกว่า การไว้ทุกข์ ซึ่งสามารถกระทำได้ตั้งแต่วันแรกของงานพิธี ด้วยวิธีต่างๆ ตามแต่สมัยนิยม โดยในหนังสือ "ธรรมเนียมพระบรมศพและพระศพเจ้านาย" เขียนโดย "นนทพร อยู่มั่งมี" และ "ธัชชัย ยอดพิชัย" จากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ได้เล่าถึง ๒ วิธีการไว้ทุกข์งานพระบรมศพหรือพระศพของเจ้านาย ดังนี้
ในอดีตเมื่อมีงานพระบรมศพหรือพระศพของเจ้านายจะมีการไว้ทุกข์โดยหลักอยู่ ๒ วิธีคือ สีของเครื่องแต่งกาย และการโกนผม เรื่องของการใช้สีมีธรรมเนียมระบุถึงสีที่แสดงสถานภาพระหว่างผู้ตายและผู้ที่ยังอยู่ คือ ๑.สีดำ ๒.สีขาว และ ๓.สีม่วงแก่หรือสีน้ำเงินแก่
สีดำ ใช้สำหรับผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีอายุแก่กว่าผู้ตาย สีขาว สำหรับผู้เยาว์หรืออ่อนกว่าผู้ตาย และสีม่วงแก่หรือสีน้ำเงิน สำหรับผู้ที่มิได้เป็นญาติเกี่ยวดองกับผู้ตายแต่ประการใด
สถานภาพทางสังคมและลำดับเครือญาติจะปรากฏจากสีของเครื่องแต่งกายในงานศพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้านายจะต้องเรียนรู้เพื่อที่จะไม่ต้องถูกตำหนิว่า "เป็นผู้ไม่มีความรู้เรื่องเลือดเนื้อของตัวเอง" ตามที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัยดิศกุล ทรงเล่าถึงใช้สีต่างๆ ในการแต่งกายไปงานศพว่า
ชาวบ้านแต่งขาวไว้ทุกข์ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชาวบ้านแต่งขาวไว้ทุกข์ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
"พวกเราเด็กๆ มักถูกเอ็ดเสมอเพราะแต่งไม่ถูกบ่อยๆและชักจะสนุกในการได้เปลี่ยนสีเครื่องแต่งตัวเสียด้วย บางครั้งพอได้ข่าวว่าเสด็จป้า เสด็จอา พระองค์ใดสิ้นพระชนม์ ก็รีบแต่งดำขึ้นไปเฝ้า พอถึงก็ถูกสมเด็จหญิงทรงถามว่า ไว้ทุกข์ใคร? เราทูลว่าพระองค์นั้นๆ เลยถูกไล่ให้ไปเปลี่ยนเร็ว เพราะท่านกำลังประชวรหนักไม่สิ้นสักที จะเป็นแต่งไปแช่งท่าน ส่วนในงานเวลาเมรุนั้นเราเด็กๆ ไม่ค่อยจะได้แต่งสีดำเลย เพราะไม่มีผู้ตายอายุอ่อนกว่า จึงต้องแต่งขาวอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดมีพวกเด็กเล็กตาย เราได้แต่งดำรู้สึกภาคภูมิเสียจริงๆ ส่วนสีน้ำเงินแก่นั้น เคยแต่งครั้งเดียว คือเมื่องานพระราชทานเพลิงศพ "พระยาอิศรพันธ์โสภณ (หนูอิศรางกูร)" เพราะในเวลานั้นยังไม่มีนามสกุล เรารู้จักกันแต่ว่าเป็นขุนนางคนหนึ่ง สมเด็จหญิงและพระเจ้าลูกเธอที่ทรงมีชันษาคราวเดียวกันทรงเป็นลูกศิษย์ของเจ้าคุณอิศรพันธ์โสภณ ทรงเรียกว่า คุณหนู ถึงวันเผาท่านก็ทรงขาวกันทุกพระองค์ และตรัสสั่งให้ข้าพเจ้านุ่งสีน้ำเงินแก่ตามเสด็จเพราะไม่ได้เป็นลูกศิษย์ พวกเรารู้สึกว่าโก้แทบตายเพราะไม่เคยนุ่งเลยสักครั้งเดียว"
การใช้สีให้ถูกต้องกับสถานภาพระหว่างผู้ล่วงลับกับผู้ที่ยังอยู่มีความเคร่งครัด โดยเฉพาะในบรรดาเจ้านายชั้นสูงที่มีเรื่องของฐานันดรศักดิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ธรรมเนียมปฏิบัติยิ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีกมาก เช่น การแต่งขาวยังสามารถแบ่งประเภทจากสีของผ้านุ่งว่าเป็นผ้าขาวล้วน หรือผ้าลายพื้นขาวได้อีก และยังต้องเหมาะสมแก่กาลเทศะ การปฏิบัติผิดธรรมเนียมอาจทำให้ถูกตำหนิได้ เช่น ในราชกิจจานุเบกษาสมัยรัชกาลที่ ๕ กล่าวถึงงานพระศพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นถาวรยศ และพระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ ที่เมรุวัดสระเกศ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๙ ปรากฏว่ามีเจ้านายบางพระองค์ปฏิบัติไม่ต้องด้วยธรรมเนียม ดังนี้
"ในวันนั้นพระบรมวงษานุวงษทรงผ้าลายพื้นขาวทั้งสิ้น แต่พระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมขุนภูวไนยนฤเบนทราธิบาล กับพระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมหมื่นเจริญผลภูลสวัสดิทรงผ้าขาวล้วน เหมือนกับพระเจ้าบรมวงษเธอ กรมหลวงวรศักดิพิศาล แลสมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลากรมพระบำราบปรปักษ การก็เกินไปสักน้อยด้วยมิใช่บรมวงษเหมือนท่าน ถ้าโดยจะนับถือเคารพต่อท่านผู้ซึ่งสิ้นพระชนมไปนั้นก็ควรจะทรงผ้าขาวล้วน แต่เวลาพระราชทานเพลิงวันเดียว ฤๅวันชักพระศพอีกวันหนึ่งเปนสองวันเท่านั้น แต่วันนอกนั้นไปไม่ควรจะทรงผ้าขาวล้วนเลย ซึ่งทรงทำดังนี้แรงไปนัก ถึงการพระศพ พระเจ้าบรมวงษเธอซึ่งมีมาแต่ก่อนๆ ในราชวรวงษก์ไม่เคยนุ่งขาวล้วนทั้งสามวันเลย"
ข้าราชบริพารฝ่ายในแต่งขาวเฝ้าถวายสักการะพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะะกระบวนแห่สู่พระเมรุมาศ
แม้ว่าธรรมเนียมการใช้สีเครื่องแต่งกายจะมีความเคร่งครัด แต่ในบางครั้งก็สามารถลดหย่อนได้เป็นกรณีพิเศษเมื่อเจ้านายพระองค์ที่ล่วงลับเป็นที่สนิทเสน่หายิ่ง อย่างเมื่อคราวที่เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์ ทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเอ็นดูอย่างยิ่ง ทรงมีพระราชดำรัสกับหมื่นนรินทรพิทักษ์ว่า"สิ้นลูกคนนี้แล้วพระเนตรมืดสี่ด้าน พระกรรณตึงสี่ด้าน" ในการพระศพนั้นพระองค์ทรงพระภูษาลายพื้นขาวทุกวัน ซึ่งมีพระราชดำรัสว่า "ลูกคนนี้รักมากต้องนุ่งขาวให้" หลังจากนี้ยังมีกรณีเช่นเดียวกันในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระภูษาขาวในงานพระเมรุพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ในปี พ.ศ. ๒๓๘๘ ซึ่งเป็นพระราชธิดาและได้ดูแลฝ่ายในทั้งหมด ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระภูษาขาวในงานพระเมรุพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี ใน พ.ศ. ๒๔๔๗ ผู้ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ประสูติก่อนสมเด็จพระราชบิดาเสด็จขึ้นเสวยราชย์
ทั้ง ๓ กรณีเป็นการใช้สีขาวกับเจ้านายที่สิ้นพระชนม์และมีพระชนมายุน้อยกว่า ซึ่งตามหลักเกณฑ์ต้องใช้สีดำ แต่กระนั้นก็ยังมีอีกกรณีหนึ่งที่เจ้านายมีพระชนมายุมากกว่าทรงพระภูษาขาวไปงานพระเมรุเจ้านายที่มีพระชนมายุน้อย ซึ่งอาจเป็นด้วยเหตุผลบางประการ คืองานพระเมรุของพระเจ้าน้องนางเธอพระองค์เจ้าหญิงเจริญกมลสุขสวัสดิ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ดังนี้
"พระบรมวงษานุวงทั้งนั้น ทรงผ้าพื้นดำทรงฉลองพระองค์ดำ แต่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลย ทรงผ้าสีน้ำเงินแก่ ฉลองพระองค์ขาว ทรงสภักษขาว เพราะพระชนพรรษาของท่านนั้นแก่กว่าพระองค์เจ้าที่สิ้นพระชน"
ชาวบ้านแต่งขาวขึ้นขวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวบนพระเมรุมาศ
กรณีนี้พระองค์เจ้าที่สิ้นพระชนม์เป็นพระธิดาองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสูติในรัชกาลต่อมา เมื่อปีพ.ศ.๒๔๑๑และมีฐานะเป็นพระขนิษฐา ส่วนพระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนสุพรรณภาควดี) ทรงประสูติตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนขึ้นครองราชย์ กับทั้งยังประสูติในปีเดียวกัน แต่พระชนมายุเดือนมากกว่า ด้วยเหตุนี้หากนับเดือนเกิดเป็นเกณฑ์จะต้องทรงภูษาดำ แต่การที่ทรงฉลองพระองค์ขาวอาจเป็นเพราะเรื่องการนับญาติที่เป็นพระขนิษฐา (น้อง) ของพระมหากษัตริย์ แม้สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนมายุเพียง ๗ ปีเท่านั้น หากเป็นเช่นนี้ก็ย่อมจะต้องถวายพระเกียรติให้สูงกว่าพระองค์ด้วยการใช้สีขาว แต่ก็ไม่ใช่สีขาวล้วนตามฐานันดรพระบรมวงศ์เธอควรใช้ ทรงใช้ผ้านุ่ง (ทรงผ้า) สีน้ำเงินแก่ที่ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นญาติกับผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นสีที่เป็นกลางที่สุดเมื่อประกอบด้วยกับฉลองพระองค์ขาว การใช้สีเครื่องทรงของพระองค์ในลักษณะ "ก้ำกึ่ง" จึงเป็นวิธีแก้ปัญหาเรื่องสถานภาพของการใช้สีไว้ทุกข์ ขณะที่เจ้านายพระองค์อื่นล้วนทรงพระภูษาดำ เพราะมีพระชนมายุมากกว่าทั้งสิ้น
การไว้ทุกข์ตามโบราณราชประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ การโกนผม เพื่อแสดงความเคารพอาลัย ในอดีตผู้ที่จะโกนผมจะต้องอยู่ในสังกัดมูลนายที่เสียชีวิต ยกเว้นแต่เพียงการสวรรคตของพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ทุกคนต้องโกนผม นอกจากนี้แล้วต่อเมื่อมีพระบรมราชโองการเป็นพิเศษจึงมีการโกนผมทั้งแผ่นดิน เช่นสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบรมราชโองการใช้ราษฎรทุกคนโกนผมไว้ทุกข์ในงานพระบรมศพกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท แต่มีข้อยกเว้นสำหรับคนที่ไว้ผมมวย ผมจุก และองค์พระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระภูษาขาวล้วนเสด็จฯในการเก็บพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมารัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯให่ใช้ธรรมเนียมเดิมในงานพระบรมศพกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยให้โกนผมเฉพาะพระเจ้าลูกเธอ หลานเธอ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ไปจนถึงข้ารับใช้ทั้งชายหญิงในสังกัดกรมพระราชวังบวร ส่วนราษฎรทั่วไปให้งดเว้น จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงโปรดเกล้าฯออกประกาศ ๒ ฉบับ ให้ราษฎรทั่วไปไม่ต้องโกนผมในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทำให้ทราบอีกว่าการโกนผมไว้ทุกข์ยังเป็นธรรมเนียมของราษฎรทั่วไปที่บิดา มารดา และสามีเสียชีวิตด้วย
"มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ในการสวรรคตในพระบวรราชวังครั้งนี้ข้าราชการและราษฎรไพร่หลวงสังกัดพรรค์ทาสเชลยบรรดาที่มิใช่สังกัดขึ้นข้าวังหน้าทั้งชายหญิงเว้นแต่ข้าเจ้าที่สิ้นพระชนม์ แลบ่าวนายตาย แลที่บิดามารดาตาย แลหญิงผัวตาย อันผู้ใดมิทันรู้พลอยโกนผมเกินไปแล้ว ให้ผู้นั้นมาลุแก่โทษต่อจมื่นราชามาตย์โดยเร็ว ถ้าไม่มาลุแก่โทษ นิ่งนอนใจเสีย มีผู้ส่อนำตัวจับมาได้จะให้ปรับไหมมีโทษแก่ผู้นั้นเป็นการล่วงพระราชอาญา ถ้ามาลุแก่โทษแล้วรับตั๋วประทับตราไปเป็นสำคัญ"
ภาพข้าราชบริพารกำลังเตรียมงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในภาพจะเห็นการไว้ทุกข์ตามโบราณราชประเพณีที่โกนผมนุ่งขาวห่มขาวทั้งพระนคร จิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งทรงผนวชณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ
การโกนผมไว้ทุกข์ได้ถูกยกเลิกในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระราชดำริของพระชนกนาถไม่ทรงมีพระราชประสงค์สร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎร จากธรรมเนียมนี้ในเวลาที่ราษฎรต้องโศกเศร้าเมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคตจากความบางตอนตามประกาศเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ร.ศ.๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓)
"ความเศร้าโศกสาหัสอันบังเกิดขึ้นในพระบรมมหาราชวังครั้งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงแน่ในพระหฤทัยว่า จะเป็นความเศร้าโศกแก่ประชาชนทั้งหลายทั่วไปในราชอาณาจักร เพราะเหตุที่สมเด็จพระชนกาธิราชได้ทรงพระกรุณาทำนุบำรุงมาทั่วกัน
อนึ่ง ตามโบราณราชประเพณีในเวลาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการราษฎรทั้งหลายต้องโกนผมแทนการไว้ทุกข์ทั่วทั้งพระราชอาณาจักร แต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถได้ทรงมีพระราชดำรัสสั่งไว้ว่าการไว้ทุกข์เช่นที่กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมเป็นเครื่องเดือดร้อนอยู่เป็นอันมาก ให้ยกเลิกเสียทีเดียว"
ธรรมเนียมไว้ทุกข์ในงานพระบรมศพ พระศพ เจ้านายทั้งสองสิ่งดังกล่าวล้วนปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในอดีตเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเช่นนี้ แต่ธรรมเนียมบางอย่างได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปในเวลาต่อมา
http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1476446167