เนื่องด้วยประเทศไทยกำลังจะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเร็ววันนี้ ผมจึงขอนำเรื่องหลักฐานเกี่ยวกับพระราชพิธีราชาภิเษกในสมัยกรุงศรีอยุทธยามาให้ทุกท่านได้ศึกษาเป็นความรู้กันนะครับ
ภาพเขียนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรแห่งกรุงศรีอยุทธยา (ในภาษาพม่าระบุพระนามผิดเป็นพระเจ้าเอกทัศ)
ในสมุดพม่าชื่อ “นั้นเตวั้งรุปซุงประบุท” แปลว่า “เอกสารการบันทึกราชสำนัก พร้อมด้วยภาพเขียน”
ที่มา : เอกสารทะเบียนเลขที่ OMS/Mss Burmese 199, British Lbary, 48. (fig 5-18)
เมื่อกรุงศรีอยุทธยาล่มสลายใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ตำราขนบธรรมเนียมในราชสำนักได้สูญหายไปมาก จนถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑ และ ๒ จึงได้ให้ข้าราชการผู้รู้แบบแผนธรรมเนียมครั้งกรุงศรีอยุทธยาประชุมกันแต่งตำราในราชสำนักขึ้นใหม่หลายเรื่อง ภายหลังได้มีการนำตำราหลายเรื่องมารวบรวมและตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ ๑๙ ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยา
หนึ่งในตำราสำคัญที่ถูกตีพิมพ์ไว้คือ “ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยา” ที่แต่งขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๖ ปีที่สองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ โดยข้าราชการผู้ใหญ่ ๔ ท่านคือ เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี พระยาราชสงคราม และพระยาอุทัยมนตรี สำหรับเก็บรักษาไว้ในหอหลวง
เนื้อหาของตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยาคือ
“กฎหมายซึ่งทำการพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งในหลวงวัดประดู่” ซึ่งก็คือจดหมายเหตุพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรแห่งกรุงศรีอยุทธยานั่นเอง ซึ่งมีการบรรยายขั้นตอนการจัดพระราชพิธีไว้อย่างละเอียดครบถ้วน
ตำราฉบับนี้ยังบันทึกพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและสมเด็จพระเจ้าเอกทัศแทรกไว้ด้วย แต่ไม่ได้รูปแบบสมบูรณ์ครบถ้วนเหมือนกับพระราชพิธีของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร สันนิษฐานว่าเพราะเหตุนี้ที่ทำให้ผู้แต่งเลือกนำพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรซึ่งมีความสมบูรณ์ที่สุดมาแต่งเป็นตำราสำหรับใช้เป็นแบบแผนปฏิบัติสำหรับราชสำนักกรุงรัตนโกสินทร์
สันนิษฐานว่าผู้แต่งตำราทั้ง ๔ เคยเป็นข้าราชการในสมัยกรุงศรีอยุทธยาที่มีโอกาสได้เห็นพระราชพิธีราชาภิเษกด้วยตนเอง เพราะสามารถบันทึกขั้นตอนของพระราชพิธีไว้อย่างละเอียด และยังมีข้อความตอนหนึ่งระบุไว้ว่า
“ข้าพเจ้าจำได้แต่เพียงนี้ แล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม”
ในที่นี้ ผู้เขียนขอคัดลอกเนื้อหาจาก
“ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยา” ที่ตีพิมพ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ จากหนังสือ ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยา กับพระวิจารณ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มาให้ผู้อ่านได้ศึกษาเป็นความรู้ครับ
“วัน ๕ ๑๐ฯ ๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ เบญจศก (พ.ศ. ๒๓๒๖) เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี พระยาราชสงคราม พระยาอุทัยมนตรี นั่งพร้อมกันแต่งกฎหมายซึ่งทำการพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งในหลวงวัดประดู่ไว้สำหรับหอหลวงฉะบับ ๑
ตั้งเตียงแว่นฟ้ามีเสาสี่เสามีเพดาน ตั้งบนพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท มีพิธีสงฆ์พิธีพราหมณ์ เทียนไชยพระสังฆราชจุด เทียนราวในหลวงทรงจุดบูชาพระ พระไชย พระชันษา พระมนต์ภิเษก พระเต้าเงิน ๑ พระเต้าทอง ๑ พระเต้านาค ๑ พระเต้าสัมฤทธิ์ ๒ พระนพพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ พระเสมาธิบัติ ๑ พระฉัตรไชย ๒ พระเกาวพ่าย ๑ พระมหาธงไชย ๑ พระกระบี่ธุช ๑ พระแสงง้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย ๑ พระแสงขอตีช้างล้ม ๑
เครื่องตั้งบนเตียงแว่นฟ้า หีบพระธำมรงค์ ลุ้งพระมาลาเบี่ยง ฉลองพระองค์เกราะ ๑ ฉลองพระองค์นวม ๑ พระเต้าเบญจคัพย์มีพระยันต์รอง ๕ พระมหาสังวาลพราหมณ์สร้อยอ่อน เศวตฉัตร ๑ ผ้ารัตกัมพล ๒ เบญจกกุธภัณฑ์ พระมหามงกุฎ ๑ พระขรรค์ไชยศรี ๑ พัชนีฝักมะขาม ๑ ธารพระกร ๑ ฉลองพระบาท ๑ รวม ๕ สิ่ง พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง ๑ พระแสงหอกไชย พระแสงของ้าว พระแสงดาบชะเลย พระแสงเขนมีดาบด้วย พระแสงจักร พระแสงตรีศูล พระแสงเกาทัณฑ์
ชีพ่อพราหมณ์ตั้งพระอิศวร ๑ นางอุมาภควดี ๑ พระนารายณ์ ๑ นางลักษมี ๑ รวม ๔ ทำพิธีพราหมณ์ด้วยทั้ง ๓ วัน เจ้าพนักงานปลูกโรงพระกระยาสนานข้างพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาทเป็นพระมณฑป มีนาคช่อห้อยช่อตั้งมีใบโพธิ์ห้อย หลังคาบุแผงปูผ้าขาวนอก มีเพดานผ้าขาวมีดอกจำปาทองห้อย มีม่านขาวและมณฑปหุ้มผ้าขาว มีราชวัตรฉัตรธง ฉัตรเงิน ฉัตรทอง ฉัตรนาค ฉัตรเบญจรงค์ ต้นกล้วย ต้นอ้อย ดอกหมาก ดอกมะพร้าว ประดับตามธรรมเนียม มีเตียงลาดเสื่ออ่อน ผ้าขาวปูข้างบนเสื่ออ่อน ถาดทองแดงปากกว้าง ๓ ศอกตั้งบนผ้าขาว เมื่อแรกตั้งการพระราชพิธี ๓ วันนั้น ในหลวงทรงพระภูษาลายพื้นขาวฉลองพระองค์กรอง ทรงพระมาลาเส้าสูงสี่กุหร่า เสด็จเพลาบ่ายไปทรงฟังสวดทั้ง ๓ วัน ทรงพระมหามงคล
ครั้นรุ่งขึ้นถึงฤกษ์จะราชาภิเษกนั้น ในหลวงเสด็จขึ้นไปแต่เพลาเช้าทรงศีลทรงประเคนสำรับพระสงฆ์แล้ว เมื่อจะเสด็จลงไปโรงพระกระยาสนานนั้น พระมหาราชครูเชิญเสด็จทรงเสื้อถอดทรงผ้าถอด พราหมณ์เชิญพระไชยนำเสด็จ และพระสงฆ์ก็ลงไปด้วยคอยฤกษ์อยู่ ครั้นได้ฤกษ์แล้วให้โหรชักกล่อม ชาวพระภูษามาลาถวายเครื่องพระมุรธาภิเษก แล้วชาวพระมาลาขุนศรีสยุมพรหลั่งน้ำสหัสธารา ครั้นสรงแล้วและพระสงฆ์ราชาคณะอธิการฝ่ายสมถะรดน้ำพระเต้าเงิน พระเต้าทอง พระเต้านาก พระเต้าสัมฤทธิ์แล้ว พราหมณ์ถวายน้ำพระกรด น้ำพระสงข์สะเดาะพระเคราะห์แล้ว ทรงพระภูษาลายพื้นแดงฉลองพระองค์กรองขึ้นมาบนพระที่นั่ง เสด็จขึ้นนั่งบนตั่งไม้มะเดื่อกว้างจตุรัสศอกคืบปูผ้าขาวโรยแป้งวางหญ้าคาผ้าขาวปกบน ผันพระพักตร์ไปทิศอีสาน มีตั่งน้อยกว้างศอกหนึ่งตั้งพระอัฐทิศ ตั้งกรด ตั้งสังข์ ทั้งแปดทิศดังนี้
มีผ้าขาวปูรองพระ พราหมณ์ถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัฎ ในหลวงรับด้วยพระหัตถ์สรงพระพักตร์แล้วเสวยหน่อยหนึ่ง พราหมณ์ถวายราชสมบัติ ถวายเวท ถวายมนต์ ถวายไชย ผันพระองค์ไปรอบทั้งแปดทิศ แล้วจึงเสด็จขึ้นบนพระภัทรบิฐ มีผ้าขาวปูแล้วโรยแป้งวางหญ้าคา แล้วปูแผ่นทองเขียนรูปราชสีห์ด้วยชาดหรคุณปกบนผ้าขาวดังนี้
พราหมณ์ถวายสุพรรณบัตร ถวายพระมหาสังวาลสร้อยอ่อน ถวายพระเศวตฉัตร ถวายผ้ารัตกัมพล ถวายพระมหามงกุฎ ถวายพระขรรค์ไชยศรี ถวายฉลองพระบาท ๗ สิ่ง แล้วถวายอัษฎาวุธ พระแสงปืน พระแสงหอกไชย พระแสงดาบชะเลย พระแสงของ้าว พระแสงจักร พระแสงตรีศูล พระแสงเขน พระแสงเกาทัณฑ์ ๘ สิ่ง แล้วพราหมณ์ถวายไชยถวายพร แล้วจึงมีรับสั่งแก่มหาราชครูผู้ใหญ่ว่า พรรณพฤกษ์และสิ่งของทั้งปวงซึ่งมีในแผ่นดินทั่วขอบเขตแดนพระนครซึ่งหาเจ้าของหวงแหนมิได้นั้น ตามแต่สมณะชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรจะปรารถนาเถิด จึงพระมหาราชครูผู้ใหญ่ซึ่งมีตระกูลรับพระราชโองการเป็นฤกษ์ก่อน แต่เพลานั้นสืบไป ข้าทูลละอองธุลีพระบาทจึงได้รับพระราชโองการสืบไปได้ ในหลวงทรงโปรยดอกพิกุลเงินพิกุลทอง แล้วพราหมณ์เป่าพระมหาสังข์ตีฆ้องไชยกลองอินทเถรีประโคมมะโหระทึกแตรสังข์มะโหรีขับไม้ประโคมแล้ว ในหลวงเสด็จไปทรงเครื่อง ชาวพระภูษามาลาถวายสนับเพลาเชิงงอนสองชั้น ภูษาริ้ววรวะยีจีบโจงโยคี รัดพระองค์หนามขนุน ทรงฉลองพระกรน้อย ทรงฉลองพระองค์สีย่นนอก รัดพระองค์แครงเหน็บพระแสงกั้นหยั่นภู่นิล ทรงพระธำมรงค์พลอยต่างกัน ทรงพระชฎาพระเกี้ยวแหวนแดงรวม ๙ สิ่ง มหาดเล็กถวายพระแสงใจเพชร ฉลองพระบาท เสด็จขึ้นพระราชยานแห่เครื่องสูงเป็นกระบวนลงมาพระตำหนักสวนกระต่าย เสร็จการ
มีกฎหมายเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ทำโคลงว่า เมื่อล้นเกล้าล้นกระหม่อมในพระบรมโกศขึ้นปราบดาภิเษก ปีฉลู เอกศกนั้น ตั้งการพระราชพิธีสงฆ์พิธีพราหมณ์บนพระที่นั่งพิมานรัตยาวังหน้า เจ้าพนักงานทำการและตั้งเครื่องทั้งปวงเหมือนกัน ผิดกันแต่ไม่ตั้งพระภัทรบิฐ ไม่ถวายเบญจกกุธภัณฑ์ ตั้งแต่ตั่งใหญ่น้อยแปดทิศ เสด็จขึ้นบนตั่งกลาง พราหมณ์ถวายน้ำพระมหาสังข์ ถวายราชสมบัติ ถวายเมือง ถวายเวทมนต์ แล้วถวายไชย
เมื่อครั้งในหลวงพระที่นั่งสุริยามรินทรขึ้นผ่านพิภพนั้น หาเสด็จขึ้นบนพระภัทรบิฐไม่ เสด็จขึ้นแต่บนตั่งอัฐทิศ ทำอย่างในหลวงในพระบรมโกศ ข้าพเจ้าจำได้แต่เพียงนี้ แล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม”
.
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ใช้พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรมาเป็นต้นแบบ แต่ไม่ได้เหมือนกันทุกประการ เพราะมีการเพิ่มขั้นตอนหรือปรับปรุงแก้ไขรูปแบบของพระราชพิธีให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยทุกรัชกาลมาโดยตลอดจนถึงรัชกาลปัจจุบันครับ
-----------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
- ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยา กับพระวิจารณ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. พระนคร, พิมพ์ในงานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย, ๒๔๙๓.
-----------------------------------------------------
หมายเหตุ : บทความทั้งหมดเรียบเรียงโดยผู้ดูแลเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ ผู้ดูแลเพจขอสงวนสิทธิไม่อนุญาตให้นำข้อมูลที่เผยแพร่ในเพจไปแก้ไข คัดลอก ดัดแปลง ทำซ้ำ เผยแพร่ต่อ และห้ามนำไปแสวงหาผลกำไรทางพาณิชย์โดยเด็ดขาด หากมีความประสงค์จะขอบทความของเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ไปเผยแพร่ต่อด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามต้องได้รับการยินยอมจากผู้ดูแลเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ในทุกกรณี ยกเว้นแต่การแชร์ (share) ในเฟสบุ๊คที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
สามารถอ่านบทความนี้และบทความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ "เพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์" ของผมนะครับ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/2171772219552903
พระราชพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
หนึ่งในตำราสำคัญที่ถูกตีพิมพ์ไว้คือ “ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยา” ที่แต่งขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๖ ปีที่สองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ โดยข้าราชการผู้ใหญ่ ๔ ท่านคือ เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี พระยาราชสงคราม และพระยาอุทัยมนตรี สำหรับเก็บรักษาไว้ในหอหลวง
เนื้อหาของตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยาคือ “กฎหมายซึ่งทำการพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งในหลวงวัดประดู่” ซึ่งก็คือจดหมายเหตุพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรแห่งกรุงศรีอยุทธยานั่นเอง ซึ่งมีการบรรยายขั้นตอนการจัดพระราชพิธีไว้อย่างละเอียดครบถ้วน
ตำราฉบับนี้ยังบันทึกพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและสมเด็จพระเจ้าเอกทัศแทรกไว้ด้วย แต่ไม่ได้รูปแบบสมบูรณ์ครบถ้วนเหมือนกับพระราชพิธีของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร สันนิษฐานว่าเพราะเหตุนี้ที่ทำให้ผู้แต่งเลือกนำพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรซึ่งมีความสมบูรณ์ที่สุดมาแต่งเป็นตำราสำหรับใช้เป็นแบบแผนปฏิบัติสำหรับราชสำนักกรุงรัตนโกสินทร์
สันนิษฐานว่าผู้แต่งตำราทั้ง ๔ เคยเป็นข้าราชการในสมัยกรุงศรีอยุทธยาที่มีโอกาสได้เห็นพระราชพิธีราชาภิเษกด้วยตนเอง เพราะสามารถบันทึกขั้นตอนของพระราชพิธีไว้อย่างละเอียด และยังมีข้อความตอนหนึ่งระบุไว้ว่า “ข้าพเจ้าจำได้แต่เพียงนี้ แล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม”
ในที่นี้ ผู้เขียนขอคัดลอกเนื้อหาจาก “ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยา” ที่ตีพิมพ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ จากหนังสือ ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยา กับพระวิจารณ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มาให้ผู้อ่านได้ศึกษาเป็นความรู้ครับ
“วัน ๕ ๑๐ฯ ๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ เบญจศก (พ.ศ. ๒๓๒๖) เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี พระยาราชสงคราม พระยาอุทัยมนตรี นั่งพร้อมกันแต่งกฎหมายซึ่งทำการพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งในหลวงวัดประดู่ไว้สำหรับหอหลวงฉะบับ ๑
ตั้งเตียงแว่นฟ้ามีเสาสี่เสามีเพดาน ตั้งบนพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท มีพิธีสงฆ์พิธีพราหมณ์ เทียนไชยพระสังฆราชจุด เทียนราวในหลวงทรงจุดบูชาพระ พระไชย พระชันษา พระมนต์ภิเษก พระเต้าเงิน ๑ พระเต้าทอง ๑ พระเต้านาค ๑ พระเต้าสัมฤทธิ์ ๒ พระนพพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ พระเสมาธิบัติ ๑ พระฉัตรไชย ๒ พระเกาวพ่าย ๑ พระมหาธงไชย ๑ พระกระบี่ธุช ๑ พระแสงง้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย ๑ พระแสงขอตีช้างล้ม ๑
เครื่องตั้งบนเตียงแว่นฟ้า หีบพระธำมรงค์ ลุ้งพระมาลาเบี่ยง ฉลองพระองค์เกราะ ๑ ฉลองพระองค์นวม ๑ พระเต้าเบญจคัพย์มีพระยันต์รอง ๕ พระมหาสังวาลพราหมณ์สร้อยอ่อน เศวตฉัตร ๑ ผ้ารัตกัมพล ๒ เบญจกกุธภัณฑ์ พระมหามงกุฎ ๑ พระขรรค์ไชยศรี ๑ พัชนีฝักมะขาม ๑ ธารพระกร ๑ ฉลองพระบาท ๑ รวม ๕ สิ่ง พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง ๑ พระแสงหอกไชย พระแสงของ้าว พระแสงดาบชะเลย พระแสงเขนมีดาบด้วย พระแสงจักร พระแสงตรีศูล พระแสงเกาทัณฑ์
ชีพ่อพราหมณ์ตั้งพระอิศวร ๑ นางอุมาภควดี ๑ พระนารายณ์ ๑ นางลักษมี ๑ รวม ๔ ทำพิธีพราหมณ์ด้วยทั้ง ๓ วัน เจ้าพนักงานปลูกโรงพระกระยาสนานข้างพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาทเป็นพระมณฑป มีนาคช่อห้อยช่อตั้งมีใบโพธิ์ห้อย หลังคาบุแผงปูผ้าขาวนอก มีเพดานผ้าขาวมีดอกจำปาทองห้อย มีม่านขาวและมณฑปหุ้มผ้าขาว มีราชวัตรฉัตรธง ฉัตรเงิน ฉัตรทอง ฉัตรนาค ฉัตรเบญจรงค์ ต้นกล้วย ต้นอ้อย ดอกหมาก ดอกมะพร้าว ประดับตามธรรมเนียม มีเตียงลาดเสื่ออ่อน ผ้าขาวปูข้างบนเสื่ออ่อน ถาดทองแดงปากกว้าง ๓ ศอกตั้งบนผ้าขาว เมื่อแรกตั้งการพระราชพิธี ๓ วันนั้น ในหลวงทรงพระภูษาลายพื้นขาวฉลองพระองค์กรอง ทรงพระมาลาเส้าสูงสี่กุหร่า เสด็จเพลาบ่ายไปทรงฟังสวดทั้ง ๓ วัน ทรงพระมหามงคล
เมื่อครั้งในหลวงพระที่นั่งสุริยามรินทรขึ้นผ่านพิภพนั้น หาเสด็จขึ้นบนพระภัทรบิฐไม่ เสด็จขึ้นแต่บนตั่งอัฐทิศ ทำอย่างในหลวงในพระบรมโกศ ข้าพเจ้าจำได้แต่เพียงนี้ แล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม”
.
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ใช้พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรมาเป็นต้นแบบ แต่ไม่ได้เหมือนกันทุกประการ เพราะมีการเพิ่มขั้นตอนหรือปรับปรุงแก้ไขรูปแบบของพระราชพิธีให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยทุกรัชกาลมาโดยตลอดจนถึงรัชกาลปัจจุบันครับ
-----------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
- ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยา กับพระวิจารณ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. พระนคร, พิมพ์ในงานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย, ๒๔๙๓.
-----------------------------------------------------
หมายเหตุ : บทความทั้งหมดเรียบเรียงโดยผู้ดูแลเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ ผู้ดูแลเพจขอสงวนสิทธิไม่อนุญาตให้นำข้อมูลที่เผยแพร่ในเพจไปแก้ไข คัดลอก ดัดแปลง ทำซ้ำ เผยแพร่ต่อ และห้ามนำไปแสวงหาผลกำไรทางพาณิชย์โดยเด็ดขาด หากมีความประสงค์จะขอบทความของเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ไปเผยแพร่ต่อด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามต้องได้รับการยินยอมจากผู้ดูแลเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ในทุกกรณี ยกเว้นแต่การแชร์ (share) ในเฟสบุ๊คที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
สามารถอ่านบทความนี้และบทความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ "เพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์" ของผมนะครับ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/2171772219552903