ประวัติความเป็นมาของรอยพระบาท ปี พ.ศ.๒๔๙๗ เริ่มสถานการณ์การก่อการร้ายในจังหวัดเชียงราย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้ส่งผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่งเข้ามาทางภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อแสวงหาแนวร่วมพื้นฐาน เป็นชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน จว.เชียงราย ,ชายแดน จว.พะเยา ในปัจจุบัน หลังจากได้ปลุกระดมชาวไทยภูเขาบางพื้นที่ประสบผลสำเร็จ ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ได้คัดเลือกแนวร่วมบางส่วนเพื่อส่งไปอบรมวิชาการเมืองและการทหารรุ่นแรกที่ เมืองฮัวมินห์ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม เพื่อกลับมาเตรียมปฏิบัติงานในพื้นที่ไว้รอรับสมาชิก พคท. ซึ่งได้เดินทางเข้าสู่พื้นที่ชายแดน จว.เชียงราย ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในการชี้นำ ด้านการเมืองและการทหาร เมื่อสามารถขยายผลงานได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง พคท.จึงเปิดฉากการต่อสู้ด้วยอาวุธกับเจ้าหน้าที่ในภาคเหนือขึ้นเป็นครั้งแรก ที่บ้านน้ำปาน ตำบลนาไร่หลวง อ.ทุ่งช้าง จว.น่าน เมื่อ วันที่ ๒๖ ก.พ.๒๕๑๐ ซึ่งถือว่าเป็นวัน "เสียงปืนแตก" ของ พคท.ในเขตภาคเหนือ ต่อจากนั้นได้มีการต่อสู้เรื่อยมา โดยในวันที่ ๑๐ พ.ค.๒๕๑๐ ได้มีการต่อสู้กับหน้าที่ฝ่ายรัฐบาล ที่บ้านห้วยชมภู ต.ยางฮอม อ.เทิง จว.เชียงราย (เป็นครั้งแรกในเขตพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น)
เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ พคท. สามารถจัดตั้งฐานที่มั่นในภาคเหนือได้ถึง ๙ แห่ง และฐานที่มั่นที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ "ฐานที่มั่นดอยยาว-ดอยผาหม่น" จว.เชียงราย พคท.ได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นโดยใช้ชื่อว่า "คณะกรรมการจังหวัดเชียงราย" แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ เขตงาน คือ เขตงาน ๕๒ , เขตงาน ๙ , เขตงาน ๗ และ เขตงาน ๘
สำหรับพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น เป็นพื้นที่ควบคุมของ เขตงาน ๘ ในเขต อ.เทิง และ อ.เชียงของ จว.เชียงราย รวมพื้นที่ อ.เวียงแก่น และ อ.ขุนตาล ในปัจจุบันด้วย กองกำลังติดอาวุธของ พคท.ในขณะนั้นมีประมาณ ๖๐๐ คน มีมวลชนซึ่งส่วนใหญ่ชาวเขาเผ่าม้ง ประมาณ ๒,๓๐๐ คน ความเคลื่อนไหวที่สำคัญ คือ ขัดขวางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการสร้างทาง และ การพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง การสู้รบ ณ สมรภูมิแห่งนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น ยุทธการอิทธิพลชัย (วีรกรรมดอยม่อนเคอ) , ยุทธการขุนน้ำโป่ง และยุทธการเกรียงไกร(วีรกรรม ณ เนิน ๑๑๘๘ ดอยพญาพิภักดิ์) โดยใช้กำลังทหารในพื้นที่ จว.เชียงราย เข้าปฏิบัติการกวาดล้าง และปราบปราม พคท. ตามคำสั่งกองทัพภาคที่ ๓ และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๓ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๕ จึงสามารถกำชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือ พคท.
เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ กองพันทหารราบที่ ๔๗๓ ซึ่งมี พ.ท.วิโรจน์ ทองมิตร เป็นผู้บังคับหน่วย (ตำแหน่ง ปกติ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๗) ได้นำกำลังทหารเข้าปฏิบัติการพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น ตามแผนการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ จนเกิดยุทธการยึด เนิน ๑๑๘๘ บนดอยพญาพิภักดิ์ ได้
เมื่อ วันที่ ๒๗ ก.พ.๒๕๒๕ ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช องค์จอมทัพไทย , สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ , สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ ได้เสด็จฯ เพื่อเยี่ยมเยือนทหารหาญและราษฎร ณ ฐานปฏิบัติการ ดอยพญาพิภักดิ์ บนดอยยาว เขต อ.เทิง จว.เชียงราย (ปัจจุบันเป็นเขต อ.ขุนตาล) และในวโรกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน ประทับรอยพระบาทของพระองค์ ลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร์ที่จัดเตรียมไว้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารกล้าทั้งปวง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ปัจจุบัน รอยพระบาท ได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ ณ ศาลารอยพระบาท บริเวณด้านหน้า กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๗ ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของกำลังพลคู่กับอนุสาวรีย์ผู้เสียสละและให้สาธารณชน เยาวชนคนรุ่นปัจจุบัน รวมถึงนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ได้เข้ามาเยี่ยมชมสืบต่อไปและ ปัจจุบันได้มีการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐาน รอยพระบาท ไว้บนดอยโหยด ค่ายเม็งรายมหาราชเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีพิธีการสมโภช และได้มีพิธีอัญเชิญรอยพระบาท ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ไป ประดิษฐาน ณ ที่แห่งใหม่ เมื่อ วันอังคารที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อเฉลิมฉลองในวันฉัตรมงคล สำเร็จ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หากนักเที่ยวต้องการเข้าไปเยี่ยมชมและสักการะ สามารถเดินทางเข้าไปยังค่ายเม็งรายมหาราช ได้ทั้งด้านหน้า ช่องทาง ๑ และด้านหลังค่าย ช่องทาง ๕ ( มีซุ้มประตู ชื่อ ศาลารอยพระบาท ) ผ่าน สนามกอล์ฟแม่กก คลับเฮาส์ อาคารที่พักรับรองริมแม่น้ำกก และ ผ่าน สนามกอล์ฟ (กำลังก่อสร้าง ๙ หลุม) เพื่อขึ้นไปสักการะ และสัมผัสบรรยากาศ ชมวิวทิวทัศน์ ตัวเมืองเชียงราย ได้โดยรอบ ณ ศาลารอยพระบาท บนดอยโหยด แห่งนี้ได้โดยสะดวก ทั้งนี้มีป้ายบอกเส้นทางเรียบร้อยแล้ว แต่หากสงสัย ให้หยุดสอบถามเส้นทาง จาก เจ้าหน้าที่สารวัตรทหารทั้งสองช่องทาง ได้ทุกวันในเวลาราชการ ทั้งนี้ ค่ายเม็งรายมหาราช ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง
ขอบคุณที่มา :
http://www.chiangraifocus.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/18/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-9
พิพิธภัณฑ์รอยพระบาท รัชกาลที่ 9 หนึ่งเดียวของประเทศไทย ที่จังหวัด เชียงราย
ประวัติความเป็นมาของรอยพระบาท ปี พ.ศ.๒๔๙๗ เริ่มสถานการณ์การก่อการร้ายในจังหวัดเชียงราย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้ส่งผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่งเข้ามาทางภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อแสวงหาแนวร่วมพื้นฐาน เป็นชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน จว.เชียงราย ,ชายแดน จว.พะเยา ในปัจจุบัน หลังจากได้ปลุกระดมชาวไทยภูเขาบางพื้นที่ประสบผลสำเร็จ ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ได้คัดเลือกแนวร่วมบางส่วนเพื่อส่งไปอบรมวิชาการเมืองและการทหารรุ่นแรกที่ เมืองฮัวมินห์ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม เพื่อกลับมาเตรียมปฏิบัติงานในพื้นที่ไว้รอรับสมาชิก พคท. ซึ่งได้เดินทางเข้าสู่พื้นที่ชายแดน จว.เชียงราย ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในการชี้นำ ด้านการเมืองและการทหาร เมื่อสามารถขยายผลงานได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง พคท.จึงเปิดฉากการต่อสู้ด้วยอาวุธกับเจ้าหน้าที่ในภาคเหนือขึ้นเป็นครั้งแรก ที่บ้านน้ำปาน ตำบลนาไร่หลวง อ.ทุ่งช้าง จว.น่าน เมื่อ วันที่ ๒๖ ก.พ.๒๕๑๐ ซึ่งถือว่าเป็นวัน "เสียงปืนแตก" ของ พคท.ในเขตภาคเหนือ ต่อจากนั้นได้มีการต่อสู้เรื่อยมา โดยในวันที่ ๑๐ พ.ค.๒๕๑๐ ได้มีการต่อสู้กับหน้าที่ฝ่ายรัฐบาล ที่บ้านห้วยชมภู ต.ยางฮอม อ.เทิง จว.เชียงราย (เป็นครั้งแรกในเขตพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น)
เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ พคท. สามารถจัดตั้งฐานที่มั่นในภาคเหนือได้ถึง ๙ แห่ง และฐานที่มั่นที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ "ฐานที่มั่นดอยยาว-ดอยผาหม่น" จว.เชียงราย พคท.ได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นโดยใช้ชื่อว่า "คณะกรรมการจังหวัดเชียงราย" แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ เขตงาน คือ เขตงาน ๕๒ , เขตงาน ๙ , เขตงาน ๗ และ เขตงาน ๘
สำหรับพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น เป็นพื้นที่ควบคุมของ เขตงาน ๘ ในเขต อ.เทิง และ อ.เชียงของ จว.เชียงราย รวมพื้นที่ อ.เวียงแก่น และ อ.ขุนตาล ในปัจจุบันด้วย กองกำลังติดอาวุธของ พคท.ในขณะนั้นมีประมาณ ๖๐๐ คน มีมวลชนซึ่งส่วนใหญ่ชาวเขาเผ่าม้ง ประมาณ ๒,๓๐๐ คน ความเคลื่อนไหวที่สำคัญ คือ ขัดขวางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการสร้างทาง และ การพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง การสู้รบ ณ สมรภูมิแห่งนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น ยุทธการอิทธิพลชัย (วีรกรรมดอยม่อนเคอ) , ยุทธการขุนน้ำโป่ง และยุทธการเกรียงไกร(วีรกรรม ณ เนิน ๑๑๘๘ ดอยพญาพิภักดิ์) โดยใช้กำลังทหารในพื้นที่ จว.เชียงราย เข้าปฏิบัติการกวาดล้าง และปราบปราม พคท. ตามคำสั่งกองทัพภาคที่ ๓ และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๓ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๕ จึงสามารถกำชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือ พคท.
เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ กองพันทหารราบที่ ๔๗๓ ซึ่งมี พ.ท.วิโรจน์ ทองมิตร เป็นผู้บังคับหน่วย (ตำแหน่ง ปกติ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๗) ได้นำกำลังทหารเข้าปฏิบัติการพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น ตามแผนการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ จนเกิดยุทธการยึด เนิน ๑๑๘๘ บนดอยพญาพิภักดิ์ ได้
เมื่อ วันที่ ๒๗ ก.พ.๒๕๒๕ ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช องค์จอมทัพไทย , สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ , สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ ได้เสด็จฯ เพื่อเยี่ยมเยือนทหารหาญและราษฎร ณ ฐานปฏิบัติการ ดอยพญาพิภักดิ์ บนดอยยาว เขต อ.เทิง จว.เชียงราย (ปัจจุบันเป็นเขต อ.ขุนตาล) และในวโรกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน ประทับรอยพระบาทของพระองค์ ลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร์ที่จัดเตรียมไว้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารกล้าทั้งปวง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ปัจจุบัน รอยพระบาท ได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ ณ ศาลารอยพระบาท บริเวณด้านหน้า กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๗ ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของกำลังพลคู่กับอนุสาวรีย์ผู้เสียสละและให้สาธารณชน เยาวชนคนรุ่นปัจจุบัน รวมถึงนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ได้เข้ามาเยี่ยมชมสืบต่อไปและ ปัจจุบันได้มีการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐาน รอยพระบาท ไว้บนดอยโหยด ค่ายเม็งรายมหาราชเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีพิธีการสมโภช และได้มีพิธีอัญเชิญรอยพระบาท ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ไป ประดิษฐาน ณ ที่แห่งใหม่ เมื่อ วันอังคารที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อเฉลิมฉลองในวันฉัตรมงคล สำเร็จ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หากนักเที่ยวต้องการเข้าไปเยี่ยมชมและสักการะ สามารถเดินทางเข้าไปยังค่ายเม็งรายมหาราช ได้ทั้งด้านหน้า ช่องทาง ๑ และด้านหลังค่าย ช่องทาง ๕ ( มีซุ้มประตู ชื่อ ศาลารอยพระบาท ) ผ่าน สนามกอล์ฟแม่กก คลับเฮาส์ อาคารที่พักรับรองริมแม่น้ำกก และ ผ่าน สนามกอล์ฟ (กำลังก่อสร้าง ๙ หลุม) เพื่อขึ้นไปสักการะ และสัมผัสบรรยากาศ ชมวิวทิวทัศน์ ตัวเมืองเชียงราย ได้โดยรอบ ณ ศาลารอยพระบาท บนดอยโหยด แห่งนี้ได้โดยสะดวก ทั้งนี้มีป้ายบอกเส้นทางเรียบร้อยแล้ว แต่หากสงสัย ให้หยุดสอบถามเส้นทาง จาก เจ้าหน้าที่สารวัตรทหารทั้งสองช่องทาง ได้ทุกวันในเวลาราชการ ทั้งนี้ ค่ายเม็งรายมหาราช ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง
ขอบคุณที่มา : http://www.chiangraifocus.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/18/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-9