สารานุกรมปืนตอนที่ 318 Thompson Auto-Ordnance Announces Commemorative Iwo Jima Series











ปืนเหล่านี้ผลิตขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการครบรอบ 75 ปีของยุทธการที่อิโวะจิมะโดย Auto-Ordnance (บริษัทลูกของ Kahr arms) โดยการผลิตและจำหน่ายในคราวนี้มีหุ้นส่วนเป็นบริษัท Outlaw Ordnance

*M1911A1 กับ M1 Carbine เหมือนตอนสงครามทุกอย่างแต่ Thompson M1A1 ยิงได้แต่แบบกึ่งอัตโนมัติและลำกล้องยาว 16.5 นิ้ว เพราะขายในรูปแบบของปืนไรเฟิลตามกฎหมายอาวุธปืนในพื้นที่หลายรัฐในสหรัฐอเมริกา







ยุทธการที่อิโวะจิมะ (19 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม ค.ศ. 1945) เป็นยุทธการสำคัญซึ่งกองทัพสหรัฐอเมริกาขึ้นบกและยึดเกาะอิโวะจิมะจากกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้ในที่สุด การบุกครองของอเมริกา ชื่อรหัส ปฏิบัติการดีแทชเมนต์ (อังกฤษ: Operation Detachment) มีเป้าหมายยึดทั้งเกาะ ซึ่งรวมสนามบินที่ญี่ปุ่นยึดสามแห่ง (รวมสนามใต้และสนามกลาง) เพื่อเป็นพื้นที่พักพลสำหรับเข้าตีหมู่เกาะหลักของญี่ปุ่น ยุทธการนานห้าสัปดาห์นี้มีการสู้รบที่ดุเดือดและนองเลือดที่สุดในสงครามแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง
หลังเกิดการสูญเสียอย่างหนักในยุทธการ คุณค่าทางยุทธศาสตร์ของเกาะกลายเป็นข้อพิพาท เกาะนี้ไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพบกสหรัฐที่จะใช้เป็นพื้นที่พักพลและไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพเรือสหรัฐที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือ ทว่า ผึ้งทะเล (seabee) กองทัพเรือสร้างลานบินขึ้นใหม่ ซึ่งใช้เป็นลานลงจอดฉุกเฉินสำหรับบี-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐ
ที่ตั้งของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเกาะมีป้อมค่ายหนาแน่น โดยมีเครือข่ายบังเกอร์ ที่มั่นปืนใหญ่ซ่อน และอุโมงค์ใต้ดิน 18 กิโลเมตร ทหารอเมริกันภาคพื้นได้รับการสนับสนุนจากปืนใหญ่กองทัพเรืออย่างกว้างขวางและความเป็นเจ้าอากาศเบ็ดเสร็จเหนืออิโวะจิมะตั้งแต่เริ่มยุทธการโดยนักบินของกองทัพเรือสหรัฐและเหล่านาวิกโยธิน
อิโวะจิมะยังเป็นยุทธการเดียวสำหรับเหล่านาวิกโยธินสหรัฐที่กำลังพลสูญเสียของฝ่ายอเมริกันสูงกว่าญี่ปุ่น แม้การเสียชีวิตจากการสู้รบของฝ่ายญี่ปุ่นคิดเป็นสามเท่าของจำนวนผู้เสียชีวิตฝ่ายอเมริกันจากทหารญี่ปุ่น 22,000 นายบนอิโวะจิมะ มีถูกจับเป็นเชลยเพียง 216 นาย ซึ่งบางส่วนถูกจับเพราะถูกทำให้หมดสติไม่ก็ถูกทำให้พิการที่เหลือส่วนใหญ่ตายในการรบแม้มีประเมินว่ามากถึง 3,000 นายยังคงต่อต้านในระบบถ้ำต่าง ๆ อีกหลายวันให้หลังจนสุดท้ายจำนนต่อการบาดเจ็บหรือยอมจำนนอีกหลายสัปดาห์ต่อมา
แม้การสู้รบนองเลือดและกำลังพลสูญเสียอย่างรุนแรงทั้งสองฝ่าย แต่การพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นรับประกันตั้งแต่ต้น ความเหนือกว่าท่วมท้นของอเมริกันทั้งด้านอาวุธและจำนวน ตลอดจนการควบคุมอำนาจทางอากาศเบ็ดเสร็จ กอปรกับการที่ญี่ปุ่นไม่สามารถถอยหรือได้รับกำลังเพิ่มเติม ทำให้ไม่มีกรณีแวดล้อมที่เป็นไปได้ซึ่งฝ่ายอเมริกันจะแพ้ยุทธการ
ยุทธการนี้ถูกจารึกโดยภาพถ่ายการปักธงสหรัฐบนยอดภูเขาสุริบะยะชิสูง 166 เมตรโดยนาวิกโยธินสหรัฐห้านายและเหล่าพยาบาลสนามกองทัพเรือสหรัฐหนึ่งนายของโจ โรเซนทัล ภาพถ่ายบันทึกการปักธงที่สองบนภูเขานั้น ซึ่งทั้งสองเกิดในวันที่ห้าของยุทธการ 35 วัน ภาพถ่ายของโรเซนทัลพลันกลายเป็นสัญรูปถาวรของยุทธการนั้น สงครามในแปซิฟิก และเหล่านาวิกโยธิน และได้รับการทำซ้ำอย่างกว้างขวาง



การปักธงที่อิโวจิมา (อังกฤษ: Raising the Flag on Iwo Jima) เป็นชื่อของภาพถ่ายประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุทธการแห่งอิโวจิมา ถ่ายเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 โดย โจ โรเซนธัล ช่างภาพจากสำนักข่าวเอพี ภาพนี้เป็นภาพเหตุการณ์ที่ทหารนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา 5 นายและทหารเรือเสนารักษ์ 1 นาย กำลังช่วยกันปักธงชาติสหรัฐอเมริกาเหนือยอดเขาสุริบาชิ ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของเกาะอิโวจิมา
ภาพดังกล่าวนี้ได้รับการกล่าวขวัญอย่างมากในสหรัฐอเมริกาและมีการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง ทั้งยังได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปีเดียวกันอีกด้วย ซึ่งต่อมาภาพนี้ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ทำให้คนนึกถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และอาจเป็นภาพที่ถูกตีพิมพ์ซ้ำมากที่สุดตลอดกาลอีกด้วย
ทหารทั้ง 6 คนที่ช่วยกันปักธงในภาพนี้ มี 3 คน (แฟรงคลิน เซาส์เลย์, ฮาร์ลอน บล็อก, และ ไมเคิล สแตรง) ได้เสียชีวิตในการรบที่อิโวจิมาในช่วงต่อมา ส่วนอีก 3 คนที่เหลือ (จอห์น แบรดลีย์, เรเน่ แก็กนอน, และ ไอรา เฮยส์) ก็กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงขึ้นมาจากภาพดังกล่าว ซึ่งต่อมาภาพนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบของอนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาที่สุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา



การปักธงที่อิโวจิมาครั้งแรก ถ่ายโดย หลุยส์ อาร์. โลเวอรี บุคคลในภาพประกอบด้วย ร้อยโท แฮโรลด์ จี. ชเรียร์, สิบเอก เออร์เนสต์ ไอ. โทมัส จูเนียร์ (นั่ง), สิบตรีกองประจำการ เจมส์ มิเชลส์ (นั่งหน้าถือปืนคาร์บิน), สิบเอก เฮนรี โอ. แฮนเซน (ยืน สวมหมวกแก๊ป), สิบโท ชาร์ลส์ ดับบลิว. ลินด์เบิร์ก (ยืนขวาสุด) อย่างไรก็ตาม สิบตรีกองประจำการ เรย์มอนด์ จาคอบ ได้โต้แย้งการระบุตัวบุคคลในภาพดังกล่าว[1] และยืนยันว่าการระบุบุคคลในภาพควรเป็นดังนี้ : สิบตรีกองประจำการ เจมส์ โรบีสัน (มุมล่างซ้าย), สิบตรีกองประจำการ เรย์มอนด์ จาคอบ (ยืนแบกวิทยุสื่อสาร), ร้อยโท แฮโรลด์ จี. ชเรียร์ (นั่งด้านหลัง ขาของพลฯ เรย์มอนด์), สิบเอก เฮนรี โอ. แฮนเซน (สวมหมวกแก๊ป), ไม่ทราบ (มือจับคันธงด้านล่าง), สิบเอก เออร์เนสต์ ไอ. โทมัส จูเนียร์ (หันหลังให้กล้อง), พลฯ เสนารักษ์ จอห์น แบรดลีย์ (สวมหมวกเหล็ก ยืนอยู่เหนือสิบเอกเออร์เนสต์), สิบตรีกองประจำการ เจมส์ มิเชลส์ (นั่งหน้าถือปืนคาร์บิน), สิบโท ชาร์ลส์ ดับบลิว. ลินด์เบิร์ก (อยู่เหนือสิบตรีฯ เจมส์ มิเชลส์)

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่