ถ้าพูดถึงโครงการแลกเปลี่ยนไปต่างประเทศ คนส่วนมากก็มักจะนึกถึง Work and travel กันใช่ไหม ?
การแชร์ประสบการณ์การไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศโดยการเป็นอาสาสมัครไปสอนหนังสือเด็ก ทำสวน เพ้นท์กำแพง แชร์วัฒนธรรมไทยในครั้งนี้ของเรา เราไม่ได้กับโครงการ Work and Travel นะ แต่เราไปกับโครงการ Jump Out ขององค์กร AIESEC มหาวิทยาลัยกรุงเทพ !!!!! เอ้างงกันละสิ อะไรคือ AIESEC
AIESEC คือองค์กรนักศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีไว้เพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำของนักศึกษา ประเทศที่เข้าร่วมโครงการมีมากกว่า 120+ ประเทศ ฟังดูเหมือนโม้ ลองหาข้อมูลพิมน้องกูเกิ้ลดูได้นะจ้ะ ในประเทศไทยมีอยู่ 8 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม มี ม.กรุงเทพ จุฬา ม.ธรรมศาสตร์ เอแบค สถาบันไทยญี่ปุ่น ม.หอการค้า ม.เกษตร เทคโนราชมงคลอีสาน ''เขามีโครงการชื่อว่า Jump Out ที่นักศึกษานอกชมรม หรือ นอกองค์กรสามารถเข้าร่วมได้ คือสมัครไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศโดยการเป็นอาสาสมัคร หรือฝึกงานต่างประเทศนั้นเอง ค่าโครงการ 11,000 บาท เราสามารถเลือกไปแลกเปลี่ยนได้มากกว่า 120+ ประเทศ (อเมริกา ญี่ปุ่น แคนนาดา ไม่มีนะ เขายกเว้น เพราะเป็นประเทศที่เจริญแล้ว แต่ถ้าไปฝึกงานอเมริกา ญี่ปุ่น แคนนาดาก็ยังมี) สามารถเลือกได้หมดเลย เยอรมัน โปแลนด์ โปรตุเกต อิตาลี เปรู ชีลี โอมาน อียิปต์ ออสเตรเลีย จีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย โอ๊ยเยอะ บอกไม่หมด 5555+ แต่ละประเทศก็จะมีโครงการแตกต่างกันไป ถ้าเลือกโปรเจคดีๆ เขามีที่พักและอาหารให้ฟรี มันขึ้นอยู่กับแต่ละโปรเจคที่เราเลือก ยกตัวอย่างประเทศเกาหลี มีหลายโปรเจคมาก อย่างไปสอนหนังสือเด็กประถม ไปรณรงค์สิ่งแวดล้อม ไปทำฟาร์ม อบรมเรื่องการเป็นผู้ประกอบการ มีอีกเยอะแต่จำไม่ได้
มาพูดถึงขั้นตอนหลักๆ ที่จะไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ กับ AIESEC กันดีกว่า
1. สมัครได้กับ AIESEC ในแต่ละมหาวิทยาลัยที่บอกข้างต้น ถ้าใครอยู่ใน ม. ที่บอกไปข้างต้นก็ง่ายเลย แค่ตามหาชมรม AIESEC ใน ม. นั้นๆ ก็บอกเขาเลยว่าจะมาสมัครไปแลกเปลี่ยน แต่สำหรับใครที่ไม่ได้เรียนอยู่ใน 8 มหาวิทยาลัยที่บอก ก็ค้นหาในกูเกิ้ลเลยจ้ะ แล้วหา Facebook ของเขาแล้วทักเข้าไปโลด เดี๋ยวเขาก็จะบอกวิธีการสมัคร
2. สัมภาษณ์กับทาง AIESEC ในแต่ละ ม.นั้นๆก่อน แล้วเขาก็จะบอกว่าภาษาเราอยู่ในระดับไหน
3. เซ็นต์สัญญา แล้วก็จ่ายเงิน 11,000 บาท ก็จะได้ท่องเว็ปหาโปรเจคกันแล้ว
4. เข้าเว็ปหาโปรเจคที่สนใจ และเราว่างช่วงเวลาไหนเราก็ใส่เข้าไป อยากไปประเทศอะไร ก็พิมไป หรือจะดูแบบรวมๆ หรือจะดูแบบเป็นทวีป โอ๊ยตามสไตล์เลยค่ะ คุณขา เอาที่สบายใจ แล้วอยากไปโปรเจคไหนก็กดสมัคร แล้วก็รอรับอีเมลนัดสัมภาษณ์
5. สัมภาษณ์กับเจ้าของโปรเจค ไม่ต้องกลัวนะว่าไม่เก่งภาษาแล้วจะไปได้ไหม ได้ไปค่ะ แต่ก็ต้องหาโปรเจคที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษมาก สมมตินะ ถ้าพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่สมัครโปรเจคที่เขาให้ไปสอนอังกฤษเด็กมัธยม หรือ มหาลัย แบบนี้ก็ตายๆๆ เลือกที่เหมาะกับตัวเอง อย่างไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเงี้ย พูดอังกฤษได้งูๆปลาๆ ก็ไปได้ละสบาย เพราะมีเพื่อนเราที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่กลับมาก็มีความกล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นและพูดได้มากกว่าเดิม สัมภาษณ์เสร็จก็รออีเมลว่าผ่านไหม
6. เตรียมตัว ก็เหมือนเตรียมตัวไปเที่ยวต่างประเทศทั่วไป แต่ไปกับไอเซคเราจะมีวัฒนธรรมที่เตรียมของไทยๆไป เพราะจะเอาไปโชว์เพื่อน นำเครื่องปรุงอาหารไป จะได้ไปทำอาหารไทยให้เพื่อนต่างชาติกิน และอย่าลืมถามเจ้าของโปรเจคว่าเราควรจะเตรียมอะไรไปอีกไหม เพราะแต่ละโปรเจคต้องเตรียมตัวไม่เหมือนกัน
7. เดินทางไปประเทศที่เราเลือก โดยจะมีทีมของ AIESEC ประเทศนั้นๆ มารอรับเราที่สนามบิน คือดีงาม
((( ขั้นตอนก็มีแค่นี้ มาพูดถึงเรื่องโปรเจคที่เราไปบ้างดีกว่า เดี๋ยวมาพิมต่อไปนั่งลดขนาดไฟล์รูปแปป )))
[CR] ตอน ไปแลกเปลี่ยนที่เกาหลีใต้ แบบนี้ก็ได้หรอ ??? By Walisa Somsri
การแชร์ประสบการณ์การไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศโดยการเป็นอาสาสมัครไปสอนหนังสือเด็ก ทำสวน เพ้นท์กำแพง แชร์วัฒนธรรมไทยในครั้งนี้ของเรา เราไม่ได้กับโครงการ Work and Travel นะ แต่เราไปกับโครงการ Jump Out ขององค์กร AIESEC มหาวิทยาลัยกรุงเทพ !!!!! เอ้างงกันละสิ อะไรคือ AIESEC
AIESEC คือองค์กรนักศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีไว้เพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำของนักศึกษา ประเทศที่เข้าร่วมโครงการมีมากกว่า 120+ ประเทศ ฟังดูเหมือนโม้ ลองหาข้อมูลพิมน้องกูเกิ้ลดูได้นะจ้ะ ในประเทศไทยมีอยู่ 8 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม มี ม.กรุงเทพ จุฬา ม.ธรรมศาสตร์ เอแบค สถาบันไทยญี่ปุ่น ม.หอการค้า ม.เกษตร เทคโนราชมงคลอีสาน ''เขามีโครงการชื่อว่า Jump Out ที่นักศึกษานอกชมรม หรือ นอกองค์กรสามารถเข้าร่วมได้ คือสมัครไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศโดยการเป็นอาสาสมัคร หรือฝึกงานต่างประเทศนั้นเอง ค่าโครงการ 11,000 บาท เราสามารถเลือกไปแลกเปลี่ยนได้มากกว่า 120+ ประเทศ (อเมริกา ญี่ปุ่น แคนนาดา ไม่มีนะ เขายกเว้น เพราะเป็นประเทศที่เจริญแล้ว แต่ถ้าไปฝึกงานอเมริกา ญี่ปุ่น แคนนาดาก็ยังมี) สามารถเลือกได้หมดเลย เยอรมัน โปแลนด์ โปรตุเกต อิตาลี เปรู ชีลี โอมาน อียิปต์ ออสเตรเลีย จีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย โอ๊ยเยอะ บอกไม่หมด 5555+ แต่ละประเทศก็จะมีโครงการแตกต่างกันไป ถ้าเลือกโปรเจคดีๆ เขามีที่พักและอาหารให้ฟรี มันขึ้นอยู่กับแต่ละโปรเจคที่เราเลือก ยกตัวอย่างประเทศเกาหลี มีหลายโปรเจคมาก อย่างไปสอนหนังสือเด็กประถม ไปรณรงค์สิ่งแวดล้อม ไปทำฟาร์ม อบรมเรื่องการเป็นผู้ประกอบการ มีอีกเยอะแต่จำไม่ได้
1. สมัครได้กับ AIESEC ในแต่ละมหาวิทยาลัยที่บอกข้างต้น ถ้าใครอยู่ใน ม. ที่บอกไปข้างต้นก็ง่ายเลย แค่ตามหาชมรม AIESEC ใน ม. นั้นๆ ก็บอกเขาเลยว่าจะมาสมัครไปแลกเปลี่ยน แต่สำหรับใครที่ไม่ได้เรียนอยู่ใน 8 มหาวิทยาลัยที่บอก ก็ค้นหาในกูเกิ้ลเลยจ้ะ แล้วหา Facebook ของเขาแล้วทักเข้าไปโลด เดี๋ยวเขาก็จะบอกวิธีการสมัคร
2. สัมภาษณ์กับทาง AIESEC ในแต่ละ ม.นั้นๆก่อน แล้วเขาก็จะบอกว่าภาษาเราอยู่ในระดับไหน
3. เซ็นต์สัญญา แล้วก็จ่ายเงิน 11,000 บาท ก็จะได้ท่องเว็ปหาโปรเจคกันแล้ว
4. เข้าเว็ปหาโปรเจคที่สนใจ และเราว่างช่วงเวลาไหนเราก็ใส่เข้าไป อยากไปประเทศอะไร ก็พิมไป หรือจะดูแบบรวมๆ หรือจะดูแบบเป็นทวีป โอ๊ยตามสไตล์เลยค่ะ คุณขา เอาที่สบายใจ แล้วอยากไปโปรเจคไหนก็กดสมัคร แล้วก็รอรับอีเมลนัดสัมภาษณ์
5. สัมภาษณ์กับเจ้าของโปรเจค ไม่ต้องกลัวนะว่าไม่เก่งภาษาแล้วจะไปได้ไหม ได้ไปค่ะ แต่ก็ต้องหาโปรเจคที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษมาก สมมตินะ ถ้าพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่สมัครโปรเจคที่เขาให้ไปสอนอังกฤษเด็กมัธยม หรือ มหาลัย แบบนี้ก็ตายๆๆ เลือกที่เหมาะกับตัวเอง อย่างไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเงี้ย พูดอังกฤษได้งูๆปลาๆ ก็ไปได้ละสบาย เพราะมีเพื่อนเราที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่กลับมาก็มีความกล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นและพูดได้มากกว่าเดิม สัมภาษณ์เสร็จก็รออีเมลว่าผ่านไหม
6. เตรียมตัว ก็เหมือนเตรียมตัวไปเที่ยวต่างประเทศทั่วไป แต่ไปกับไอเซคเราจะมีวัฒนธรรมที่เตรียมของไทยๆไป เพราะจะเอาไปโชว์เพื่อน นำเครื่องปรุงอาหารไป จะได้ไปทำอาหารไทยให้เพื่อนต่างชาติกิน และอย่าลืมถามเจ้าของโปรเจคว่าเราควรจะเตรียมอะไรไปอีกไหม เพราะแต่ละโปรเจคต้องเตรียมตัวไม่เหมือนกัน
7. เดินทางไปประเทศที่เราเลือก โดยจะมีทีมของ AIESEC ประเทศนั้นๆ มารอรับเราที่สนามบิน คือดีงาม