คนไข้สมองพากันใช้หมามุ่ยเป็นทิวแถว แพ้เป็นเรื่องหนึ่ง และอีกเรืองคือผลระยะกลางและยาวต่อสมอง ทำให้โรคที่เป็นอยู่ลุกลามพัฒนาเร็วขึ้น จนช่วยตัวเองไม่ได้ รวมทั้ง ผลต่อระบบหัวใจ ความดัน เช่นเดียวกับ ยาพาร์กินสัน ชนิดออกฤทธ์เร็ว เช่นmadopar ถ้าทานเกิน ครึ่งเม็ดของ 250 มก จะมีความดันตก เป็นลม ล้ม และ อาจมีผลต่อหัวใจ และอธิบายได้ว่าทำไมช่วยตัวเองได้แย่ลง
รายละเอียดหมามุ่ย จาก อจ พิสนธ์ครับ
ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประธานคณะทำงานสร้างเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.)
หมามุ่ยอินเดียเป็นพืชวงศ์เดียวกับหมามุ่ยของไทย ตามตำรายาโบราณของไทยมีการนำส่วนต่าง ๆ ของหมามุ่ยมาใช้เป็นยา หากนำเมล็ดมาคั่วกินทั้งเมล็ด กล่าวไว้ว่าเสริมกำหนัด บางตำรับนำรากมาตากแดดให้แห้งแล้วตำเป็นผง กินแก้ปวดเมื่อย ช้ำใน หรือนำรากมาต้มกินแก้ไอ ใช้เมล็ดตำเป็นผงพอกแก้พิษแมงป่องกัด ส่วนสรรพคุณอื่น ๆ มีการกล่าวไว้คือเพิ่มคุณภาพและปริมาณของอสุจิช่วยเรื่องการมีบุตรยาก ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ผลิตยาผงสมุนไพรหมามุ่ยออกจำหน่ายโดยระบุสรรพคุณว่า “บำรุงกำลัง บำรุงสมอง เสริมสมรรถภาพ ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า” โดยไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
หมามุ่ยถูกใช้มานานกว่า 1,000 ปีก่อนยุคคริสต์กาลในประเทศอินเดีย และมีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับสารสำคัญในหมามุ่ยมานานกว่า 30 ปี ชื่อทางพฤกษศาสตร์ของหมามุ่ยคือ Mucuna pruriens ซึ่งในวารสารทางวิทยาศาสตร์ระบุว่ามีสารออกฤทธิ์ที่มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการของโรคพาร์กินสันเป็นส่วนประกอบ ได้แก่สารเลโวโดป้า (levodopa) สารสำคัญอื่น ๆ ในหมามุ่ยยังมีอีกหลายชนิดแต่มีในปริมาณน้อย เช่น serotonin, bufotenin และ nicotine ซึ่งมักพบในส่วนของใบและราก พบว่าสารสกัดหมามุ่ยมีผลเล็กน้อยต่อคุณภาพและปริมาณของอสุจิ มีผลเล็กน้อยต่อการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) และมีผลเล็กน้อยต่อความเครียดจากการลดปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol)
การนำหมามุ่ยมาใช้อย่างไม่ถูกวิธีมีอันตรายสูง เช่นมีรายงานการเกิดโรคจิตแบบเฉียบพลันในชาวโมซัมบิกจำนวนถึง 203 คนจากการกินเมล็ดดิบที่ไม่ผ่านความร้อนเป็นอาหาร ในช่วงที่มีความอดหยากอย่างรุนแรงในประเทศ ส่วนการแพ้อย่างรุนแรงของน.ส.ศตพร พันทอง หรือน้องมิลล์ ซึ่งเสียชีวิตลงหลังกินสารสกัดหมามุ่ยอินเดียตามข่าวยังไม่พบรายงาน ทั้งนี้นายแพทย์สมบัติ ผดุงวิทย์วัฒนา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง ระบุว่าอาการแพ้ชนิดรุนแรงของน้องมิลล์ ถามจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วพบว่าน่าจะเป็นชนิด Toxic Epidermal Necrolysis (TEN)
ผลข้างเคียงจากสารเลโวโดป้าที่พบในเมล็ดหมามุ่ย โดยเฉพาะเมื่อได้รับในปริมาณสูงหรือใช้กับผู้สูงอายุ เช่น เวียนศีรษะ ง่วงซึม ตาพร่า คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง เบื่ออาหาร แสบร้อนในอก ท้องร่วง แน่นจมูก ไอ เจ็บกล้ามเนื้อ ชา นอนไม่หลับ ฝันแปลก ๆ ผี่นขึ้น คัน ความดันเลือดตกขณะเปลี่ยนท่า ประสาทหลอน ซึมเศร้า ติดการพนัน ติดช็อปปิ้ง เป็นต้น
หมามุ่ยเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง การออกฤทธิ์เกิดจากชนิดของสารเคมีที่มีอยู่ในสมุนไพร ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ทำนองเดียวกันกับการกินยา รวมทั้งอาจแพ้สารเคมีในสมุนไพรเหล่านั้นได้เช่นเดียวกับการแพ้ยา โดยเฉพาะกรณีของหมามุ่ยหากมีการปนเปื้อนของสารที่กระตุ้นการแพ้ซึ่งพบที่ขนของฝักหมามุ่ยในกระบวนการผลิตก็อาจชักนำให้เกิดการแพ้ได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบันหลายประเทศมีการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้หมามุ่ยในการผลิตเป็นยาสมุนไพร เช่น คณะกรรมการด้านวิชาการยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของอาเซียน (ASEAN TMHS Scientific Committee, ATSC) กำหนดว่าหมามุ่ยเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ถูกกำหนดเป็นสารที่จำกัดการใช้ในยาแผนโบราณ ทั้งนี้ประเทศที่ห้ามใช้ ได้แก่ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม บรูไน รวมทั้งประเทศไทย นอกจากนั้นหมามุ่ยทุกสายพันธุ์ยังเป็นพืชที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากมีสารที่เป็นอันตรายนอกเหนือจากเลโวโดป้า เช่น นิโคติน (nicotine) และไฟโซสติกมีน (physostigmine) ซึ่งทำให้เกิดอาหารใจสั่น มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประสาทหลอน และความดันเลือดต่ำ
ส่วนหน่วยงานของสหภาพยุโรปคือ European Food Safety Authority (EFSA) ระบุว่า ทุกส่วนของหมามุ่ยมีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ หากนำมาใช้ในอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่ง EFSA ใช้เอกสารนี้ในการพิจารณาประเมินความปลอดภัยของพืชที่ใช้ในอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า สารสำคัญในหมามุ่ยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองและฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกาย อันตรายต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัด ต้องมีการนำสารสกัดหมามุ่ยมาทำการศึกษาตามระบบวิจัยทางการแพทย์ที่รัดกุมจึงจะยืนยันสรรพคุณและอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้กับผู้มีโรคประจำตัว เช่น เป็นโรคตับ โรคไต โรคภูมิแพ้ หรือโรคทางสมอง เป็นต้น รวมทั้งไม่อาจรู้ได้ว่าหากใช้ร่วมกับยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ จะเกิดผลในทาง “ยาตีกัน” หรือไม่อย่างไร
ปัจจุบันสมุนไพรหลายชนิดได้รับการบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ฉบับยาสมุนไพร หลังผ่านการพิจารณาว่ามีความจำเป็นเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ โดยมีหลักฐานที่เชื่อถือได้สนับสนุนสรรพคุณและความปลอดภัย ซึ่งหมายถึงประชาชนจะได้ใช้สมุนไพรที่ได้ผ่านการรับรองสรรพคุณเหล่านั้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายผ่านระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการภาครัฐต่าง ๆ
ก่อนใช้สมุนไพรทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาหรือเภสัชกรก่อนเสมอว่าสมุนไพรนั้นจะส่งผลเสียต่อโรคที่เป็นอยู่หรือไม่ และแพทย์ผู้รักษาอนุญาตให้ใช้สมุนไพรเหล่านั้นหรือไม่ หากใช้สมุนไพรใดอยู่และยังไม่ได้แจ้ง ควรแจ้งแพทย์ในครั้งต่อไปที่แพทย์นัด พร้อมทั้งนำกล่องยา ขวดยา และฉลากยาสมุนไพรเหล่านั้นไปด้วยเสมอ นอกจากนี้ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเบื้องต้นได้เองจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 1556
หมามุ่ยเพิ่มปริมาณอสุจิ เสริมสมรรถภาพทางเพศจริงหรือ. ก่อนซื้ควรศึกษาก่อนน่ะครับ. หวังจะเป็นประโยชน์
รายละเอียดหมามุ่ย จาก อจ พิสนธ์ครับ
ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประธานคณะทำงานสร้างเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.)
หมามุ่ยอินเดียเป็นพืชวงศ์เดียวกับหมามุ่ยของไทย ตามตำรายาโบราณของไทยมีการนำส่วนต่าง ๆ ของหมามุ่ยมาใช้เป็นยา หากนำเมล็ดมาคั่วกินทั้งเมล็ด กล่าวไว้ว่าเสริมกำหนัด บางตำรับนำรากมาตากแดดให้แห้งแล้วตำเป็นผง กินแก้ปวดเมื่อย ช้ำใน หรือนำรากมาต้มกินแก้ไอ ใช้เมล็ดตำเป็นผงพอกแก้พิษแมงป่องกัด ส่วนสรรพคุณอื่น ๆ มีการกล่าวไว้คือเพิ่มคุณภาพและปริมาณของอสุจิช่วยเรื่องการมีบุตรยาก ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ผลิตยาผงสมุนไพรหมามุ่ยออกจำหน่ายโดยระบุสรรพคุณว่า “บำรุงกำลัง บำรุงสมอง เสริมสมรรถภาพ ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า” โดยไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
หมามุ่ยถูกใช้มานานกว่า 1,000 ปีก่อนยุคคริสต์กาลในประเทศอินเดีย และมีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับสารสำคัญในหมามุ่ยมานานกว่า 30 ปี ชื่อทางพฤกษศาสตร์ของหมามุ่ยคือ Mucuna pruriens ซึ่งในวารสารทางวิทยาศาสตร์ระบุว่ามีสารออกฤทธิ์ที่มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการของโรคพาร์กินสันเป็นส่วนประกอบ ได้แก่สารเลโวโดป้า (levodopa) สารสำคัญอื่น ๆ ในหมามุ่ยยังมีอีกหลายชนิดแต่มีในปริมาณน้อย เช่น serotonin, bufotenin และ nicotine ซึ่งมักพบในส่วนของใบและราก พบว่าสารสกัดหมามุ่ยมีผลเล็กน้อยต่อคุณภาพและปริมาณของอสุจิ มีผลเล็กน้อยต่อการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) และมีผลเล็กน้อยต่อความเครียดจากการลดปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol)
การนำหมามุ่ยมาใช้อย่างไม่ถูกวิธีมีอันตรายสูง เช่นมีรายงานการเกิดโรคจิตแบบเฉียบพลันในชาวโมซัมบิกจำนวนถึง 203 คนจากการกินเมล็ดดิบที่ไม่ผ่านความร้อนเป็นอาหาร ในช่วงที่มีความอดหยากอย่างรุนแรงในประเทศ ส่วนการแพ้อย่างรุนแรงของน.ส.ศตพร พันทอง หรือน้องมิลล์ ซึ่งเสียชีวิตลงหลังกินสารสกัดหมามุ่ยอินเดียตามข่าวยังไม่พบรายงาน ทั้งนี้นายแพทย์สมบัติ ผดุงวิทย์วัฒนา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง ระบุว่าอาการแพ้ชนิดรุนแรงของน้องมิลล์ ถามจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วพบว่าน่าจะเป็นชนิด Toxic Epidermal Necrolysis (TEN)
ผลข้างเคียงจากสารเลโวโดป้าที่พบในเมล็ดหมามุ่ย โดยเฉพาะเมื่อได้รับในปริมาณสูงหรือใช้กับผู้สูงอายุ เช่น เวียนศีรษะ ง่วงซึม ตาพร่า คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง เบื่ออาหาร แสบร้อนในอก ท้องร่วง แน่นจมูก ไอ เจ็บกล้ามเนื้อ ชา นอนไม่หลับ ฝันแปลก ๆ ผี่นขึ้น คัน ความดันเลือดตกขณะเปลี่ยนท่า ประสาทหลอน ซึมเศร้า ติดการพนัน ติดช็อปปิ้ง เป็นต้น
หมามุ่ยเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง การออกฤทธิ์เกิดจากชนิดของสารเคมีที่มีอยู่ในสมุนไพร ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ทำนองเดียวกันกับการกินยา รวมทั้งอาจแพ้สารเคมีในสมุนไพรเหล่านั้นได้เช่นเดียวกับการแพ้ยา โดยเฉพาะกรณีของหมามุ่ยหากมีการปนเปื้อนของสารที่กระตุ้นการแพ้ซึ่งพบที่ขนของฝักหมามุ่ยในกระบวนการผลิตก็อาจชักนำให้เกิดการแพ้ได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบันหลายประเทศมีการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้หมามุ่ยในการผลิตเป็นยาสมุนไพร เช่น คณะกรรมการด้านวิชาการยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของอาเซียน (ASEAN TMHS Scientific Committee, ATSC) กำหนดว่าหมามุ่ยเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ถูกกำหนดเป็นสารที่จำกัดการใช้ในยาแผนโบราณ ทั้งนี้ประเทศที่ห้ามใช้ ได้แก่ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม บรูไน รวมทั้งประเทศไทย นอกจากนั้นหมามุ่ยทุกสายพันธุ์ยังเป็นพืชที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากมีสารที่เป็นอันตรายนอกเหนือจากเลโวโดป้า เช่น นิโคติน (nicotine) และไฟโซสติกมีน (physostigmine) ซึ่งทำให้เกิดอาหารใจสั่น มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประสาทหลอน และความดันเลือดต่ำ
ส่วนหน่วยงานของสหภาพยุโรปคือ European Food Safety Authority (EFSA) ระบุว่า ทุกส่วนของหมามุ่ยมีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ หากนำมาใช้ในอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่ง EFSA ใช้เอกสารนี้ในการพิจารณาประเมินความปลอดภัยของพืชที่ใช้ในอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า สารสำคัญในหมามุ่ยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองและฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกาย อันตรายต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัด ต้องมีการนำสารสกัดหมามุ่ยมาทำการศึกษาตามระบบวิจัยทางการแพทย์ที่รัดกุมจึงจะยืนยันสรรพคุณและอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้กับผู้มีโรคประจำตัว เช่น เป็นโรคตับ โรคไต โรคภูมิแพ้ หรือโรคทางสมอง เป็นต้น รวมทั้งไม่อาจรู้ได้ว่าหากใช้ร่วมกับยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ จะเกิดผลในทาง “ยาตีกัน” หรือไม่อย่างไร
ปัจจุบันสมุนไพรหลายชนิดได้รับการบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ฉบับยาสมุนไพร หลังผ่านการพิจารณาว่ามีความจำเป็นเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ โดยมีหลักฐานที่เชื่อถือได้สนับสนุนสรรพคุณและความปลอดภัย ซึ่งหมายถึงประชาชนจะได้ใช้สมุนไพรที่ได้ผ่านการรับรองสรรพคุณเหล่านั้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายผ่านระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการภาครัฐต่าง ๆ
ก่อนใช้สมุนไพรทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาหรือเภสัชกรก่อนเสมอว่าสมุนไพรนั้นจะส่งผลเสียต่อโรคที่เป็นอยู่หรือไม่ และแพทย์ผู้รักษาอนุญาตให้ใช้สมุนไพรเหล่านั้นหรือไม่ หากใช้สมุนไพรใดอยู่และยังไม่ได้แจ้ง ควรแจ้งแพทย์ในครั้งต่อไปที่แพทย์นัด พร้อมทั้งนำกล่องยา ขวดยา และฉลากยาสมุนไพรเหล่านั้นไปด้วยเสมอ นอกจากนี้ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเบื้องต้นได้เองจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 1556