Wed, 2016-10-12 17:11
ชำนาญ จันทร์เรือง
ในโอกาสที่เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ได้เวียนมาครบอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นครั้งที่เรียกได้ว่าเป็นครั้งที่ประวัติศาสตร์กระซิบบางส่วนได้ถูกเปิดเผยออกมาหลังจากที่ต้องกระซิบกระซาบกันมาถึง 40 ปี แต่ก็ยังคงเป็นบางส่วนเท่านั้น บางส่วนก็ยังคงต้องกระซิบกันอีกต่อไป
การที่ประวัติศาสตร์กระซิบถูกทำให้ดังขึ้นในครั้งนี้อาจจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็สุดแล้วแต่ ผมขอขอบคุณหลายๆท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ธงชัย วินิจกุล ผู้เป็นกัลยาณมิตรของผม ที่ทุ่มเทอย่างมากในการที่จะเปิดเผยความจริงที่ถูกปิดบังมาเป็นเวลาช้านาน และในทำนองกลับกันก็คงต้องขอบคุณผู้เป็นแนวร่วมมุมกลับในการกักตัว โจชัว หว่อง ไว้ที่สนามบินสุวรรณภูมิไม่ให้เข้ามาพูดที่จุฬาฯ จนทำให้เหตุการณ์รำลึก 6 ตุลา 19 ของเราดังไปทั่วโลก แทนการเป็นข่าวเล็กๆในสื่อบางฉบับเท่านั้น
สังคมใดก็ตามที่มีประวัติศาสตร์กระซิบมากก็แสดงให้เห็นถึงการถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการพูดออกมาด้วยเสียงอันดังมากนั่นเอง สังคมไทยเรามีประวัติศาสตร์กระซิบมากมายตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน หลายๆเรื่องก็ไม่สามารถที่จะทำให้กลายเป็นประวัติศาสตร์เสียงดังได้ด้วยเหตุการณ์ล่วงพ้นไปของกาลเวลาหรือข้อจำกัดด้านกฎหมาย อาทิ กรณีของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีว่าพระองค์ทรงวิปริตจนต้องถูกสำเร็จโทษหรือไม่หรือกรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 เป็นต้น
ประวัติศาสตร์กระซิบนั้นแตกต่างจากข่าวลือ เพราะข่าวลือนั้นอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่ประวัติศาสตร์กระซิบนั้นเป็นสิ่งที่เชื่อว่าเป็นจริงเพราะเป็นการบอกเล่าของผู้คนที่อยู่ในเหตุการณ์จริงบอกต่อๆกันมาด้วยเสียงกระซิบนั่นเอง แน่นอนว่าประวัติศาสตร์กระซิบที่ทรงพลังนั้นย่อมเป็นประวัติศาสตร์กระซิบร่วมสมัยที่ผู้บอกเล่าอยู่ในเหตุการณ์จริงและยังมีชีวิตอยู่ ส่วนประวัติศาสตร์กระซิบที่เกิดขึ้นนานมาแล้วจนไม่เหลือผู้ร่วมสมัยก็ย่อมยากจะพิสูจน์ได้ ต้องอาศัยตำราของฝรั่งมังค่าค้นคว้าเอาแต่ก็ยังต้องกระซิบอยู่ดี และความลับบางอย่างก็ตายตกไปกับผู้กุมความลับนั่นเอง
แต่ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่เป็นประวัติศาสตร์กระซิบของไทยร่วมสมัยที่จำเป็นต้องค้นคว้าและนำมาเผยแผ่เพื่อที่จะทำลายวัฒนธรรมการปล่อยให้คนผิดลอยนวล (impunity) จนทำให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าและก็จะเกิดขึ้นอีกเรื่อยๆต่อไป เพราะหากเหตุการณ์เหล่านี้ยังคงเป็นประวัติศาสตร์กระซิบ
ประวัติศาสตร์กระซิบร่วมสมัย
1) เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แม้ว่าจะจบลงด้วยชัยชนะของนักศึกษาที่สามารถโค่นรัฐบาลถนอม-ประภาสลงได้ หลายๆคนเป็น วีรชน หลายๆคนเป็นญาติวีรชน แต่บางสิ่งบางอย่างยังคงขุ่นมัว เช่น ตกลงว่าคนที่ในเฮลิคอปเตอร์ที่กราดยิงลงมาคือใครกันแน่ ฯลฯ
2) เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่เกือบทุกสิ่งทุกอย่างดำมืด นักศึกษาประชาชนที่เสียชีวิตไม่ได้ถูกยกย่องว่าเป็นวีรชนทั้งๆที่ต้องสังเวยชีวิตเช่นเดียวกับกรณี 14 ตุลา 16 เช่นกัน ข้อกังขาและยังต้องกระซิบกันอยู่อย่างอื้ออึงมีมากมาย เช่น ตกลงนักศึกษาที่ถูกแขวนคอมีกี่ศพกันแน่ บ้างว่ามี 5 คน บ้างว่ามีเพียง 2 คน บ้างก็บอกว่าเป็นคนนั้น บ้างก็บอกว่าเป็นคนนี้ หรือจำนวนนักศึกษาที่ตายและสูญหายจริงๆแล้วมีจำนวนเท่าใด ฯลฯ
3) การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหารบอกว่าเป็นความลับ แม้ตายก็บอกไม่ได้นั้นคืออะไร ทำไมถึงบอกไม่ได้
4) เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว 10 เมษายน 2553 จนทำให้ พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม เสียชีวิต นั้น เสียชีวิตจากอาวุธของใคร ตกลงมีชายชุดดำพร้อมอาวุธหรือไม่ ถ้ามีจริงชายชุดดำเหล่านั้นคือใคร
5) เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ราชประสงค์และกรณี 6 ศพที่วัดปทุมวนาราม เมื่อ 19 พฤษภา 2553 ใครเป็นผู้ออกคำสั่งกันแน่ ใครเป็นคนเผาเวิร์ลเทรด ฯลฯ
เหตุการณ์ที่ผมยกขึ้นมาข้างต้นนั้นเป็นเหตุการณ์ที่ค้างคาใจของหลายฝ่าย ฝ่ายหนึ่งก็ชี้นิ้วไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง และก็ยังชี้นิ้วต่อไปอีกเรื่อยๆ และก็จะเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการนองเลือดของประชาชนกลางถนน หรือการทำรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ฯลฯ หากเรายังปล่อยให้ความจริงอยู่ในประวัติศาสตร์กระซิบเท่านั้น
แต่หากเรานำเอาความจริงมาพูดกัน หาคนผิดที่แท้จริงแล้วให้อภัย ไม่ใช่ปล่อยให้คนผิดลอยนวลเฉกเช่นปัจจุบันนี้ ทุกคนมีโอกาสผิดพลาด เหตุการณ์ที่ผิดพลาดในอดีตสามารถเกิดขึ้นได้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ด้วยการเฉไฉหรือกลบเกลื่อนหรือแม้กระทั่งการบิดเบือนได้ แต่เราจะต้องนำประวัติศาสตร์เหล่านั้นมาเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำอีก
หากเรายังคงใส่องค์ประกอบหรือปัจจัยเช่นในอดีต เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ก็ย่อมหมุนกลับไปที่เดิมเสมอ เพราะประวัติศาสตร์ย่อมซ้ำรอยของมันเอง(History repeats itself) และไม่ต้องไปคาดฝันว่าถ้าไม่เป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างไร เช่น ถ้าฝ่ายอักษะชนะสงครามโลกจะเป็นอย่างไร ฯลฯ เพราะ “ไม่มีคำว่า ‘ถ้า’ ในประวัติศาสตร์มีแต่ ‘ถ้า’ในอนาคต(There is no ‘IF’ in history but there is “IF” in the future)” นั่นเอง
การทำให้ประวัติศาสตร์กระซิบไม่ให้เป็นประวัติศาสตร์กระซิบอีกต่อไปนั้นมิใช่การฟื้นฝอยหาตะเข็บ แต่เป็นการนำเอาความจริงมาพูดกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันต่อไปอย่างสันติสุขและให้อภัยซึ่งกันและกัน โดยผู้กระทำความผิดก็ย่อมพร้อมที่จะขอโทษ ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดก็หายค้างคาใจและพร้อมที่จะให้อภัย ตัวอย่างในโลกนี้มีให้เห็นเยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เมืองกวางจูในเกาหลีหรือเหตุการณ์ในรวันดาหรือในแอฟริกาใต้ ฯลฯ เอาตัวอย่างที่ดีๆมาใช้ไม่ใช่การเสียหน้าหรอกครับ
0000
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2559
Credit :
ประวัติศาสตร์กระซิบ (Whisper History)
http://prachatai.com/journal/2016/10/68322
ประวัติศาสตร์กระซิบ (Whisper History)
ชำนาญ จันทร์เรือง
ในโอกาสที่เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ได้เวียนมาครบอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นครั้งที่เรียกได้ว่าเป็นครั้งที่ประวัติศาสตร์กระซิบบางส่วนได้ถูกเปิดเผยออกมาหลังจากที่ต้องกระซิบกระซาบกันมาถึง 40 ปี แต่ก็ยังคงเป็นบางส่วนเท่านั้น บางส่วนก็ยังคงต้องกระซิบกันอีกต่อไป
การที่ประวัติศาสตร์กระซิบถูกทำให้ดังขึ้นในครั้งนี้อาจจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็สุดแล้วแต่ ผมขอขอบคุณหลายๆท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ธงชัย วินิจกุล ผู้เป็นกัลยาณมิตรของผม ที่ทุ่มเทอย่างมากในการที่จะเปิดเผยความจริงที่ถูกปิดบังมาเป็นเวลาช้านาน และในทำนองกลับกันก็คงต้องขอบคุณผู้เป็นแนวร่วมมุมกลับในการกักตัว โจชัว หว่อง ไว้ที่สนามบินสุวรรณภูมิไม่ให้เข้ามาพูดที่จุฬาฯ จนทำให้เหตุการณ์รำลึก 6 ตุลา 19 ของเราดังไปทั่วโลก แทนการเป็นข่าวเล็กๆในสื่อบางฉบับเท่านั้น
สังคมใดก็ตามที่มีประวัติศาสตร์กระซิบมากก็แสดงให้เห็นถึงการถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการพูดออกมาด้วยเสียงอันดังมากนั่นเอง สังคมไทยเรามีประวัติศาสตร์กระซิบมากมายตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน หลายๆเรื่องก็ไม่สามารถที่จะทำให้กลายเป็นประวัติศาสตร์เสียงดังได้ด้วยเหตุการณ์ล่วงพ้นไปของกาลเวลาหรือข้อจำกัดด้านกฎหมาย อาทิ กรณีของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีว่าพระองค์ทรงวิปริตจนต้องถูกสำเร็จโทษหรือไม่หรือกรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 เป็นต้น
ประวัติศาสตร์กระซิบนั้นแตกต่างจากข่าวลือ เพราะข่าวลือนั้นอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่ประวัติศาสตร์กระซิบนั้นเป็นสิ่งที่เชื่อว่าเป็นจริงเพราะเป็นการบอกเล่าของผู้คนที่อยู่ในเหตุการณ์จริงบอกต่อๆกันมาด้วยเสียงกระซิบนั่นเอง แน่นอนว่าประวัติศาสตร์กระซิบที่ทรงพลังนั้นย่อมเป็นประวัติศาสตร์กระซิบร่วมสมัยที่ผู้บอกเล่าอยู่ในเหตุการณ์จริงและยังมีชีวิตอยู่ ส่วนประวัติศาสตร์กระซิบที่เกิดขึ้นนานมาแล้วจนไม่เหลือผู้ร่วมสมัยก็ย่อมยากจะพิสูจน์ได้ ต้องอาศัยตำราของฝรั่งมังค่าค้นคว้าเอาแต่ก็ยังต้องกระซิบอยู่ดี และความลับบางอย่างก็ตายตกไปกับผู้กุมความลับนั่นเอง
แต่ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่เป็นประวัติศาสตร์กระซิบของไทยร่วมสมัยที่จำเป็นต้องค้นคว้าและนำมาเผยแผ่เพื่อที่จะทำลายวัฒนธรรมการปล่อยให้คนผิดลอยนวล (impunity) จนทำให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าและก็จะเกิดขึ้นอีกเรื่อยๆต่อไป เพราะหากเหตุการณ์เหล่านี้ยังคงเป็นประวัติศาสตร์กระซิบ
ประวัติศาสตร์กระซิบร่วมสมัย
1) เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แม้ว่าจะจบลงด้วยชัยชนะของนักศึกษาที่สามารถโค่นรัฐบาลถนอม-ประภาสลงได้ หลายๆคนเป็น วีรชน หลายๆคนเป็นญาติวีรชน แต่บางสิ่งบางอย่างยังคงขุ่นมัว เช่น ตกลงว่าคนที่ในเฮลิคอปเตอร์ที่กราดยิงลงมาคือใครกันแน่ ฯลฯ
2) เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่เกือบทุกสิ่งทุกอย่างดำมืด นักศึกษาประชาชนที่เสียชีวิตไม่ได้ถูกยกย่องว่าเป็นวีรชนทั้งๆที่ต้องสังเวยชีวิตเช่นเดียวกับกรณี 14 ตุลา 16 เช่นกัน ข้อกังขาและยังต้องกระซิบกันอยู่อย่างอื้ออึงมีมากมาย เช่น ตกลงนักศึกษาที่ถูกแขวนคอมีกี่ศพกันแน่ บ้างว่ามี 5 คน บ้างว่ามีเพียง 2 คน บ้างก็บอกว่าเป็นคนนั้น บ้างก็บอกว่าเป็นคนนี้ หรือจำนวนนักศึกษาที่ตายและสูญหายจริงๆแล้วมีจำนวนเท่าใด ฯลฯ
3) การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหารบอกว่าเป็นความลับ แม้ตายก็บอกไม่ได้นั้นคืออะไร ทำไมถึงบอกไม่ได้
4) เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว 10 เมษายน 2553 จนทำให้ พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม เสียชีวิต นั้น เสียชีวิตจากอาวุธของใคร ตกลงมีชายชุดดำพร้อมอาวุธหรือไม่ ถ้ามีจริงชายชุดดำเหล่านั้นคือใคร
5) เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ราชประสงค์และกรณี 6 ศพที่วัดปทุมวนาราม เมื่อ 19 พฤษภา 2553 ใครเป็นผู้ออกคำสั่งกันแน่ ใครเป็นคนเผาเวิร์ลเทรด ฯลฯ
เหตุการณ์ที่ผมยกขึ้นมาข้างต้นนั้นเป็นเหตุการณ์ที่ค้างคาใจของหลายฝ่าย ฝ่ายหนึ่งก็ชี้นิ้วไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง และก็ยังชี้นิ้วต่อไปอีกเรื่อยๆ และก็จะเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการนองเลือดของประชาชนกลางถนน หรือการทำรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ฯลฯ หากเรายังปล่อยให้ความจริงอยู่ในประวัติศาสตร์กระซิบเท่านั้น
แต่หากเรานำเอาความจริงมาพูดกัน หาคนผิดที่แท้จริงแล้วให้อภัย ไม่ใช่ปล่อยให้คนผิดลอยนวลเฉกเช่นปัจจุบันนี้ ทุกคนมีโอกาสผิดพลาด เหตุการณ์ที่ผิดพลาดในอดีตสามารถเกิดขึ้นได้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ด้วยการเฉไฉหรือกลบเกลื่อนหรือแม้กระทั่งการบิดเบือนได้ แต่เราจะต้องนำประวัติศาสตร์เหล่านั้นมาเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำอีก
หากเรายังคงใส่องค์ประกอบหรือปัจจัยเช่นในอดีต เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ก็ย่อมหมุนกลับไปที่เดิมเสมอ เพราะประวัติศาสตร์ย่อมซ้ำรอยของมันเอง(History repeats itself) และไม่ต้องไปคาดฝันว่าถ้าไม่เป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างไร เช่น ถ้าฝ่ายอักษะชนะสงครามโลกจะเป็นอย่างไร ฯลฯ เพราะ “ไม่มีคำว่า ‘ถ้า’ ในประวัติศาสตร์มีแต่ ‘ถ้า’ในอนาคต(There is no ‘IF’ in history but there is “IF” in the future)” นั่นเอง
การทำให้ประวัติศาสตร์กระซิบไม่ให้เป็นประวัติศาสตร์กระซิบอีกต่อไปนั้นมิใช่การฟื้นฝอยหาตะเข็บ แต่เป็นการนำเอาความจริงมาพูดกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันต่อไปอย่างสันติสุขและให้อภัยซึ่งกันและกัน โดยผู้กระทำความผิดก็ย่อมพร้อมที่จะขอโทษ ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดก็หายค้างคาใจและพร้อมที่จะให้อภัย ตัวอย่างในโลกนี้มีให้เห็นเยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เมืองกวางจูในเกาหลีหรือเหตุการณ์ในรวันดาหรือในแอฟริกาใต้ ฯลฯ เอาตัวอย่างที่ดีๆมาใช้ไม่ใช่การเสียหน้าหรอกครับ
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2559
Credit :
ประวัติศาสตร์กระซิบ (Whisper History)
http://prachatai.com/journal/2016/10/68322