“ลอดลายมังกร เดอะมิวสิคัล”
.
"คุณธรรมคือคุณความดี สิ่งที่ฉันยึดมั่น
อาจเหนื่อยและล้ากว่าจะถึงฝัน
แต่ยังยืนด้วยความมั่นคง”
.
มีโอกาสได้ดูรอบพรีวิว 1 (เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ต.ค. ที่ผ่านมา)
เป็นละครเวทีอีกเรื่องที่น่าประทับใจ ควรค่าแก่การบอกต่อจริงๆ ครับ
ความสมบูรณ์ของด้านเนื้อหา บท เพลง การแสดง อยู่ในระดับใกล้เคียงกับ “สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล” เลยละ
.
.
จากบทประพันธ์
“ลอดลายมังกร” ของ
“ประภัสสร เสวิกุล” ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ
สู่ละครเวทีที่เต็มอิ่มกว่าสามชั่วโมง สิ่งแรกที่ต้องขอชื่นชมคือบทละคร คือตลอดสามชั่วโมงสำหรับเราแล้ว แทบไม่มีช่วงไหนที่น่าเบื่อเลย เพราะเนื้อหาเยอะมาก ตัวละครเยอะมาก แค่ตัวละครหลักที่อยู่ในโปสเตอร์ก็ 12 ตัวแล้ว
การกระจายบทให้ตัวละครสามารถทำได้ดี ด้วยเนื้อหาที่เยอะ แต่ละตัวละครก็มีเส้นเรื่องของตัวเอง มีช่วงที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำของผู้ชม ไม่รู้สึกว่าบทใครมากเกินไป ถ้าถามว่าเรื่องนี้ใครเด่นที่สุด เรายังตอบไม่ได้เลย แม้กระทั่ง
แบงค์ แคลช ที่รับบท อาเหลียง ผู้เป็นเจ้าของเรื่องราวทั้งหมด ก็ยังไม่มีความโดดเด่นกว่าตัวละครอื่นๆ
.
สิ่งแรกที่ขอแนะนำก่อนชมละครเวทีเรื่องนี้ คือควรศึกษาเรื่องย่อ เนื้อเรื่องคร่าวๆ มาก่อน
ถ้ามาดูแบบไม่รู้เรื่องเลย อาจจะมีงงได้ เพราะตัวละครเยอะมาก (ย้ำเป็นรอบที่ 3) ดูจากผังสาแหรก วงศาคณาญาติ “สือพาณิชย์” ที่เพจรัชดาลัยอัพ น่าจะช่วยได้
.
.
แก่นเรื่อง คือคุณธรรม ทีม่าควบคู่กับครอบครัว และธุรกิจ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย เราสามารถผ่านพ้นมาได้ด้วย “คุณธรรม”
อีกประเด็นคือ “คนเยอะเรื่องแยะ” และ “ลูกไม้ไม่ได้หล่นใกล้ต้นเสมอไป” ทุกๆ ที่ ที่มีคนหมู่มากมารวมกัน แน่นอนปัญหาย่อมตามมา และทางแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือ คุณธรรม อีกนั่นแหละ
.
ความยาวสามชั่วโมง กับการดำเนินเรื่องกว่าห้าสิบปี ถูกเล่าโดย ...
.
“นภา” (รับบทโดย ปอ-อรรณพ) หลานชายอาเหลียง ผู้ยึดมั่นและศรัทธาในคุณธรรมของปู่
“นรากร” (รับบทโดย กั้ง เดอะสตาร์ ) ลูกชายคนเล็กของอาเหลียง ผู้ดูถูกและไม่เชื่อในคุณธรรมของพ่อ สำหรับเขา พ่อไม่มีอะไรดีเลยสักนิด
สองคนนี้ก็สลับกันเล่าเรื่อง และคอยเถียงกัน ขัดแย้งกันตลอด ถือว่าการเล่าเรื่องทำได้ดี น่าสนใจ เรารู้จักปอ อรรณพ ในฐานะนักร้องมาดกวน กับเพลง โกรธไหลย้อน โสดกะปริบกะปรอย รักหมุนติ้ว ไม่คาดคิดว่าจะเล่นบทนภา ผู้สุขุมได้ดีขนาดนี้ ทำเอาเราลืมภาพที่เคยรู้จักไปหมดเลย บทนภาไม่ได้โชว์ของ หรือแสดงอารมณ์มาก แต่เขาทำหน้าที่ผู้เล่าเรื่องได้ดี น้ำเสียงของปอ ทำให้เราเชื่อว่านภารักและเข้าใจปู่จริงๆ ซีนที่เป็นไฮไลต์ของนภา ก็คือการเล่าเรื่องทั้งหมดนี่ละครับ
ส่วนกั้ง เดอะสตาร์ เล่นดีมาก น้ำเสียงและการแสดงดูเลวได้ใจจริงๆ เป็นตัวละครที่ไม่มีอะไรดีเลย กั้งถ่ายทอดความเป็นนรากร ได้น่ากระทืบมาก ซีนที่ประทับใจคงไม่พ้นการแบทเทิลกับนภาตลอดเวนั่นแล
เรียกได้ว่าชิมลางละครเวทีเรื่องแรก และบทร้ายเลว อันธพาลเรื่องแรก ได้อย่างน่าประทับใจ
.
.
“อาเหลียง” (รับบทโดย แบงค์ แคลช) แสดงได้ดี ตั้งแต่หนุ่มยันแก่ พี่แบงค์ทำให้เราเชื่อได้ว่า เขาคืออาเหลียง ผู้ผ่านโลกมาเยอะ ทำให้คนดูรู้จักเขาตั้งแต่ วัยรุ่น จนอายุ เจ็ดสิบสอง แต่อย่างที่บอก เราไม่สามารถตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำ
ว่าเรื่องนี้ คนที่เด่นที่สุดคือ อาเหลียง ยิ่งในช่วงเป็นผู้ใหญ่ จนชรา แทบจะโดนกลบหมดเลย
ซีนที่เป็นไฮไลต์ของอาเหลียง ต้องขอยกให้ตอนเปิดเรื่อง จากจับกัง สู่ผู้จัดการร้าน และสู่เถ้าแก่ผู้มั่งคั่ง ตอนจีบกับย่าเนียม ก็น่ารักดี ดูหวานละมุน และที่ยกนิ้วให้คือตอนเกิดเรื่องนันทนา มั่นใจว่าเรียกน้ำตาจากผู้ชมได้ไม่ยาก
.
.
“ย่าเหมยหลิง” (รับบทโดย นก สินจัย) โอยยยย กรีดร้องครับ คนนี้ของจริง คนนี้ไม่ได้มาเล่นๆ ลืมภาพแม่พลอยผู้อ่อนช้อย ไปเลยครับ สินจัย พลิกบทบาทเป็นย่าเหมยหลิง ชนิดที่ว่าต้องมาชมครับ ต้องมาเห็นกับตา แล้วคุณจะไม่ลืมเลย
เชื่อเถอะครับว่าออกจากโรงละครมา ตอนเปิดตัวย่าเหมยหลิง นี่แหละครับจะเป็นซีนที่คุณนึกถึงเป็นซีนแรกๆ !
ให้ตายเถอะ กว่าสิบนาทีที่ร้องเอง เล่นเอง บทพูด บทร้อง ยาวมากกกก แต่สินจัยทำได้ ไม่มีหลุด ไม่มีเหนื่อย เรียกเสียงปรบมือจากผู้ชมได้ดี...หลือมังม่ายจิง!!!!!
.
.
“ย่าเนียม” (รับบทโดย ลูกหว้า พิจิกา) ถ้าพระเอกเรื่องนี้คือปู่เหลียง นางเอกก็ต้องเป็นย่าเนียม
ตอนแรกคิดว่าบทจะไม่เด่นเท่าทีควร ก็โปสเตอร์โปรโมตเล่นจับย่าเนียม ไปอยู่ภาพเล็กๆ ท้ายๆ
แต่เราก็ยังรู้สึกว่าย่าเนียมคือนางเอก และแน่นอน ซีนไฮไลต์ของย่าเนียม ก็คือตอนเกิดเรื่องนันทนา
ความสัมพันธ์ของย่าเนียมกับย่าเหมยหลิง เริ่มจากการไม่ลงรอยกัน คิดสิ่งใดก็ขัดแย้งกันตลอด แต่ละครทำให้เราเชื่อได้
ว่ากว่าสี่สิบปีที่ต้องอยู่บ้านเดียวกัน ยังไงมันก็ต้องเปลี่ยนเป็นความเข้าใจ และเห็นใจ
ประทับใจตอนสองย่าพูดดีกันในช่วงท้ายจริงๆ มันดูอิ่มอกอิ่มใจมาก
.
“เป๊กกี้” (ปุยฝ้าย ณัฏฐพัชร) ขอมอบรางวัลขี้แซะดีเด่น จิกกัดชนะเล่น ให้นาง นางคอยจิกกันทุกคนในเรื่อง 55555.
เป็นเป๊กกี้ที่คนดูเกลียดไม่ลง ทั้งรักและหมั่นไส้นาง ปุยฝ้ายเล่นดี และเล่นใหญ่สมกับที่มีแม่ผัวอย่างสินจัย!
ฉากที่น่าจดจำ ก็ต้องตอนแบทเทิลกัน ระหว่างแม่ผัวลูกสะใภ้ เป็นอะไรที่มันมาก
เป๊กกี้ : เรื่องเด็กจะร้องห้ามได้ที่ไหนไม่ต้องมาอ้...
เหมยหลิง : หาเมียใหม่ให้แอนดี้ก็หมดเรื่อง
เป๊กกี้ : หาเมียใหม่เดี๋ยวจะเจอดี จะ-ไป-แหก-อก-ทั้ง-แม่-ทั้ง-ผัว
เหมยหลิง : ก็-ลอง-ดู-สิ-มา-ลอง-กะ-อั๊ว
พร้อมกัน : ได้เลยไม่เห็นกลัว ได้รู้เลยสุดท้ายใคร ชนะ !!!
ที่สำคัญ เป๊กกี้นางจะคอยแซะคนที่นางไม่ชอบอยู่ตลอด
- น่าสงสารอาแม่จัง อยากมีหลานอีก แต่ลูกคนโตก็ไม่ได้เรื่อง คนเล็ก...ก็มีไม่ได้แล้ว (ชี้ไปที่เป้าแอนดี้)
- คนนึงก็ลูกรัก คนนึงก็หลานรัก ส่วนนี่...ก็หมาหัวเน่า (แซะนุช)
.
.
“แอนดี้” (อาร์ อาณัตพล) นี่เรากลายเป็นแฟนคลับละครเวทีของอาร์แล้วนะ ดูกี่เรื่องก็ชอบการแสดงของอาร์
มาเรื่องนี้แอนดี้ไม่ค่อยโดดเด่นมาก แต่ถือว่าอาร์เล่นดี รักษาระดับตัวเองได้ดี ไม่ทำให้ความประทับใจจากสี่แผ่นดิน เลือดขัตติยา ของเราลดหายไป
แต่แอบรู้สึกว่า แอนดี้ฉบับนี้ดูร้ายไป จนแทบจะไม่เห็นข้อดีเลย แอนดี้จะเด่นในช่วงที่เหลียงต้องลี้ภัยทางการเมือง
ที่แอนดี้พยายามจะกุมอำนาจไว้ที่ตัวเองคนเดียว แต่ฉบับนิยายคือ ยังไงแอนดี้ก็ยังนับถือย่าเนียม
แถมยังไม่ทำร้ายน้องต่างมารดา ยังดูแลน้องดี ย่าเนียมถึงขั้นบอกว่าแอนดี้คือเสือที่ไม่รังแกเสือผู้อ่อนแอกว่า อยากให้ละครเวทีคงจุดนี้ไว้จริงๆ
.
“ชาญชัย” (แกงส้ม) เราชอบ และประทับใจ อโณทัย ในเลือดขัตติยา ที่แกงส้มเล่นมาก พอดูเสือ ชะนี เก้ง ที่แกงส้ม เล่นก็ชอบ รู้สึกว่าแกงเล่นละครดี ดูน่ารัก มีเสน่ห์ แต่สำหรับบทชาญชัย เรากลับรู้สึกว่าแกงยังเล่นไม่ถึง
คือชาญชัยมันต้องเลวกว่านี้ ในส่วนของความเจ้าเสน่ห์ จริตแพรวพราว ก้อร่อก้อติกอานันทนา แกงทำได้ดีแหละ
แกงทำให้รักชาญชัยได้ แต่แกงยังทำให้เราเกลียดชาญชัยได้ไม่มากพอที่จะเป็น
ฉากที่ชอบสำหรับชาญชัยฉบับแกงส้ม ต้องขอชื่นชมตอนจบ ตอนที่ชาญชัยคิดได้ ตอนที่เขาได้พบกัปตันอดีตโจร ที่เขาไม่เคยเชื่อว่ามีอยู่จริง และตอนที่ชาญชัยกลับมาหาปู่ คือดีมาก
.
.
“นันทนา” (ดาวโอเกะ) ไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ไหนมา แต่เราไม่เคยรู้จักดาวโอเกะมาก่อน ไม่เคยรู้ว่ามีผลงานที่ผ่านมาอะไรบ้าง
แต่นันทนาฉบับดาวโอเกะ คืออะไรที่เราประทับใจมาก ชอบมาก เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ดีของเรื่องนี้เลย
ถ้าซีนคอเมดี้ของลอดลายมังกร ในความทรงจำของเรา คือ เหมยหลิง เป๊กกี้
ซีนดราม่าเรายกให้ นันทนา
ดาวถ่ายทอดความเป็นนันทนา ได้อย่างเข้าใจในตัวละคร และทำให้เราเข้าใจตามไปด้วย
จากหญิงสาวผู้อ่อนต่อโลก ต้องพ่ายแพ้ความรักให้กับหลานชาย ความรักที่ผิดศีลธรรม ความรักที่ไม่มีใครยอมรับได้
เข้าใจและเห็นใจอานันท์จริงๆ ตอนร้องเพลงเดี่ยว ถ่ายทอดอารมณ์ทั้งรักทั้งแค้น จนซีนทำลายงานแต่งงาน ที่เหมือนทุกอย่างมันระเบิดออกมา มันสุดจะทน ชอบมาก และทึ่งมาก เท่านั้นยังไม่พอ หลังจากฉากนั้นไป นันทนาก็จะออกมาในคราบหญิงสติไม่ดี กอดตุ๊กตา ท่ามกลางตัวละครอื่นๆ มากมาย ดูเหมือนไม้ประดับ แต่เป็นไม้ประทับที่เราเพ่งเล็งตลอด
ชมนันทนาวัยสาวอย่างเดียวไม่ได้ ต้องชมน้องที่เล่นเป็นนันทนาวัยเด็กด้วย เล่นดีมาก ตอนตัดฉากสลับไปมา นี่โคตรประทับใจครับ เป็นอีกซีนที่อยู่ในความทรงจำของเรา
คือต้องขอบอกเลยว่า ถ้า อาเหลียง+นันทนาวัยสาว+เด็กหญิงนันทนา ใครคนใดคนหนึ่งเล่นไม่ดี เล่นน้อย มันจะกร่อยมาก และไม่พีคเลย แต่นี่...มันดีมาก
อยากให้นภาเล่น และบิวด์คนดูด้วยจัง ว่าตอนแรก เหลียงตั้งใจจะตั้งเชื่อลูกสาวคนนี้ว่า นัยนา แต่หากใช้ชื่อนัยนา
ปู่ก็คงจะเจ็บปวดและเสียใจมากกว่านี้
.
“นุช” (ซิลวี่) เราชอบซิลวี่มาตั้งแต่สมัยประกวดเดอะสตาร์ เพลงแอบมีน้ำตา ที่เธอร้อง เราก็ชอบ
เห็นเป็นอองซอมในละครเวทีมาหลายเรื่อง พอมาเรื่องนี้ได้เป็นตัวเด่น เรารู้ก็ดีใจมาก รอดูเลย
ซิลวี่เล่นดี แต่เสียดายบทน้อยมาก ดูไม่เด่นเลย เราชอบตัวละครนุช ในนิยายมาก นางฮาดี
เข้าใจว่าความยาวมีจำกัด
.
“มาลัย” (จิ๊บ) และ
“นนท์” (สิงโต) เป็นตัวละครหลักที่ไม่โดดเด่นเช่นกัน บทไม่ค่อยมีอะไรมาก ให้อองซอมเล่นยังได้
อ้อ...มาลัย กับ นันทนา หน้าคล้ายกันมาก ขำที่มีคนถามใช้คนเดียวกันเล่นรึเปล่า
.
“ตาจั๊ว” (เลอวิทย์ สังข์สิทธิ์ อองซอมมากฝีมือของรัชดาลัย ตอนเป็น เสวี ในสี่แผ่นดิน เสนาบดีคลัง ในเลือดขัตติยา คือทั้งเลวทั้งกวนบาทา มาเรื่องนี้ เล่นเป็นตัวดีได้อย่างน่าประทับใจ ทำให้คนดูหัวเราะได้ทุกครั้งที่ปรากฏตัว คือทั้งหัวเราะ ระคนโมโห อยากด่า กับซีนงานแซยิดอาเหลียง ตอนนั้นคือทุกคนกำลังดราม่า ซาบซึ้ง
ทันใดนั้น เสียง “อ้าวเฮ้ย!” ก็ดังขึ้นมา พร้อมกับการปรากฏตัวของตาจั๊ว (แหม่...ลุงคิดว่าตัวเองเป็นอะตอม ชนกันต์ รึไง!)
.
สิ่งที่โดดเด่น ขอชมเชย น่าประทับใจ ในเรื่องนี้ก็คือบทละคร และ การแสดงของนักแสดงทุกคน
.
ฉาก อาจจะไม่ชวนร้องว้าว เพราะมีไม่มาก หลักๆ ก็แค่คฤหาสน์สือพาณิชย์ แต่ก็ทำได้ดี
.
.
เพลง อยากให้ปล่อยเพลงโปรโมตมากกว่านี้ คือแทบไม่มีเพลงไหนที่ติดหูเลย มีแค่เพลงแบทเทิลของสินจัยกับปุยฝ้าย เพลงคุณธรรมของแบงค์ แล้วก็เพลงเปิดตัวสินจัย ที่ติดหู จำได้ อยากให้ทำซีดีเพลงด้วยจัง
เพลงในเรื่องส่วนใหญ่ จะเร็ว ร้องประสานเสียง ซึ่งเราฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง คือเพราะนะ แต่จับใจความไม่ค่อยได้ อย่างเพลงช่วงแรก ที่ร้องตอนความเพียรของอาเหลียง อาจั๊ว ที่ว่า หนักเท่าไรก็ยังไม่พอ หรืออะไรเนี่ยแหละ รู้สึกว่าเพราะ จังหวะได้อารมณ์ แต่ฟังไม่ค่อยออก (เพลงในเลือดขัตติยา ดูฟังง่ายกว่าเรื่องนี้เลย)
.
อาจจะหาโอกาสไปดูอีกรอบ อยากได้สูจิบัตรละครเวทีเก็บไว้ เสียดายรอบพรีวิวไม่ได้
.
สมกับเป็นละครเวทีฟอร์มยักษ์ ละครเวทีเรื่องยิ่งใหญ่
เชิญชวนให้มาชมกันครับ
#ลอดลายมังกรเดอะมิวสิคัล
#อุ้มสม
#ความจักร
#111016
[SR] รีวิว : : ลอดลายมังกร เดอะมิวสิคัล : :
.
"คุณธรรมคือคุณความดี สิ่งที่ฉันยึดมั่น
อาจเหนื่อยและล้ากว่าจะถึงฝัน
แต่ยังยืนด้วยความมั่นคง”
.
มีโอกาสได้ดูรอบพรีวิว 1 (เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ต.ค. ที่ผ่านมา)
เป็นละครเวทีอีกเรื่องที่น่าประทับใจ ควรค่าแก่การบอกต่อจริงๆ ครับ
ความสมบูรณ์ของด้านเนื้อหา บท เพลง การแสดง อยู่ในระดับใกล้เคียงกับ “สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล” เลยละ
.
.
จากบทประพันธ์ “ลอดลายมังกร” ของ “ประภัสสร เสวิกุล” ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ
สู่ละครเวทีที่เต็มอิ่มกว่าสามชั่วโมง สิ่งแรกที่ต้องขอชื่นชมคือบทละคร คือตลอดสามชั่วโมงสำหรับเราแล้ว แทบไม่มีช่วงไหนที่น่าเบื่อเลย เพราะเนื้อหาเยอะมาก ตัวละครเยอะมาก แค่ตัวละครหลักที่อยู่ในโปสเตอร์ก็ 12 ตัวแล้ว
การกระจายบทให้ตัวละครสามารถทำได้ดี ด้วยเนื้อหาที่เยอะ แต่ละตัวละครก็มีเส้นเรื่องของตัวเอง มีช่วงที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำของผู้ชม ไม่รู้สึกว่าบทใครมากเกินไป ถ้าถามว่าเรื่องนี้ใครเด่นที่สุด เรายังตอบไม่ได้เลย แม้กระทั่ง
แบงค์ แคลช ที่รับบท อาเหลียง ผู้เป็นเจ้าของเรื่องราวทั้งหมด ก็ยังไม่มีความโดดเด่นกว่าตัวละครอื่นๆ
.
สิ่งแรกที่ขอแนะนำก่อนชมละครเวทีเรื่องนี้ คือควรศึกษาเรื่องย่อ เนื้อเรื่องคร่าวๆ มาก่อน
ถ้ามาดูแบบไม่รู้เรื่องเลย อาจจะมีงงได้ เพราะตัวละครเยอะมาก (ย้ำเป็นรอบที่ 3) ดูจากผังสาแหรก วงศาคณาญาติ “สือพาณิชย์” ที่เพจรัชดาลัยอัพ น่าจะช่วยได้
.
.
แก่นเรื่อง คือคุณธรรม ทีม่าควบคู่กับครอบครัว และธุรกิจ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย เราสามารถผ่านพ้นมาได้ด้วย “คุณธรรม”
อีกประเด็นคือ “คนเยอะเรื่องแยะ” และ “ลูกไม้ไม่ได้หล่นใกล้ต้นเสมอไป” ทุกๆ ที่ ที่มีคนหมู่มากมารวมกัน แน่นอนปัญหาย่อมตามมา และทางแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือ คุณธรรม อีกนั่นแหละ
.
ความยาวสามชั่วโมง กับการดำเนินเรื่องกว่าห้าสิบปี ถูกเล่าโดย ...
.
“นภา” (รับบทโดย ปอ-อรรณพ) หลานชายอาเหลียง ผู้ยึดมั่นและศรัทธาในคุณธรรมของปู่
“นรากร” (รับบทโดย กั้ง เดอะสตาร์ ) ลูกชายคนเล็กของอาเหลียง ผู้ดูถูกและไม่เชื่อในคุณธรรมของพ่อ สำหรับเขา พ่อไม่มีอะไรดีเลยสักนิด
สองคนนี้ก็สลับกันเล่าเรื่อง และคอยเถียงกัน ขัดแย้งกันตลอด ถือว่าการเล่าเรื่องทำได้ดี น่าสนใจ เรารู้จักปอ อรรณพ ในฐานะนักร้องมาดกวน กับเพลง โกรธไหลย้อน โสดกะปริบกะปรอย รักหมุนติ้ว ไม่คาดคิดว่าจะเล่นบทนภา ผู้สุขุมได้ดีขนาดนี้ ทำเอาเราลืมภาพที่เคยรู้จักไปหมดเลย บทนภาไม่ได้โชว์ของ หรือแสดงอารมณ์มาก แต่เขาทำหน้าที่ผู้เล่าเรื่องได้ดี น้ำเสียงของปอ ทำให้เราเชื่อว่านภารักและเข้าใจปู่จริงๆ ซีนที่เป็นไฮไลต์ของนภา ก็คือการเล่าเรื่องทั้งหมดนี่ละครับ
ส่วนกั้ง เดอะสตาร์ เล่นดีมาก น้ำเสียงและการแสดงดูเลวได้ใจจริงๆ เป็นตัวละครที่ไม่มีอะไรดีเลย กั้งถ่ายทอดความเป็นนรากร ได้น่ากระทืบมาก ซีนที่ประทับใจคงไม่พ้นการแบทเทิลกับนภาตลอดเวนั่นแล
เรียกได้ว่าชิมลางละครเวทีเรื่องแรก และบทร้ายเลว อันธพาลเรื่องแรก ได้อย่างน่าประทับใจ
.
.
“อาเหลียง” (รับบทโดย แบงค์ แคลช) แสดงได้ดี ตั้งแต่หนุ่มยันแก่ พี่แบงค์ทำให้เราเชื่อได้ว่า เขาคืออาเหลียง ผู้ผ่านโลกมาเยอะ ทำให้คนดูรู้จักเขาตั้งแต่ วัยรุ่น จนอายุ เจ็ดสิบสอง แต่อย่างที่บอก เราไม่สามารถตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำ
ว่าเรื่องนี้ คนที่เด่นที่สุดคือ อาเหลียง ยิ่งในช่วงเป็นผู้ใหญ่ จนชรา แทบจะโดนกลบหมดเลย
ซีนที่เป็นไฮไลต์ของอาเหลียง ต้องขอยกให้ตอนเปิดเรื่อง จากจับกัง สู่ผู้จัดการร้าน และสู่เถ้าแก่ผู้มั่งคั่ง ตอนจีบกับย่าเนียม ก็น่ารักดี ดูหวานละมุน และที่ยกนิ้วให้คือตอนเกิดเรื่องนันทนา มั่นใจว่าเรียกน้ำตาจากผู้ชมได้ไม่ยาก
.
.
“ย่าเหมยหลิง” (รับบทโดย นก สินจัย) โอยยยย กรีดร้องครับ คนนี้ของจริง คนนี้ไม่ได้มาเล่นๆ ลืมภาพแม่พลอยผู้อ่อนช้อย ไปเลยครับ สินจัย พลิกบทบาทเป็นย่าเหมยหลิง ชนิดที่ว่าต้องมาชมครับ ต้องมาเห็นกับตา แล้วคุณจะไม่ลืมเลย
เชื่อเถอะครับว่าออกจากโรงละครมา ตอนเปิดตัวย่าเหมยหลิง นี่แหละครับจะเป็นซีนที่คุณนึกถึงเป็นซีนแรกๆ !
ให้ตายเถอะ กว่าสิบนาทีที่ร้องเอง เล่นเอง บทพูด บทร้อง ยาวมากกกก แต่สินจัยทำได้ ไม่มีหลุด ไม่มีเหนื่อย เรียกเสียงปรบมือจากผู้ชมได้ดี...หลือมังม่ายจิง!!!!!
.
.
“ย่าเนียม” (รับบทโดย ลูกหว้า พิจิกา) ถ้าพระเอกเรื่องนี้คือปู่เหลียง นางเอกก็ต้องเป็นย่าเนียม
ตอนแรกคิดว่าบทจะไม่เด่นเท่าทีควร ก็โปสเตอร์โปรโมตเล่นจับย่าเนียม ไปอยู่ภาพเล็กๆ ท้ายๆ
แต่เราก็ยังรู้สึกว่าย่าเนียมคือนางเอก และแน่นอน ซีนไฮไลต์ของย่าเนียม ก็คือตอนเกิดเรื่องนันทนา
ความสัมพันธ์ของย่าเนียมกับย่าเหมยหลิง เริ่มจากการไม่ลงรอยกัน คิดสิ่งใดก็ขัดแย้งกันตลอด แต่ละครทำให้เราเชื่อได้
ว่ากว่าสี่สิบปีที่ต้องอยู่บ้านเดียวกัน ยังไงมันก็ต้องเปลี่ยนเป็นความเข้าใจ และเห็นใจ
ประทับใจตอนสองย่าพูดดีกันในช่วงท้ายจริงๆ มันดูอิ่มอกอิ่มใจมาก
.
“เป๊กกี้” (ปุยฝ้าย ณัฏฐพัชร) ขอมอบรางวัลขี้แซะดีเด่น จิกกัดชนะเล่น ให้นาง นางคอยจิกกันทุกคนในเรื่อง 55555.
เป็นเป๊กกี้ที่คนดูเกลียดไม่ลง ทั้งรักและหมั่นไส้นาง ปุยฝ้ายเล่นดี และเล่นใหญ่สมกับที่มีแม่ผัวอย่างสินจัย!
ฉากที่น่าจดจำ ก็ต้องตอนแบทเทิลกัน ระหว่างแม่ผัวลูกสะใภ้ เป็นอะไรที่มันมาก
เป๊กกี้ : เรื่องเด็กจะร้องห้ามได้ที่ไหนไม่ต้องมาอ้...
เหมยหลิง : หาเมียใหม่ให้แอนดี้ก็หมดเรื่อง
เป๊กกี้ : หาเมียใหม่เดี๋ยวจะเจอดี จะ-ไป-แหก-อก-ทั้ง-แม่-ทั้ง-ผัว
เหมยหลิง : ก็-ลอง-ดู-สิ-มา-ลอง-กะ-อั๊ว
พร้อมกัน : ได้เลยไม่เห็นกลัว ได้รู้เลยสุดท้ายใคร ชนะ !!!
ที่สำคัญ เป๊กกี้นางจะคอยแซะคนที่นางไม่ชอบอยู่ตลอด
- น่าสงสารอาแม่จัง อยากมีหลานอีก แต่ลูกคนโตก็ไม่ได้เรื่อง คนเล็ก...ก็มีไม่ได้แล้ว (ชี้ไปที่เป้าแอนดี้)
- คนนึงก็ลูกรัก คนนึงก็หลานรัก ส่วนนี่...ก็หมาหัวเน่า (แซะนุช)
.
.
“แอนดี้” (อาร์ อาณัตพล) นี่เรากลายเป็นแฟนคลับละครเวทีของอาร์แล้วนะ ดูกี่เรื่องก็ชอบการแสดงของอาร์
มาเรื่องนี้แอนดี้ไม่ค่อยโดดเด่นมาก แต่ถือว่าอาร์เล่นดี รักษาระดับตัวเองได้ดี ไม่ทำให้ความประทับใจจากสี่แผ่นดิน เลือดขัตติยา ของเราลดหายไป
แต่แอบรู้สึกว่า แอนดี้ฉบับนี้ดูร้ายไป จนแทบจะไม่เห็นข้อดีเลย แอนดี้จะเด่นในช่วงที่เหลียงต้องลี้ภัยทางการเมือง
ที่แอนดี้พยายามจะกุมอำนาจไว้ที่ตัวเองคนเดียว แต่ฉบับนิยายคือ ยังไงแอนดี้ก็ยังนับถือย่าเนียม
แถมยังไม่ทำร้ายน้องต่างมารดา ยังดูแลน้องดี ย่าเนียมถึงขั้นบอกว่าแอนดี้คือเสือที่ไม่รังแกเสือผู้อ่อนแอกว่า อยากให้ละครเวทีคงจุดนี้ไว้จริงๆ
.
“ชาญชัย” (แกงส้ม) เราชอบ และประทับใจ อโณทัย ในเลือดขัตติยา ที่แกงส้มเล่นมาก พอดูเสือ ชะนี เก้ง ที่แกงส้ม เล่นก็ชอบ รู้สึกว่าแกงเล่นละครดี ดูน่ารัก มีเสน่ห์ แต่สำหรับบทชาญชัย เรากลับรู้สึกว่าแกงยังเล่นไม่ถึง
คือชาญชัยมันต้องเลวกว่านี้ ในส่วนของความเจ้าเสน่ห์ จริตแพรวพราว ก้อร่อก้อติกอานันทนา แกงทำได้ดีแหละ
แกงทำให้รักชาญชัยได้ แต่แกงยังทำให้เราเกลียดชาญชัยได้ไม่มากพอที่จะเป็น
ฉากที่ชอบสำหรับชาญชัยฉบับแกงส้ม ต้องขอชื่นชมตอนจบ ตอนที่ชาญชัยคิดได้ ตอนที่เขาได้พบกัปตันอดีตโจร ที่เขาไม่เคยเชื่อว่ามีอยู่จริง และตอนที่ชาญชัยกลับมาหาปู่ คือดีมาก
.
.
“นันทนา” (ดาวโอเกะ) ไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ไหนมา แต่เราไม่เคยรู้จักดาวโอเกะมาก่อน ไม่เคยรู้ว่ามีผลงานที่ผ่านมาอะไรบ้าง
แต่นันทนาฉบับดาวโอเกะ คืออะไรที่เราประทับใจมาก ชอบมาก เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ดีของเรื่องนี้เลย
ถ้าซีนคอเมดี้ของลอดลายมังกร ในความทรงจำของเรา คือ เหมยหลิง เป๊กกี้
ซีนดราม่าเรายกให้ นันทนา
ดาวถ่ายทอดความเป็นนันทนา ได้อย่างเข้าใจในตัวละคร และทำให้เราเข้าใจตามไปด้วย
จากหญิงสาวผู้อ่อนต่อโลก ต้องพ่ายแพ้ความรักให้กับหลานชาย ความรักที่ผิดศีลธรรม ความรักที่ไม่มีใครยอมรับได้
เข้าใจและเห็นใจอานันท์จริงๆ ตอนร้องเพลงเดี่ยว ถ่ายทอดอารมณ์ทั้งรักทั้งแค้น จนซีนทำลายงานแต่งงาน ที่เหมือนทุกอย่างมันระเบิดออกมา มันสุดจะทน ชอบมาก และทึ่งมาก เท่านั้นยังไม่พอ หลังจากฉากนั้นไป นันทนาก็จะออกมาในคราบหญิงสติไม่ดี กอดตุ๊กตา ท่ามกลางตัวละครอื่นๆ มากมาย ดูเหมือนไม้ประดับ แต่เป็นไม้ประทับที่เราเพ่งเล็งตลอด
ชมนันทนาวัยสาวอย่างเดียวไม่ได้ ต้องชมน้องที่เล่นเป็นนันทนาวัยเด็กด้วย เล่นดีมาก ตอนตัดฉากสลับไปมา นี่โคตรประทับใจครับ เป็นอีกซีนที่อยู่ในความทรงจำของเรา
คือต้องขอบอกเลยว่า ถ้า อาเหลียง+นันทนาวัยสาว+เด็กหญิงนันทนา ใครคนใดคนหนึ่งเล่นไม่ดี เล่นน้อย มันจะกร่อยมาก และไม่พีคเลย แต่นี่...มันดีมาก
อยากให้นภาเล่น และบิวด์คนดูด้วยจัง ว่าตอนแรก เหลียงตั้งใจจะตั้งเชื่อลูกสาวคนนี้ว่า นัยนา แต่หากใช้ชื่อนัยนา
ปู่ก็คงจะเจ็บปวดและเสียใจมากกว่านี้
.
“นุช” (ซิลวี่) เราชอบซิลวี่มาตั้งแต่สมัยประกวดเดอะสตาร์ เพลงแอบมีน้ำตา ที่เธอร้อง เราก็ชอบ
เห็นเป็นอองซอมในละครเวทีมาหลายเรื่อง พอมาเรื่องนี้ได้เป็นตัวเด่น เรารู้ก็ดีใจมาก รอดูเลย
ซิลวี่เล่นดี แต่เสียดายบทน้อยมาก ดูไม่เด่นเลย เราชอบตัวละครนุช ในนิยายมาก นางฮาดี
เข้าใจว่าความยาวมีจำกัด
.
“มาลัย” (จิ๊บ) และ “นนท์” (สิงโต) เป็นตัวละครหลักที่ไม่โดดเด่นเช่นกัน บทไม่ค่อยมีอะไรมาก ให้อองซอมเล่นยังได้
อ้อ...มาลัย กับ นันทนา หน้าคล้ายกันมาก ขำที่มีคนถามใช้คนเดียวกันเล่นรึเปล่า
.
“ตาจั๊ว” (เลอวิทย์ สังข์สิทธิ์ อองซอมมากฝีมือของรัชดาลัย ตอนเป็น เสวี ในสี่แผ่นดิน เสนาบดีคลัง ในเลือดขัตติยา คือทั้งเลวทั้งกวนบาทา มาเรื่องนี้ เล่นเป็นตัวดีได้อย่างน่าประทับใจ ทำให้คนดูหัวเราะได้ทุกครั้งที่ปรากฏตัว คือทั้งหัวเราะ ระคนโมโห อยากด่า กับซีนงานแซยิดอาเหลียง ตอนนั้นคือทุกคนกำลังดราม่า ซาบซึ้ง
ทันใดนั้น เสียง “อ้าวเฮ้ย!” ก็ดังขึ้นมา พร้อมกับการปรากฏตัวของตาจั๊ว (แหม่...ลุงคิดว่าตัวเองเป็นอะตอม ชนกันต์ รึไง!)
.
สิ่งที่โดดเด่น ขอชมเชย น่าประทับใจ ในเรื่องนี้ก็คือบทละคร และ การแสดงของนักแสดงทุกคน
.
ฉาก อาจจะไม่ชวนร้องว้าว เพราะมีไม่มาก หลักๆ ก็แค่คฤหาสน์สือพาณิชย์ แต่ก็ทำได้ดี
.
.
เพลง อยากให้ปล่อยเพลงโปรโมตมากกว่านี้ คือแทบไม่มีเพลงไหนที่ติดหูเลย มีแค่เพลงแบทเทิลของสินจัยกับปุยฝ้าย เพลงคุณธรรมของแบงค์ แล้วก็เพลงเปิดตัวสินจัย ที่ติดหู จำได้ อยากให้ทำซีดีเพลงด้วยจัง
เพลงในเรื่องส่วนใหญ่ จะเร็ว ร้องประสานเสียง ซึ่งเราฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง คือเพราะนะ แต่จับใจความไม่ค่อยได้ อย่างเพลงช่วงแรก ที่ร้องตอนความเพียรของอาเหลียง อาจั๊ว ที่ว่า หนักเท่าไรก็ยังไม่พอ หรืออะไรเนี่ยแหละ รู้สึกว่าเพราะ จังหวะได้อารมณ์ แต่ฟังไม่ค่อยออก (เพลงในเลือดขัตติยา ดูฟังง่ายกว่าเรื่องนี้เลย)
.
อาจจะหาโอกาสไปดูอีกรอบ อยากได้สูจิบัตรละครเวทีเก็บไว้ เสียดายรอบพรีวิวไม่ได้
.
สมกับเป็นละครเวทีฟอร์มยักษ์ ละครเวทีเรื่องยิ่งใหญ่
เชิญชวนให้มาชมกันครับ
#ลอดลายมังกรเดอะมิวสิคัล
#อุ้มสม
#ความจักร
#111016