ผู้เขียน : ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ในเรื่องของความรัก เป็นเรื่องของความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อกัน
แต่หลายครั้งความรู้สึกดีๆ กลับสื่อไปไม่ถึงกัน
อีกฝ่ายไม่รับรู้ หรือเกิดความเข้าใจกันผิดๆ
นำมาสู่ความบาดหมางใจกันอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่รักกัน
การมารู้จัก “ภาษารัก” ว่ามีหลากหลายแบบ กว่าที่เราเคยเข้าใจมาก่อน
จะทำให้เข้าใจในกันและกัน
และช่วยลดความสงสัยว่าเขารักหรือเปล่า
รวมถึงช่วยให้รู้ว่าภาษารักที่เราแสดงออกต่อเขา
กำลังพอดี ตรงใจเขาหรือไม่
ปัญหาที่เจอบ่อยในความสัมพันธ์ คือ ภาษารักไม่ตรงกัน
เราลองมาดูกันว่า “ภาษารัก” ของเราเป็นแบบไหน
และของคนที่เรารักเป็นแบบไหน
แล้วเรียนรู้ที่จะปรับเข้าหากันอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน
ในทางจิตวิทยาโดยด็อกเตอร์ Gary Chapman นักจิตวิทยาด้านให้คำปรึกษาเรื่องความสัมพันธ์ ได้กล่าวถึง “ภาษารัก” ของมนุษย์ โดยหลักๆ มี 5 แบบ คือ
1. คำพูด (Word of affirmation, appreciation)
2. มีเวลาคุณภาพให้แก่กัน (Quality time)
3. ของขวัญ สิ่งของดีๆ (Gifts)
4. การดูแล (Acts of service)
5. การสัมผัส ทางกาย (Physical touch)
การที่เขาแสดงความรักออกมาไม่เหมือนที่เราต้องการ
ไม่ได้แปลว่าเขาไม่รักเรา
และสิ่งที่เราแสดงออกต่อเขา (ด้วยใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความรัก)
ไม่ได้แปลว่าเขาจะรับรู้ได้ หรือรู้สึกดีเสมอไป
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. คำพูด (Word of affirmation, appreciation)
ภาษารักด้วยคำพูด เช่น “คำบอกรัก” การบอกความรู้สึกดีๆ เช่น เป็นห่วง คิดถึง หรือการพูดให้กำลังใจ หรือพูดชมเชยกัน ซึ่งคำพูดลักษณะนี้จะช่วยให้อีกฝ่ายรับรู้ความรู้สึกดีๆ ในแบบง่ายๆ ตรงไปตรงมา ไม่ต้องมาเล่นเกมเดาใจว่าอีกฝ่ายทำแบบนี้ คิดอะไรอยู่นะ เพราะในชีวิตจริงไม่เหมือนละคร ที่อีกฝ่ายจะรับรู้ความรู้สึกได้แม้เราไม่พูดออกมา
สิ่งที่ต้องระวัง :
คำพูดที่หวาน แต่ไม่มีความจริง พูดเพื่อเอาใจ แต่ทำไม่ได้ หรือ “หวานเวอร์” อาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเลี่ยนๆ น่ารำคาญ หรือรู้สึกว่าเป็นคำโกหกหลอกลวง
สิ่งที่ควรเป็นคือ
- คำพูดที่ออกมาจากใจจริงๆ
- บอกให้มากขึ้น สำหรับคนที่มองว่าคำพูดไม่สำคัญ เท่าการกระทำ
ซึ่งจริงๆ อาจไม่จริงทั้งหมด
การฝึกพูด ฝึกแสดงความรู้สึกผ่านคำพูดบ้างเป็นเรื่องที่ดี หลายครั้งทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นมาก
คำพูดหนึ่งๆ มีอิทธิพลมาก คำพูดดีๆ จากคนที่เรารัก เหมือนเป็นน้ำทิพย์ชโลมใจทีเดียว ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจขึ้นอย่างมหาศาล
2. มีเวลาคุณภาพให้แก่กัน (Quality time)
เช่น มีเวลาที่จะอยู่ด้วยกันจริงๆที่จะรับรู้ความรู้สึกของอีกฝ่าย หรือ ทำกิจกรรมดีๆ ด้วยกัน เป็นต้น สิ่งที่แสดงถึงว่ามีเวลาคุณภาพให้กันจริงๆ
- เลือกกิจกรรมดีๆ ที่สนใจร่วมกันจริงๆ ไม่ใช่ เลือกกิจกรรมที่ชอบอยู่ฝ่ายเดียว สนุกอยู่คนเดียว อีกฝ่ายก็ไม่ไหว
- มีเวลาสงบๆ ง่ายๆ อยู่กับคู่บ้าง ไม่ใช่ทำตัวยุ่ง ทำนู่นทำนี่ตลอดเวลา เช่น นั่งเงียบๆ สงบ สบาย ใกล้ๆ กัน ก็เป็นเวลาที่มีคุณภาพได้
- ไม่ควรทำสิ่งอื่นไปด้วยในเวลาเดียวกัน เช่น ก้มหน้าเล่นมือถือตลอด หรือ ดูทีวี หรือเล่นคอมพิวเตอร์ไปด้วย
มีหลายครั้งพบว่า ในยุคไอทีรุ่งเรือง เวลาคุณภาพของการอยู่ด้วยกันจริงๆ กับด้อยลง เช่น หลายครั้งเราจะพบว่า คู่ของเราเวลาอยู่กับเรา แต่ก้มหน้ามองแต่มือถือ หรือ ตามองแต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ทำให้คนอยู่ด้วย ไม่ได้รู้สึกว่าอยู่ด้วยกันจริงๆ เพราะสิ่งที่เขาสนใจกลับเป็นมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ หรือทีวี มากกว่าตัวเราที่นั่งอยู่ตรงนี้ ทำให้เกิดความน้อยใจ และรู้สึกว่างเปล่าในความสัมพันธ์ขึ้นได้
- ในเรื่องการสนทนา
- ใส่ใจ รับฟังคู่คุณอย่างตั้งใจ ไม่พูดขัดคอ หรือ รีบตัดบท
- รับฟังอย่างเข้าใจ
- รับรู้ถึงความรู้สึกในสิ่งที่เขากำลังบอกออกมา
- ใส่ใจสังเกตภาษากายของอีกฝ่ายบ้าง แต่อย่ามากเกินไป เพราะอีกฝ่ายอาจรู้สึกอึดอัด หรือ เหมือนถูกจับผิดได้
- เปิดใจ แบ่งปัน ความรู้สึก ของตนเอง หรือ เรื่องราวของตนเอง จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกถึงความสนิทใจ ที่มีต่อกัน แต่ไม่ใช่เล่าแต่เรื่องตนเองตลอดเวลา จนไม่ฟังเรื่องของอีกฝ่ายเลย
สิ่งที่ต้องระวัง :
บางคนต้องการเวลาคุณภาพจากคนรักมาก จนอีกฝ่ายรู้สึกว่าขาดอิสระในชีวิต เช่น ต้องไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด ต้องอยู่ด้วยกันตลอด การที่อีกฝ่ายต้องการเวลาของตัวเองบ้าง ไม่ได้แปลว่าเขาไม่รัก เพียงแต่แต่ละคนต้องการพื้นที่ชีวิตความเป็นส่วนตัวไม่เท่ากัน บางคนต้องการมาก บางคนต้องการน้อยหน่อย
3. ของขวัญ สิ่งของดีๆ (Gifts)
เป็นภาษารักที่สำคัญมากอีกอันหนึ่ง เช่น ของขวัญในวันสำคัญ หรือการไปไหนแล้วมีของฝาก หรือซื้อของโปรดของชอบให้ หลายครั้ง ความสำคัญไม่ใช่เรื่อง ราคาของ แต่สิ่งสำคัญคือ ความนึกถึงกัน ใส่ใจกัน
ของขวัญ หรือ สิ่งของดีๆ ที่มอบให้กัน จึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความรัก ความห่วงใยที่มีให้กัน สิ่งของชิ้นหนึ่ง อาจมีค่าไปตลอดชีวิตของคนคนหนึ่งเลยทีเดียว
สิ่งที่ต้องระวัง :
หลายครั้งบางคนให้ความรักเป็นสิ่งของเป็นวัตถุตลอดเวลา เช่น มีพ่อบ้านมากมาย ที่ทำงานหนักมาก เพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัว และมองว่าต้องมีสิ่งของวัตถุดีๆ เพื่อทำให้ชีวิตครอบครัวสมบูรณ์ มือถือออกรุ่นใหม่ ต้องซื้อให้ลูกทุกครั้ง เพราะ นั่นคือ ความรักที่แสดงว่าพ่อรักลูก แต่จริงๆ บางที ลูกอาจต้องการแค่เวลาคุณภาพจากพ่อบ้าง ภรรยาแค่ต้องการความใส่ใจห่วงใยบ้าง แต่พ่อบ้านอาจไม่ได้ให้ เพราะ มัวแต่ยุ่งมุ่งกับภาษารักที่เป็นวัตถุสิ่งของ จนลืมไปว่าความรักที่จะให้มีได้อีกหลายแบบ
4. การดูแล (Acts of service)
เช่น การดูแลเรื่องต่างๆ การบริการ อย่างขับรถไปรับไปส่ง การทำอาหารให้ทาน การพาไปหาหมอเวลาไม่สบาย เป็นต้น
สิ่งที่ต้องระวัง :
การดูแลมากเกินไป อีกฝ่ายอาจรู้สึกอึดอัดได้ เช่น บางคนดูแลมากทุกเรื่องในชีวิต แม้กระทั่งยาสีฟันยังบีบให้ ซึ่งถ้าคู่คุณชอบ ถือว่ากำลังดีสำหรับคู่คุณ แต่บางคนอาจไม่ได้ชอบการดูแลที่มากๆ อีกฝ่ายอาจอึดอัดได้เพราะรู้สึกว่าขาดความเป็นส่วนตัว ถูกก้าวก่ายในชีวิตเกินไปได้
สิ่งที่ควรเป็น คือ
- ดูว่าคู่ของคุณต้องการการดูแลขนาดไหน
บางคนชอบให้ดูแลมากๆ บางคนอาจไม่ชอบที่มากเกินไปค่ะ จัดให้พอดีๆ กับคู่ของคุณ
5. การสัมผัส ทางกาย (Physical touch)
เช่น การจับมือ การกอด การโอบ การตบไหล่ การหอม การจูบ แม้กระทั่งเรื่องเพศสัมพันธ์ ซึ่งการบอกรักด้วยภาษาร่างกาย การสัมผัสมีพลังมาก เช่น เวลาที่ต้องการกำลังใจ การตบไหล่ การลูบหลังเบาๆ ให้กำลังใจ บางทีมีพลังมากกว่าคำพูด
สิ่งที่ต้องระวัง :
- การสัมผัสทางกาย ไม่ใช่เรืองบนเตียงหรือเพศสัมพันธ์อย่างเดียว
ในหลายคน พอบอกว่า ส่งภาษารักด้วยการสัมผัสทางกาย จะคิดถึงเรื่องเพศสัมพันธุ์ทันที ทั้งที่จริงๆ เพศสัมพันธ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่การแสดงความรัก ความห่วงใยด้วยการสัมผัสมีอีกหลายอย่างมาก เช่น การแสดงความรู้สึกดีๆ ด้วยการจับมือ การตบไหล่ การกอด เหล่านี้เป็นภาษารักที่ทำให้คนที่ได้รับรู้สึกอบอุ่นและมีพลังมาก
สิ่งที่ควรเป็น :
- จัดให้เหมาะสมพอดีกับคู่ของเราค่ะ บางคนไม่ได้ชอบให้สัมผัสร่างกายมากมาย อาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัดรำคาญได้ค่ะ เหมือนถูกนัวเนียตลอดเวลา แต่ขณะที่บางคนชอบและรู้สึกดี ดังนั้น จัดให้พอดีกับคู่ของตัวเอง
เคล็ดไม่ลับ “ความเข้าใจใน(ภาษา)รัก”
- ในแต่ละคนจะมีภาษารักไม่เหมือนกัน และ ชอบภาษารักที่แตกต่างกัน
- คนส่วนใหญ่ล้วนอยากได้ภาษารักทั้ง 5 อย่างจากคนที่เรารัก แต่ระดับการอยากได้ในแต่ละแบบอาจไม่เท่ากัน
- ลองถามตัวเองว่าเราอยากได้ภาษารักแบบไหนมากที่สุด เชื่อว่าแต่ละคนจะมีอยู่ในใจหลักๆ กันไปคนละแบบ 2 แบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความต้องการของตัวเองมากขึ้น
- ลองสังเกตดูว่า คนรักของเราชอบภาษารักแบบใด เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในกันและกัน และดูแลกันอย่างเหมาะสม
- จัดให้พอดี และ ถูกจังหวะ ที่เขาเรียกว่า “คิดถึงใจเขา-ใจเรา”
- ด้วยความที่แต่ละคนมีภาษารักไม่เหมือนกัน หลายคู่จึงเกิดปัญหาได้ ทั้งที่รักกัน แต่ด้วยภาษารักที่ไม่ตรงกัน ทำให้บางคู่กลายเป็นหมางใจกัน เพราะเข้าใจว่า อีกฝ่ายไม่เคยให้ภาษารักแบบนี้กับตนเองเลย แปลว่าไม่รักตน หรือรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจว่าอีกฝ่ายไม่รับรู้ความรักของตน ที่เพียรพยายามให้ตลอดมา เป็นต้น เลยกลายเป็นว่าจากคนที่รักกันมากๆ กลายเป็นคนที่ไม่รักกันมากๆ ไปได้ ด้วยความไม่เข้าใจในภาษารักของอีกฝ่าย
ขอยกตัวอย่างชายหนุ่มกับหญิงสาวคู่หนึ่ง
หญิงสาว : ภาษารักของเธอคือ คำพูด (word of affirmation, appreciation)
ชายหนุ่ม : ภาษารักของเขาคือ การดูแล (Acts of service)
หญิงสาวน้อยใจสามีมาโดยตลอด แต่งงานกันมา 2 ปี มองว่าสามีไม่เคยรักตน เพราะสามีไม่เคยพูดคำว่ารักเลย เวลาถามว่ารักเธอไหมสามีไม่ตอบ หรือเฉยๆ ไป ไม่เคยพูดคำดีๆ หวานๆ ให้กัน และไม่เคยชื่นชมอะไรในตัวเธอเลย บางครั้ง เวลาที่ทำผิดไปบ้างยังโดนสามีเอ็ดอยู่บ่อยๆ ทำให้เธอรู้สึกเสียใจ เจ็บช้ำน้ำใจกับคำพูดของสามี ขณะที่ทางฝ่ายสามีนั้นจริงๆ รักภรรยามาก แต่เป็นคนไม่ชอบพูด บุคลิกแข็งๆ พูดชมใครไม่เป็น พูดจาหวานๆ อ่อนโยนไม่เป็น และมองว่าเป็นสิ่งไร้สาระ คำพูดมันตื้นเขิน และจะโกหกอย่างไรก็ได้
ดังนั้น เขาแสดงความรักด้วยการดูแลภรรยาต่างๆ เช่นการไปรับไปส่ง เวลาภรรยาไปไหนจะขับรถให้เสมอ เวลาเห็นภรรยาไม่สบายจะดูแลเรื่องอาหารการกินและพาไปหาหมอ เป็นต้น แต่ไม่เคยพูดจาให้กำลังใจเลย เพราะมองว่าไม่จำเป็น มองว่าการกระทำสำคัญกว่าคำพูด และด้วยความห่วงใยภรรยา บางครั้งจึงเอ็ดภรรยาเวลาที่เธอทำผิด ด้วยเจตนาที่ดีและห่วงใยว่าไม่อยากให้เธอทำผิดอี
ณ จุดนี้ ทำให้ภรรยาน้อยใจอยู่เรื่อยๆ และเข้าใจว่า ที่สามีทำดีด้วยการดูแลตนมาตลอดเพราะทำตามหน้าที่ของสามีที่ดีเท่านั้น ภรรยาจึงไม่สามารถสัมผัสความรักจากสามีได้เลย ซึ่งคู่นี้เป็นหนึ่งในอีกๆ หลายคู่ที่มีภาษารักไม่ตรงกัน ทำให้หมางใจกันในที่สุด
ภาษารักส่งท้าย
- ความเข้าใจในภาษารัก ว่ามี อย่างน้อย 5 แบบดังกล่าวข้างต้น ช่วยให้หลายคู่สัมผัสความรักของอีกฝ่ายได้มากขึ้น หายสงสัยว่าเขารักเราหรือเปล่า รวมถึงตัวเราเองที่จะส่งภาษารักให้พอดีกับคู่ของเรา ไม่มากไม่น้อยเกินไป
- ภาษารักไม่ใช่เฉพาะกับความรักแบบคู่รักเท่านั้น แต่กับคุณพ่อ คุณแม่ ลูกๆ พี่ น้อง และเพื่อนๆ
- การสื่อภาษารักที่เหมาะสมและเข้าใจภาษารักของอีกฝ่ายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นได้อย่างมาก
- ภาษารัก 5 ข้อ ไม่ใช่สูตรสำเร็จว่าทำทั้ง 5 ข้อแล้วชีวิตรักของคุณจะดีขึ้น (ถ้าปราศจากใจ)
ภาษารักจะทรงพลังและมีคุณค่าที่สุด เมื่อสิ่งเหล่านี้ ทำด้วยใจ ออกมาจากใจ ทำด้วยความรักและความปรารถนาดีต่อกัน
เข้าใจใน “ภาษารัก” ของเธอ ของฉัน
ความสัมพันธ์ของเรา แน่นแฟ้นขึ้นแน่นอน
บทความจาก : MGR Online
http://manager.co.th/GoodHealth/ViewNews.aspx?NewsID=9590000099595
รัก...อย่างเข้าใจ ไม่มีใครต้องเจ็บ
ผู้เขียน : ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ในเรื่องของความรัก เป็นเรื่องของความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อกัน
แต่หลายครั้งความรู้สึกดีๆ กลับสื่อไปไม่ถึงกัน
อีกฝ่ายไม่รับรู้ หรือเกิดความเข้าใจกันผิดๆ
นำมาสู่ความบาดหมางใจกันอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่รักกัน
การมารู้จัก “ภาษารัก” ว่ามีหลากหลายแบบ กว่าที่เราเคยเข้าใจมาก่อน
จะทำให้เข้าใจในกันและกัน
และช่วยลดความสงสัยว่าเขารักหรือเปล่า
รวมถึงช่วยให้รู้ว่าภาษารักที่เราแสดงออกต่อเขา
กำลังพอดี ตรงใจเขาหรือไม่
ปัญหาที่เจอบ่อยในความสัมพันธ์ คือ ภาษารักไม่ตรงกัน
เราลองมาดูกันว่า “ภาษารัก” ของเราเป็นแบบไหน
และของคนที่เรารักเป็นแบบไหน
แล้วเรียนรู้ที่จะปรับเข้าหากันอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน
ในทางจิตวิทยาโดยด็อกเตอร์ Gary Chapman นักจิตวิทยาด้านให้คำปรึกษาเรื่องความสัมพันธ์ ได้กล่าวถึง “ภาษารัก” ของมนุษย์ โดยหลักๆ มี 5 แบบ คือ
1. คำพูด (Word of affirmation, appreciation)
2. มีเวลาคุณภาพให้แก่กัน (Quality time)
3. ของขวัญ สิ่งของดีๆ (Gifts)
4. การดูแล (Acts of service)
5. การสัมผัส ทางกาย (Physical touch)
การที่เขาแสดงความรักออกมาไม่เหมือนที่เราต้องการ
ไม่ได้แปลว่าเขาไม่รักเรา
และสิ่งที่เราแสดงออกต่อเขา (ด้วยใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความรัก)
ไม่ได้แปลว่าเขาจะรับรู้ได้ หรือรู้สึกดีเสมอไป
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. คำพูด (Word of affirmation, appreciation)
ภาษารักด้วยคำพูด เช่น “คำบอกรัก” การบอกความรู้สึกดีๆ เช่น เป็นห่วง คิดถึง หรือการพูดให้กำลังใจ หรือพูดชมเชยกัน ซึ่งคำพูดลักษณะนี้จะช่วยให้อีกฝ่ายรับรู้ความรู้สึกดีๆ ในแบบง่ายๆ ตรงไปตรงมา ไม่ต้องมาเล่นเกมเดาใจว่าอีกฝ่ายทำแบบนี้ คิดอะไรอยู่นะ เพราะในชีวิตจริงไม่เหมือนละคร ที่อีกฝ่ายจะรับรู้ความรู้สึกได้แม้เราไม่พูดออกมา
สิ่งที่ต้องระวัง :
คำพูดที่หวาน แต่ไม่มีความจริง พูดเพื่อเอาใจ แต่ทำไม่ได้ หรือ “หวานเวอร์” อาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเลี่ยนๆ น่ารำคาญ หรือรู้สึกว่าเป็นคำโกหกหลอกลวง
สิ่งที่ควรเป็นคือ
- คำพูดที่ออกมาจากใจจริงๆ
- บอกให้มากขึ้น สำหรับคนที่มองว่าคำพูดไม่สำคัญ เท่าการกระทำ
ซึ่งจริงๆ อาจไม่จริงทั้งหมด
การฝึกพูด ฝึกแสดงความรู้สึกผ่านคำพูดบ้างเป็นเรื่องที่ดี หลายครั้งทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นมาก
คำพูดหนึ่งๆ มีอิทธิพลมาก คำพูดดีๆ จากคนที่เรารัก เหมือนเป็นน้ำทิพย์ชโลมใจทีเดียว ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจขึ้นอย่างมหาศาล
2. มีเวลาคุณภาพให้แก่กัน (Quality time)
เช่น มีเวลาที่จะอยู่ด้วยกันจริงๆที่จะรับรู้ความรู้สึกของอีกฝ่าย หรือ ทำกิจกรรมดีๆ ด้วยกัน เป็นต้น สิ่งที่แสดงถึงว่ามีเวลาคุณภาพให้กันจริงๆ
- เลือกกิจกรรมดีๆ ที่สนใจร่วมกันจริงๆ ไม่ใช่ เลือกกิจกรรมที่ชอบอยู่ฝ่ายเดียว สนุกอยู่คนเดียว อีกฝ่ายก็ไม่ไหว
- มีเวลาสงบๆ ง่ายๆ อยู่กับคู่บ้าง ไม่ใช่ทำตัวยุ่ง ทำนู่นทำนี่ตลอดเวลา เช่น นั่งเงียบๆ สงบ สบาย ใกล้ๆ กัน ก็เป็นเวลาที่มีคุณภาพได้
- ไม่ควรทำสิ่งอื่นไปด้วยในเวลาเดียวกัน เช่น ก้มหน้าเล่นมือถือตลอด หรือ ดูทีวี หรือเล่นคอมพิวเตอร์ไปด้วย
มีหลายครั้งพบว่า ในยุคไอทีรุ่งเรือง เวลาคุณภาพของการอยู่ด้วยกันจริงๆ กับด้อยลง เช่น หลายครั้งเราจะพบว่า คู่ของเราเวลาอยู่กับเรา แต่ก้มหน้ามองแต่มือถือ หรือ ตามองแต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ทำให้คนอยู่ด้วย ไม่ได้รู้สึกว่าอยู่ด้วยกันจริงๆ เพราะสิ่งที่เขาสนใจกลับเป็นมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ หรือทีวี มากกว่าตัวเราที่นั่งอยู่ตรงนี้ ทำให้เกิดความน้อยใจ และรู้สึกว่างเปล่าในความสัมพันธ์ขึ้นได้
- ในเรื่องการสนทนา
- ใส่ใจ รับฟังคู่คุณอย่างตั้งใจ ไม่พูดขัดคอ หรือ รีบตัดบท
- รับฟังอย่างเข้าใจ
- รับรู้ถึงความรู้สึกในสิ่งที่เขากำลังบอกออกมา
- ใส่ใจสังเกตภาษากายของอีกฝ่ายบ้าง แต่อย่ามากเกินไป เพราะอีกฝ่ายอาจรู้สึกอึดอัด หรือ เหมือนถูกจับผิดได้
- เปิดใจ แบ่งปัน ความรู้สึก ของตนเอง หรือ เรื่องราวของตนเอง จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกถึงความสนิทใจ ที่มีต่อกัน แต่ไม่ใช่เล่าแต่เรื่องตนเองตลอดเวลา จนไม่ฟังเรื่องของอีกฝ่ายเลย
สิ่งที่ต้องระวัง :
บางคนต้องการเวลาคุณภาพจากคนรักมาก จนอีกฝ่ายรู้สึกว่าขาดอิสระในชีวิต เช่น ต้องไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด ต้องอยู่ด้วยกันตลอด การที่อีกฝ่ายต้องการเวลาของตัวเองบ้าง ไม่ได้แปลว่าเขาไม่รัก เพียงแต่แต่ละคนต้องการพื้นที่ชีวิตความเป็นส่วนตัวไม่เท่ากัน บางคนต้องการมาก บางคนต้องการน้อยหน่อย
3. ของขวัญ สิ่งของดีๆ (Gifts)
เป็นภาษารักที่สำคัญมากอีกอันหนึ่ง เช่น ของขวัญในวันสำคัญ หรือการไปไหนแล้วมีของฝาก หรือซื้อของโปรดของชอบให้ หลายครั้ง ความสำคัญไม่ใช่เรื่อง ราคาของ แต่สิ่งสำคัญคือ ความนึกถึงกัน ใส่ใจกัน
ของขวัญ หรือ สิ่งของดีๆ ที่มอบให้กัน จึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความรัก ความห่วงใยที่มีให้กัน สิ่งของชิ้นหนึ่ง อาจมีค่าไปตลอดชีวิตของคนคนหนึ่งเลยทีเดียว
สิ่งที่ต้องระวัง :
หลายครั้งบางคนให้ความรักเป็นสิ่งของเป็นวัตถุตลอดเวลา เช่น มีพ่อบ้านมากมาย ที่ทำงานหนักมาก เพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัว และมองว่าต้องมีสิ่งของวัตถุดีๆ เพื่อทำให้ชีวิตครอบครัวสมบูรณ์ มือถือออกรุ่นใหม่ ต้องซื้อให้ลูกทุกครั้ง เพราะ นั่นคือ ความรักที่แสดงว่าพ่อรักลูก แต่จริงๆ บางที ลูกอาจต้องการแค่เวลาคุณภาพจากพ่อบ้าง ภรรยาแค่ต้องการความใส่ใจห่วงใยบ้าง แต่พ่อบ้านอาจไม่ได้ให้ เพราะ มัวแต่ยุ่งมุ่งกับภาษารักที่เป็นวัตถุสิ่งของ จนลืมไปว่าความรักที่จะให้มีได้อีกหลายแบบ
4. การดูแล (Acts of service)
เช่น การดูแลเรื่องต่างๆ การบริการ อย่างขับรถไปรับไปส่ง การทำอาหารให้ทาน การพาไปหาหมอเวลาไม่สบาย เป็นต้น
สิ่งที่ต้องระวัง :
การดูแลมากเกินไป อีกฝ่ายอาจรู้สึกอึดอัดได้ เช่น บางคนดูแลมากทุกเรื่องในชีวิต แม้กระทั่งยาสีฟันยังบีบให้ ซึ่งถ้าคู่คุณชอบ ถือว่ากำลังดีสำหรับคู่คุณ แต่บางคนอาจไม่ได้ชอบการดูแลที่มากๆ อีกฝ่ายอาจอึดอัดได้เพราะรู้สึกว่าขาดความเป็นส่วนตัว ถูกก้าวก่ายในชีวิตเกินไปได้
สิ่งที่ควรเป็น คือ
- ดูว่าคู่ของคุณต้องการการดูแลขนาดไหน
บางคนชอบให้ดูแลมากๆ บางคนอาจไม่ชอบที่มากเกินไปค่ะ จัดให้พอดีๆ กับคู่ของคุณ
5. การสัมผัส ทางกาย (Physical touch)
เช่น การจับมือ การกอด การโอบ การตบไหล่ การหอม การจูบ แม้กระทั่งเรื่องเพศสัมพันธ์ ซึ่งการบอกรักด้วยภาษาร่างกาย การสัมผัสมีพลังมาก เช่น เวลาที่ต้องการกำลังใจ การตบไหล่ การลูบหลังเบาๆ ให้กำลังใจ บางทีมีพลังมากกว่าคำพูด
สิ่งที่ต้องระวัง :
- การสัมผัสทางกาย ไม่ใช่เรืองบนเตียงหรือเพศสัมพันธ์อย่างเดียว
ในหลายคน พอบอกว่า ส่งภาษารักด้วยการสัมผัสทางกาย จะคิดถึงเรื่องเพศสัมพันธุ์ทันที ทั้งที่จริงๆ เพศสัมพันธ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่การแสดงความรัก ความห่วงใยด้วยการสัมผัสมีอีกหลายอย่างมาก เช่น การแสดงความรู้สึกดีๆ ด้วยการจับมือ การตบไหล่ การกอด เหล่านี้เป็นภาษารักที่ทำให้คนที่ได้รับรู้สึกอบอุ่นและมีพลังมาก
สิ่งที่ควรเป็น :
- จัดให้เหมาะสมพอดีกับคู่ของเราค่ะ บางคนไม่ได้ชอบให้สัมผัสร่างกายมากมาย อาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัดรำคาญได้ค่ะ เหมือนถูกนัวเนียตลอดเวลา แต่ขณะที่บางคนชอบและรู้สึกดี ดังนั้น จัดให้พอดีกับคู่ของตัวเอง
เคล็ดไม่ลับ “ความเข้าใจใน(ภาษา)รัก”
- ในแต่ละคนจะมีภาษารักไม่เหมือนกัน และ ชอบภาษารักที่แตกต่างกัน
- คนส่วนใหญ่ล้วนอยากได้ภาษารักทั้ง 5 อย่างจากคนที่เรารัก แต่ระดับการอยากได้ในแต่ละแบบอาจไม่เท่ากัน
- ลองถามตัวเองว่าเราอยากได้ภาษารักแบบไหนมากที่สุด เชื่อว่าแต่ละคนจะมีอยู่ในใจหลักๆ กันไปคนละแบบ 2 แบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความต้องการของตัวเองมากขึ้น
- ลองสังเกตดูว่า คนรักของเราชอบภาษารักแบบใด เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในกันและกัน และดูแลกันอย่างเหมาะสม
- จัดให้พอดี และ ถูกจังหวะ ที่เขาเรียกว่า “คิดถึงใจเขา-ใจเรา”
- ด้วยความที่แต่ละคนมีภาษารักไม่เหมือนกัน หลายคู่จึงเกิดปัญหาได้ ทั้งที่รักกัน แต่ด้วยภาษารักที่ไม่ตรงกัน ทำให้บางคู่กลายเป็นหมางใจกัน เพราะเข้าใจว่า อีกฝ่ายไม่เคยให้ภาษารักแบบนี้กับตนเองเลย แปลว่าไม่รักตน หรือรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจว่าอีกฝ่ายไม่รับรู้ความรักของตน ที่เพียรพยายามให้ตลอดมา เป็นต้น เลยกลายเป็นว่าจากคนที่รักกันมากๆ กลายเป็นคนที่ไม่รักกันมากๆ ไปได้ ด้วยความไม่เข้าใจในภาษารักของอีกฝ่าย
ขอยกตัวอย่างชายหนุ่มกับหญิงสาวคู่หนึ่ง
หญิงสาว : ภาษารักของเธอคือ คำพูด (word of affirmation, appreciation)
ชายหนุ่ม : ภาษารักของเขาคือ การดูแล (Acts of service)
หญิงสาวน้อยใจสามีมาโดยตลอด แต่งงานกันมา 2 ปี มองว่าสามีไม่เคยรักตน เพราะสามีไม่เคยพูดคำว่ารักเลย เวลาถามว่ารักเธอไหมสามีไม่ตอบ หรือเฉยๆ ไป ไม่เคยพูดคำดีๆ หวานๆ ให้กัน และไม่เคยชื่นชมอะไรในตัวเธอเลย บางครั้ง เวลาที่ทำผิดไปบ้างยังโดนสามีเอ็ดอยู่บ่อยๆ ทำให้เธอรู้สึกเสียใจ เจ็บช้ำน้ำใจกับคำพูดของสามี ขณะที่ทางฝ่ายสามีนั้นจริงๆ รักภรรยามาก แต่เป็นคนไม่ชอบพูด บุคลิกแข็งๆ พูดชมใครไม่เป็น พูดจาหวานๆ อ่อนโยนไม่เป็น และมองว่าเป็นสิ่งไร้สาระ คำพูดมันตื้นเขิน และจะโกหกอย่างไรก็ได้
ดังนั้น เขาแสดงความรักด้วยการดูแลภรรยาต่างๆ เช่นการไปรับไปส่ง เวลาภรรยาไปไหนจะขับรถให้เสมอ เวลาเห็นภรรยาไม่สบายจะดูแลเรื่องอาหารการกินและพาไปหาหมอ เป็นต้น แต่ไม่เคยพูดจาให้กำลังใจเลย เพราะมองว่าไม่จำเป็น มองว่าการกระทำสำคัญกว่าคำพูด และด้วยความห่วงใยภรรยา บางครั้งจึงเอ็ดภรรยาเวลาที่เธอทำผิด ด้วยเจตนาที่ดีและห่วงใยว่าไม่อยากให้เธอทำผิดอี
ณ จุดนี้ ทำให้ภรรยาน้อยใจอยู่เรื่อยๆ และเข้าใจว่า ที่สามีทำดีด้วยการดูแลตนมาตลอดเพราะทำตามหน้าที่ของสามีที่ดีเท่านั้น ภรรยาจึงไม่สามารถสัมผัสความรักจากสามีได้เลย ซึ่งคู่นี้เป็นหนึ่งในอีกๆ หลายคู่ที่มีภาษารักไม่ตรงกัน ทำให้หมางใจกันในที่สุด
ภาษารักส่งท้าย
- ความเข้าใจในภาษารัก ว่ามี อย่างน้อย 5 แบบดังกล่าวข้างต้น ช่วยให้หลายคู่สัมผัสความรักของอีกฝ่ายได้มากขึ้น หายสงสัยว่าเขารักเราหรือเปล่า รวมถึงตัวเราเองที่จะส่งภาษารักให้พอดีกับคู่ของเรา ไม่มากไม่น้อยเกินไป
- ภาษารักไม่ใช่เฉพาะกับความรักแบบคู่รักเท่านั้น แต่กับคุณพ่อ คุณแม่ ลูกๆ พี่ น้อง และเพื่อนๆ
- การสื่อภาษารักที่เหมาะสมและเข้าใจภาษารักของอีกฝ่ายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นได้อย่างมาก
- ภาษารัก 5 ข้อ ไม่ใช่สูตรสำเร็จว่าทำทั้ง 5 ข้อแล้วชีวิตรักของคุณจะดีขึ้น (ถ้าปราศจากใจ)
ภาษารักจะทรงพลังและมีคุณค่าที่สุด เมื่อสิ่งเหล่านี้ ทำด้วยใจ ออกมาจากใจ ทำด้วยความรักและความปรารถนาดีต่อกัน
เข้าใจใน “ภาษารัก” ของเธอ ของฉัน
ความสัมพันธ์ของเรา แน่นแฟ้นขึ้นแน่นอน
บทความจาก : MGR Online
http://manager.co.th/GoodHealth/ViewNews.aspx?NewsID=9590000099595