สมัยหนึ่ง ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพร้อมด้วยพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตต์ เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลขอวัตถุ ๕ ประการ ดังนี้ (๑) ภิกษุควรอยู่ป่าตลอดชีวิต (๒) ภิกษุควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต (๓) ภิกษุควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต (๔) ภิกษุควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต (๕) ภิกษุไม่ควรฉันปลาและเนื้อ
พระพุทธตรัสห้ามว่า
อย่าเลยเทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ บ้าน ภิกษุใดปรารถนาก็จงเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีการ นิมนต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีผ้า คฤหบดี เราอนุญาตรุกขมูล(การอยู่โคนไม้)ตลอด ๘ เดือน(นอกฤดูฝน) เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑)ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ยิน (๓)ไม่ได้รังเกียจ
เรื่องนี้ปรากฏในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑
ผมคิดว่าควรจะมีใครซักคนที่มาอธิบายเรื่องการกินเนื้อสัตว์ให้คุณเจ้าของกระทู้ได้เข้าใจซะที
ถ้าคุณบอกว่า การหยุดกินเนื้อสัตว์ชั่วคราวซักอาทิตย์นึง จะมีประโยชน์ต่อร่างกาย อันนี้ผมเห็นด้วย ผมคิดว่าความเข้าใจนี้ถูก
แต่ถ้าคุณบอกว่า การกินเจ จะได้บุญจากการไม่กินเนื้อสัตว์ อันนี้เป็นความเข้าใจผิดของคุณนะ (
ระวังจะเข้าพวกพระเทวทัต)
และเป็นความเข้าใจผิดที่ส่งต่อกันมาเนิ่นนานเหลือเกิน เพราะตีโจทย์ในเรื่องการกินเนื้อสัตว์ไม่แตก
(เป็นการ "ติดดี" ในเรื่องการกินเนื้อสัตว์) (เพราะตีโจทย์ในเรื่องการกินเนื้อสัตว์ไม่แตก จึงดันข้อศีลไปสุดทางจนเกินพอดี กลายเป็น "ติดดี" ไป)
พระเทวทัต เคยทูลขอพระพุทธเจ้า 5 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ขอให้ ภิกษุไม่ควรฉันปลาและเนื้อ
ที่ขอก็เพื่อหวังที่จะดิสเครดิตพระพุทธเจ้า เพื่อหวังที่จะปกครองสงฆ์เอง
เพราะพระพุทธเจ้า อนุญาตให้ฉันปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑)ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ยิน (๓)ไม่ได้รังเกียจ
ทำให้คนที่ตีโจทย์ในการกินเนื้อสัตว์ไม่แตก หลงเข้าพวกพระเทวทัตไม่น้อย (เพราะคิดว่า ตราบใดที่ยังมีการกินเนื้อสัตว์ ก็เท่ากับจ้างวานฆ่าทางอ้อม)
เพราะคนที่มีความเข้าใจผิดเรื่องการกินเนื้อสัตว์ จะตีโจทย์ในการกินเนื้อสัตว์ไม่แตก
เขาจะนึกไม่ออกว่า ทำไมการกินเนื้อสัตว์ที่ได้มาอย่างถูกต้องวิธี จึงไม่บาป (๑)ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ยิน (๓)ไม่ได้รังเกียจ
((((( บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง )))))
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความคิดเห็นของตนให้ตรง
เมื่อเทียบเคียงกับบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ วิธี แล้ว ไม่พบว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ การรับประทานแต่พืชผักเป็นวิธีทำบุญข้อใดเลย
จึงไม่นับว่าเป็นวิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา
บทความเรื่อง "กินเนื้อสัตว์ อย่างไรไม่บาป?"
พระพุทธตรัสห้ามว่า
อย่าเลยเทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ บ้าน ภิกษุใดปรารถนาก็จงเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีการ นิมนต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีผ้า คฤหบดี เราอนุญาตรุกขมูล(การอยู่โคนไม้)ตลอด ๘ เดือน(นอกฤดูฝน) เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑)ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ยิน (๓)ไม่ได้รังเกียจ
เรื่องนี้ปรากฏในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑
ผมคิดว่าควรจะมีใครซักคนที่มาอธิบายเรื่องการกินเนื้อสัตว์ให้คุณเจ้าของกระทู้ได้เข้าใจซะที
ถ้าคุณบอกว่า การหยุดกินเนื้อสัตว์ชั่วคราวซักอาทิตย์นึง จะมีประโยชน์ต่อร่างกาย อันนี้ผมเห็นด้วย ผมคิดว่าความเข้าใจนี้ถูก
แต่ถ้าคุณบอกว่า การกินเจ จะได้บุญจากการไม่กินเนื้อสัตว์ อันนี้เป็นความเข้าใจผิดของคุณนะ (ระวังจะเข้าพวกพระเทวทัต)
และเป็นความเข้าใจผิดที่ส่งต่อกันมาเนิ่นนานเหลือเกิน เพราะตีโจทย์ในเรื่องการกินเนื้อสัตว์ไม่แตก
(เป็นการ "ติดดี" ในเรื่องการกินเนื้อสัตว์) (เพราะตีโจทย์ในเรื่องการกินเนื้อสัตว์ไม่แตก จึงดันข้อศีลไปสุดทางจนเกินพอดี กลายเป็น "ติดดี" ไป)
พระเทวทัต เคยทูลขอพระพุทธเจ้า 5 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ขอให้ ภิกษุไม่ควรฉันปลาและเนื้อ
ที่ขอก็เพื่อหวังที่จะดิสเครดิตพระพุทธเจ้า เพื่อหวังที่จะปกครองสงฆ์เอง
เพราะพระพุทธเจ้า อนุญาตให้ฉันปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑)ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ยิน (๓)ไม่ได้รังเกียจ
ทำให้คนที่ตีโจทย์ในการกินเนื้อสัตว์ไม่แตก หลงเข้าพวกพระเทวทัตไม่น้อย (เพราะคิดว่า ตราบใดที่ยังมีการกินเนื้อสัตว์ ก็เท่ากับจ้างวานฆ่าทางอ้อม)
เพราะคนที่มีความเข้าใจผิดเรื่องการกินเนื้อสัตว์ จะตีโจทย์ในการกินเนื้อสัตว์ไม่แตก
เขาจะนึกไม่ออกว่า ทำไมการกินเนื้อสัตว์ที่ได้มาอย่างถูกต้องวิธี จึงไม่บาป (๑)ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ยิน (๓)ไม่ได้รังเกียจ
((((( บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง )))))
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความคิดเห็นของตนให้ตรง
เมื่อเทียบเคียงกับบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ วิธี แล้ว ไม่พบว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ การรับประทานแต่พืชผักเป็นวิธีทำบุญข้อใดเลย
จึงไม่นับว่าเป็นวิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา