พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒
พระเทวทัตหาพรรคพวก
[บางส่วน]
ลำดับนั้น พระเทวทัตแสดงธรรมกถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน
อาจหาญ ร่าเริง หลายราตรี แล้วเชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรว่า
ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุ
ทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะท่าน เราเมื่อยหลังจักเอน
ท่านพระสารีบุตรรับคำพระเทวทัตแล้ว ลำดับนั้น พระเทวทัตปูผ้าสังฆาฏิ
๔ ชั้น แล้วจำวัตรโดยข้างเบื้องขวา เธอเหน็ดเหนื่อยหมดสติสัมปชัญญะ ครู่เดียว
เท่านั้น ก็หลับไป ฯ
[๓๙๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุทั้งหลาย
ด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวสอน พร่ำสอน ภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
...
[๓๙๕] ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย พึงอุปสมบทใหม่
พระพุทธเจ้า : อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจการอุปสมบทใหม่ของ
พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายเลย ดูกรสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พวกภิกษุ
ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายแสดงอาบัติถุลลัจจัย
ก็เทวทัตปฏิบัติแก่เธออย่างไร
ท่านพระสารีบุตร : พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา
ให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ตลอดราตรีเป็นอันมาก
แล้วได้รับสั่งกะข้าพระพุทธเจ้าว่า
ดูกรสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุ
ทั้งหลายจงแจ่มแจ้งแก่เธอ เราเมื่อยหลัง ดังนี้ ฉันใด
พระเทวทัต ก็ได้ปฏิบัติฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้าข้า ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๓๘๖๔ - ๓๙๕๘. หน้าที่ ๑๖๐ - ๑๖๔.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=3864&Z=3958&bgc=ivory&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=0&bgc=ivory
พระผู้มีพระภาคเมื่อก่อนจะตรัสรู้ ได้ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา เมื่อตรัสรู้แล้ว ภายหลังทรงพระชรา จึงเมื่อยหลัง
เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์ (สังฆเภท) ได้พาภิกษุ ๕๐๐ รูปไป แล้วแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ณ ตำบล คยาสีสะ
ด้วยการเลียนแบบพระอิริยาบถของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระอัครสาวกทั้งสอง คือท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะ ให้รีบไปนำพระภิกษุ
๕๐๐ รูปนั้นกลับมา
พระอัครสาวกทั้งสองทูลรับพุทธบัญชาแล้วเดินทางไป
พระเทวทัตเห็นพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว ก็นึกดีใจ หลงตัวเองว่า พระอัครสาวกทั้งสองเลื่อมใสตน จึงมาสำนักของตน
พระเทวทัตก็เชิญชวนพระอัครสาวกทั้งสองด้วยอาสนะ
พระเทวทัตได้โอกาสจึงเลียนแบบพระผู้มีพระภาค โดยกล่าวว่า
ภิกษุเหล่านี้ยังไม่ง่วง ขอให้ท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมแก่พระภิกษุเหล่านั้น เราเมื่อยหลัง จักเอน (เพื่อนอน)
เลียนแบบว่า ตนสั่งพระอัครสาวกทั้งสองเหมือนที่พระพุทธองค์รับสั่ง
พระเทวทัตนอนแล้ว ก็หลับไป
ปรากฎว่า พระอัครสาวกทั้งสองแสดงธรรมจนพระภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น เห็นแจ้ง บรรลุมรรคผล แล้วจึงนำกลับมาถึง
พระวิหารเวฬุวัน
พวกของพระเทวทัต ปลุกให้พระเทวทัตตื่นขึ้น ...
"ครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง"
ลีลาการสอน หรือ พุทธลีลาในการสอน หรือ เทศนาวิธี 4 (การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง แม้ที่เป็นเพียงธรรมีกถา
หรือการสนทนาทั่วไป ซึ่งมิใช่คราวที่มีความมุ่งหมายเฉพาะพิเศษ ก็จะดำเนินไปอย่างสำเร็จผลดีโดยมีองค์ประกอบที่เป็น
คุณลักษณะ 4 ประการ - the Buddha's style or manner of teaching)
1. สันทัสสนา (ชี้แจงให้เห็นชัด คือ จะสอนอะไร ก็ชี้แจงจำแนกแยกแยะอธิบายและแสดงเหตุผลให้ชัดเจน จนผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง
เห็นจริงเห็นจัง ดังจูงมือไปดูเห็นกับตา - elucidation and verification)
2. สมาทปนา (ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ คือ สิ่งใดควรปฏิบัติหรือหัดทำ ก็แนะนำหรือบรรยายให้ซาบซึ้งในคุณค่า
มองเห็นความสำคัญที่จะต้องฝึกฝนบำเพ็ญ จนใจยอมรับ อยากลงมือทำ หรือนำไปปฏิบัติ - incitement to take upon oneself;
inspiration towards the Goal)
3. สมุตเตชนา (เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า คือ ปลุกเร้าใจให้กระตือรือร้น เกิดความอุตสาหะ มีกำลังใจแข็งขัน มั่นใจที่จะทำ
ให้สำเร็จจงได้ สู้งาน ไม่หวั่นระย่อไม่กลัวเหนื่อย ไม่กลัวยาก - urging; encouragement; animation; filling with enthusiasm)
4. สัมปหังสนา (ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง คือ บำรุงจิตให้แช่มชื่นเบิกบาน โดยชี้ให้เห็นผลดีหรือคุณประโยชน์ที่จะได้รับ
และทางที่จะก้าวหน้าบรรลุผลสำเร็จยิ่งขึ้นไป ทำให้ผู้ฟังมีความหวังและร่าเริงเบิกบานใจ - gladdening; exhilaration; filling with
delight and joy)
อรรถกถาชี้แจงเพิ่มเติมว่า ข้อ 1 ปลดเปลื้องความเขลาหรือความมืดมัว ข้อ 2 ปลดเปลื้องความประมาท
ข้อ 3 ปลดเปลื้องความอืดคร้าน ข้อ 4 สัมฤทธิ์ การปฏิบัติ
จำ 4 ข้อนี้สั้นๆ ว่า
ชี้ให้ชัด ชวนให้ปฏิบัติ เร้าให้กล้า ปลุกให้ร่าเริง หรือ
แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธลีลา
คำว่า ถุลลัจจัย, ถีนมิทธะ, สังฆเภท
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ถุลลัจจัย
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ถีนมิทธะ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังฆเภท
พระเทวทัตเลียนแบบพระพุทธเจ้า
จุลวรรค ภาค ๒
พระเทวทัตหาพรรคพวก
[บางส่วน]
ลำดับนั้น พระเทวทัตแสดงธรรมกถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน
อาจหาญ ร่าเริง หลายราตรี แล้วเชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรว่า
ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุ
ทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะท่าน เราเมื่อยหลังจักเอน
ท่านพระสารีบุตรรับคำพระเทวทัตแล้ว ลำดับนั้น พระเทวทัตปูผ้าสังฆาฏิ
๔ ชั้น แล้วจำวัตรโดยข้างเบื้องขวา เธอเหน็ดเหนื่อยหมดสติสัมปชัญญะ ครู่เดียว
เท่านั้น ก็หลับไป ฯ
[๓๙๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุทั้งหลาย
ด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวสอน พร่ำสอน ภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
...
[๓๙๕] ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย พึงอุปสมบทใหม่
พระพุทธเจ้า : อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจการอุปสมบทใหม่ของ
พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายเลย ดูกรสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พวกภิกษุ
ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายแสดงอาบัติถุลลัจจัย
ก็เทวทัตปฏิบัติแก่เธออย่างไร
ท่านพระสารีบุตร : พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา
ให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ตลอดราตรีเป็นอันมาก
แล้วได้รับสั่งกะข้าพระพุทธเจ้าว่า
ดูกรสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุ
ทั้งหลายจงแจ่มแจ้งแก่เธอ เราเมื่อยหลัง ดังนี้ ฉันใด
พระเทวทัต ก็ได้ปฏิบัติฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้าข้า ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๓๘๖๔ - ๓๙๕๘. หน้าที่ ๑๖๐ - ๑๖๔.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=3864&Z=3958&bgc=ivory&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=0&bgc=ivory
พระผู้มีพระภาคเมื่อก่อนจะตรัสรู้ ได้ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา เมื่อตรัสรู้แล้ว ภายหลังทรงพระชรา จึงเมื่อยหลัง
เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์ (สังฆเภท) ได้พาภิกษุ ๕๐๐ รูปไป แล้วแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ณ ตำบล คยาสีสะ
ด้วยการเลียนแบบพระอิริยาบถของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระอัครสาวกทั้งสอง คือท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะ ให้รีบไปนำพระภิกษุ
๕๐๐ รูปนั้นกลับมา
พระอัครสาวกทั้งสองทูลรับพุทธบัญชาแล้วเดินทางไป
พระเทวทัตเห็นพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว ก็นึกดีใจ หลงตัวเองว่า พระอัครสาวกทั้งสองเลื่อมใสตน จึงมาสำนักของตน
พระเทวทัตก็เชิญชวนพระอัครสาวกทั้งสองด้วยอาสนะ
พระเทวทัตได้โอกาสจึงเลียนแบบพระผู้มีพระภาค โดยกล่าวว่า
ภิกษุเหล่านี้ยังไม่ง่วง ขอให้ท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมแก่พระภิกษุเหล่านั้น เราเมื่อยหลัง จักเอน (เพื่อนอน)
เลียนแบบว่า ตนสั่งพระอัครสาวกทั้งสองเหมือนที่พระพุทธองค์รับสั่ง
พระเทวทัตนอนแล้ว ก็หลับไป
ปรากฎว่า พระอัครสาวกทั้งสองแสดงธรรมจนพระภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น เห็นแจ้ง บรรลุมรรคผล แล้วจึงนำกลับมาถึง
พระวิหารเวฬุวัน
พวกของพระเทวทัต ปลุกให้พระเทวทัตตื่นขึ้น ...
"ครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง"
ลีลาการสอน หรือ พุทธลีลาในการสอน หรือ เทศนาวิธี 4 (การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง แม้ที่เป็นเพียงธรรมีกถา
หรือการสนทนาทั่วไป ซึ่งมิใช่คราวที่มีความมุ่งหมายเฉพาะพิเศษ ก็จะดำเนินไปอย่างสำเร็จผลดีโดยมีองค์ประกอบที่เป็น
คุณลักษณะ 4 ประการ - the Buddha's style or manner of teaching)
1. สันทัสสนา (ชี้แจงให้เห็นชัด คือ จะสอนอะไร ก็ชี้แจงจำแนกแยกแยะอธิบายและแสดงเหตุผลให้ชัดเจน จนผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง
เห็นจริงเห็นจัง ดังจูงมือไปดูเห็นกับตา - elucidation and verification)
2. สมาทปนา (ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ คือ สิ่งใดควรปฏิบัติหรือหัดทำ ก็แนะนำหรือบรรยายให้ซาบซึ้งในคุณค่า
มองเห็นความสำคัญที่จะต้องฝึกฝนบำเพ็ญ จนใจยอมรับ อยากลงมือทำ หรือนำไปปฏิบัติ - incitement to take upon oneself;
inspiration towards the Goal)
3. สมุตเตชนา (เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า คือ ปลุกเร้าใจให้กระตือรือร้น เกิดความอุตสาหะ มีกำลังใจแข็งขัน มั่นใจที่จะทำ
ให้สำเร็จจงได้ สู้งาน ไม่หวั่นระย่อไม่กลัวเหนื่อย ไม่กลัวยาก - urging; encouragement; animation; filling with enthusiasm)
4. สัมปหังสนา (ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง คือ บำรุงจิตให้แช่มชื่นเบิกบาน โดยชี้ให้เห็นผลดีหรือคุณประโยชน์ที่จะได้รับ
และทางที่จะก้าวหน้าบรรลุผลสำเร็จยิ่งขึ้นไป ทำให้ผู้ฟังมีความหวังและร่าเริงเบิกบานใจ - gladdening; exhilaration; filling with
delight and joy)
อรรถกถาชี้แจงเพิ่มเติมว่า ข้อ 1 ปลดเปลื้องความเขลาหรือความมืดมัว ข้อ 2 ปลดเปลื้องความประมาท
ข้อ 3 ปลดเปลื้องความอืดคร้าน ข้อ 4 สัมฤทธิ์ การปฏิบัติ
จำ 4 ข้อนี้สั้นๆ ว่า ชี้ให้ชัด ชวนให้ปฏิบัติ เร้าให้กล้า ปลุกให้ร่าเริง หรือ แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธลีลา
คำว่า ถุลลัจจัย, ถีนมิทธะ, สังฆเภท
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ถุลลัจจัย
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ถีนมิทธะ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังฆเภท