เมื่อคืนได้ดูซีรีส์ยายกะลา ตากะลี ตอน ซีอุย 2 แล้วรู้สึกว่าตอนนี้มีประเด็นที่น่าสนใจและใกล้ตัวดีครับ เลยอยากมาแชร์ความเห็นสนุกๆ
(*** เนื้อหามีการ spoil นะครับ ***)
จุดหนึ่งที่ทำให้ผมชอบตอนนี้คือ การซ้อนทับและเล่นกับประเด็น “การเป็นซีอุย”
อาจาย์เทิดพร ถูกซ้อนทับเป็นซีอุย เพราะเขาเคยแสดงเป็นซีอุยในละครเมื่อสมัยอดีต
ในขณะที่ก๋อย (เบสท์ ณัฐสิทธิ์) ตัวเอกของเรื่อง ซ้อนทับกับซีอุยในแง่ที่เขาถูกแรงกดดันจากสังคมและผู้ใหญ่จนเกิดความรู้สึกแปลกแยก ถูกเหยียด และถูกทำให้ด้อยกว่า (ไม่มีเพื่อนคนไหนเอาเข้ากลุ่ม, กลายเป็นตัวตลกของเพื่อนๆ) ไม่ต่างจากซีอุยตัวจริง ยิ่งเมื่อก๋อยถูกกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ ในท้ายที่สุด จากเด็กหนุ่มธรรมดาก็แปรเปลี่ยนไปเป็น “ซีอุย” เต็มขั้น
ซึ่งนอกจากการถูกคนรอบข้างล้อเลียน ไม่เอาเข้าพวก ก๋อยยังต้องกลายเป็นเหยื่อของเกมการเมืองในมหาวิทยาลัย หนังเล่าให้เราเห็นว่า เหตุผลหนึ่งที่อาจารย์เก่ง (อาจารย์ใส่แว่น) ไม่ยอมให้การแสดงของก๋อยผ่านสักที เพราะเขาหวงและห่วงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาของตัวเอง แต่ผลกระทบของการหวงในอำนาจนั้น กลับส่งผลมาถึงนักศึกษาอย่างก๋อย
เขาถูกอาจารย์หรือผู้ใหญ่รังแก โดยใช้อำนาจบาตรใหญ่ของตัวเองกดทับคนที่อยู่ต่ำกว่า หรือหากถอยมามองในภาพที่กว้างขึ้น สถานที่ที่ควรจะ “สร้างคน” อย่างมหาวิทยาลัย กลับกลายเป็นสถานที่ “ลดค่าความเป็นคน” ของก๋อยลงไปแทน
ประโยคหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นคีย์หลักของตอนนี้คือ ประโยคของอาจารย์เทิดพรที่พูดกับก๋อย ซึ่งแปรเปลี่ยนไปเป็นซีอุยในช่วงท้ายเรื่องแล้วว่า “พวกมันไม่เคยเห็นลื้อเป็นคน! พวกมันไม่เคยเห็นลื้อเป็นคน! พวกมันไม่เคยเห็นลื้อเป็นคน!”
หนังใช้การเป็น “ซีอุย” แทนภาพของ “คนที่ถูกผู้อื่นกดขี่ คนที่ถูกแรงกดดันของสังคมทำลายจากภายใน และถูกลดทอนค่า” ซึ่งในเรื่องเราจะเห็นได้ว่า อย่างน้อยๆ มีคนถึง 3 คนที่ถูกกระทำให้เป็นซีอุย คือซีอุยตัวจริง อาจารย์เทิดพร และก๋อย
ส่วนของอาจารย์เทิดพรหนังอาจเล่าไม่มากนัก แต่เราอาจพอเข้าใจได้ว่าเขาเองก็อาจถูกกระทำไม่ต่างจากซีอุยอย่างซีอุยตัวจริงกับก๋อย เช่น การถูกอาจารย์เก่งข่มในตำแหน่งหน้าที่, ชื่อเสียงเก่าๆ ที่แม้จะได้รางวัลมามาก (มีถ้วยรางวัลตั้งอยู่หน้ารูปละครซีอุยที่เขาเคยเล่น) แต่คนรุ่นใหม่กลับไม่ได้ให้ค่า แถมยังโดนดูถูกด้วยซ้ำ (เห็นได้จากฉากที่อาจารย์เก่งตำหนิการแสดงของก๋อย แต่แอบเหน็บอาจารย์เทิดพรว่า “ทำไมเธอ [ก๋อย] ถึงเล่นบ้าคลั่งแบบเฟือๆ เหมือนฆาตกรโรคจิตในหนังไทยยุคโบราณ” แล้วหนังก็ตัดไปรับหน้าอาจารย์เทิดพรหันมามอง)
การกินตับของซีอุยในเรื่อง จึงเป็นมากกว่าแค่ความสยองหรือการฆ่า เพราะซีอุย (ซีอุยจริง, ก๋อย, อาจารย์เทิดพร) อาจกินตับของเหยื่อก็จริง แต่ในทางกลับกัน เป็นพวกเขาเองต่างหากที่ถูกสังคมกินตับ หรือทำลายจากภายใน
สุดท้ายสิ่งที่น่ากลัวจริงๆ จึงอาจไม่ใช่ซีอุย แต่เป็นสังคมปัจจุบันต่างหาก ที่บีบคั้นเราและเขมือบทำลายเราจากภายใน พร้อมที่จะทำให้เราแปลกแยก เป็นอื่น จนไม่เคยถูกเคารพหรือปฏิบัติเยี่ยงคน ทุกคนจึงสามารถกลายเป็นซีอุยได้ และสามารถทำให้คนรอบตัวกลายเป็นซีอุยได้เช่นกัน
ใครคิดเห็นยังไงกับตอนนี้ ลองมาแชร์ๆ หรือต่อยอดประเด็นในซีรีส์กันได้นะครับ
ยายกะลา ตากะลี ตอน ซีอุย 2 เพราะสังคมทำให้ฉันต้องกินตับ!!
(*** เนื้อหามีการ spoil นะครับ ***)
จุดหนึ่งที่ทำให้ผมชอบตอนนี้คือ การซ้อนทับและเล่นกับประเด็น “การเป็นซีอุย”
อาจาย์เทิดพร ถูกซ้อนทับเป็นซีอุย เพราะเขาเคยแสดงเป็นซีอุยในละครเมื่อสมัยอดีต
ในขณะที่ก๋อย (เบสท์ ณัฐสิทธิ์) ตัวเอกของเรื่อง ซ้อนทับกับซีอุยในแง่ที่เขาถูกแรงกดดันจากสังคมและผู้ใหญ่จนเกิดความรู้สึกแปลกแยก ถูกเหยียด และถูกทำให้ด้อยกว่า (ไม่มีเพื่อนคนไหนเอาเข้ากลุ่ม, กลายเป็นตัวตลกของเพื่อนๆ) ไม่ต่างจากซีอุยตัวจริง ยิ่งเมื่อก๋อยถูกกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ ในท้ายที่สุด จากเด็กหนุ่มธรรมดาก็แปรเปลี่ยนไปเป็น “ซีอุย” เต็มขั้น
ซึ่งนอกจากการถูกคนรอบข้างล้อเลียน ไม่เอาเข้าพวก ก๋อยยังต้องกลายเป็นเหยื่อของเกมการเมืองในมหาวิทยาลัย หนังเล่าให้เราเห็นว่า เหตุผลหนึ่งที่อาจารย์เก่ง (อาจารย์ใส่แว่น) ไม่ยอมให้การแสดงของก๋อยผ่านสักที เพราะเขาหวงและห่วงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาของตัวเอง แต่ผลกระทบของการหวงในอำนาจนั้น กลับส่งผลมาถึงนักศึกษาอย่างก๋อย
เขาถูกอาจารย์หรือผู้ใหญ่รังแก โดยใช้อำนาจบาตรใหญ่ของตัวเองกดทับคนที่อยู่ต่ำกว่า หรือหากถอยมามองในภาพที่กว้างขึ้น สถานที่ที่ควรจะ “สร้างคน” อย่างมหาวิทยาลัย กลับกลายเป็นสถานที่ “ลดค่าความเป็นคน” ของก๋อยลงไปแทน
ประโยคหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นคีย์หลักของตอนนี้คือ ประโยคของอาจารย์เทิดพรที่พูดกับก๋อย ซึ่งแปรเปลี่ยนไปเป็นซีอุยในช่วงท้ายเรื่องแล้วว่า “พวกมันไม่เคยเห็นลื้อเป็นคน! พวกมันไม่เคยเห็นลื้อเป็นคน! พวกมันไม่เคยเห็นลื้อเป็นคน!”
หนังใช้การเป็น “ซีอุย” แทนภาพของ “คนที่ถูกผู้อื่นกดขี่ คนที่ถูกแรงกดดันของสังคมทำลายจากภายใน และถูกลดทอนค่า” ซึ่งในเรื่องเราจะเห็นได้ว่า อย่างน้อยๆ มีคนถึง 3 คนที่ถูกกระทำให้เป็นซีอุย คือซีอุยตัวจริง อาจารย์เทิดพร และก๋อย
ส่วนของอาจารย์เทิดพรหนังอาจเล่าไม่มากนัก แต่เราอาจพอเข้าใจได้ว่าเขาเองก็อาจถูกกระทำไม่ต่างจากซีอุยอย่างซีอุยตัวจริงกับก๋อย เช่น การถูกอาจารย์เก่งข่มในตำแหน่งหน้าที่, ชื่อเสียงเก่าๆ ที่แม้จะได้รางวัลมามาก (มีถ้วยรางวัลตั้งอยู่หน้ารูปละครซีอุยที่เขาเคยเล่น) แต่คนรุ่นใหม่กลับไม่ได้ให้ค่า แถมยังโดนดูถูกด้วยซ้ำ (เห็นได้จากฉากที่อาจารย์เก่งตำหนิการแสดงของก๋อย แต่แอบเหน็บอาจารย์เทิดพรว่า “ทำไมเธอ [ก๋อย] ถึงเล่นบ้าคลั่งแบบเฟือๆ เหมือนฆาตกรโรคจิตในหนังไทยยุคโบราณ” แล้วหนังก็ตัดไปรับหน้าอาจารย์เทิดพรหันมามอง)
การกินตับของซีอุยในเรื่อง จึงเป็นมากกว่าแค่ความสยองหรือการฆ่า เพราะซีอุย (ซีอุยจริง, ก๋อย, อาจารย์เทิดพร) อาจกินตับของเหยื่อก็จริง แต่ในทางกลับกัน เป็นพวกเขาเองต่างหากที่ถูกสังคมกินตับ หรือทำลายจากภายใน
สุดท้ายสิ่งที่น่ากลัวจริงๆ จึงอาจไม่ใช่ซีอุย แต่เป็นสังคมปัจจุบันต่างหาก ที่บีบคั้นเราและเขมือบทำลายเราจากภายใน พร้อมที่จะทำให้เราแปลกแยก เป็นอื่น จนไม่เคยถูกเคารพหรือปฏิบัติเยี่ยงคน ทุกคนจึงสามารถกลายเป็นซีอุยได้ และสามารถทำให้คนรอบตัวกลายเป็นซีอุยได้เช่นกัน
ใครคิดเห็นยังไงกับตอนนี้ ลองมาแชร์ๆ หรือต่อยอดประเด็นในซีรีส์กันได้นะครับ