เมื่อวานนี้มีข่าวบอกมาว่าพี่อ็ออฟ ชนะพล ได้รับเลือกให้เป็นหมื่นทิพย์เทศา ตัวร้ายในละครเรื่อง สายโลหิต ซึ่งก็เป็นไปตามที่หลายคนต้องการ เพราะบทนี้
เด่นพอๆกับบทพระนาง และเป็นอีกหนึ่งบทที่ท้าทายความสามารถมาก ซึ่ง จขกท.ก็เห็นด้วย และคอยดูว่ามีใครมารับบทอื่นๆอีกบ้าง
วันนี้ที่จะมาพูดคือ "ความยากของการเขียนบทสายโลหิต ๒๕๖๐/2017"
จขกท. เคยอ่านกระทู้เกี่ยวกับละครเรื่องนี้ผ่านๆ เลยทราบว่า ทางทีมงานจะใช้บทเดิมที่ อ.ศัลยาเขียนไว้ให้กับละครในเวอร์ชัน ๒๕๓๘/1995 กับละครเวอร์ชันนี้ด้วย ซึ่งหลายๆคนก็เห็นด้วย เพราะว่าบทละครเวอร์ชันนั้น รวมทั้งฝีมือการทำละครของดาราวิดิโอในยุคก่อนค่อนข้างทำได้อย่างน่าประทับใจ และทำให้ละครสายโลหิตเวอร์ชันนี้กลายเป็นเวอร์ชันที่อยู่ใจของใครหลายคนเลยทีเดียว
จขกท.มองว่า แม้เวอร์ชันนั้นจะดีอยู่แล้ว แต่เมื่อนำมาทำเป็นละคร ก็จะมีความยากอยู่พอสมควร
ก่อนอื่นขอเกริ่นก่อนว่า บทละครของอ.ศัลยา นั้นมีจุดแตกต่างจากในฉบับนิยายพอสมควร พอยกตัวอย่างได้ดังนี้
๑.ยายชด (คนครัวของบ้านพระสุวรรณ รับบทโดยคุณป้าเมตตา รุ่งรัตน์) ในนิยายตายก่อนเสียกรุง แต่ในละครตายที่ค่ายโพธิ์สามต้น
๒.ตัวละครบางตัว เช่น ยายอิ่ม (พี่เลี้ยงของแม่เยื้อน น้องสาวขุนไกร) กับนางอ้น (บ่าวในเรือนของพระสุวรรณฯ) มีเฉพาะเวอร์ชันละคร
๓.บทหวาน, บทรักของพี่เยื้อนกับพันสิงห์ในนิยายจะมีมากกว่า
๔.ฉากตอนหนีจากค่ายโพธิ์สามต้นมาอยู่กับชุมนุมเจ้าตากในนิยายจะกล่าวถึงนานกว่า ในละครค่อนข้างรวบรัด
ประมาณนี้
เข้าเรื่องต่อ
นวนิยายเรื่องนี้ รวมทั้งบทละคร ตัวผู้เขียนของทั้งนวนิยายและบท รวมทั้งผู้สร้าง น่าจะได้รับอิทธิพลทางแนวคิดจากวิชาประวัติศาสตร์ฉบับเก่าของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมองว่ารัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์นั้นเป็นรัชสมัยที่ไม่ดีนัก เนื่องจากทรงเป็นกษัตริย์ที่ไม่มีพระปรีชาสามารถในการบริหารบ้านเมือง กรุงแตกเพราะคนไทยขาดความสามัคคี พม่าโหดร้ายทารุณ ฯลฯ ซึ่งส่วนหลังนี้สอดคล้องกับบริบทของความสัมพันธ์ไทย - พม่าในช่วงนั้น ที่พม่ายังเป็นประเทศปิดอยู่ และมีการปะทะกับชนกลุ่มน้อยซึ่งก็เกิดความเสียหายมาทางพรมแดนไทยหลายครั้ง (ครั้งใหญ่ๆในช่วงนั้นน่าจะปี ๒๕๓๗/1994 ที่ค่ายมาเนอร์ปลอว์ของกะเหรี่ยง KNU ถูกตีแตก)
เวลาผ่านมากว่า ๒๐ ปีแล้ว และในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาก็มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
ดังนั้น ความยากของการเขียนบทเรื่องนี้คือ จะทำอย่างไรให้ละครออกมากลมกล่อม และสนุกได้ โดยที่ไม่ขัด หรือมีความผสมกลมกลืนกันได้ ระหว่างอรรถรสของนิยาย/ละคร กับประวัติศาสตร์ฉบับเก่า และแนวคิด/บริบทกระแสใหม่ที่เริ่มมีมาในช่วง ๒๐ ปีหลัง ดังต่อไปนี้
๑.ประวัติศาสตร์กระแสรอง ที่ได้รับการศึกษาค้นคว้า และการพูดถึงมากขึ้น - ในช่วงที่ผ่านมาประวัติศาสตร์กระแสรอง หรือแง่มุมอื่นๆของประวัติศาสตร์ได้รับการศึกษามากขึ้น ทำให้มุมมองหลายอย่างถูกนำกลับมาทบทวนใหม่ จากในสมัยก่อน (รวมถึงสมัยนี้ส่วนใหญ่) เรามักมีภาพจำเกี่ยวกับปลายกรุงศรีอยุธยาว่า รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์นั้นเป็นรัชกาลที่มีความวุ่นวาย กษัตริย์มิทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม ขุนนางแตกแยก ขาดความสามัคคี การทำนุบำรุงกองทัพ ป้องกันพระนครหละหลวม ทำให้ถูกตีแตกได้โดยง่าย ซึ่งเป็นมุมมองจากผู้ชำระประวัติศาสตร์ในยุคหลัง ประมาณช่วงรัตนโกสินทร์มาแล้ว
ทว่าต่อมามีการศึกษาเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าทรงมีพระราชกรณียกิจ รวมถึงพระจริยวัตรที่สำคัญหลายประการ
คำให้การชาวกรุงเก่า ปรากฏความว่า "ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง"
ใน คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ปรากฏความว่า "พระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสุจริต บพิตรเสด็จไปถวายนมัสการพระศรีสรรเพชทุกเพลามิได้ขาด พระบาทจงกรมอยู่เป็นนิจ บพิตรตั้งอยู่ในทศพิธสิบประการ แล้วครอบครองกรุงขันธสีมา ทั้งสมณพราหมณ์ก็ชื่นชมยินดีปรีเปนศุขนิราชทุกขไภย ด้วยเมตตาบารมีทั้งฝนก็ดีบริบูรณภูลความศุกมิได้ดาล ทั้งข้าวปลาอาหารและผลไม้มีรสโอชา ฝูงอาณาประชาราษฎร์และชาวนิคมชนบทก็อยู่เยนเกษมสานต์ มีแต่จะชักชวนกันทำบุญให้ทาน และการมโหรสพต่าง ๆ ทั้งนักปราชผู้ยากผู้ดีมีแต่ความศุกที่ทุกขอบขันธสีมา"
นอกจากนี้ จากหลักฐานทั้งสอง ยังได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าเอกทัศ เช่น ทรงออกพระราชบัญญัติเครื่องชั่ง ตวง วัดต่าง ๆ, มาตราเงินบาท สลึง เฟื้องให้เที่ยงตรง และโปรดให้ยกเลิกภาษีอากรต่าง ๆ เป็นเวลา 3 ปี รวมทั้ง "ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก"
(ส่วนนี้เอามาจากวิกิ ลองไปหาอ้างอิงในหน้าเว็บเอาเอง)
อีกส่วนหนึ่งคือการศึกษาในอีกแง่มุมหนึ่ง อันนี้เอามาจากงานเขียนชิ้นหนึ่ง ซึ่งจำชื่อผู้เขียนไม่ได้ อาจารย์ให้ จขกท. นำมาอ่านเสริม
เนื้อหากล่าวถึงอาณาจักรอยุธยาโดยสรุป ในส่วนของการเสียกรุงได้กล่าวไว้ประมาณว่า (ส่วนนี้จขกท.สรุปมาให้) นอกเหนือจากความแตกแยกของเจ้านายกับขุนนางแล้วมีสาเหตุอีกบางประการคือ
๑.เศรษฐกิจในช่วงปลายการผูกขาดของพระคลังสินค้ามีลดลงมาก เพราะเอกชนโดยเฉพาะชาวจีนมีบทบาทมากขึ้น และเข้ามามีบทบาทในกลุ่มชนชั้นนำ
๒.ระบบการเกณฑ์แรงงานเดิมไม่สามารถบังคับใช้ได้ ทำให้ไม่สามารถดึงไพร่มารับราชการได้มากเหมือนเมื่อก่อน โดยเฉพาะในเขตการค้าเฟื่องฟู ไพร่ส่วนมากเกี่ยวข้องกับการค้า ทำให้มีช่องทางมาหาเงินจ่ายส่วยแทนการเกณฑ์แรงงาน
ทำให้ความสัมพันธ์เชิงการค้า, เงินตราเข้ามามีบทบาทแทนศักดินาเดิม ไพร่พยายามหนีจากระบบเพื่อการค้า และมูลนายไม่สามารถรับมือความเปลี่ยนแปลงได้ อีกทั้งมูลนายบางส่วนได้พยายามนำไพร่มาใช้ในประโยชน์ส่วนตัว กำลังพลในการมารับมือศึกจึงน้อยลงไปด้วย
(งานเขียนนี้อ้างอิงถึงงานเขียนของอ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และอ.สุเนตร ชุติธรานนท์ ด้วย)
นอกจากการศึกษาประวัติศาสตร์ในอีกแง่มุมหนึ่งแล้ว ยังได้มีการเอาเอกสารของทางพม่าหรือชาติอื่นๆเช่นจีนมาใช้ในการศึกษาร่วมด้วย เช่น
ในช่วงสงครามเสียกรุง หลักฐานไทยมองว่าทางพระนครเตรียมการไม่รัดกุม จนทำให้เสียกรุง และพระเจ้าเอกทัศทรงหนีจนสวรรคตเพราะขาดพระกระยาหารในป่า ทว่าในหลักฐานของทางพม่ากล่าวว่า ทางฝ่ายอยุธยาได้ตั้งรับไว้อย่างเข้มแข็ง และสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงบัญชาการรบจนวินาทีสุดท้าย
ในส่วนที่ว่ากองทัพอยุธยาไม่ได้เตรียมการอะไรมากนัก เอกสารจีนระบุว่าที่จริงอยุธยาเตรียมกองเรือไว้ เพื่อทำสงครามกับฮาเตียน (เมืองหนึ่งในดินแดนซึ่งเป็นเวียดนามปัจจุบัน) ซึ่งมีปัญหามาจากการค้า แต่ว่าไม่ได้ใช้เพราะเกิดสงครามเสียกรุงก่อน
นี่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กระแสรองหรือแง่มุมอื่นๆของประวัติศาสตร์ที่ได้รับการศึกษามากขึ้นในช่วงหลัง ซึ่งอาจจะไม่ได้รับการกล่าวถึงนักในนิยายหรือละครเวอร์ชันก่อนๆ หากจะทำละครโดยข้ามรายละเอียดใหม่ๆที่ถูกพบนี้ ก็อาจถูกท้วงติงได้ แม้ว่าประวัติศาสตร์กระแสหลักจะยังมีบทบาทอยู่มากก็ตาม
จขกท.มองว่าควรต้องใส่ใจตรงนี้ด้วย แม้บางคนจะอ้างว่าทำตามแบบเดิมก็ได้ เพราะอย่าง จูราสสิคพาร์คเวิร์ลด์ปี 2015 นั้นก็สร้างไดโนเสาร์ตามแบบ
จูราสสิคพาร์คในปี 1993 เพราะว่าคนติดภาพจำไปแล้ว แม้ว่าการขุดค้นพบไดโนเสาร์ในยุคใหม่จะมองว่าไดโนเสาร์มีรูปลักษณ์จากที่เคยทำไว้ก็ตาม อันนี้ก็แล้วแต่แต่ละคนจะมอง
๒.บริบทของการเมืองภายในของพม่าและความสัมพันธ์ระหว่างไทย - พม่าในช่วงนั้นค่อนข้างปิดประเทศ และยังมีปัญหาภายในกับชนกลุ่มน้อย และการเมืองของตน ภาพของการปราบปรามชนกลุ่มน้อย ผู้ลี้ภัยที่เข้ามาในฝั่งไทย ประกอบกับประวัติศาสตร์กระแสหลักของไทยที่มองว่าพม่าเป็นศัตรู ยิ่งตอกย้ำถึงภาพความโหดร้ายของทหารพม่าในสงครามเสียกรุงที่เคยได้ยินได้ฟังได้เรียนกันมา จึงไม่แปลกที่คนดูจะมีความ "อิน" กับละครค่อนข้างมาก
และเนื่องจากพม่าเป็นประเทศปิด กับการศึกษาของไทยในช่วงนั้นให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างน้อยมาก (ก่อนมีกระแสอาเซียน หาหนังสือเกี่ยวกับพม่าในร้านได้ยากมาก) ทำให้รายละเอียดบางอย่าง เช่น ภาษา การแต่งกายอาจเพี้ยนไปบ้าง
(ในส่วนเรื่องการเป็นศัตรูนี่ อาจารย์ของผู้เขียนเองมองว่า ปัจจุบันกองทัพไทยเวลาซ้อมรบส่วนมากก็ยังสมมติเหตุการณ์ว่า มีข้าศึกรุกรานมาจากทางตะวันตกอยู่)
ทว่าต่อมาพม่ามีการปฏิรูปการเมืองมากขึ้น และมีการเปิดประเทศมากขึ้น และในปัจจุบันมีกระแสอาเซียนมา เป็นที่น่าสนใจว่า ละครเกี่ยวกับการศึกสยาม-พม่าจะสร้างอย่างไร ให้คนดูอินกับเนื้อเรื่อง แต่ไม่อินในถึงแนวคิดแบบ "ชาตินิยม" แบบเวอร์ชันก่อนๆมากนัก แบบว่าดูแล้วให้เป็นละคร ไม่ใช่แบบดูแล้วอยากเอามีดไปฟันหัวพม่าแบบใครหลายๆคน เพราะเดี๋ยวนี้เราต้องติดต่อกันมากขึ้น จะอิงชาตินิยมจัดแบบเมื่อก่อนไม่ได้แล้ว
อีกทั้งการปฏิรูปของพม่า ทำให้ภาพของพม่าเดิมๆอาจลดไปบ้าง ส่วนนี้ละครก็ต้องให้ความสนใจด้วย
เรื่องประเด็นประวัติศาสตร์นี่แม้หลายคนจะมองว่าเป็นละคร แต่ประวัติศาสตร์กระแสหลักนี่อยู่ในสายเลือดของคนแล้ว ไม่ใช่แค่ไทย หลายประเทศในเอเชียเป็นแบบนี้คล้ายๆกันหมด
อย่างอตีตา ๒๕๕๙ จขกท.มองว่าดีแล้วที่ปรับบทให้ซอฟท์ลงแบบนั้น (แต่ก็ควรให้สนุกกว่านั้นนะ) เพราะบริบทปัจจุบันกับตอนนั้นต่างกัน
อันนี้ก็อยากฝากไว้ด้วย
รวมทั้งการที่พม่าเปิดประเทศมากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับพม่าน่าจะหาได้ง่ายมากขึ้น รายละเอียดต่างๆของพม่าควรจะให้มีความละเอียดมากขึ้นตามไปด้วย
พูดถึงละครเกี่ยวกับไทย-พม่า ขอกล่าวถึงละครเรื่อง "ข้าบดินทร์" ของทางช่องสามเสียหน่อย จขกท.มองว่า สาเหตุหนึ่งที่ละครประสบความสำเร็จ นอกจากจะเป็นเพราะค่ายละครฝีมือดี นักแสดงฝีมือดี และไม่มีเวอร์ชันเก่ามาเป็นตัวเปรียบเทียบแล้ว อีกประการคือ ละครเรื่องนี้เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่สำหรับละครอิงประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงสงครามอานามสยามยุทธ ที่สยามสมัยรัชกาลที่ ๓ มีกรณีพิพาทกับญวนในการมีอิทธิพลเหนือเขมร ซึ่งละครไทยไม่มีมาก่อน ทำให้เป็นที่น่าสนใจ ต่างจากประเด็นไทย - พม่าที่ถูกสร้างกันบ่อยแล้ว จนคนดูอาจเบื่อ
ส่วนนี้ ทางทีมงานน่าจะเพิ่ม "จุดสนใจ" ใหม่บางประการลงไป เพื่อให้ไม่จำเจกับแบบเก่า โดยที่ไม่กระทบกับประวัติศาสตร์หรือเวอร์ชันเก่า
(อย่างนึงที่ขอติเรื่องนั้นคือเครื่องทรงของนักองค์เม็ญ ที่ทำเป็นแบบเจ้านางของเขมรสมัยพระนครเลย ที่จริงสมัยนั้นไม่ได้แต่งแบบนั้นแล้ว)
นี่คือจุดที่ จขกท. มองว่าเป็น ความยากในการเขียนบทสายโลหิตเวอร์ชันใหม่นี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคน และหวังว่าทางทีมงานจะมาอ่านและนำไปใช้บ้าง ไม่มากก็น้อย ใครคิดเห็นอย่างไรลองมาแชร์กันดูจ้า
(หากมีข้อความหรือสิ่งใดไม่เหมาะสม รบกวนช่วยเตือน จขกท.ด้วย)
ความยากในการเขียนบท "สายโลหิต" ๒๕๖๐ / ข้อเสนอแนะ-มโนบางฉาก
เด่นพอๆกับบทพระนาง และเป็นอีกหนึ่งบทที่ท้าทายความสามารถมาก ซึ่ง จขกท.ก็เห็นด้วย และคอยดูว่ามีใครมารับบทอื่นๆอีกบ้าง
วันนี้ที่จะมาพูดคือ "ความยากของการเขียนบทสายโลหิต ๒๕๖๐/2017"
จขกท. เคยอ่านกระทู้เกี่ยวกับละครเรื่องนี้ผ่านๆ เลยทราบว่า ทางทีมงานจะใช้บทเดิมที่ อ.ศัลยาเขียนไว้ให้กับละครในเวอร์ชัน ๒๕๓๘/1995 กับละครเวอร์ชันนี้ด้วย ซึ่งหลายๆคนก็เห็นด้วย เพราะว่าบทละครเวอร์ชันนั้น รวมทั้งฝีมือการทำละครของดาราวิดิโอในยุคก่อนค่อนข้างทำได้อย่างน่าประทับใจ และทำให้ละครสายโลหิตเวอร์ชันนี้กลายเป็นเวอร์ชันที่อยู่ใจของใครหลายคนเลยทีเดียว
จขกท.มองว่า แม้เวอร์ชันนั้นจะดีอยู่แล้ว แต่เมื่อนำมาทำเป็นละคร ก็จะมีความยากอยู่พอสมควร
ก่อนอื่นขอเกริ่นก่อนว่า บทละครของอ.ศัลยา นั้นมีจุดแตกต่างจากในฉบับนิยายพอสมควร พอยกตัวอย่างได้ดังนี้
๑.ยายชด (คนครัวของบ้านพระสุวรรณ รับบทโดยคุณป้าเมตตา รุ่งรัตน์) ในนิยายตายก่อนเสียกรุง แต่ในละครตายที่ค่ายโพธิ์สามต้น
๒.ตัวละครบางตัว เช่น ยายอิ่ม (พี่เลี้ยงของแม่เยื้อน น้องสาวขุนไกร) กับนางอ้น (บ่าวในเรือนของพระสุวรรณฯ) มีเฉพาะเวอร์ชันละคร
๓.บทหวาน, บทรักของพี่เยื้อนกับพันสิงห์ในนิยายจะมีมากกว่า
๔.ฉากตอนหนีจากค่ายโพธิ์สามต้นมาอยู่กับชุมนุมเจ้าตากในนิยายจะกล่าวถึงนานกว่า ในละครค่อนข้างรวบรัด
ประมาณนี้
เข้าเรื่องต่อ
นวนิยายเรื่องนี้ รวมทั้งบทละคร ตัวผู้เขียนของทั้งนวนิยายและบท รวมทั้งผู้สร้าง น่าจะได้รับอิทธิพลทางแนวคิดจากวิชาประวัติศาสตร์ฉบับเก่าของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมองว่ารัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์นั้นเป็นรัชสมัยที่ไม่ดีนัก เนื่องจากทรงเป็นกษัตริย์ที่ไม่มีพระปรีชาสามารถในการบริหารบ้านเมือง กรุงแตกเพราะคนไทยขาดความสามัคคี พม่าโหดร้ายทารุณ ฯลฯ ซึ่งส่วนหลังนี้สอดคล้องกับบริบทของความสัมพันธ์ไทย - พม่าในช่วงนั้น ที่พม่ายังเป็นประเทศปิดอยู่ และมีการปะทะกับชนกลุ่มน้อยซึ่งก็เกิดความเสียหายมาทางพรมแดนไทยหลายครั้ง (ครั้งใหญ่ๆในช่วงนั้นน่าจะปี ๒๕๓๗/1994 ที่ค่ายมาเนอร์ปลอว์ของกะเหรี่ยง KNU ถูกตีแตก)
เวลาผ่านมากว่า ๒๐ ปีแล้ว และในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาก็มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
ดังนั้น ความยากของการเขียนบทเรื่องนี้คือ จะทำอย่างไรให้ละครออกมากลมกล่อม และสนุกได้ โดยที่ไม่ขัด หรือมีความผสมกลมกลืนกันได้ ระหว่างอรรถรสของนิยาย/ละคร กับประวัติศาสตร์ฉบับเก่า และแนวคิด/บริบทกระแสใหม่ที่เริ่มมีมาในช่วง ๒๐ ปีหลัง ดังต่อไปนี้
๑.ประวัติศาสตร์กระแสรอง ที่ได้รับการศึกษาค้นคว้า และการพูดถึงมากขึ้น - ในช่วงที่ผ่านมาประวัติศาสตร์กระแสรอง หรือแง่มุมอื่นๆของประวัติศาสตร์ได้รับการศึกษามากขึ้น ทำให้มุมมองหลายอย่างถูกนำกลับมาทบทวนใหม่ จากในสมัยก่อน (รวมถึงสมัยนี้ส่วนใหญ่) เรามักมีภาพจำเกี่ยวกับปลายกรุงศรีอยุธยาว่า รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์นั้นเป็นรัชกาลที่มีความวุ่นวาย กษัตริย์มิทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม ขุนนางแตกแยก ขาดความสามัคคี การทำนุบำรุงกองทัพ ป้องกันพระนครหละหลวม ทำให้ถูกตีแตกได้โดยง่าย ซึ่งเป็นมุมมองจากผู้ชำระประวัติศาสตร์ในยุคหลัง ประมาณช่วงรัตนโกสินทร์มาแล้ว
ทว่าต่อมามีการศึกษาเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าทรงมีพระราชกรณียกิจ รวมถึงพระจริยวัตรที่สำคัญหลายประการ
คำให้การชาวกรุงเก่า ปรากฏความว่า "ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง"
ใน คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ปรากฏความว่า "พระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสุจริต บพิตรเสด็จไปถวายนมัสการพระศรีสรรเพชทุกเพลามิได้ขาด พระบาทจงกรมอยู่เป็นนิจ บพิตรตั้งอยู่ในทศพิธสิบประการ แล้วครอบครองกรุงขันธสีมา ทั้งสมณพราหมณ์ก็ชื่นชมยินดีปรีเปนศุขนิราชทุกขไภย ด้วยเมตตาบารมีทั้งฝนก็ดีบริบูรณภูลความศุกมิได้ดาล ทั้งข้าวปลาอาหารและผลไม้มีรสโอชา ฝูงอาณาประชาราษฎร์และชาวนิคมชนบทก็อยู่เยนเกษมสานต์ มีแต่จะชักชวนกันทำบุญให้ทาน และการมโหรสพต่าง ๆ ทั้งนักปราชผู้ยากผู้ดีมีแต่ความศุกที่ทุกขอบขันธสีมา"
นอกจากนี้ จากหลักฐานทั้งสอง ยังได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าเอกทัศ เช่น ทรงออกพระราชบัญญัติเครื่องชั่ง ตวง วัดต่าง ๆ, มาตราเงินบาท สลึง เฟื้องให้เที่ยงตรง และโปรดให้ยกเลิกภาษีอากรต่าง ๆ เป็นเวลา 3 ปี รวมทั้ง "ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก"
(ส่วนนี้เอามาจากวิกิ ลองไปหาอ้างอิงในหน้าเว็บเอาเอง)
อีกส่วนหนึ่งคือการศึกษาในอีกแง่มุมหนึ่ง อันนี้เอามาจากงานเขียนชิ้นหนึ่ง ซึ่งจำชื่อผู้เขียนไม่ได้ อาจารย์ให้ จขกท. นำมาอ่านเสริม
เนื้อหากล่าวถึงอาณาจักรอยุธยาโดยสรุป ในส่วนของการเสียกรุงได้กล่าวไว้ประมาณว่า (ส่วนนี้จขกท.สรุปมาให้) นอกเหนือจากความแตกแยกของเจ้านายกับขุนนางแล้วมีสาเหตุอีกบางประการคือ
๑.เศรษฐกิจในช่วงปลายการผูกขาดของพระคลังสินค้ามีลดลงมาก เพราะเอกชนโดยเฉพาะชาวจีนมีบทบาทมากขึ้น และเข้ามามีบทบาทในกลุ่มชนชั้นนำ
๒.ระบบการเกณฑ์แรงงานเดิมไม่สามารถบังคับใช้ได้ ทำให้ไม่สามารถดึงไพร่มารับราชการได้มากเหมือนเมื่อก่อน โดยเฉพาะในเขตการค้าเฟื่องฟู ไพร่ส่วนมากเกี่ยวข้องกับการค้า ทำให้มีช่องทางมาหาเงินจ่ายส่วยแทนการเกณฑ์แรงงาน
ทำให้ความสัมพันธ์เชิงการค้า, เงินตราเข้ามามีบทบาทแทนศักดินาเดิม ไพร่พยายามหนีจากระบบเพื่อการค้า และมูลนายไม่สามารถรับมือความเปลี่ยนแปลงได้ อีกทั้งมูลนายบางส่วนได้พยายามนำไพร่มาใช้ในประโยชน์ส่วนตัว กำลังพลในการมารับมือศึกจึงน้อยลงไปด้วย
(งานเขียนนี้อ้างอิงถึงงานเขียนของอ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และอ.สุเนตร ชุติธรานนท์ ด้วย)
นอกจากการศึกษาประวัติศาสตร์ในอีกแง่มุมหนึ่งแล้ว ยังได้มีการเอาเอกสารของทางพม่าหรือชาติอื่นๆเช่นจีนมาใช้ในการศึกษาร่วมด้วย เช่น
ในช่วงสงครามเสียกรุง หลักฐานไทยมองว่าทางพระนครเตรียมการไม่รัดกุม จนทำให้เสียกรุง และพระเจ้าเอกทัศทรงหนีจนสวรรคตเพราะขาดพระกระยาหารในป่า ทว่าในหลักฐานของทางพม่ากล่าวว่า ทางฝ่ายอยุธยาได้ตั้งรับไว้อย่างเข้มแข็ง และสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงบัญชาการรบจนวินาทีสุดท้าย
ในส่วนที่ว่ากองทัพอยุธยาไม่ได้เตรียมการอะไรมากนัก เอกสารจีนระบุว่าที่จริงอยุธยาเตรียมกองเรือไว้ เพื่อทำสงครามกับฮาเตียน (เมืองหนึ่งในดินแดนซึ่งเป็นเวียดนามปัจจุบัน) ซึ่งมีปัญหามาจากการค้า แต่ว่าไม่ได้ใช้เพราะเกิดสงครามเสียกรุงก่อน
นี่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กระแสรองหรือแง่มุมอื่นๆของประวัติศาสตร์ที่ได้รับการศึกษามากขึ้นในช่วงหลัง ซึ่งอาจจะไม่ได้รับการกล่าวถึงนักในนิยายหรือละครเวอร์ชันก่อนๆ หากจะทำละครโดยข้ามรายละเอียดใหม่ๆที่ถูกพบนี้ ก็อาจถูกท้วงติงได้ แม้ว่าประวัติศาสตร์กระแสหลักจะยังมีบทบาทอยู่มากก็ตาม
จขกท.มองว่าควรต้องใส่ใจตรงนี้ด้วย แม้บางคนจะอ้างว่าทำตามแบบเดิมก็ได้ เพราะอย่าง จูราสสิคพาร์คเวิร์ลด์ปี 2015 นั้นก็สร้างไดโนเสาร์ตามแบบ
จูราสสิคพาร์คในปี 1993 เพราะว่าคนติดภาพจำไปแล้ว แม้ว่าการขุดค้นพบไดโนเสาร์ในยุคใหม่จะมองว่าไดโนเสาร์มีรูปลักษณ์จากที่เคยทำไว้ก็ตาม อันนี้ก็แล้วแต่แต่ละคนจะมอง
๒.บริบทของการเมืองภายในของพม่าและความสัมพันธ์ระหว่างไทย - พม่าในช่วงนั้นค่อนข้างปิดประเทศ และยังมีปัญหาภายในกับชนกลุ่มน้อย และการเมืองของตน ภาพของการปราบปรามชนกลุ่มน้อย ผู้ลี้ภัยที่เข้ามาในฝั่งไทย ประกอบกับประวัติศาสตร์กระแสหลักของไทยที่มองว่าพม่าเป็นศัตรู ยิ่งตอกย้ำถึงภาพความโหดร้ายของทหารพม่าในสงครามเสียกรุงที่เคยได้ยินได้ฟังได้เรียนกันมา จึงไม่แปลกที่คนดูจะมีความ "อิน" กับละครค่อนข้างมาก
และเนื่องจากพม่าเป็นประเทศปิด กับการศึกษาของไทยในช่วงนั้นให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างน้อยมาก (ก่อนมีกระแสอาเซียน หาหนังสือเกี่ยวกับพม่าในร้านได้ยากมาก) ทำให้รายละเอียดบางอย่าง เช่น ภาษา การแต่งกายอาจเพี้ยนไปบ้าง
(ในส่วนเรื่องการเป็นศัตรูนี่ อาจารย์ของผู้เขียนเองมองว่า ปัจจุบันกองทัพไทยเวลาซ้อมรบส่วนมากก็ยังสมมติเหตุการณ์ว่า มีข้าศึกรุกรานมาจากทางตะวันตกอยู่)
ทว่าต่อมาพม่ามีการปฏิรูปการเมืองมากขึ้น และมีการเปิดประเทศมากขึ้น และในปัจจุบันมีกระแสอาเซียนมา เป็นที่น่าสนใจว่า ละครเกี่ยวกับการศึกสยาม-พม่าจะสร้างอย่างไร ให้คนดูอินกับเนื้อเรื่อง แต่ไม่อินในถึงแนวคิดแบบ "ชาตินิยม" แบบเวอร์ชันก่อนๆมากนัก แบบว่าดูแล้วให้เป็นละคร ไม่ใช่แบบดูแล้วอยากเอามีดไปฟันหัวพม่าแบบใครหลายๆคน เพราะเดี๋ยวนี้เราต้องติดต่อกันมากขึ้น จะอิงชาตินิยมจัดแบบเมื่อก่อนไม่ได้แล้ว
อีกทั้งการปฏิรูปของพม่า ทำให้ภาพของพม่าเดิมๆอาจลดไปบ้าง ส่วนนี้ละครก็ต้องให้ความสนใจด้วย
เรื่องประเด็นประวัติศาสตร์นี่แม้หลายคนจะมองว่าเป็นละคร แต่ประวัติศาสตร์กระแสหลักนี่อยู่ในสายเลือดของคนแล้ว ไม่ใช่แค่ไทย หลายประเทศในเอเชียเป็นแบบนี้คล้ายๆกันหมด
อย่างอตีตา ๒๕๕๙ จขกท.มองว่าดีแล้วที่ปรับบทให้ซอฟท์ลงแบบนั้น (แต่ก็ควรให้สนุกกว่านั้นนะ) เพราะบริบทปัจจุบันกับตอนนั้นต่างกัน
อันนี้ก็อยากฝากไว้ด้วย
รวมทั้งการที่พม่าเปิดประเทศมากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับพม่าน่าจะหาได้ง่ายมากขึ้น รายละเอียดต่างๆของพม่าควรจะให้มีความละเอียดมากขึ้นตามไปด้วย
พูดถึงละครเกี่ยวกับไทย-พม่า ขอกล่าวถึงละครเรื่อง "ข้าบดินทร์" ของทางช่องสามเสียหน่อย จขกท.มองว่า สาเหตุหนึ่งที่ละครประสบความสำเร็จ นอกจากจะเป็นเพราะค่ายละครฝีมือดี นักแสดงฝีมือดี และไม่มีเวอร์ชันเก่ามาเป็นตัวเปรียบเทียบแล้ว อีกประการคือ ละครเรื่องนี้เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่สำหรับละครอิงประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงสงครามอานามสยามยุทธ ที่สยามสมัยรัชกาลที่ ๓ มีกรณีพิพาทกับญวนในการมีอิทธิพลเหนือเขมร ซึ่งละครไทยไม่มีมาก่อน ทำให้เป็นที่น่าสนใจ ต่างจากประเด็นไทย - พม่าที่ถูกสร้างกันบ่อยแล้ว จนคนดูอาจเบื่อ
ส่วนนี้ ทางทีมงานน่าจะเพิ่ม "จุดสนใจ" ใหม่บางประการลงไป เพื่อให้ไม่จำเจกับแบบเก่า โดยที่ไม่กระทบกับประวัติศาสตร์หรือเวอร์ชันเก่า
(อย่างนึงที่ขอติเรื่องนั้นคือเครื่องทรงของนักองค์เม็ญ ที่ทำเป็นแบบเจ้านางของเขมรสมัยพระนครเลย ที่จริงสมัยนั้นไม่ได้แต่งแบบนั้นแล้ว)
นี่คือจุดที่ จขกท. มองว่าเป็น ความยากในการเขียนบทสายโลหิตเวอร์ชันใหม่นี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคน และหวังว่าทางทีมงานจะมาอ่านและนำไปใช้บ้าง ไม่มากก็น้อย ใครคิดเห็นอย่างไรลองมาแชร์กันดูจ้า
(หากมีข้อความหรือสิ่งใดไม่เหมาะสม รบกวนช่วยเตือน จขกท.ด้วย)