ในตอนแรก ผมเข้าใจว่า การค้าขายเนื้อสัตว์ ไม่จัดเป็น มิจฉาอาชีวะ แต่เป็น มิจฉากัมมันตะ
คือ เป็นการละเมิดศีลข้อฆ่าสัตว์ เสียมากกว่า เนื่องจาก พระพุทธเจ้าตรัสว่า มิจฉาอาชีวะ หมายถึง
การโกง(เช่นโกงตาชั่ง ฯลฯ) การตลบตะแลง ฯลฯ แต่ไม่ได้ทรงระบุเจาะจงว่า หมายถึง
อาขีพ ค้าขาย อาวุธ เนื้อสัตว์ น้ำเมา ฯลฯ เหมือนใน วณิชชสูตร ที่ตรัสว่า "อุบาสกไม่พึงกระทำ"
v
v
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกง
การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ
นี้มิจฉาอาชีวะ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
v
v
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. วณิชชสูตร
[๑๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึง
กระทำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ การค้าขายศาตรา ๑ การค้าขายสัตว์ ๑ การ
ค้าขายเนื้อสัตว์ ๑ การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การค้าขาย ๕ ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4838&Z=4843&pagebreak=0
v
v
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน คือ ปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี้ มิจฉากัมมันตะ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
แต่ พระอรรถกถาจารย์ ได้อธิบายเพิ่มเติมเอาไว้ว่า
การค้าขายใดก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับ อกุศลกรรมบถ เจ็ดข้อ ก็ถือว่าเป็น มิจฉาอาชีวะ ทั้งหมด
v
v
อธิบายกุหนาเป็นต้น
ในบทว่า กุหนา เป็นต้น
ชื่อว่า กุหนา (วาจาล่อลวง) เพราะลวงโลกให้งงงวยด้วยวาจานั้น ด้วยเรื่องหลอกลวง ๓ ประการ.
ชื่อว่า ลปนา (วาจายกยอ) เพราะคนผู้ต้องการลาภ สักการะยกยอด้วยวาจานั้น.
ชื่อว่า ผู้ทำบุ้ยใบ้ เพราะมี (แต่ทำ) บุ้ยใบ้เป็นปกติ. ภาวะของผู้ทำบุ้ยใบ้เหล่านั้น ชื่อว่า เนมิตฺตกตา (ความเป็นผู้ทำบุ้ยใบ้).
ชื่อว่า ผู้ทำอุบายโกง เพราะคนเหล่านั้นมีการทำอุบายโกงเป็นปกติ ภาวะของคนผู้ทำอุบายโกงเหล่านั้น ชื่อว่า นิปฺเปสิกตา (ความเป็นผู้ทำอุบายโกง)
ชื่อว่า การแลกลาภด้วยลาภ เพราะแลก คือหา ได้แก่แสวงหาลาภด้วยลาภ. ภาวะแห่งการแลกลาภด้วยลาภเหล่านั้น ชื่อว่าการหาลาภด้วยลาภ. ความย่อในที่นี้มีเพียงเท่านี้.
ก็กิริยามีการล่อลวงเป็นต้นเหล่านี้ ข้าพเจ้านำเอามาทั้งพระบาลีและอรรถกถา กล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในสีลนิทเทสในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
ในบทว่า มิจฺฉาอาชีวสฺส ปหานาย นี้ มิจฉาอาชีวะที่มาในพระบาลีเท่านั้นยังไม่พอ. ก็เจตนาที่เป็นกรรมบถ ๗ ประการมีปาณาติบาตเป็นต้น ซึ่งเป็นไปเพราะอาชีวะเป็นเหตุก็เป็นมิจฉาอาชีวะด้วย.
วิรัติ (ความงดเว้น) อันกระทำการตัดทางดำเนินของเจตนา ๗ ประการนั้นนั่นแหละ ให้ถอนรากถอนโคน ทำองค์มรรคให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252
ท่านทั้งหลาย เห็นว่า เราควรเข้าใจ กรณีนี้ ว่าอย่างไรครับ ?
เพราะมีบางท่าน ที่เข้าใจว่า การค้าขายเนื้อสัตว์ เป็น สัมมาอาชีวะ
v
v
http://ppantip.com/topic/35627770/comment4-1
การค้าขายเนื้อสัตว์ เป็น สัมมาอาชีวะ หรือไม่ ?
คือ เป็นการละเมิดศีลข้อฆ่าสัตว์ เสียมากกว่า เนื่องจาก พระพุทธเจ้าตรัสว่า มิจฉาอาชีวะ หมายถึง
การโกง(เช่นโกงตาชั่ง ฯลฯ) การตลบตะแลง ฯลฯ แต่ไม่ได้ทรงระบุเจาะจงว่า หมายถึง
อาขีพ ค้าขาย อาวุธ เนื้อสัตว์ น้ำเมา ฯลฯ เหมือนใน วณิชชสูตร ที่ตรัสว่า "อุบาสกไม่พึงกระทำ"
v
v
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกง
การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ
นี้มิจฉาอาชีวะ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
v
v
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. วณิชชสูตร
[๑๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึง
กระทำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ การค้าขายศาตรา ๑ การค้าขายสัตว์ ๑ การ
ค้าขายเนื้อสัตว์ ๑ การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การค้าขาย ๕ ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4838&Z=4843&pagebreak=0
v
v
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน คือ ปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี้ มิจฉากัมมันตะ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
แต่ พระอรรถกถาจารย์ ได้อธิบายเพิ่มเติมเอาไว้ว่า
การค้าขายใดก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับ อกุศลกรรมบถ เจ็ดข้อ ก็ถือว่าเป็น มิจฉาอาชีวะ ทั้งหมด
v
v
อธิบายกุหนาเป็นต้น
ในบทว่า กุหนา เป็นต้น
ชื่อว่า กุหนา (วาจาล่อลวง) เพราะลวงโลกให้งงงวยด้วยวาจานั้น ด้วยเรื่องหลอกลวง ๓ ประการ.
ชื่อว่า ลปนา (วาจายกยอ) เพราะคนผู้ต้องการลาภ สักการะยกยอด้วยวาจานั้น.
ชื่อว่า ผู้ทำบุ้ยใบ้ เพราะมี (แต่ทำ) บุ้ยใบ้เป็นปกติ. ภาวะของผู้ทำบุ้ยใบ้เหล่านั้น ชื่อว่า เนมิตฺตกตา (ความเป็นผู้ทำบุ้ยใบ้).
ชื่อว่า ผู้ทำอุบายโกง เพราะคนเหล่านั้นมีการทำอุบายโกงเป็นปกติ ภาวะของคนผู้ทำอุบายโกงเหล่านั้น ชื่อว่า นิปฺเปสิกตา (ความเป็นผู้ทำอุบายโกง)
ชื่อว่า การแลกลาภด้วยลาภ เพราะแลก คือหา ได้แก่แสวงหาลาภด้วยลาภ. ภาวะแห่งการแลกลาภด้วยลาภเหล่านั้น ชื่อว่าการหาลาภด้วยลาภ. ความย่อในที่นี้มีเพียงเท่านี้.
ก็กิริยามีการล่อลวงเป็นต้นเหล่านี้ ข้าพเจ้านำเอามาทั้งพระบาลีและอรรถกถา กล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในสีลนิทเทสในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
ในบทว่า มิจฺฉาอาชีวสฺส ปหานาย นี้ มิจฉาอาชีวะที่มาในพระบาลีเท่านั้นยังไม่พอ. ก็เจตนาที่เป็นกรรมบถ ๗ ประการมีปาณาติบาตเป็นต้น ซึ่งเป็นไปเพราะอาชีวะเป็นเหตุก็เป็นมิจฉาอาชีวะด้วย.
วิรัติ (ความงดเว้น) อันกระทำการตัดทางดำเนินของเจตนา ๗ ประการนั้นนั่นแหละ ให้ถอนรากถอนโคน ทำองค์มรรคให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252
ท่านทั้งหลาย เห็นว่า เราควรเข้าใจ กรณีนี้ ว่าอย่างไรครับ ?
เพราะมีบางท่าน ที่เข้าใจว่า การค้าขายเนื้อสัตว์ เป็น สัมมาอาชีวะ
v
v
http://ppantip.com/topic/35627770/comment4-1