เพราะอะไร คำว่า สัมมากัมมันตะ จึงแปลกันว่า "การงานชอบ" ?

ในมรรคมีองค์แปดนั้น  ท่านกล่าวถึงวิรัติคือ ศีล ทางกายและวาจาในข้อของสัมมาวาจา และสัมมากัมมันตะ

โดยสัมมากัมมันตะนั้น  ไม่ว่าจะเป็นในพระไตรปิฎกบทใด  ก็มีการแสดงรายละเอียดเดียวกันว่า  สัมมากัมมันตะนั้น  คือ  วิรัติทุจริต 3 ทางกาย คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และไม่ประพฤติผิดในกาม ซึ่งก็จัดอยู่ในศีลห้า และกุศลกรรมบท 10



"[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงดความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓"



ส่วนการหาเลี้ยงชีวิตที่ถูกต้องนั้น  ท่านแสดงไว้ในสัมมาอาชีวะ

" [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกงการล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภนี้มิจฉาอาชีวะ ฯ

             [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑"



มหาจัตตารีสกสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923&pagebreak=0
            
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252


เข้าใจว่าเป็นการแปลผิดพลาดนะครับ เพราะถึงแม้จะไม่ใช่การทำงาน ความจริงผู้ประสงฆ์สำเร็จมรรคผล ก็ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และประพฤติผิดในกามไม่ได้อยู่แล้ว

เห็นว่าอย่างไรกันบ้างครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่