เปิด 2 ซีนนารีโอ "พิชญ์" ประกาศเทนเดอร์-ออฟเฟอร์ หุ้น"จัสมินฯ-จัสมินวอร์แรนท์3" เตรียมขายบริษัทให้แอดวานซ์ หรือ ควบรวมกิจการกับดีแทค
“พิชญ์ โพธารามิก” ผู้ถือหุ้นใหญ่ จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS ประกาศปั้งวานนี้ (19ก.ย.) เข้าทำเทนเดอร์-อออฟเฟอร์ หุ้นทั้งหมดของ JAS และ JAS-W3 ที่ราคา 7.25 และ 3.68 บาท ตามลำดับ ภายในวงเงินไม่เกิน 42,500 ล้านบาท เรียกว่าสร้างกระแสฮือฮาให้กับคอหุ้นต้องติดตาม และเกาะติดการกับการเคลื่อนไหวของ “พิชญ์” จากนี้ไป
เริ่มจากความน่าสนใจ หรือมุมมองของ บล.เอเชียพลัส ที่สะท้อนเกมหุ้น จัสมิน ครั้งนี้ได้น่าสนใจ โดยระบุว่า การทำ Tender Offer ของพิชญ์ที่ราคา 7.25 บาท อยู่ในเกณฑ์ที่สูง สะท้อนจากที่เกินกว่ามูลค่าพื้นฐานของฝ่ายวิจัยที่ประเมินไว้ 7.0 บาท แสดงให้เห็นถึงความต้องการรวบหุ้นส่วนใหญ่มาถือไว้ทั้งหมด ซึ่งช่วยเพิ่มอำนาจในการบริหาร และตัดสินใจในกิจการ ซึ่งทำให้คล่องตัวมากขึ้น
หากพิจารณาจากแนวโน้มธุรกิจอินเตอร์เนตความเร็วสูงในระยะยาวที่ไม่สดใส จากความเสี่ยงในการเผชิญการแข่งขันในธุรกิจปัจจุบันที่สูงขึ้น หลังจากการรุกสู่ธุรกิจดังกล่าวของ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC เชื่อว่า จะนำมาสู่การคาดหมายของตลาด ถึงความสนใจจากผู้ประกอบการรายอื่น โดยเฉพาะผู้ให้บริการมือถือที่จะมาซื้อกิจการ JAS เพื่อต่อยดธุรกิจกันในอนาคต
เนื่องจากปัจจุบัน JAS ถือเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เนตความเร็วอันดับ 2 ของไทย โดยมีฐานลูกค้า 2.2 ล้านราย (ส่วนแบ่งตลาด 34%) โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด จากจุดเด่นโครงข่ายครอบคลุมทุกตำบล
หากพิจารณาประโยชน์ ที่ค่ายมือถือแต่ละราย จะได้รับจาก Synergy กับกิจการอินเตอร์เนตของ JAS พบว่า ADVANC ปัจจุบันเพิ่งเริ่มต้นให้บริการธุรกิจอินเตอร์เนต และยังมีโครงข่ายครอบคลุมเพียงหัวเมืองหลัก 26 จังหวัด และมีฐานลูกค้า 1.1 แสนราย หากได้ JAS มาจะช่วยให้ขึ้นเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เนตรายใหญ่ทันที พร้อมมีโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ
ขณะที่ DTAC ปัจจุบันยังเป็นรายเดียว ที่ให้บริการธุรกิจมือถือเพียงอย่างเดียว จึงยังมีข้อเสียเปรียบ ADVANC และ TRUE ที่มีบริการโทรคมนาคมครบวงจร หากได้ JAS มาช่วยให้มีบริการครบวงจรเช่นเดียวกับคู่แข่งขันทั้ง 2 ราย นอกจากนี้ ยังสามารถนำจุดให้บริการ Wi Fi ของ JAS ที่มีอยู่ ไปช่วยเติมเต็มธุรกิจมือถือของตนเอง ที่ยังมีจุดอ่อนที่ขาดบริการจุด Wi Fi
ส่วน TRUE เป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เนตรายใหญ่เช่นเดียวกับ JAS โดยมีฐานลูกค้ามากอันดับ 1 ที่ 2.5 ล้านราย (ส่วนแบ่งตลาด 39%) แต่มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล หากได้ JAS มาช่วยให้มีฐานธุรกิจดังกล่าวยิ่งแข็งแกร่ง และเป็นการกีดกันคู่แข่งอีก 2 รายไปในตัว ซึ่งทำให้การเข้าสู่ธุรกิจดังกล่าวในอนาคตยากขึ้นด้วย โครงข่ายอินเตอร์เนตสนับสนุนการให้บริการของ JAS มีความทับซ้อนกับโครงข่าย TRUE ในหลายพื้นที่
นอกจากนี้ หากดีลดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริง รูปแบบที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่ายังต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพิชญ์ ว่าต้องการให้ขายกิจการ JAS ออกไปให้ค่ายมือถือเลยหรือไม่ หรือยังมีความต้องการที่ควบรวมกับค่ายมือถือ เพื่อให้ธุรกิจมีความแข็งแรง และอยู่รอดในระยะยาว
ขณะเดียวกัน บล.เอเชียพลัส มองแรกเกมหุ้น JAS ครั้งนี้ของพิชญ์ ออกเป็น 2 มุมมอง โดยมุมมองแรก หากพิชญ์ขายกิจการ ADVANC น่าจะมีโอกาสมากสุด
บล.เอเชีย ระบุว่า หากพิจารณาถึงความจำเป็นทางธุรกิจในการได้กิจการ JAS เชื่อว่า TRUE มีความจำเป็นน้อยกว่า ADVANC และ DTAC เพราะมีฐานธุรกิจดังกล่าวอยู่แล้ว การซื้อธุรกิจ JAS มา อาจเป็นการลงทุนซ้ำซ้อน ขณะที่ฐานะการเงินปัจจุบันไม่ได้มีความพร้อมมากนัก
โดยคาดการณ์ Net Debt to EBITDA ณ สิ้นสุดปี 2559 ยังสูงเกินค่าเฉลี่ยปกติในอุตสาหกรรม และเป้าหมายบริษัทที่ไม่เกิน 2.0 เท่าคาดอยู่ที่ 2.7 เท่า (คาดการณ์ EBITDA TRUE ปีนี้อยู่ราว 1.7 หมื่นล้านบาท) ขณะที่ DTAC แม้คาดารณ์ Net Debt to EBITDA สิ้นสุดปี 2559 ยังต่ำกว่า 2.0 เท่า คือคาดว่าอยู่ราว 1.4 เท่า (คาดการณ์ EBITDA DTAC ปีนี้อยู่ราว 2.6 หมื่นล้านบาท) แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากผลกระทบการเสียส่วนแบ่งตลาดธุรกิจมือถือให้คู่แข่งอย่างต่อเนื่อง จึงเหลือเพียงแต่ ADVANC ที่คาดการณ์ Net Debt to EBITDA ณ สิ้นสุดยังต่ำราว 1.2 เท่า (คาดการณ์ EBITDA ADVANC ปีนี้อยู่ราว 6.3 หมื่นล้านบาท) และคาดทยอยลดลงในระยะถัดไป
จากแนวโน้ม EBITDA ในแต่ละปีที่คาดว่าจะเติบโตมากขึ้น จากศักยภาพในการดึงลูกค้าคืนจากคู่แข่ง ตามความพร้อมคลื่นความถี่ที่เคยประสบปัญหาขาดแคลนที่คลี่คลาย หลังจากการประมูลรอบที่ผ่านมา จึงน่าจะเป็นรายเดียวที่พอจะมีความสามารถในการก่อหนี้ เพื่อซื้อ JAS ได้
ทั้งนี้ หากเกิดขึ้นจริง ADVANC อาจต้องกันเงินบางส่วนมากชำระหนี้ที่นำมาซื้อกิจการ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่ออัตราจ่ายเงินปันผลในอนาคต ที่อาจต้องลดลงมากกว่าฝ่ายวิจัยคาด
ส่วน DTAC ก็ยังมีโอกาส พิชญ์ เลือกที่จะควบรวมกับค่ายมือถือ
ทั้งนี้ DTAC น่าจะเป็นผู้ที่ต้องการ JAS มากสุด เพื่อโอกาสอยู่รอดในธุรกิจสื่อสารที่มากขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดทางฐานะการเงินปัจจุบันที่อ่อนแอขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับ ยังต้องกันเงินทุนบางส่วนไว้ประมูลคลื่นส่วนใหญ่ของตนเอง ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 และ กสทช. จะนำกลับมาเปิดประมูลใหม่เช่นเดียวกับคลื่นอื่นๆ ที่หมดอายุไปก่อนหน้านี้
ดังนั้น หาก DTAC ต้องการได้ธุรกิจอินเตอร์เนต JAS มาเติมเต็มธุรกิจของตนเอง การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจด้วยการควบรวมกิจการกับ JAS น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสึด เพราะไม่ต้องใช้เงินทุนก้อนใหญ่ โดยอาจเป็นเพียงการสวอปหุ้นกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของ JAS อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง
เปิดเส้นทาง " 3BB " เตรียมขาย AIS หรือ ควบรวม DTAC ??!
เปิด 2 ซีนนารีโอ "พิชญ์" ประกาศเทนเดอร์-ออฟเฟอร์ หุ้น"จัสมินฯ-จัสมินวอร์แรนท์3" เตรียมขายบริษัทให้แอดวานซ์ หรือ ควบรวมกิจการกับดีแทค
“พิชญ์ โพธารามิก” ผู้ถือหุ้นใหญ่ จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS ประกาศปั้งวานนี้ (19ก.ย.) เข้าทำเทนเดอร์-อออฟเฟอร์ หุ้นทั้งหมดของ JAS และ JAS-W3 ที่ราคา 7.25 และ 3.68 บาท ตามลำดับ ภายในวงเงินไม่เกิน 42,500 ล้านบาท เรียกว่าสร้างกระแสฮือฮาให้กับคอหุ้นต้องติดตาม และเกาะติดการกับการเคลื่อนไหวของ “พิชญ์” จากนี้ไป
เริ่มจากความน่าสนใจ หรือมุมมองของ บล.เอเชียพลัส ที่สะท้อนเกมหุ้น จัสมิน ครั้งนี้ได้น่าสนใจ โดยระบุว่า การทำ Tender Offer ของพิชญ์ที่ราคา 7.25 บาท อยู่ในเกณฑ์ที่สูง สะท้อนจากที่เกินกว่ามูลค่าพื้นฐานของฝ่ายวิจัยที่ประเมินไว้ 7.0 บาท แสดงให้เห็นถึงความต้องการรวบหุ้นส่วนใหญ่มาถือไว้ทั้งหมด ซึ่งช่วยเพิ่มอำนาจในการบริหาร และตัดสินใจในกิจการ ซึ่งทำให้คล่องตัวมากขึ้น
หากพิจารณาจากแนวโน้มธุรกิจอินเตอร์เนตความเร็วสูงในระยะยาวที่ไม่สดใส จากความเสี่ยงในการเผชิญการแข่งขันในธุรกิจปัจจุบันที่สูงขึ้น หลังจากการรุกสู่ธุรกิจดังกล่าวของ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC เชื่อว่า จะนำมาสู่การคาดหมายของตลาด ถึงความสนใจจากผู้ประกอบการรายอื่น โดยเฉพาะผู้ให้บริการมือถือที่จะมาซื้อกิจการ JAS เพื่อต่อยดธุรกิจกันในอนาคต
เนื่องจากปัจจุบัน JAS ถือเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เนตความเร็วอันดับ 2 ของไทย โดยมีฐานลูกค้า 2.2 ล้านราย (ส่วนแบ่งตลาด 34%) โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด จากจุดเด่นโครงข่ายครอบคลุมทุกตำบล
หากพิจารณาประโยชน์ ที่ค่ายมือถือแต่ละราย จะได้รับจาก Synergy กับกิจการอินเตอร์เนตของ JAS พบว่า ADVANC ปัจจุบันเพิ่งเริ่มต้นให้บริการธุรกิจอินเตอร์เนต และยังมีโครงข่ายครอบคลุมเพียงหัวเมืองหลัก 26 จังหวัด และมีฐานลูกค้า 1.1 แสนราย หากได้ JAS มาจะช่วยให้ขึ้นเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เนตรายใหญ่ทันที พร้อมมีโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ
ขณะที่ DTAC ปัจจุบันยังเป็นรายเดียว ที่ให้บริการธุรกิจมือถือเพียงอย่างเดียว จึงยังมีข้อเสียเปรียบ ADVANC และ TRUE ที่มีบริการโทรคมนาคมครบวงจร หากได้ JAS มาช่วยให้มีบริการครบวงจรเช่นเดียวกับคู่แข่งขันทั้ง 2 ราย นอกจากนี้ ยังสามารถนำจุดให้บริการ Wi Fi ของ JAS ที่มีอยู่ ไปช่วยเติมเต็มธุรกิจมือถือของตนเอง ที่ยังมีจุดอ่อนที่ขาดบริการจุด Wi Fi
ส่วน TRUE เป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เนตรายใหญ่เช่นเดียวกับ JAS โดยมีฐานลูกค้ามากอันดับ 1 ที่ 2.5 ล้านราย (ส่วนแบ่งตลาด 39%) แต่มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล หากได้ JAS มาช่วยให้มีฐานธุรกิจดังกล่าวยิ่งแข็งแกร่ง และเป็นการกีดกันคู่แข่งอีก 2 รายไปในตัว ซึ่งทำให้การเข้าสู่ธุรกิจดังกล่าวในอนาคตยากขึ้นด้วย โครงข่ายอินเตอร์เนตสนับสนุนการให้บริการของ JAS มีความทับซ้อนกับโครงข่าย TRUE ในหลายพื้นที่
นอกจากนี้ หากดีลดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริง รูปแบบที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่ายังต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพิชญ์ ว่าต้องการให้ขายกิจการ JAS ออกไปให้ค่ายมือถือเลยหรือไม่ หรือยังมีความต้องการที่ควบรวมกับค่ายมือถือ เพื่อให้ธุรกิจมีความแข็งแรง และอยู่รอดในระยะยาว
ขณะเดียวกัน บล.เอเชียพลัส มองแรกเกมหุ้น JAS ครั้งนี้ของพิชญ์ ออกเป็น 2 มุมมอง โดยมุมมองแรก หากพิชญ์ขายกิจการ ADVANC น่าจะมีโอกาสมากสุด
บล.เอเชีย ระบุว่า หากพิจารณาถึงความจำเป็นทางธุรกิจในการได้กิจการ JAS เชื่อว่า TRUE มีความจำเป็นน้อยกว่า ADVANC และ DTAC เพราะมีฐานธุรกิจดังกล่าวอยู่แล้ว การซื้อธุรกิจ JAS มา อาจเป็นการลงทุนซ้ำซ้อน ขณะที่ฐานะการเงินปัจจุบันไม่ได้มีความพร้อมมากนัก
โดยคาดการณ์ Net Debt to EBITDA ณ สิ้นสุดปี 2559 ยังสูงเกินค่าเฉลี่ยปกติในอุตสาหกรรม และเป้าหมายบริษัทที่ไม่เกิน 2.0 เท่าคาดอยู่ที่ 2.7 เท่า (คาดการณ์ EBITDA TRUE ปีนี้อยู่ราว 1.7 หมื่นล้านบาท) ขณะที่ DTAC แม้คาดารณ์ Net Debt to EBITDA สิ้นสุดปี 2559 ยังต่ำกว่า 2.0 เท่า คือคาดว่าอยู่ราว 1.4 เท่า (คาดการณ์ EBITDA DTAC ปีนี้อยู่ราว 2.6 หมื่นล้านบาท) แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากผลกระทบการเสียส่วนแบ่งตลาดธุรกิจมือถือให้คู่แข่งอย่างต่อเนื่อง จึงเหลือเพียงแต่ ADVANC ที่คาดการณ์ Net Debt to EBITDA ณ สิ้นสุดยังต่ำราว 1.2 เท่า (คาดการณ์ EBITDA ADVANC ปีนี้อยู่ราว 6.3 หมื่นล้านบาท) และคาดทยอยลดลงในระยะถัดไป
จากแนวโน้ม EBITDA ในแต่ละปีที่คาดว่าจะเติบโตมากขึ้น จากศักยภาพในการดึงลูกค้าคืนจากคู่แข่ง ตามความพร้อมคลื่นความถี่ที่เคยประสบปัญหาขาดแคลนที่คลี่คลาย หลังจากการประมูลรอบที่ผ่านมา จึงน่าจะเป็นรายเดียวที่พอจะมีความสามารถในการก่อหนี้ เพื่อซื้อ JAS ได้
ทั้งนี้ หากเกิดขึ้นจริง ADVANC อาจต้องกันเงินบางส่วนมากชำระหนี้ที่นำมาซื้อกิจการ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่ออัตราจ่ายเงินปันผลในอนาคต ที่อาจต้องลดลงมากกว่าฝ่ายวิจัยคาด
ส่วน DTAC ก็ยังมีโอกาส พิชญ์ เลือกที่จะควบรวมกับค่ายมือถือ
ทั้งนี้ DTAC น่าจะเป็นผู้ที่ต้องการ JAS มากสุด เพื่อโอกาสอยู่รอดในธุรกิจสื่อสารที่มากขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดทางฐานะการเงินปัจจุบันที่อ่อนแอขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับ ยังต้องกันเงินทุนบางส่วนไว้ประมูลคลื่นส่วนใหญ่ของตนเอง ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 และ กสทช. จะนำกลับมาเปิดประมูลใหม่เช่นเดียวกับคลื่นอื่นๆ ที่หมดอายุไปก่อนหน้านี้
ดังนั้น หาก DTAC ต้องการได้ธุรกิจอินเตอร์เนต JAS มาเติมเต็มธุรกิจของตนเอง การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจด้วยการควบรวมกิจการกับ JAS น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสึด เพราะไม่ต้องใช้เงินทุนก้อนใหญ่ โดยอาจเป็นเพียงการสวอปหุ้นกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของ JAS อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง