คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 37
อ่านแล้วเข้าใจว่า
จขกท ไม่ได้รู้เห็นความผิดปกติเรื่องเงินโอนผิดบัญชีก่อน เพราะเป็นบัญชีกระแสรายวันของบริษัท(นิติบุคคล) คือมีเงินเข้าออกเป็นประจำไม่ได้ค้างบัญชีแบบเงินออมทรัพย์
เจ้าของเงินที่โอนผิดโอนจากตู้ CDM ซึ่งเป็นบริการของธนาคาร
ธนาคารแจ้ง จขกท ว่ามีลูกค้าโอนผิดเข้าบัญชีบริษัท จขกท ให้ทำการคืนเงินให้ เจ้าของเงินที่โอนผิด
แต่บัญชี จขกท เป็นนิติบุคคล คือต้องเสียภาษีให้รัฐ และการนำเงินออกต้องมีเอกสารรับรองเพื่อไม่ให้เกิดปัญหายักยอกทรัพย์ภายในบริษัทและเพื่อป้องการการฟอกเงินหากมีการกระทำผิดกฎหมายของเจ้าของเงินที่โอนผิด ว่าบริษัทไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง
จขกท จึงขอทางธนาคารออกหนังสือรับรองเงินจำนวนนั้น
แต่ทางธนาคารไม่สนใจตรงจุดนี้ (จขกท จึงมองว่าไม่รับผิดชอบ)
ต่อมาเจ้าของเงินที่โอนผิด ฟ้อง จขกท ข้อหายักยอกทรัพย์
จขกท มองว่าไม่ใช่เรื่องที่ตนต้องไปขึ้นศาลโดยเหตุที่ตนไม่ได้ก่อ และน่าจะจบถ้าธนาคารทำตามเงื่อนไขของ จขกท
แต่กลับให้เจ้าของเงินที่โอนผิดยื่นฟ้องให้ตนเกิดความเสียหาย
คหสต. มองว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นการประมาทเลินเล่อของผู้โอนเงินที่ขาดความรอบคอบในการตรวจทานความถูกต้อง
ธนาคารที่เป็นตัวกลางควรรับฟังเงื่อนไขของ จขกท เพราะตัวเลขยอดเงินที่ผ่านเข้าออกบัญชีบริษัทต้องมีการตรวจสอบและเสียภาษีรายปี
การได้ใบรับรองเป็นเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวเงินเข้าออก ส่วนเจ้าของเงินที่โอนผิดความแสดงความรับผิดชอบต่อความประมาทของตัวเองบ้าง เพราะนอกจากตัวเองแล้วคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องยังต้องมาหวั่นใจและเสียเวลาแถมเสียทรัพย์อีก
แต่ในมุมคนที่ไม่ตั้งใจโอนผิดก็เห็นใจ ควรปรึกษาธนาคารและรับฟังเงื่อนไขผู้อื่นบ้าง
จขกท ไม่ได้รู้เห็นความผิดปกติเรื่องเงินโอนผิดบัญชีก่อน เพราะเป็นบัญชีกระแสรายวันของบริษัท(นิติบุคคล) คือมีเงินเข้าออกเป็นประจำไม่ได้ค้างบัญชีแบบเงินออมทรัพย์
เจ้าของเงินที่โอนผิดโอนจากตู้ CDM ซึ่งเป็นบริการของธนาคาร
ธนาคารแจ้ง จขกท ว่ามีลูกค้าโอนผิดเข้าบัญชีบริษัท จขกท ให้ทำการคืนเงินให้ เจ้าของเงินที่โอนผิด
แต่บัญชี จขกท เป็นนิติบุคคล คือต้องเสียภาษีให้รัฐ และการนำเงินออกต้องมีเอกสารรับรองเพื่อไม่ให้เกิดปัญหายักยอกทรัพย์ภายในบริษัทและเพื่อป้องการการฟอกเงินหากมีการกระทำผิดกฎหมายของเจ้าของเงินที่โอนผิด ว่าบริษัทไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง
จขกท จึงขอทางธนาคารออกหนังสือรับรองเงินจำนวนนั้น
แต่ทางธนาคารไม่สนใจตรงจุดนี้ (จขกท จึงมองว่าไม่รับผิดชอบ)
ต่อมาเจ้าของเงินที่โอนผิด ฟ้อง จขกท ข้อหายักยอกทรัพย์
จขกท มองว่าไม่ใช่เรื่องที่ตนต้องไปขึ้นศาลโดยเหตุที่ตนไม่ได้ก่อ และน่าจะจบถ้าธนาคารทำตามเงื่อนไขของ จขกท
แต่กลับให้เจ้าของเงินที่โอนผิดยื่นฟ้องให้ตนเกิดความเสียหาย
คหสต. มองว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นการประมาทเลินเล่อของผู้โอนเงินที่ขาดความรอบคอบในการตรวจทานความถูกต้อง
ธนาคารที่เป็นตัวกลางควรรับฟังเงื่อนไขของ จขกท เพราะตัวเลขยอดเงินที่ผ่านเข้าออกบัญชีบริษัทต้องมีการตรวจสอบและเสียภาษีรายปี
การได้ใบรับรองเป็นเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวเงินเข้าออก ส่วนเจ้าของเงินที่โอนผิดความแสดงความรับผิดชอบต่อความประมาทของตัวเองบ้าง เพราะนอกจากตัวเองแล้วคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องยังต้องมาหวั่นใจและเสียเวลาแถมเสียทรัพย์อีก
แต่ในมุมคนที่ไม่ตั้งใจโอนผิดก็เห็นใจ ควรปรึกษาธนาคารและรับฟังเงื่อนไขผู้อื่นบ้าง
แสดงความคิดเห็น
โอนเงินผิดเข้าบัญชีเรา กลายเป็นว่า ถูกคดียักยอก
ทางเราก็ไม่ได้รับรู้ว่า มีการโอนเงินเข้ามา ทางบริษัทมีการจ่ายเช็คไปตามปกติ บริษัทก็มีสภาพคล่อง ..เช็คก็ไม่เด้ง
ต่อมาราวเดือน มีนาคม.. ได้มีทางธนาคารติดต่อเราเข้ามาว่า.. มีการโอนเงินผิด ผ่านตู้ (CDM) จากลูกค้า ทางแบงค์ขอประสานตัดเงินคืน
ทางผมก็เลยบอกแบงค์ว่า เรายินดีคืน แต่ขอทำการตรวจสอบดูก่อน ซึ่งจากการตรวจสอบจึงได้ทราบว่ามีการโอนเงินเข้ามาจริงโดยผ่านทางตู้ฝาก ..ต่อมา ผ่านไปเนิ่นนานเป็นเดือน ทางแบงค์ก็ติดต่อเข้ามาอีกว่าจะขอตัดเงิน ..เนื่องจากว่า การฝากเงินเข้าตู้นั้นมีเพียงสลิป ซึ่งไม่ระบุว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงิน ทางผมเลยไม่แน่ใจว่า หากทางแบงค์ตัดเงินไป แล้วคืนไม่ถูกคน ก็มีโอกาสที่ทางเจ้าของเงินจะทวงเข้ามาใหม่ ..และ อีกเรื่องคือ เงินนั้นไม่ทราบที่มา ได้โอนเข้าบัญชีเรา การปล่อยเงินออกไปก็กลายเป็นว่า เราอาจจะเข้ากระบวนการฟอกเงินหรือไม่ หากทางต้นทางเปนพวกฟอกเงินโอนเข้ามาเพื่อหวังฟอกเงิน ..ทางเราก็อาจจะมีความผิด.. ทางเราจึงแจ้งแบงค์ว่า ขอให้แบงค์ออกหนังสือ รับรองให้กับเราว่า 1.รับรองว่าเงินจำนวนนี้เป็นของลูกค้ารายนี้จริง 2.การโอนเงินนั้นเปนธุรกรรมของธนาคาร ทางบริษัทเราไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินนั้น.. ทางแบงค์ก็เลยเงียบไป
ประมาณ 2-3 เดือนถัด กลายเป็นว่ามีหมายเรียกเข้ามา เนื่องจากทางเจ้าของเงิน(เจ้าทุกข์ลูกค้าธนาคาร) แจ้งความดำเนินคดีกับเราฐานยักยอกทรัพย์
กลายเป็นว่า ทางธนาคารสีม่วงไม่รับผิดชอบอะไรเลย คือเมื่อลูกค้าโอนเงินผิดเข้ามา อันเป็นธุรกรรมระหว่างลุกค้ากับธนาคาร แทนที่ทางธนาคารจะรับผิดชอบโดยคืนเงินให้ทางเขาไป.. แล้วทำหนังสือเข้ามาของตัดบัญชี กลับไม่ดำเนินการตามนั้น ..กลับเอาข้อมูลของบริษัทไปให้กับลูกค้าธนาคาร บอกให้เขาฟ้องดำเนินคดีกับเรา.. จริงๆ แล้ว ทางธนาคารควรจะคืนเงินให้กับเขาหรือไม่? มันก็ชัดเจนว่า เขาเอาเงินมาฝากแล้วโอนผิดเข้ามา แทนที่แบงค์จะต้องรับผิดชอบลูกค้าของแบงค์เองกลายเป็นว่า ให้ลูกค้าแบงค์มาฟ้องเรา ที่เปนนิติบุคคล(บริษัท) .. จริงๆ ในขั้นฟ้องเราเป็นเรื่องระหว่าง แบงค์กับเรานิติบุคคล(บริษัท) ..ทำไมแบงค์ไม่ยืนยันเอกสารมาที่เราล่ะว่า ทางลูกค้าของเขาเป็นเจ้าของเงินจริง.. หรือ เขาก็ไม่มั่นใจ ปัดภาระมาเราโดยไม่รับผิดชอบอะไรเลย
ปัญหาคือว่า ตอนนี้ทางบริษัทเรา เป็นบริษัทเล็กๆ ไม่ได้มีสภาพคล่อง ..ตอนเรามีสภาพคล่อง เราก็จ่ายเช็ค ปกติ ..พอเราไม่มีสภาพคล่อง ทางลูกค้าแบงค์ฟ้องเรามาว่ายักยอกทรัพย์เขา.. กลายเปนว่า เราเดือดร้อนต้องไปไกล่เกลี่ย ซึ่งถ้าเขาไม่ยอม เขาก็ต้องให้ทางตำรวจส่งฟ้อง..
ตอนนี้ ทางลูกค้าธนาคาร เข้าใจว่าเราเอาเงินเขาไป ไม่ยอมคืน.. ซึ่งปัญหานี้น่าจะจบตั้งแต่ ธนาคารตรวจสอบแล้วว่าเขาโอนผิดจริง จริงๆ แล้วทางธนาคารน่าจะรับผิดชอบในธุรกรรมนี้ซึ่งเป็นปัญหาระหว่างธนาคารกับลูกค้า ..คืนเงินให้เขา.. แล้วค่อยมาไกล่เกลี่ยกับเรา.. นี่จะให้ลูกค้าธนาคารเอาเราเข้าคุก ซึ่งสถานะการณ์ยิ่งจะเลวร้ายกว่าเดิม ..ถ้าเราต้องสู้คดี ก็ต้องสูญเงินมากมาย แทนที่จะเอาเงินนี้มาชดใช้ธนาคาร กลายเปนว่าเสียหายมาก..
เรื่องนี้ มันเปนเรื่องระหว่างบริษัทกับธนาคาร มันไม่เกี่ยวกับ บุคคลต่อบุคคล ซึ่ง เราก็ไม่ได้ล่อลวงเงินเขา
มันไม่ได้ยักยอก ..เรารู้เราก็คืน... และ มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องของบุคคลด้วย.. กลายเปนว่าเราจะเข้าคุก! .. มีทางออกไหมคับ