เงินกู้ และ หนี้นอกระบอบทักษิณ เพิ่มขึ้น 20% ในปีนี้

กระทู้คำถาม
สองสามปีผ่านมา เกษตรกร ทั้งชาวนา ชาวสวนยาง สวนผลไม้ ชาวไร่ทั้งหลาย ขายสินค้าตนเอง
ได้ราคาลดลง รายได้ลดลง แต่ รายจ่ายยังคงที่ เคยผ่อนรถเท่าไหร่ ก็เท่าเดิม ค่าเทอมลูกเท่าไหร่
ค่าเช่านา ค่าเช่าสวนเท่าไหร่ เท่าเดิมหมด ส่วนค่าครองชีพประจำวันก็ไม่มีตัวไหนลดลง

เมื่อรายได้ลดลง เกษตรกรก็ต้องหาเงินกู้เพื่อมาใช้จ่าย สุดท้าย หนี้ภาคครัวเรือนก็สูง ซึ่งปีนี้
ตามข่าวเพิ่มขั้น 20 เปอร์เซนต์ หรือครอบครัวละ 60,000 บาท http://ppantip.com/topic/35598135

ผมอยากยกตัวอย่างง่าย ๆ สมมุติว่าประเทศไทย มียอดส่งออก นำเข้า +/- เป็น 0, การลงทุน
ทั้งขาออก และ ขาเข้า เท่ากัน สมมุติให้ยอดกู้ และ ใช้หนี้เงินกู้เท่ากัน ให้เงินในประเทส ไม่มี
การเคลื่อนย้าย มียอดเท่าเดิมทั้งปี

ในประเทศ ถ้ามองว่ามีกลุ่มคนผู้ถือเงินสด และ เป็นหนี้ แค่ 3 กลุ่มนี้ ผลจะเป็นอย่างไร หรือ เหตุ
มาจากอะไร มาดูกัน

1. ครัวเรือน
2. บริษัท และ ผู้ลงทุน
3. รัฐบาล

สมมุติว่า รัฐบาลรับประกันข้าว หรือ จำนำข้าวที่ราคา 15,000 บาท เงินผลต่าง 6-7,000 บาท จะไป
อยู่ในมือของเกษตรกร รัฐบาลค้ำประกันราคายางที่ 90 บาท จากราคาตลาดที่ 50 บาท นั่นแปลว่า
เกษตรกรจะมีโอกาสนำเงินส่วนต่างนี้ไปใช้หนี้ได้ โดยในที่สุด คนเป็นหนี้แทนก็คือรัฐบาลที่นำเงิน
ไปชดเชยรายได้ให้เกษตรกร

สมมุติว่า กลุ่มผู้ลงทุนกำไรมหาศาลโดยถ้าภาครัฐไม่มีเงินขยับ ผลมันก็เช่นเดียวกัน คือ เอกชน ดูดเงิน
ออกจากกระเป๋าของครัวเรือน เช่นเคยซื้อ 10 บาท แต่ต้องมาซื้อ 12 บาท แสดงว่าเงินออมครัวเรือน
หายไป 2 บาท เป็นต้น แบบนี้ หนี้จะขยายตัวมากขึ้น

ภาครัฐใช้จ่ายมหาศาล ลงทุนมากมาย และถ้าภาคเอกชนได้เงินน้อยกว่าที่ภาครัฐใช้จ่าย เงินส่วนต่าง
พวกนี้ก็ตกอยู่ในกลุ่ม ครัวเรือน นั่นย่อมแปลว่า หนี้ก็จะขยายตัวน้อยกว่า

คำถามจึงเกิดขึ้นว่า หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขี้นในปีที่ผ่านมา 20% หรือคิดเป็นครัวเรือนละ 60,000 บาท
ใครเป็นคนทำให้มันเกิด.......
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่