ประวัติพระครูตุด แห่งระโนด วัดสามี

กระทู้สนทนา
ประวัติพระครูตุด สถานภาพเดิมชื่อ ตุด นามสกุล สังขสุวรรณมุนี (นามสกุลเดิมกาเลี่ยง) ท่านเป็นบุตรของพ่อสัง แม่เลื่อน สังขสุวรรณมุนี มีพี่น้องรวมกันทั้งหมด 6 คน ดังนี้ นายฉุ้นเลี่ยง นายหนูนุ้ย นายแดง นายหลง นายตุด (พระครูตุด) และนายดำ ท่านเกิดที่บ้านระวะ อำเภอ ระโนด จังหวัด สงขลา วันจันทร์ ขึ่น 7 ค่ำ เดื่อน 3 ปี ขาล ตรงกับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2433 มรณภา
พเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2514 สิริอายุได้ 81 ปี 8 เดือน 26 วัน ได้เก็บศพไว้เพื่อให้ศิษย์ได้เคารพบูชา 2 ปี ทำการฌาปนกิจศพ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2517 ณ เมรุวัดสามี ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
https://www.facebook.com/groups/155628561498378/
............................................................................
เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว ถ่ายเมื่อปี 2499
...........................................................................
รูปนี้ถ่ายเมื่อปี 2510 ที่นั่งอยู่ด้านขวาอาจรย์ตุดคือ พระครูธำรงธรรมสาร (เลื่อน เตชปญฺโญ) ฉายา เตชปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาสต่อจากพระครูตุดและด้านซ้ายชองอาจารย์ตุด ที่ปิดทอง คือสถาพร จันทรัตน์ (ท่านเป็นศิษย์คนสำคัญของพระครูตุด)
...........................................................................
แสดงรายชื่อพระภิกษุสามเณร
...........................................................................
การอาบน้ำมนต์ก่อนบวชนาค อาจารย์ตุด นั่งอยู่ตรงโอ่งน้ำมนต์ คุณสภาพร จันทรัตน์ นั่งอยู่ตรงข้าม ในสมัยนั้นพระอาจารย์ตุดจะอาบน้ำมนต์ให้กับศิษย์ก่อนบวชนาคทุกครั้ง
............................................................................
เมื่อพระอาจารย์ตุดอ่าบน้ำมนต์เสร็จ ก็จะปลงผมนาคให้กับลูกศิษย์ ในภาพคือคุณสถาพร จันทรัตน์
............................................................................
เมื่อนาคได้รับการปลงผมจากพระอารย์ตุดเสร็จแล้วจะออกมาโกนหัวด้านนอก
............................................................................
พระอาจารย์ตุด  สังขสุวรรณมุนี  ยืนคู่กับนาค (สถาพร จันทรัตน์)
............................................................................
เป็นรูปถ่ายอาจารย์ตุด ปี 2499
ภาพนี้เป็นถาพต้นแบบเหรียญรุ่นหนึ่ง เต็มองค์หน้าหนุ่ม เนื้ออัลปาก้า
.............................................................................
เป็นภาพถ่ายประมาณปี 2511
สังเกตจะเห็นแก้มด้านขวา เนื้อห้อย ดูอ้วน
.............................................................................
เป็นภาพถ่ายปี 2512 เป็นต้นแบบของเหรียญรุ่นสอง ปี13 คือเหรียญกะไหล่ทอง ซึ่งดูจากรูปภาพท่านชรามาก ริ้วรอยบนใบหน้า ดูผอมลง แก้มก็ตอบลงมาก สังเกตุที่ศีรษะ จะยุบลงเป็นสามเหลี่ยม (รูปอื่นศรีษะเต็ม) ตอนนั้นท่านมีอายุใกล้ครบ 80 ปีแล้ว ก่อนพระอาจารย์ตุดจะละสังขารท่านได้สร้างเหรียญรุ่น 3 คือเหรีญกะไหล่ทอง ฉลองครบรอบวาระ 80ปีเอาไว้เมื่อต้นปี 2513 จำนวนการสร้างเหรีญ รุ่น3 กะไหล่ทอง มีแค่ 1,000 เหรียญและแจกจ่ายไปยังประชาชนผู้ศรัทธา อาจารย์ตุดจึงได้สร้างเหรียญ รุ่น3 (บล็อกผด) เพิ่มโดยใช้บล็อคเดิมแต่สร้างได้จำนวนน้อยเพราะบล็อคชำรุดแตกเสียก่อน...ต่อมาอาจารย์ตุดท่านได้ "ละสังขาร"
...หลังจากอาจารย์ตุด "ละสังขาร" ก็เก็บศพพระอาจารย์ตุดเอาไว้นานถึง 3 ปี (คือ 15-17 ) จึงพอมีเวลาสร้างเหรียญรุ่น 4 คือเหรียญอาร์ม 3000เหรียญ ขึ้นมาแจกในงานฌาปนกิจศพ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2517 ท่านอาจารย์ตุดพอดี
..............................................................................
น้องป๋องกับลุงสมนึก
.
...น้องป๋องเป็นคนพบเจอคนสร้างเหรียญ รุ่น3
..............................................................................
น้องโอมกับลุงเสริม
.
...น้องโอมเป็นคนพบเจอคนสร้างเหรียญ รุ่น3 (บล็อคผด)

..............................................................................
เป็นภาพถ่ายพระอุโบสถก่อนได้รับการบูรณะ
..............................................................................
เป็นภาพการฟื้นฟูบูรณะจากกรมศิลปากรเมื่อปี 2559 ให้มีความสวยงามและคงทนต่อการใช้งานต่อไป
..............................................................................
เป็นสถานที่สำหรับให้ผู้ที่นับถือมากราบไหว้บูชาตาหลวงตุด วัดสามี ตั้งอยู่ที่เลขที่ 160 หมู่ที่ 1 ตำบลพังยาง ซึ่งชื่อว่ามีความศักสิทธิ์ชาวบ้านพากันมาสักการะบูชาเป็นประจำ ชาวบ้านมักแก้บนด้วยขนมโค เพราะท่านชอบฉันขนมโค ถ้าบนเกี่ยวกับทหาร ตำรวจ ดีแล
..............................................................................
วัดมหาสามี ศรีอโยธยาธานี
วัดสามี ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๐ บ้านสามี หมู่ที่ ๑ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสิมาวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๘ เป็นวัดที่มีนามตามชื่อหมู่บ้าน โดยปรากฏชื่อเดิมอยู่ในแผนที่กัลปนาวัดหัวเมืองพัทลุง สมัยอยุธยา ชื่อว่า “วัดมหาสามี” ต่อมาในปัจจุบันจึงมีชื่อว่า “วัดสามี”
อุโบสถวัดสามี สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีสภาพดั้งเดิมเป็นอุโบสถที่มีประตูเข้า-ออกเพียงด้านเดียวด้านทิศตะวันตก ไม่มีหน้าต่าง ในเวลาต่อมาจึงมีการปรับปรุงแก้ไขอุโบสถขึ้นภายหลัง โดยได้ทำการเจาะช่องหน้าต่างและทำประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังเปลี่ยนทิศทางเข้าออกหลักเป็นทางทิศตะวันออก และมีการโยกย้ายพระประธานมาประดิษฐานด้านทิศตะวันตก หันพระพักตร์ไปสู่ทิศตะวันออก
ลักษณะอุโบสถในปัจจุบันเป็นรูปแบบเรียบร้อย มีผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๔.๕๐ เมตร ลักษณะเป็นตัวอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่วางอยู่บนชุดฐานบัวลูกแก้วอกไก่หนึ่งชั้น โครงสร้างอาคารคอนกรีต ผนังปิดทึบทุกด้าน ประตูและหน้าต่างทำจากไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีช่องระบายอากาศไต้ชั้นหลังคาทำเป็นระแนงไม้เสาลูกกรง โครงสร้างหลังคาเป็นไม้และมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา ส่วนหลังคาไม่มีช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์ ส่วนหน้าบันเรียบ รอบอุโบสถมีใบเสมาซึ่งตั้งอยู่บนชุดฐานสิงห์ ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานสององค์บนฐานชุกชี องค์แรกเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยทำจากโลหะทองเหลือง องค์ที่สองเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยทำจากปูนปั้นมีพระพักตร์และพุทธลักษณะแบบศิลปะพื้นเมือง นอกจากนี้บริเวณพื้นอุโบสถพบร่องรอยการปูด้วยกระเบื้องเซรามิกส์เขียนลายแบบฝรั่ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมแพร่หลายในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุ่งรัตนโกสินทร์
..............................................................................
ภายในอุโบสถ
..............................................................................
ผู้สืบทอดสิ่งดีงาม
พระครูธำรงธรรมสาร (เลื่อน เตชปญฺโญ) ฉายา เตชปญฺโญ อายุ 77 พรรษา 48 น.ธ. โท วัดสามี ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
สถานะเดิม
ชื่อ เลื่อน นามสกุล เม่งสุวรรณ เกิดวันที่ 7 เดือน มิถุนายน 2476 บิดา นายลั่น มารดา นางแดง ณ บ้านสามี เลขที่ 128 ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
อุปสมบท
วันเสาร์แรม 6 ค่ำ เดือน 7 ปีขาล ตรงกับวันที่ 23 มิถุนายน 2505 ณ พัทธสีมา วัดสามี ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
พระอุปฌาย์ พระครูธรรมนิทัศย์ วัดเถรแก้ว ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
พระกรรมวาจาจารย์ พระครูตุด ปุญฺญมุณี วัดสามี ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
พระอนุสาวนาจารย์ พระครูปฏิภาณธรรมรัต ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
..............................................................................
รูปภาพหน้าปกของหนังสือประวัติของพระครูตุด ปุญญมุนี ซึ่งรวบรวมโดยพระราชปัญญาเมธี อดีตเจ้าอาวาสวัดพุทธภูมิ จังหวัดยะลา ซึ่งเดิมท่านเป็นชาวระโนดโดยกำเนิด
ประวัติ

พระราชปัญญาเมธี เป็นพระเถระผู้ใหญ่ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพุทธภูมิ และเจ้าคณะจังหวัดยะลา มีนามเดิม เลี่ยน เหมรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๔๖ ที่บ้านระวะ ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา บิดาเป็นผู้ใหญ่บ้าน ชื่อนายคล้าย มารดามีเชื้อสายจีนชื่อบาง

การศึกษา

เมื่ออายุ ๙ ปี บิดาได้นำไปฝากไว้กับพี่ชายซึ่งบวชที่วัดแจ้ง ตำบลระวะ ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนวัดแจ้ง๓ ปี ย้ายมาเรียนที่วัดใหญ่ ตำบลเดียวกันอีก ๒ ปี จนจบประถม ปีที่ ๓ บิดาให้ไปเรียนต่อชั้นมัธยมที่จังหวัดสงขลา อาศัยอยู่ที่วัดเลียบ ท่านอยู่ได้ไม่นาน เพราะคิดถึงบ้าน บิดาจึงให้ไปเป็นเสมียนฝึกหัดที่อำเภอพะนางตุง จังหวัดพัทลุง เมื่อบิดาถึงแก่กรรม มารดาก็ให้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๕ ณ พัทธสีมาวัดเบิก ตำบลระวะได้ศึกษานักธรรม ได้นักธรรมชั้นตรี ใช้ฉายาว่า ปัญญาวุโธ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖ ได้เรียนนักธรรมชั้นโท และชั้นเอก จนจบในเวลาต่อมา
...............................................................................
อาจารย์สันติธรรม เทพฉิม ท่านเป็นคนที่รวบรวมประวัติของพระอาจารย์ตุดเอาไว้ สามารถค้นหาได้จากอินเตอร์เน็ต ท่านเป็นริเริ่มเอาไว้ 23 ธ.ค 2554 (ข้อมูลบางส่วนยังไม่ครบ แต่สักวันลูกหลานคนระโนดจะทำให้ครบสมบูรณ์ที่สุด)
https://sites.google.com/site/watsamiranod/home
...............................................................................
เหรียญรุ่น 1 เป็นเหรียญที่สร้างโดยคุณสถาพร จันทรัตน์ โดยสร้างเอาไว้ก่อนที่จะบวช (ท่านบวชเมื่อราวปี 2510) หลังจากสึก ก็เข้า ก.ท.ม เพื่อมารับราชาการได้ไม่นานก็ลาไปเรียนต่อที่ฟิลิปปินส์ ปี 2512 และกลับมาปี 2514 โดยกลับมาไม่ทันพระอาจารย์ตุดท่านได้ละสังขาร มรณภาพไปเสียก่อน
....ซึ่งช่วงก่อนบวชคุณสถาพร จันทรัตน์ท่านเป็นครูอยู่เบตงและต่อยมวยไปด้วย เคยไปต่อยที่มาเลกับเพื่อนครูด้วยกันสองคน (ในสมัยนั้นใครจะต่อยต้องแพ้อย่างเดียว พูดง่ายๆ คือล้มมวย ถ้าไม่แพ้ก็กลับบ้านไม่ได้) เลยพอมีเงินเก็บมาสร้างเหรียญ ซึ่งก่อนที่ท่า
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่